Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงสรีระของหญิงตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงสรีระของหญิงตั้งครรภ์
ระบบอวัยวะสืบพันธุ์
ปากมดลูก(cervix)
มีสีคล้ำ หรือ Chadwick sign นุ่มขึ้น มีมูกปากมดลูกเยอะ และจะมีลักษณะ eversion ของเยื่อบุภายในที่ขยายรุกออกมาด้านนอก
ช่องคลอด(vagina)
เยื้อบุผิวมีสีคล้ำขึ้น มีสารคัดหลั่งหรือตกขาวใสเพิ่มขึ้น เรียกว่าเป็น “leucorrhea of pregnancy” และมีสภาวะเป็นกรด pH อยู่ระหว่าง 3.5-6
มีการขยายของกล้ามเนื้อเกี่ยวพันทำให้ผนังช่องคลอดหนาขึ้น ยาวขึ้น ลงมีเส้นเลือดมาเลี้ยงมาก
มดลูก(uterus)
ขนาดใหญ่ขึ้น โดยปริมาตรจะเพิ่มขึ้นจาก 10 ml เป็น 1100 ml เส้นเลือดไปเลี้ยงเพิ่มขึ้น เซลล์กล้ามเนื้อมดลูกจะขยายใหญ่ขึ้นและยืดยาวออก (hypertrophy) แต่ไม่ได้เพิ่มปริมาณเซลล์มากนัก(hyperplasia) และจะหมุนเบนไปทางขวา(dextrorotation) ไปกดเส้นเลือด inferior vena cava
ท่อนำไข่(fallopian tubes)และรังไข่(ovary)
รังไข่ ovary หลังจากการตกไข่ (ovulation) ส่วนของ corpus luteum จะทำหน้าที่สร้าง progesterone เพื่อให้เยื่อบุโพรงมดลูก (endometrium ) เปลี่ยนตัวเอง จาก proliferative phase เป็น secretory phase
เพื่อรองรับการฝั่งตัวของตัวอ่อนจากการ ปฏิสนธิ และ estrogen จะส่งสัญญาณย้อนกลับ (negative feedback) ไป ยับยั้งการสร้าง FSH จากต่อมใต้สมอง ไม่ให้มากระตุ้นการสร้างฟองไข่และการตกไข่อีกใน ระหว่างการตั้งครรภ์ เมื่อตัวอ่อนฝั่งตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกดีแล้ว และรกเริ่มทำงานแล้ว รังไข่ ก็จะลดบทบาทลง
เต้านม
หัวนมและลานนมโตขึ้น สีคล้ำขึ้น อาจพบ Montgomery glands ใหญ่ขึ้น จะเห็นเป็นตุ่มเล็ก ๆ บริเวณลานนม อาจรู้สึกตึงหรือเจ็บในช่วงตั้งครรภ์ บางรายมีน้ำนมไหลได้ เพราะในช่วงนี้ estrogen จะกระตุ้นท่อน้ำนมให้เจริญมากขึ้น(ductal growth) ในขณะที่ progesterone ไปกระตุ้นต่อมน้ำนม (alveolar hypertrophy) ให้โตขึ้น
ขนาดจะโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 8 สัปดาห์แรก อาจโตขึ้นถึงร้อยละ 25-50
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ relaxin และ progesterone ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ มีการยืดหยุ่นของข้อต่อหรือเอ็นต่างๆ ทำให้กระดูก pubic symphysis อาจแยกได้ตั้งแต่ช่วง 28-30 สัปดาห์ การทรงตัวอาจไม่ดีจากการเคลื่อนของข้อกระดูก sacroiliac หรือ sacrococygeal ทำให้หกล้มได้ง่าย
มดลูกมีขนาดใหญ่จะทำให้กระดูกแอ่นมาข้างหน้ามากขึ้น (lumbar lordosis)เพื่อช่วยในการทรงตัว ทำให้มีอาการปวดหลัง และมีการแยกของส่วนต่าง ๆ เช่น การแยกของ rectus muscle เกิด diastasis recti เป็นต้น
เอ็นกล้ามเนื้อและพังผืดรอบๆ ข้อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น กระดูกสันหลังแอ่นมากขึ้น คอยื่นไปข้างหน้า ไหล่งุ้มลง ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของ center of gravity ในบางรายอาจมีการแยกของกล้มเนื้อหน้าท้อง (diastasis recti) สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เพิ่มอุบัติการของการบาดเจ็บหรือได้รับอุบัติเหตุขณะออกกำลังกาย
ระดับ total calcium ในร่างกายลดลง แต่ ionized calcium ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะparathyroid hormone ที่เพิ่มขึ้นจะไปเพิ่มการดูดซึมกลับของ calcium ของทางเดินอาหารและไปลดการขับออกทางไต ทำให้ระดับโดยรวมไม่ลดลง
การเปลี่ยนแปลงของกระดูก หรือ Bone turnover จะเกิดตั้งแต่ไตรมาสแรก และเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่สาม สัมพันธ์กับความต้องการcalcium ที่เพิ่มขึ้น
ผิวหนัง
ผิวหนังคล้ำ (hyperpigmentation) เป็นผลจาก melanocyte ที่สร้าง melanin pigment เพิ่มขึ้น จากการกระตุ้นของ estrogen และ melanocyte stimulation hormone ทำให้ผิวหนังคล้ำขึ้น พบบ่อยบริเวณรอบสะดือ อวัยวะเพศ และข้อพับต่าง ๆ ถ้าเป็นที่บริเวณแนวกลางหน้าท้องหรือ linea alba จะเรียกว่า linea nigra ถ้าสะสมบริเวณใบหน้าเป็นฝ้าสีน้ำตาล เรียกว่า melisma หรือ mask of pregnancy โดยจะเห็นชัดขึ้นเมื่อถูกแดด
พบได้บ่อยมากกว่าครึ่งหนึ่งของสตรีตั้งครรภ์ มักเกิดบริเวณท้อง เต้านม ก้นและต้นขา ลักษณะเป็นแนวเส้นสีแดง และจะเปลี่ยนเป็นสีเงินจาง ๆ ตอนหลังคลอด เป็นลักษณะที่เรียกว่า ท้องลาย (stretch mark)
ลักษณะอื่น ๆ เช่น Spider angioma เป็น ผิวที่นูนขึ้นมาคล้ายใยแมงมุม สีแดง มักเกิดบ่อยที่ใบหน้า แขน ขา หรือ palmar erythema เกิดได้ร้อยละ 50 ทั้งสองภาวะสัมพันธ์กับการที่มี estrogen สูงและหายได้เองหลังคลอด นอกจากนี้การขยายของเส้นเลือดดำบริเวณขาร่วมกับ เส้นเลือด inferior vena cava ถูกกด ทำให้เกิด เส้นเลือดขอด และ ริดสีดวงทวารได้ง่าย สิว จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีต่อมเหงื่อและต่อมไขมันบริเวณใบหน้าเพิ่มขึ้น
การเจริญของขนและผมจะมี follicles มากขึ้นในช่วง anagen phaseทำให้ผมหรือขนหนา มีปริมาณมากขึ้นตามที่ต่าง ๆ และจะลดลงใน telogen phase ช่วงหลังคลอด และจะกลับมาเป็นปกติใน 12 เดือน
ระบบทางเดินอาหาร
โปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนเป็นหลัก ที่ทำให้มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบในที่ต่าง ๆ ส่งผลให้ esophageal sphincter tone ลดลง การเคลื่อนที่ของทางเดินอาหารและการทำงานของถุงน้ำดีลดลงไปด้วย ลดระยะ gastric emptying time ให้สั้นลง
สตรีตั้งครรภ์เกิด gastroesophageal reflux ได้ง่าย เพราะความไม่สมดุลของแรงดันระหว่างกระเพาะอาหารที่เพิ่มขึ้นและหลอดอาหารที่ลดลงทำให้มีการไหลย้อนกลับของอาหารขึ้นมาในหลอดอาหารได้
ระบบทางเดินปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะจะมีความจุลดลง จำนวนปัสสาวะปัสสาวะบ่อยและอาจมีปัสสาวะราดได้บ่อย
ไตจะเริ่มขยายขนาดตั้งแต่ปลายไตรมาสแรก ด้านขวาโตมากกว่าซ้าย เพราะถูกกดจากมดลูกที่เอียงและหมุนมาทางด้านขวามากกว่า โดยเฉลี่ยจะยาวขึ้น 1 ซม. ในช่วงตั้งครรภ์ น้ำหนักและขนาดของไตจะโตขึ้น กรวยไตขวาจะขยายโดยเฉลี่ย 15 มม. และซ้าย 5 มม.
ท่อไตและกรวยไตจะขยายเต็มที่ในกลางของไตรมาสที่สองการตั้งครรภ์ หรือเมื่อท่อไตมีขนาดถึง 2 ซม.แล้ว ซึ่งเป็นผลจากโปรเจสเตอโรนที่ทำให้มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบที่ท่อไต จึงยืดขยายได้ง่าย
ต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน
ฮอร์โมนจากตับอ่อน
ตับอ่อนจะสร้าง insulin เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองกับ glucocorticoid ที่เพิ่มขึ้นแต่ insulin จะทำหน้าที่ลดลง เนื่องจากฮอร์โมน estrogen, progesterone และ human placental lactogen ทำหน้าที่เป็น insulin antagonist ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น(hyperglycemia)
ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
Progesterone ทำให้ต่อมหมวกไตมีการหลั่ง aldosterone เพิ่มขึ้นระยะแรกของไตรมาสที่ 2 ขณะที่estrogen ทำให้ระดับ cortisol ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น
ต่อมพาราธัยรอยด์
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า
ต่อมไต้สมองส่วนหน้าจะมีขนาดโตขึ้นและกลับสู่สภาพปกติภายหลัง คลอด ตลอดระยะตั้งครรภ์ follicle-stimulating hormone (FSH) และluteinizing hormone (LH) จะถูกยับยั้งโดย estrogen และprogesterone จากรกทำให้ไม่มีการตกไข่ในระยะตั้งครรภ์ฮอร์โมน thyrotropin และ adrenotropin เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงการเผาผลาญ สารอาหารในระยะตั้งครรภ์
ต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะหลั่งฮอร์โมน prolactin เพื่อช่วยให้มีการพัฒนาการของเต้านมในระยะตั้งครรภ์ เตรียมสำหรับการสร้างน้ำนม โดยมีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า แต่ปริมาณ estrogen และ progesterone ที่มีระดับสูงจะยับยั้งการสร้างน้ำนมและ hypothalamus จะหลั่ง prolactin inhibitor factor ซึ่งทำให้ไม่มีการสร้างน้ำนมด้วย
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง
ต่อมใต้สมองส่วนหลังจะหลั่งฮอร์โมน oxytocin และ vasopressin โดย oxytocin จะกระตุ้นการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก การเจ็บครรภ์คลอด และการหลั่งน้ำนมในระยะหลังคลอด vasopressin ทำให้เส้นเลือดหดรัดตัว ซึ่งจะทำให้ ความดันโลหิตสูง และมีบทบาทในการปรับสมดุลน้ำในร่ายกาย โดย vasopressin จะสร้างมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณเลือด และ plasma osmolality
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
Blood volume การขยายปริมาตรของเลือดเริ่มต้นตั้งแต่อายุครรภ์ 6-8 สัปดาห์ และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในไตรมาสที่สองและค่อย ๆ คงที่ในไตรมาสสุดท้ายที่อายุครรภ์ 30-32 สัปดาห์ เพิ่มสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 45
Cardiac output เพิ่มขึ้นร้อยละ 30-50 เพิ่มสูงสุดในช่วงอายุครรภ์ 20-24 สัปดาห์ โดยกว่าครึ่งหนึ่งเกิดตั้งแต่ ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มของ stroke volume ส่วนในช่วงครึ่งหลังเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของ heart rate ในขณะที่ stroke volume ลดลงสู่ปกติ
Stroke volume เปลี่ยนแปลงตามปริมาตรของเลือดที่เพิ่มขึ้นและ systemic vascular resistance ที่ลดลงจากการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด ซึ่งเป็น vasodilation effect จากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และการมี arteriovenous shunting ไปยัง uteroplacental circulation
Heart rate เพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ประมาณ 15 bpm/min ทั้งนี้อาจสูงขึ้นอีกถ้ามีปัจจัยกระตุ้นอื่น เช่น ออกกำลังกาย เครียด การเปลี่ยนอแปลงทางอารมณ์ หรือยา เป็นต้น
Blood pressure จะลดลงในระหว่างการตั้งครรภ์ ตั้งแต่อายุครรภ์ 8 สัปดาห์ จนต่ำสุดในช่วง 24-28 สัปดาห์ ซึ่ง diastolic จะลดลงมากกว่า systolic ลดลงถึง 10 mmHg และจะกลับมาสู่ระดับปกติตอนอายุครรภ์ 36 สัปดาห์
Peripheral vascular resistance จะลดลงในไตรมาสแรก ลดลงต่ำสุดร้อยละ 34 ในช่วงอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ และจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเมื่อครรภ์ครบกำหนด เกิดจากการหลั่ง nitric oxide prostacyclin หรือ adenosine ที่จัดเป็น vasodilator ตอนช่วงคลอดจะลดต่ำลงมาได้ถึง ร้อยละ 40