Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงของมารดาหลังคลอด - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงของมารดาหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคและสรีระวิทยา
ระบบสืบพันธุ์
มดลูก (Uterus)
จะลดขนาดลงในทันทีที่เด็กและรกคลอด
หลัง 24 ชั่วโมงไปแล้วระดับของมดลูกจะลอยสูงขึ้นมาอยู่เหนือสะดือ เล็กน้อยและอาจเอียงไปทางขวา (เนื่องจากทางซ้ายมีลำไส้ใหญ่ส่วนซิกมอยด์ขวางอยู่ )
มดลูกจะลดขนาดลงสู่อุ้งเชิงกรานเร็วมากประมาณวันละ ½ -1 นิ้วโดยมดลูกจะลดทั้ง น้ำหนักและขนาดเพื่อกลับคืนสู่สภาพปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์เรียกว่า “มดลูกเข้าอู่”(Involution of uterus)
อาการปวดมดลูก (Afterpain)
มีสาเหตุจากการหดรัดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อมดลูกในครรภ์แรกปกติจะไม่มีอาการปวดมดลูกเนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกยังมีความตึงตัวสูง ยกเว้นว่าจะมีการยืดขยายของมดลูกมากเช่นครรภ์แฝดหรือครรภ์แฝดน้ำ เด็กตัวโตอาการปวดมดลูกอาจรุนแรง เมื่อมารดาให้บุตรดูดนมเพราะการดูดนมจะกระตุ้น Posterior pituitary gland หลั่ง ฮอร์โมน Oxytocin ไปกระตุ้นมดลูกให้หดรัดตัว
ระยะเวลาที่เกิดอาการปวดมดลูกปกติจะไม่เกิน 72 ชั่วโมงถ้าอาการปวดมดลูกมีนานเกิน 72 ชั่วโมงหรืออาการเจ็บปวดรุนแรงอาจเกิดจากมีเศษรกค้างหรือมี ก้อนเลือดค้างอยู่
น้ำคาวปลา (Lochia)
น้ำคาวปลาจะค่อยๆจางลงจนหมดไปภายใน
7 – 21 วันหลังคลอด
น้ำคาวปลาแบ่งเป็น 3 ระยะ
1.Lochia rubra น้ำคาวปลาที่ออกมาในระยะ 1– 3 วันแรกหลังคลอด มีสีแดงคล้ำและข้นประกอบด้วยเลือดเป็นส่วนใหญ่ มีเศษเยื่อหุ้มเด็กเยื่อบุมดลูกไขและขนของเด็กขี้เทา เลือดไม่เป็นก้อน
2.Lochia serosa มีประมาณวันที่ 4 – 9 สีจะจางลงเป็นสีชมพู สีน้ำตาลหรือค่อนข้างเหลืองมีมูกปน มีเม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว เศษเยื่อบุโพรงมดลูก
3.Lochia alba มีประมาณวันที่ 10 หลังคลอด สีเหลืองจางๆหรือสีขาว มีเม็ดเลือดขาว เยื่อบุโพรงมดลูก
ปากมดลูก
6 สัปดาห์ หลังคลอดเหมือนรอยตะเข็บ หรือรอยแตกด้านนอกไม่กลมเหมือนระยะก่อนคลอด สามารถบอกได้ว่าสตรีรายใดผ่านการคลอดมาแล้ว
ประมาณ2-3 วันหลังคลออด ปากมดลูกยังคงยืดขยายได้ง่ายอาจสอดนิ้วเข้าไปได้ 2 นิ้ว
ประมาณ 18 ชั่วโมงหลังคลอด ปากมดลูกจะสั้นลง แข็งขึ้นกลับสู่สภาพเดิม
ประมาณปลายสัปดาห์ที่1 จะกลับคืนสภาพเิมเกือบสมบูรณ์ แต่จะไม่กลับสภาพเดิมเหมอนก่อนตั้งครรภ์
เต้านม
หัวน้ำนม (colostrum)
เริ่มผลิต 2-3 วันแรกหลังคลอดมีสีเหลืองข้น
จะมีโปรตีน วิตามินที่ละลายในไขมัน เกลือแร่ สังกะสี โซเดียม โพแทสเซียม มากกว่านมแม่ในระยะหลัง
น้ำนมระยะปรับเปลี่ยน(transitional milk)
น้ำนมที่ไหลมาระหว่างหัวน้ำนมจนเป็นน้ำนมแม่่ จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 7-10 วันหลงคลอด ถึง 2สัปดาห์หลังคลอด
ปริมาณอิมโมโนโกลบูลิน โปรตีน และวิตตามินที่ละลายในไขมันจะลดต่ำลง
ปริมาณของน้ำตาลแลคโตส ไขมัน วิตามินที่ละลายในน้ำ และพลังงานรวมจะเพิ่มขึ้น
น้ำนมแม่ (mature milk)
จะเริ่ม 2 สัปดาห์หลังคลอดไปแล้ว มีส่วนประกอบของน้ำมากกว่าร้อยละ 80
การมีประจำเดือน
มารดาที่ไม่ได้ลี้ยงทารกด้วยนมตนเองจะมีการตกไข่ครั้งแรกเมื่อ สัปดาห์ที่10-11 หลังคลอด เริ่มมีประจำเดือนเมื่อสัปดาห์ที่ 7-9 หลังคลอด
มารดาที่เลี้ยงทารกกด้วยนมตนเองนนาน 3 เดือน จะมีการตกไข่เมื่อสัปดาห์ที่ 17 หลังคลอด ถ้าเลลี้ยงด้วยนมตนเองนาน 6 เดือนจะมีการตกไข่เมื่อสัปดาห์ที่ 28 หลังคลอดและจะเริ่มมีประจำเดือนสัปดาห์ที่ 30-36 สัปดาห์ หลังคลอด
ฝีเย็บ
การเย็บซ่อมแซมฝีเย็บจะหายเป็นปกติภายใน 5 – 7 วัน
ระบบทางเดินอาหาร
หลังคลอดมีแนวโน้มที่จะท้องผูก
มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ช้า
กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนตัว
จากการสูญเสียแรงดันภายในช่องท้อง
2-3 วันแรกหลังคลอดมารดามักมีความอยากอาหารและดื่มน้ำมากเพราะสูญเสียน้ำระหว่างคลอดและหลังคลอดระยะแรก
ผิวหนังและอุณหภูมิ
ผิวหนัง
ฝ้าบริเวณใบหน้า (Chloasma gravidarum) จะหายไปแต่สีที่เข้มของลานนมเส้น กลางหน้าท้อง (Linea nigra) และรอยแตกของผิวหนังบริเวณผนังหน้าท้อง
(Striae gravidarum) จะไม่หายไป แต่สีอาจจางลง
มีอาการผิดปกติของหลอดเลือดเช่นอาการร้อนแดงที่ฝ่ามือ (Palmar erythuma) และก้อนเนื้อ งอกที่เหงือกจะลดลงเนื่องจากเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็ว
ร่างกายจะขับน้ำออก ทางผิวหนังจำนวนมาก (Diaphoresis)
การขับเหงื่อของร่างกายอาจเกิดขึ้น ในเวลากลางคืน
อุณหภูมิ
Reactionary Fever
เกิดจากการขาดน้ำ เสียพลังงานหลังคลอด ในขณะคลอดจะมการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อยโดยประมาณ 37.8 องศาเซลเซียสไม่เกิด 38 องศเซลเซียส และลดลงสู่ภาวะปกติ 24 ชั่วโมงหลังคลอด
Milk Fever
เกิดจากนมคัด (Breast engorement) พบวันที่ 3-4 วันหลังคลอดอุณหภูมิจะสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส จะหายไปใน24ชั่วโมงหรือเมื่อลดการคัดตึงของเต้านม
Febile Fever
เกิดจากการติดเชื้อในนระบบใดระบบหนึ่งของร่างกายมารดา อุณหภูมิจะสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 2 วันหรือมากกว่า ไม่นับ24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ระบบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก
กล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อหน้าท้องจะนุ่มหยุ่นไม่แข็งแรงและจะหนาขึ้นบริเวณกลางท้อง
1 – 2 วันแรกหญิงระยะหลังคลอดมีอาการเมื่อยและปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณแขนขา
ไหล่และคอ
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดต่ำลงท้าให้
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเริ่มลดลง
ต้องออกแรงเบ่งขณะคลอดและหลังคลอดรก
โครงกระดูก
หลังคลอด 2 – 3 วันแรกระดับฮอร์โมนรีแลคซินค่อยๆ ลดลงแต่หญิงระยะหลังคลอดยังคงเจ็บปวดบริเวณตะโพกและข้อต่อซึ่งจะขัดขวางการเริ่มเคลื่อนไหว (Ambulation)และการบริหารร่างกาย
บริเวณข้อต่อจะแข็งแรงมั่นคงจนเข้าสู่สภาพปกติต้องใช้เวลาประมาณ 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด
ช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมน relaxin ทำให้บริเวณข้อต่อต่างๆของร่างกายมีการยืดขยายมี การเคลื่อนไหวของข้อต่อมากเกินไปและมีการเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายจากมดลูกที่โตขึ้นเป็นผลให้กระ ดูดสันหลังแอ่นและกระดูกเชิงกรานรับน้ำหนักมากขึ้น
ระบบต่อมไร้ท่อ
ฮอร์โมนของรก(Placental hormone)
หลังคลอดระดับฮอร์โมนจากรกใน Plasma จะลดลงอย่างรวดเร็ว
ภายใน24 ชั่วโมงจะตรวจหาระดับ ฮอร์โมน Human ChorionicSomatomammotropin = HCS ไม่ได้
ประมาณปลายสัปดาห์แรกหลังคลอดระดับของฮอร์โมนHuman
Chorionic Gonadotropin = HCG จะลดลงดังนั้นถ้าทดสอบการตั้งครรภ์จากปัสสาวะจะได้ผลลบ
ประมาณวันที่ 3 หลังคลอดหลังจากสัปดาห์แรกของการคลอดจะไม่สามารถตรวจพบโปรเจสเตอโรนในซีรัมได้และจะเริ่มมีการผลิตโปรเจสเตอโรนอีกครั้งเมื่อมีการตกไข่ครั้งแรกหลังคลอด
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง(Pituitary hormone)
ระยะหลังคลอดมารดาที่ไม่เลี้ยงบุตรด้วยน้้านมตนเอง ระดับโพรแลคทินจะลดลงจนเท่ากับระดับก่อนตั้งครรภ์ภายใน 2สัปดาห์
การให้บุตรดูดนมจะท้าให้ความเข้มข้น ของโพรแลคทินเพิ่มขึ้นระดับของโพรแลคทินในซีรัมจะสูงมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับจ้านวนครั้งที่ให้บุตรดูดนมใน แต่ละวัน
ค่าของโพรแลคทินจะอยู่ในระดับปกติประมาณเดือนที่ 6 ถ้าให้บุตรดูดนมเพียง 1 – 3 ครั้งต่อวันและระดับโพรแลคทินจะยังคงสูงกว่า 1 ปีถ้าให้นมบุตรดูดนมสม่้าเสมอมากกว่า 6 ครั้งต่อวัน
ระดับของ FSH และ LH จะต่ำมากในวันที่ 10 – 12 หลังคลอด
ฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโต(Growth hormone)
อยู่ในระดับต่ำตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ตอนท้ายๆไปจนถึง 1 สัปดาห์หลังคลอดประกอบกับการลดลงอย่างรวดเร็ว ของฮอร์โมนฮิวแมนพลาเซ็นทอลแลคโทเจนฮอร์โมนเอสโตรเจนฮอร์โมนคอร์ติชอลเอนไซม์จากรกและน้ำย่อย Insulinase
ระบบทางเดินหายใจ
ขนาดของช่องท้องและช่องทรวงอกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะหลังคลอด ทำให้คความจุภายในช่องท้องและกระบีงลมลดลง ปดอกขยายได้ดีขึ้น การหายใจสะดวกขึ้น
ระบบหลอดเลือดและหัวใจ
ความดันเลือดและชีพจร
อาจมีค่าความดันโลหิตต่ำได้จากการ เสียเลือดมากกว่าปกติจนทำให้ปริมาณเลือดน้อยเกินไป (Hypovolemia)
จากอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจน
จากการมีการขยายตัวของหลอดเลือด
จากการเสียเลือดปกติแต่ต้องใช้เวลานาน 2 – 3 ชั่วโมงเพื่อปรับปริมาณเลือดในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล
มีการลดลงของความดันในช่องท้องเป็นเหตุให้เลือดไปรวมตัวบริเวณ อวัยวะในช่ิงท้อง
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดยังมีผลให้ชีพจร ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติคือประมาณ 50 – 70 ครั้งต่อนาที
การที่อัตราการเต้นของชีพจรลดลงเป็นผลจากภายหลังคลอดรกแล้วเลือดที่เคยไปเลี้ยงรกจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจท้าให้หัวใจเต้นช้าลง ซึ่งเป็นกลไกในการปรับตัวต่อการลดลงของแรงดันในระบบไหลเวียนโลหิตในขณะเดียวกันหญิงระยะหลังคลอด ก็จะถ่ายปัสสาวะมากขึ้น (Postpartum diuresis) ท้าให้ปริมาณเลือดและความดันโลหิตต่ำลงเป็นผลให้อัตรา การเต้นของชีพจรค่อยๆเพิ่มขึ้นจนกระทั่งเข้าสู่ระดับปกติภายใน7 – 10 วันหลังคลอด
ระบบเลือด
ปริมาณเลือดจะลดลงทันทีจากการสูญเสียเลือดภายหลังคลอด โดยปริมาณ้ลือดจะลดลงจากระดับ 5-6 ลิตร ในระยะก่อนคลอดจนถึงระดับ 4 ลิตรเท่าคนปกติใน 4 สัปดาห์
การไหลเวียนของเลือดใน2-3 วันแรกหลังคลอด จะเพิ่มขึ้นประมาณ 15-30% จากการไหลกลับของเลือด
สารที่เป็นองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือด (Clotting Factor) ยังคงมีค่าสูงอยู่และจะลดลงสู่ระดับปกติใน 2 – 3สัปดาห์หลังคลอด
ระบบทางเดินปัสสาวะ
การทำงานของไต Renal function
Glucosuria ที่เกิดขึ้นนระยะตั้งครรภ์จะหายไป
Creatinine clearance จะเป็นปกติในปลายสัปดาห์แรกหลังคลอด
Blood urea nitrogen จะเพิ่มขึ้นในระยะหลังคลอดเนื่องจากมีการแตกตัวของใยกล้ามเนื้อมดลูก
อาจพบ Lactosuria ในมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมตนเอง
ในระยะตั้งครรภ์อัตราของ Renal plasma flow และ Glumerular filtration จะเพิ่มขึ้น 25-50% และในสัปดาห์แรกหลังคลอดยังคงสูงอยู่
ท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะจะบวม และมักมีอาการบวมและช้ำรอบๆรูเปิดท่อปัสสาวะ
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะลดลงทำให้ความจุมากขึ้น แต่ความไวต่อแรงกดดันจะลดลง
ระบบภูมิคุ้มกัน
พบว่าร้อยละ 20 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีเลือดหมู่ O จะมีทารกที่มีเลือดหมู่ Aหมู่ B หรือหมู่ AB ซึ่งร้อยละ 5 ของทารกเหล่านี้จะมีภาวะเลือดไม่เข้ากันจนทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกในระดับเล็กน้อยจนถึงปานกลางทารกจะแสดงอาการตัวเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดและต้องได้รับการส่องไฟ รักษา (Phototherapy)
ภูมิคุ้มกันต่อปฏิกิริยาการไม่เข้ากันของหมู่เลือด (Blood - type incompatibilities)ในช่วงที่เจ็บ ครรภ์และคลอดเป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการส่งผ่านเลือดจากทารกไปสู่มารดาซึ่งจะมีความสำคัญมากในมารดาที่มี Rh- เพราะจะได้รับเซลล์จากทารกในครรภ์ที่มี Rh+ ระบบภูมิคุ้มกันของมารดาจะสร้างแอนติบอดีเพื่อตอบสนองต่อแอนติเจนซึ่งถือเป็นสิ่งแปลกปลอมในร่างกายโดยอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
การเปลี่ยแปลงทางด้านจิตสังคม
Taking-hlod phase
ระยะเข้าสวมบทบาทการเป็รมารดา ระยะนี้อยู่ในช่วง 3-10 วันหลังคลอด เริ่มช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น เริ่มสนใจเกี่ยวกับการดูแลทารก สนใจบุคคลอื่นๆและคนในครอบครัวเพิ่มขึ้น
สนับสนุนพูดคุยให้กำลังใจ
แนะนำเรื่องกานวางแผนครอบครัว
สอน สาธิตแนะนำในการดูแลตนเองและทารก
Letting-go phase
ระยะที่แสดงบทบาทได้ดี เริ่มตั้งแต่วันที่10 หลังคลอดเป็นต้นไป ผู้ติดตามดูแลให้คำแนะนำต่อเนื่องจากระยะที่อยู่โรงพยาบาล ต้องชี้แนะแนวทาง รวมกันวางแผนครอบครัว ในระยะนี้มารดาเริ่มมีความต้องการที่จะพบหรือพูดคุยกับบุคคลอื่น
แนะนำมารดาหลังคลอดสามี และสมาชิกภายในครอบครัวปรับตัวและวางแผนการดำเนินชีวิต
ช่วยประสานความสัมพันธ์ของสมาชิกให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเห็นอกเห็นใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
Taking-in phase
ระยะที่เริ่มเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดา เป็นระยะ 1-3 วันแรกหลังคลอดร่างกายมีความเหนื่อยล้า ไม่สุขสบายทางด้านร่างกาย ในช่วงวันแรกช่วยเหลือตนเองได้น้อยจึงต้องพึ่งพาคนอื่นทางด้านร่างกายและจิตใจ
อธิบายให้สามีและญาติเข้าใจถึงความรู้สึกและการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ของมารดาหลังคลอด
สังเกตุอาการผิดปกติทางด้านจิตใจที่อาจจะเกิดขึัน
เปิดโอกาสให้มารดาหลังคลอดได้ระบายความรูู้สึกและรับฟังด้วยความเห็นใจ
ตอบสนองความต้องการของมารดาหลังคลอดทางด้านร่างกาย เพื่อลดความไม่สุขสบาย