Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช - Coggle…
บทที่ 5
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
ความหมายของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
กลุ่มอาการของโรคทางจิตเวชที่บุคคลมีความคิด ความรู้สึก ต่อรูปร่าง น้ำหนัก และการกินอาหารของตนที่บิดเบือนจากความเป็นจริงอย่างรุนแรง
ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
anorexia nervosa
วิตกกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวของตนเองตลอดเวลา
มีความกลัวอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว
กลัวอ้วนมากๆ ทั้งที่มีน้ำหนักตัวน้อย
แบบที่ 1 แบบจำกัด (restricting type)
ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมแบบรับประทานมาก
ไม่มีการขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating / purging type
ในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา
แบบที่ 2 แบบรับประทานมากและมีการขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating / purging type)
ทำให้ตนเองอาจาเจียน หรือการใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ หรือยาสวนถ่ายอย่างพร่ำเพรื่อ ในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยปฏิเสธการรับประทานอาหารเพื่อคงไว้ซึ่งน้ำหนักตัวในระดับปกติกลัวน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากการรับประทานอาหาร
จึงทำให้ผู้ป่วยน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ
ผู้ป่วยจะให้คุณค่ากับตนเองในการประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักตัวและรูปร่าง
ผู้ป่วยมักมีความคิดเห็นกี่ยวกับผู้อื่นผิดปกติไปเพราะมักคิดว่าตนเองปกติแต่ผู้อื่นผิดปกติ ทำ
การปฏิเสธการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการลดน้ำหนักและความผอมของตนเอง
bulimia nervosa
เห็นอาหารแล้วเกิดความอยากบริโภคและบริโภคได้ในปริมาณมากกว่าปกติ
เมื่อบริโภคเสร็จแล้วจะรู้สึกผิด ไม่สบายใจ และพยายามเอาอาหารที่บริโภคเข้าไปออกด้วยวิธีการต่างๆ
อาการและอาการแสดง
ลักษณะที่ 1
รับประทานอาหารในช่วงเวลาสั้นๆ ครั้งละมากๆ
ในระยะแรกผู้ป่วยจะรู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่ได้รับประทานอาหาร ทำให้ไม่สามารถหยุดพฤติกรรมการรับประทานอาหารของตนเองได้ พยายยามปกปิดอาการที่ตนเป็น
ลักษณะที่ 2
ไม่สามารถที่จะควบคุมการรับประทานได้ในระหว่างนั้น
แสดงออกทางพฤติกรรมชดเชยในลักษณะที่ไม่เหมาะสมอยู่เป็นระยะๆ ในการพยายามป้องกันน้ำหนักไม่ให้เพิ่มขึ้น เช่น ทำให้ตนเองอาเจียน
มีทั้งการรับประทานที่มากกว่าปกติ และพฤติกรรมชดเชยที่ไม่หมาะสม เกิดขึ้นเฉลี่ยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน 3 เดือน
สาเหตุ
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological factors)
• ด้านสารสื่อประสาทในสมอง
่ มีความส้มพันธ์กับความผิดปกติของระบบซีโรโทนิน (serotonin) มากที่สุด
2) ปัจจัยทางด้านจิตใจ (psychological factors)
พัฒนาการของจิตใจ
มีพัฒนาการติดอยู่ที่ระยะปาก (oral stage)
บุคลิกภาพ
ทุกอย่างสมบูรณ์แบบอยู่ตลอดวลา (perfectionist)
ลักษณะการเลี้ยงดู
มารดาที่มีลักษณะปกป้องลูกมากเกินไป(overprotection)
การบำบัดรักษาโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
1) การบำบัดรักษาทางกาย
อนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า
ระยะแรกจะเริ่มให้สารอาหารประมาณ 1,000-1,600 kcal/day และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง 3,000-4,000 kcal/day เป้าหมายของการเพิ่มน้ำหนักประมาณ 1-1.4 กิโลกรัม/สัปดาห์
2) การบำบัดรักษาด้วยยา (pharmacotherapy)
ssr
icas
3) จิตบำบัดรายบุคคล (individual psychotherapy)
ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี
4) การบำบัดความคิด (cognitive therapy)
การพยาบาลบุคคลที่มีโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
การดูแลให้ได้รับสารอาหารและน้ำที่เพียงพอ
ดูแลให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำส่วนกลาง (central venous catheter) กรณีมีข้อบ่งชี้ที่จำเป็น
ดูแลผู้รับบริกรอย่างใกล้ชิดระหว่างรับประทานอาหารและหลังรับประทานอาหาร ไม่อนุญาตให้เข้าห้องน้ำภายหลังการรับประทานอาหารอย่างน้อย 30 นที ภายหลังอาหารในแต่ละมื้อพยาบาลต้องเฝ้าระวังผู้รับบริการช่อนห่อหรือโยนอาหารทิ้ง และป้องกันไม่ให้ผู้รับบริการเข้าไปล้วงคออาเจียนในห้องน้ำ
การปรับพฤติกรรมการกินอหารโดยการให้หรือการจำกัดสิทธิพิเศษสำหรับผู้รับบริการ
บุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ
ความผิดปกติทางเพศ (sexual dysfunctions)
ความหมาย
ป็นกลุ่มอาการความผิดปกติที่รบกวนความสามารถของบุคคลในการตอบสนองทางเพศหรือการมีควมสุขทางเพศ
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ประเภทที่ 1-7 ต้องมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน
1) ภาวะหลั่งช้า (delayed ejaculation)
2) การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile disorder)
3) ความผิดปกติเกี่ยวกับความรู้สึกถึงจุดสุดยอดในหญิง (female orgasmic disorder)
4) ความผิดปกติเกี่ยวกับความสนใจ/ความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศในหญิง (female sexual interest/arousal disorders)
5) การเจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน/ความผิดปกติเมื่อมีการสอดใส (genitor-pelvic pain/penetration disorder)
6) การมีความต้องการทางเพศน้อยผิดปกติในชาย (male hypoactive sexual desire disorder)
7) ภาวะหลั่งเร็วผิดปกติ (premature (early) ejaculation)
8) ความบกพร่องในหน้าทีทางเพศอันเป็นผลจกการใช้ยาหรือสารเสพติด(substance/medication-induced sexual dysfunction)
9) ความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศอื่นที่ไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัย (other specified sexual dysfunction)
10) ความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศที่ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ (unspecified sexual dysfunction)
สาเหตุ
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหลั่งช้า (delayed ejaculation)
อายุที่เพิ่มขึ้น
การมาจากครอบครัวที่เคร่งครัดในเรื่องเพศ
ความวิตกกังวล
ความกลัวการทำให้ฝ่ายหญิงเกิดการตั้งครรภ์
ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งต้วของอวัยวะเพศชาย หรือการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile disorder)
อาจเกิดจากการพยายามควบคุมตนเองที่มากเกินไป ส่วนความผิดปกติที่เพิ่งเกิดขึ้นในภายหลัง ส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการเจ็บป่วยทางร่างกาย
ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติเกี่ยวกับความรู้สึกถึงจุดสุดยอดในหญิง (female orgasmic disorder)
พันธุกรรม
การเจ็บป่วยทางร่างกาย
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)
ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติเกี่ยวกับความสนใจ/ความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศในหญิง (female sexual interest/arousal disorders)
การถูกทารุณกรรมทางเพศและทางร่างกาย
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน/ความผิดปกติเมื่อมีการสอดใส (genitor-pelvic pain/penetration disorder)
ภาวะหมดประจำเดือน
ปัจจัยที่มีผลต่อการมีความต้องการทางเพศน้อยผิดปกติในชาย (male hypoactive sexual desire disorder)
อายุที่มากขึ้น ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า การใช้สุรา
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหลั่งเร็วผิดปกติ (premature (early) ejaculation)
ปัจจัยที่มีผลต่อความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศ อันเป็นผลจากการใช้ยา หรือ สารเสพติด(substance/medication-induced sexual dysfunction)
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง (gender dysphoria)
ความหมาย
เป็นความรู้สึกอึดอัดคับข้องใจที่เกิดจากความไม่สอดคล้องกันของเพศที่จิตใจต้องการเป็นกับเพศกำเนิดที่เป็นอยู่
ลักษณะอาการและอาการแสดง
1) ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศในเด็ก (gender dysphoria in children
อย่างน้อย 6 เดือน ร่วมกับมีลักษณะอาการและอาการแสดงอีก 5 อย่าง
เด็กผู้ชายจะชอบอย่างมากในการแต่งตัวคล้ายผู้หญิง หรือแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าของผู้หญิง ส่วนเด็กผู้หญิงจะชอบอย่างมากในการแต่งตัวคล้ายผู้ชาย และยืนยันที่จะไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่แสดงถึงความเป็นหญิง
มีความชอบอย่างมากในการแสดงบทบาทของเพศตรงข้ามในการละเล่นต่างๆ หรือในการเล่นในจินตนาการ
มีความชอบอย่างมากในการเล่นของเล่น เกมส์ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นของเพศตรงข้าม
มีความต้องการอย่างมากที่จะมีเพื่อนเล่นเป็นเพศตรงข้าม
เด็กผู้ชายจะปฏิเสธการเล่นของเล่น เกมส์ หรือกิจกรรมที่เป็นของผู้ชาย และหลีกเลี่ยงการละเล่นที่รุนแรง ส่วนเด็กผู้หญิงจะปฏิเสธการเล่นของเล่น เกมส์ หรือกิจกรรมที่เป็นของผู้หญิง
มีความไม่ชอบอย่างมากในอวัยวะเพศของตน
มีความต้องการอย่างมากที่จะมีลักษณะทางเพศทั้งปฐมภูมิ (primary sex characteristics) และทุติยภูมิ (secondary sex characteristics) ที่เหมือนกับเพศที่ต้องการ
2) ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ (gender dysphoria in adolescents and adult)
เวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยมีการแสดงออกอย่างน้อย 2 ข้อต่อไปนี้
มีความไม่สอดคล้องกันอย่างชัดเจนของเพศที่ต้องการเป็นกับลักษณะทางเพศทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ
มีความต้องการอย่างมากที่จะกำจัดลักษณะทางเพศทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพราะมีความไม่สอดคล้องกันอย่างมากกับเพศที่ต้องการเป็น (ในวัยรุ่นตอนต้น มีความต้องการอย่างมากที่จะป้องไม่ให้มีลักษณะทางเพศทุติยภูมิเกิดขึ้น)
มีความต้องการอย่างมากที่จะมีลักษณะทางเพศทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิของเพศตรงข้ามกับเพศที่ถูกกำหนดมา
มีความต้อการอย่างมากที่จะเป็นเพศตรงข้ามกับเพศที่ถูกกำหนดมา
มีความต้องการอย่างมากที่จะให้ผู้อื่นปฏิบัติกับตนเหมือนที่ปฏิบัติกับเพศตรงข้ามกับเพศที่ถูกกำหนดมา
มีความต้อการอย่างมากที่จะทำให้ผู้อื่นเชื่อว่า ตนมีความรู้สึกและการแสดงออกแบบเดียวกับเพศตรงข้ามกับเพศที่ถูกกำหนดมา
3) ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเองที่ไม่เข้าเกณฑ์การวินิฉัย (other specified gender dysphoria)
มีอาการไม่ครบตามเกณฑ์การวินิฉัยโรค
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเองที่ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ (unspecified gender dysphoria)
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ การมีระดับของฮอร์โมนของเพศตรงข้ามสูงกว่าปกติตั้งแต่ตั้งครรภ์
ปัจจัยทางจิตสังคม
ปัจจัยส่วนบุคคล
ลักษณะที่มีมาแต่กำเนิดของด็ก (temperament)
ปัจจัยด้านครอบครัวและสังคม
ทัศนคติของบิดามารดา และลักษณะการเลี้ยงดู
พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต (paraphilic dysfunctions)
ความหมาย
เป็นความผิดปกติที่บุคคลมีจินตนาการ อารมณ์เร้าทางเพศ หรือการแสดงออกทางพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ใช่วิธีปกติที่คนทั่วไปกระทำ
ลักษณะอาการและอาการแสดงอย่างน้อย 6 เตือน
1) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมาจากการแอบดูผู้อื่นเปลือยกายหรือมีเพศสัพันธ์ (voyeuristic disorder) โดยที่บุคคลนั้นต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
2) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้เปิดเผยอวัยวะเพศของตนให้บุคคลแปลกหน้าดู (exhibitionistic disorder)
3) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้สัมผัสและเสียดสีกับผู้อื่นโดยที่เขาไม่ยินยอม (frotteuristic disorder)
4) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้รับการดูถูกเหยียดหยาม ถูกดี ผูกมัด หรือได้รับความเจ็บปวดทรมานด้วยวิธีต่างๆ (sexual masochism disorder)
5) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้เห็นผู้อื่นได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน (sexual sadism disorder)
6) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้มีกิจกรรมทางเพศกับเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 13 ปี หรือน้อยกว่า) (pedophilic disorder) โดยบุคคลนั้นต้องมีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป และมีอายุมากกว่าเด็กอย่างน้อย 5 ปี
7) บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากกับวัตถุสิ่งของ (fetishistic disorder) เช่น ชุดชั้นในสตรี ถุงน่อง รองเท้า หรือส่วนของร่างกายที่ไมใช่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
มีอาการไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคดังกล่าวข้างต้น
บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้แต่งตัว สวมเสื้อผ้าของเพศตรงข้าม (transvestic disorder)
10) บุคคลมีการแสดงออกของพฤติกรรมทางเพศที่วิปริต
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ
ความสัมพันธ์ของความผิดปกติของฮอร์โมน androgen กับการเกิดอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศ
ความผิดปกติของสมองส่วน temporal lobe ในผู้ที่มีความผิดปกติในกลุ่มพฤติกรรมทางเพศที่วิปริต
ปัจจัยทางจิตสังคม
แนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)
ความรู้สึกวิตกกังวลต่อการถูกตัดอวัยวะเพศในเด็ก (castration anxiety) ทำให้เด็กหาวัตถุที่เป็นสัญญลักษณ์ของมารดาเพื่อใช้ทดแทนความปลอดภัยของตน
บุคคลที่มีกลุ่มโรคจากเหตุสะเทือนขวัญและความเครียด
ความหมายของกลุ่มโรคจากเหตุสะเทือนขวัญและความเครียด
กลุ่มโรคพบที่ได้ภายหลังการประสบเหตุการณ์ในชีวิต แบ่งออกเป็นโรคชนิดต่างๆหลากหลายโรคด้วยกัน ตามระยะเวลาและความรุนแรงของเหตุการณ์ที่มากระทบ
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ภาวะการปรับตัวผิดปกติ (adjustment disorder)
การตอบสนองภายใน 3 เดือนนับเริ่มต้นความกดดันที่เกิดขึ้นในชีวิตที่พบได้ในชีวิตประจำวัน
คงอยู่ไม่นานเกิน 6 เดือน
เลิกกับคนรัก, ปัญหาทางธุรกิจ, ปัญหาในชีวิตสมรส หรือความกดดันที่เกิดขึ้นในชีวิตที่เกิดตามพัฒนาการ เช่น การไปโรงเรียน, การแต่งงาน, การคลอดลูก
สาเหตุ
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
ผู้ที่มีประวัติความเจ็บป่วยรุนแรง เรื้อรัง ทุพพลภาพ
ปัจจัยทางจิตสังคม
ความสัมพันธ์ร่วมกันของลักษณะภาวะความกดดันที่เกิดขึ้นในชีวิตทั้งที่พบได้ในชีวิตประจำวัน
ผู้ที่มีพื้นอารมณ์แต่กำเนินที่มีความวิตกกังวลสูง
ความเปราะบางทางจิตใจของบุคคล
การบำบัดรักษา
การบำบัดด้วยยา
บยาในกลุ่ม benzodiazepine
การบำบัดทางจิตใจ
โรคเครียดแบบเฉียบพลัน (acute stress disorder: ASD)
ที่มีอาการและอาการแสดงตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปจนถึง 1 เดือนหลังเผชิญหรือถูกคุกคามจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ
ถูกทำร้ายร่างกายรุนแรง ประสบอุบัติเหตุรุนแรง การถูกล่วงละเมิดทางใดทางหนึ่ง
มีอาการในรูปแบบต่าง ๆเกี่ยวกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เผชิญหรือถูกคุกคามผุดขึ้นมาซ้ำ ๆ (intrusion) ตั้งแต่ 1 ข้อต่อไปนี้ขึ้นไป
ความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เผชิญหรือถูกคุกคามผุดขึ้นมาซ้ำ ๆโดยไม่ตั้งใจ
มีการฝันถึงเนื้อหาหรืออารมณ์
มีการกระทำหรือมีความรู้สึกเหมือนกับว่าเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เผชิญหรือถูกคุกคามนั้นกำลังเกิดขึ้นอีก (flashback)
ความทุกข์ใจอย่างหนักและยาวนานในการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เป็นสัญลักษณ์
มีปฏิกิริยาการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เป็นสัญลักษณ์หรือคล้ายเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เผชิญหรือถูกคุกคาม
มีความนึกคิดและอารมณ์เปลี่ยนไปในทางลบหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เผชิญหรือถูกคุกคาม (negative mood and dissociation) ตั้งแต่ 2 ข้อต่อไปนี้ขึ้นไป
ความสนใจหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก
มีสภาวะอารมณ์ทางลบอย่างต่อเนื่อง เช่น กลัว โกรธ อาย รู้ผิด
มีความเชื่อและความคาดหวังกับตัวเอง คนอื่น และโลกภายนอกในแง่ลบอย่างเกินจริงตลอด
ไม่สามารถระลึกถึงส่วนสำคัญของเหตุการณ์สะเทือนขวัญนั้น
รู้สึกแปลกแยกจากผู้อื่น
มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงเมื่อเจอสิ่งเร้าที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์สะเทือนขวัญนั้นตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป
หลีกเลียงหรือพยายามจะเลี่ยงความทรงจำ ความคิด ความรู้สึกเกี่ยวกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญนั้น
หลีกเลียงสิ่งภายนอกที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์สะเทือนขวัญนั้น เช่น ผู้คน สถานที่ บทสนทนา กิจกรรม วัตถุ หรือสถานการณ์
มีอาการตื่นตัวเปลี่ยนไปอย่างมากหลังประสบเหตุการณ์สะเทือนขวัญนั้นตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป
หงุดหงิดและโกรธง่าย
มีพฤติกรรมบ้าบิ่น หรือทำร้ายตัวเอง
ระแวดระวังมากไป
ตกใจมากกว่าปกติ
ปัญหาด้านสมาธิ
ปัญหาการนอน เช่น หลับยาก, หลับไม่สนิท, นอนไม่เต็มอิ่ม
สาเหตุ
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทได้แก่ norepinephrine และdopamine
มีการใช้สารเสพติด
ปัจจัยทางจิตสังคม
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
เกิดขึ้นเมื่อความขัดแย้งในจิตไร้สำนึกถูกกระตุ้นโดยเหตุการณ์ที่รุนแรง
ทฤษฎีทางความคิดและพฤติกรรม
อาการและอาการแสดงของโรคที่เกิดขึ้นมีความเชื่อมโยงกับการเผชิญหรือถูกคุกคามจากเหตุการณ์
การบำบัดรักษา
การบำบัดด้วยยา
ยาในกลุ่ม SSRIs เช่น sertraline, paroxetine ส่วนยาในกลุ่ม TCAs เช่น amitriptyline, imipramine
การบำบัดทางจิตใจ
การให้กำลังใจ ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความคิด
โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (post-traumatic stress disorder: PDST)
อาการและอาการแสดงตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป
ถูกคุกคามเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เช่น ถูกทำร้ายร่างกายรุนแรง ประสบอุบัติเหตุรุนแรง การถูกล่วงละเมิดทางใดทางหนึ่ง
อาการแสดงดังต่อไปนี้มากกว่า 1 เดือน
มีความทรงจำซึ่งทำให้เป็นทุกข์เกี่ยวกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เผชิญหรือถูกคุกคามผุดขึ้นมาซ้ำ ๆโดยไม่ตั้งใจ กรณีเป็นเด็กอาจมีการเล่นซ้ำ ๆในเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เผชิญนั้น
มีการฝันถึงเนื้อหาหรืออารมณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เผชิญหรือถูกคุกคาม
มีการกระทำหรือมีความรู้สึกเหมือนกับว่าเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เผชิญหรือถูกคุกคามนั้นกำลังเกิดขึ้นอีก (flashback)
มีความทุกข์ใจอย่างหนักและยาวนานในการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เป็นสัญลักษณ์หรือคล้ายเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เผชิญหรือถูกคุกคามนั้น
มีปฏิกิริยาการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เป็นสัญลักษณ์หรือคล้ายเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เผชิญหรือถูกคุกคามนั้นทั้งภายในและภายนอกทางร่างกายที่เกิดขึ้นชัดเจน
มีความนึกคิดและอารมณ์เปลี่ยนไปในทางลบหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เผชิญหรือถูกคุกคาม (negative mood and dissociation) ตั้งแต่ 2 ข้อต่อไปนี้ขึ้นไป
ไม่สามารถระลึกถึงส่วนสำคัญของเหตุการณ์สะเทือนขวัญนั้น
มีความเชื่อและความคาดหวังกับตัวเอง คนอื่น และโลกภายนอกในแง่ลบอย่างเกินจริงตลอด
มีสภาวะอารมณ์ทางลบอย่างต่อเนื่อง เช่น กลัว โกรธ อาย รู้ผิด
รู้สึกแปลกแยกจากผู้อื่น
ไม่สามารถรู้สึกถึงอารมณ์ทางบวกได้ เช่น ไม่รู้สึกสุข, พอใจ, รัก
มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงเมื่อเจอสิ่งเร้าที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์สะเทือนขวัญนั้นตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป
หลีกเลียงหรือพยายามจะเลี่ยงความทรงจำ ความคิด ความรู้สึกเกี่ยวกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญนั้น
หลีกเลียงสิ่งภายนอกที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์สะเทือนขวัญนั้น เช่น ผู้คน สถานที่ บทสนทนา กิจกรรม วัตถุ หรือสถานการณ์
มีอาการตื่นตัวเปลี่ยนไปอย่างมากหลังประสบเหตุการณ์สะเทือนขวัญนั้นตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป
มีพฤติกรรมบ้าบิ่น หรือทำร้ายตัวเอง
หงุดหงิดและโกรธง่าย
ระแวดระวังมากไป
ตกใจมากกว่าปกติ
มีสาเหตุเหมือนผู้ป่วยโรคเครียดแบบเฉียบพลัน
การบำบัดจะเหมือนผู้ป่วยโรคเครียดแบบเฉียบพลัน
การพยาบาล
ให้คำแนะนำหรือให้ความเห็นเพื่อช่วยในการตัดสินใจในการปรับตัวในการลดความกดดันต่าง ๆ
สนับสนุนให้ผู้ป่วยได้มีสำรวจ พูด สิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นกับตนเอง
สนับสนุนให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดในรูปแบบต่าง ๆที่เหมาะสมกับปัญหาความกดดันของผู้ป่วย
สนับสนุนให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกปลอดภัย โดยจัดสิ่งแวดล้อมหรือสถานที่ที่ปลอดภัย มีคนที่คุ้นเคยดูแลประคับประคอง มีกิจวัตรที่คุ้นเคยตามปกติ
ความผิดปกติทางจิตเวชจากการเสพสารเสพติด
ความหมาย
เป็นอาการและอาการแสดงที่ขึ้นกับชนิด ปริมาณ วิธีการใช้ ระยะเวลาที่ใช้ และการใช้สารเสพติดในขณะนั้นๆ
โรคของการใช้สารเสพติด (substance use disorder)
ความหมาย
รูปแบบพฤติกรรมที่ผิดปกติจากการใช้สารเสพติดอย่างไม่เหมาะสมของผู้เสพสารเสพติด
ลักษณะอาการและอาการแสดง
การใช้สารแบบมีปัญหา (substance abuse)
1 ข้อ ในช่วงใดช่วงหนึ่งใน 12 เดือนที่ผ่านมา
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำงานต่าง ๆ ได้เต็มที่
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายจากการใช้สารสารเสพติดนั้น ๆ เช่น ถูกจับกุม
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสารเสพติดนั้น ๆจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในด้านสังคม หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
การติดสาร (substance dependence)
3 ข้อขึ้นไป ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา
การดื้อยา (tolerance)
มีการเพิ่มปริมาณการใช้สารเสพติด
ผลที่มาจากสารเสพติดนั้น ๆลดลงไปอย่างมาก
อาการขาดยา (withdrawal)
มักใช้สารเสพติดชนิดนั้น ๆ ในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นหรือติดต่อกันนานมากกว่าที่คิดไว้
ตั้งใจอยู่เสมอที่จะหยุดหรือลดปริมาณการใช้สารเสพติดนั้น ๆแต่ไม่สำเร็จ
เวลาในแต่ละวันหมดไปกับกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อที่จะให้ได้สารเสพติดนั้น ๆมา
การใช้สารเสพติดนั้น ๆมีผลทำให้กิจกรรมสำคัญๆ ในด้านสังคม อาชีพ และกิจกรรมส่วนตัวเสื่อมลง
มีการใช้สารเสพติดนั้น ๆต่อไปเรื่อย ๆ แม้จะทราบว่าสารเสพติดนั้น ๆก่อให้เกิดปัญหาทางกายและจิตใจอยู่เป็นประจำก็ตาม
ภาวะเมาสาร (substance intoxication)
ความหมาย
กลุ่มอาการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและจิตใจจนเป็นปัญหาทำให้เกิดความบกพร่องในหน้าที่ด้านสังคม การงาน และด้านอื่นๆ
ลักษณะอาการและอาการแสดง
มีอาการอย่างน้อย 1 อย่างที่เป็นอาการเมาของสารเสพติดนั้น ๆ
โรคทางจิตเวชที่เกิดจากการใช้ติดสารเสพติด (substance induced mental disorder)
เป็นโรคทางจิตที่เป็นผลโดยตรงจากการใช้สารเสพติด
อาการและการแสดง
กลุ่มที่ 1 สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system stimulants) โคเคน (cocaine), แอมเฟตามีน (amphetamine), เมทแอมเฟตามีน (met-amphetamine)
สารที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อศูนย์ควบคุมความพึงพอใจ (pleasure or reward center) ในสมองส่วน limbic system ซึ่งทำให้สารสื่อประสาทชนิด serotonin, dopamine และ noradrenaline
สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางชนิดรุนแรง โคเคน (cocaine), แอมเฟตามีน (amphetamine), เมทแอมเฟตามีน (met-amphetamine)
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal) ของสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางชนิดรุนแรง อาการจะเกิดขึ้นหลังจากฤทธิ์ของสารกระตุ้นหมดไป และจะมีอาการคงอยู่ 2-3 วันหลังหยุดเสพ โดยจะมีความรู้สึกหดหู่ (dysphoria) อ่อนเพลีย เมื่อยล้ำ (fatigue) ปวดศีรษะ ฝันร้าย นอนหลับมาก รับประทานอาหารมากกว่าปกติ มี craving
ภาวะเมาสาร (substance intoxication) มีอารมณ์ครึกครั้นสนุกสนาน พูดมาก ชอบพบปะผู้คน ทำกิจกรรมตลอดเวลาและมักเป็นพฤติกรรมซ้ำ ๆ (compulsive behavior) หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย
สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางชนิดไม่รุนแรงและเป็นที่ยอมรับในสังคม ได้แก่ คาเฟอีนในเครื่องดื่ม เช่น คาเฟอีน (caffeine) ในกาแฟ, เครื่องดื่มชูกำลัง, นิโคติน (nicotine) ในยาสูบหรือบุหรี่
ภาวะเมาสาร (substance intoxication)อาการวิตกกังวล กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข ตื่นต้น หงุดหงิดง่าย ส่วนอาการทางกายจะเกิดกล้ามเนื้อกระตุก หน้าออกร้อน (flush face)
นิโคติน (nicotine) ในยาสูบหรือบุหรี่ พบได้น้อยโดยจะมีอาการปวดท้อง มึนงง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หน้าซีด ใจสั่น เหงื่อออกมาก อาเจียน และไม่มีแรง
กลุ่มที่ 2 กลุ่มนาร์โคติก (narcotic) เป็นสารที่ออกฤทธิ์ผ่าน opioid receptor จึงมักมีฤทธิ์ทำให้หายปวด (analgesic) และมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system suppression) และกดศูนย์การหายใจ (respiratory suppression) ทำให้ง่วงนอนและหลับ สารเสพติดในกลุ่มนี้ ได้แก่ สารฝิ่น (opium), มอร์ฟีน (morphine), เฮโรอีน (heroin)
ภาวะเมาสาร (substance intoxication) ของกลุ่มนาร์โคติก จะแสดงให้เห็นได้ชัดเจนหลังเสพทันทีโดยจะมีอารมณ์เคลิ้มสุขในระยะแรก จากนั้นจะเซื่องซึม หดหู่ อารมณ์ทางเพศลดลง เฉื่อยชา เฉยเมย ความสามารถในการเรียนและการทำงานลดลง
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal) ของกลุ่มนาร์โคติก จะเกิดเมื่อหยุดเสพภายในไม่กี่นาที หรือ 2 – 3 วันหลังหยุดใช้หรือลดปริมาณการเสพลง โดยจะมีอาการวิตกกังวล กระวนกระวาย ปวดกล้ามเนื้อตามตัว (muscle ache) อย่างมากโดยเฉพาะหลังและขา หงุดหงิดง่าย หดหู่
กลุ่มที่ 3 กลุ่มกดระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system depressants) เป็นสารที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อ limbic system ผ่าน GABA receptor ให้มีอาการหลงลืม (amnesia) สารเสพติดในกลุ่มนี้ ได้แก่ ยากลุ่ม barbiturates, ยากลุ่ม benzodiazepines, สุรา (alcohol)
ภาวะเมาสาร (substance intoxication) ยากลุ่ม barbituratesอาการแสดงคล้ายในภาวะเมาสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น งง สับสน สมาธิไม่ดี การทำงานประสานกันของกลัมเนื้อผิดปกติ (incoordination)
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal) ยากลุ่ม barbituratesระบบประสาทอัตโนมัติทำงานมากกว่าปกติ เช่น เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว มือสั่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข ปั่นป่วนในท้อง
กลุ่มที่ 4 กลุ่มหลอนประสาท (psychedelic drugs/Hallucinogen) เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อ serotonin และ glutamate receptor ทำให้ประสาทรับรู้บิดเบือน (perceptual disturbance) ประสาทหลอน หลงผิด และสับสน สารเสพติดในกลุ่มนี้ ได้แก่ สาร lysergic acid diethylamide (LSD), ketamine, phencyclidine (PCP), ยาอี (ecstasy), mescalin, เห็ดขี้เมา (mushrooms/psilocybin)
ภาวะเมาสาร (substance intoxication)
สาร lysergic acid diethylamide (LSD) ภาวะเมาสารจะเกิดขึ้นทันทีหลังเสพและคงอยู่ในระยะเวลาสั้นๆประมาณ 1 - 2 วัน แต่ถ้าเสพบ่อยครั้งอาการจะอยู่นานหลายวัน จนถึงประมาณ 2 สัปดาห์ ผู้เสพจะรู้สึกวิตกกังวลหรือมีอารมณ์เศร้อย่างมาก
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal)
สาร lysergic acid diethylamide (LSD) ณะเสพสาร (flashback) เห็นภาพบิดเบือน (visual distortion) ภาพหลอนทางภูมิทัศน์ (geometric hallucination) เช่น เห็นเพดานม้วนลงมา ผนังห้องเป็นคลื่นกระเพื่อม เห็นภาพขนาดใหญ่เกินจริง (macropsia) เห็นภาพเล็กเกินจริง (micropsia)
ภาวะถอนสาร (substance withdrawal)
ความหมาย
กลุ่มอาการที่เกิดจากการหยุดหรือลดปริมาณการใช้สารเสพติดที่เคยใช้ปริมาณมากมาเป็นเวลานาน
อาการและการแสดง
มีอาการอย่างน้อย 2 อย่างๆที่เกิดขึ้นภายใน 2 ถึง 3 ชั่วโมง ถึง 2 ถึง 3 วันหลังหยุดใช้หรือลดปริมาณการใช้สารเสพติดชนิดนั้น
บุคคลที่มีกลุ่มโรคอาการทางกาย
ความหมาย
กลุ่มโรคอาการทางกาย (somatic symptom and related disorders) บุคคลที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ หรือ มีความกดดันทางด้านจิตใจแต่แสดงอาการของการมีปัญหาทางด้านจิตใจออกมาให้เห็นเป็นความเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย
ลักษณะอาการและอาการแสดง
โรค somatization disorder
มีอาการปวด (pain) อย่างน้อย 4 ตำแหน่งพร้อมกัน
มีอาการของระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal symptom) อย่างน้อย 2 อาการ
อาการทางเพศ (Sexual symptom) อย่างน้อย 1 อาการ
อาการที่คล้ายโรคทางระบบประสาท (pseudo neurological symptom) น้อย 1 อาการ
โรค Hypochondriasis
ผู้ป่วยจะมีความกลัวหรือกังวลอย่างน้อย 6 เดือนว่าตนเองจะป่วยเป็นโรคร้ายโรคใดโรคหนึ่ง โดยที่ตนเองไม่มีการเจ็บป่วยนั้นจริง
สาเหตุของกลุ่มโรคอาการทางกาย
โรค somatization disorder
ปัจจัยด้านชีวภาพ
ผู้ป่วยมีความผิดปกติของระดับการใส่ใจ (attention) การรู้คิดและเข้าใจ (cognition) ทำให้ผู้ป่วยมีการรับรู้ (perception)
การทำงานที่น้อยกว่าปกติของสมองส่วนหน้า (frontal lope) และสมองซีกไม่เด่น (non – dominant hemisphere)
ปัจจัยทางจิตสังคม
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ มองว่า อาการแสดงทางร่างกายเป็นการสื่อแทนความรู้สึกภายในจิตใจ ในการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบหรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่ต้องทำ
ทฤษฎีการเรียนรู้ มองว่า อาการแสดงทางร่างกายที่เกิดขึ้น เป็นการรับแบบอย่างมาจากพ่อแม่ การอบรมสั่งสอน หรือเกิดจากวัฒนธรรมประเพณีบ้างอย่างที่สนับสนุน
โรค hypochondriasis
ถูกกระตุ้นได้ด้วยความเครียดหรือปัญหาชีวิต
มีประวัติถูกกระทำทารุณในวัยเด็ก
มีประวัติเจ็บป่วยร้ายแรงในวัยเด็กหรือเรียนรู้ที่จะใช้บทบาทการเป็นผู้ป่วยในการแก้ปัญหาชีวิต
มีแปลความรู้สึกของร่างกายผิดปกติ โดยผู้ป่วยจะขยายการรู้สึกความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายมากกว่าคนทั่วไป
การบำบัดรักษาของกลุ่มโรคอาการทางกาย
โรค somatization disorder
ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงในโรคนี้ แต่ผู้ป่วยจะได้รับการบำบัดตามปัญหาของผู้ป่วยเป็นรายๆไป
โรค hypochondriasis
โดยทั่วไปในผู้ป่วยโรคนี้การบำบัดด้วยยาไม่ค่อยได้ผล ผู้ป่วยอาจจะได้รับยาแก้ต้านเศร้าที่อาจช่วยให้อาการดีขึ้นบ้าง หรือหากผู้ป่วยมีโรคทางจิตเวชอื่นร่วมด้วย
โรคบุคลิกภาพผิดปกติที่พบบ่อย
ความหมายของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
พฤติกรรมและการดำเนินชีวิตที่เบี่ยงเบนหรือแตกต่างไปจากบรรทัดฐานและความคาดหวังของสังคม รวมทั้งวัฒนธรรมที่บุคคลนั้นๆ อยู่
กลุ่ม A มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีพฤติกรรมประหลาด พิสดาร (odd or eccentricity) เป็นกลุ่มที่มีการปรับตัวได้ยากในระดับที่มีความรุนแรงมากที่สุดและยากที่จะรักษาหายได้ ได้
กลุ่ม B มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ผิดปกติ หรือคาดเดาไม่ได้ (dramatic, emotional, or erratic) เป็นกลุ่มที่มีการปรับตัวยากในระดับที่มีความรุนแรงปานกลาง
กลุ่ม c มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีความหวาดกลัวหรือวิตกกังวลอย่างสูง (anxious or fearful) เป็นกลุ่มที่มีการปรับตัวยากในระดับที่มีความรุนแรงน้อยที่สุดและสามารถรักษาได้
ลักษณะอาการและอาการแสดง
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (antisocial personality disorders)
จะต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปี โดยจะมีลักษณะของการไม่สนใจใยดีถึงกฎเกณฑ์ความถูกต้องหรือกระทำการที่ละเมิดสิทธิผู้อื่น
อาการแสดงออกอย่างน้อย 3 จาก 7 อาการ
ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือมาตรฐานของสังคม
หลอกลวง ซึ่งเห็นได้จากการพูดโกหกช้ำแล้วซ้ำอีก ใช้การตบตาหรือหลอกลวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่น
หุนหันวู่วาม ไม่คิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะทำอะไรลงไป
หงุดหงิดและก้วร้าว มีเรื่องต่อสู้ใช้กำลัง หรือทำร้ายผู้อื่นบ่อยๆ
ไม่ใส่ใจถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
ขาดความรับผิดชอบอยู่เป็นประจำ ทำงานอยู่ไม่ได้นาน ไม่ชื่อสัตย์ทางการเงิน
ไม่รู้สึกสำนึกผิดหรือเสียใจต่อความผิดที่ได้กระทำลงไป มีท่าที่เฉยๆ หรืออ้างเหตุผลที่ทำไม่ดี ทำร้ายร่างกาย หรือขโมยของผู้อื่น
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อก้ำกึ่ง (borderline personality disorders)
อาการแสดงออกอย่างน้อย 5 จาก 9 อาการดังต่อไปนี้
พยายามอย่างคนเสียสติที่จะหนีความเป็นจริงหรือหนีจากการถูกทอดทิ้ง
สัมพันภาพกับผู้อื่นมีลักษณะที่ไม่แน่นอนระหว่างดีสุดๆ และชั่วร้ายสุดๆ
สับสนในความเป็นตัวของตัวเอง การมองภาพลักษณ์ของตนเองหรือความรู้สึกที่มีต่อตนเองไม่แน่นอน
แสดงพฤติกรรมหุนหันวู่วามซึ่งส่งผลร้ายหรือทำลายตนเองอย่างน้อย 2 อย่าง ได้แก่ สำส่อนทางเพศ ใช้สารสพติต ขับรถประมาท ดื่มจัด
มีพฤติกรรม ท่าทาง หรือพยายามที่จะทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายบ่อยๆ
มีอารมณ์ไม่สม่ำเสมอ ไม่คงที่เปลี่ยนแปลงง่าย
มีความรู้สึกเหงาหว้าเหว่เรื้อรัง
มีการแสดงออกของอารมณ์โกรธรุนแรงไม่เหมาะสม ควบคุมอารมณ์โกรธไม่ได้ ระเบิดอารมณ์รุนแรงได้ง่าย หรือทำร้ายร่างกาย
เมื่อมีความเครียด จะเกิดความหวาดระแวงหรือแสดงอาการแสดงเกี่ยวกับภาวะความจำ การรับรู้เกี่ยวกับตนเองสูญเสียไป (dissociative symptoms)
จะมีลักษณะของการขาดความมั่นคงแน่นอนในการที่จะมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependent personality disorders)
อย่างน้อย 5 จาก 8 อาการ
รู้สึกไม่สบายใจหรือหมดหนทางช่วยเหลือ
ไม่กล้าที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง ต้องอาศัยคำแนะนำ และการให้กำลังใจจากผู้อื่น
ต้องการให้คนอื่นเข้ามารับผิดชอบเรื่องสำคัญๆ ในชีวิตให้ตน
รู้สึกยากที่จะแสดงความคิดเห็นคัดค้าน หรือไม่เห็นด้วยกับคนอื่น เพราะกลัวเขาจะไม่ยอมรับหรือไม่ช่วยเหลืออีกต่อไป
ไม่สามารถที่จะคิดริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการใหม่ๆ และทำอะไรด้วยตนเองไม่ค่อยได้
ทำทุกอย่างที่จะให้ได้รับการช่วยเหลือเกื้อหนุนจากผู้อื่น
มื่อคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต้องมีอันจากไปหรือสัมพันธภาพต้องยุติลง
ครุ่นคิดแต่ในเรื่องที่จะถูกทอดทิ้งให้ต้องดูแลตนเอง
สาเหตุของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
พันธุกรรม (genetic)
การเจ็บป้วยด้วยโรคทางสมอง
มีการติดขัดในขั้นของพัฒนาการ
โครงสร้างทางจิต (psychic structure; id, ego, superego) บกพร่อง
การที่พ่อแม่เคร่งครัดไม่ผ่อนปรนและขาดเหตุผลต่อเด็ก
การที่พ่อแม่หรือบุคคลที่มีอำนาจในครอบครัวมีบุคลิกภาพผิดปกติ
ความยากจนและการขาดที่พึ่ง
การบำบัดรักษาโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
การบำบัดรักษาโรคบุคลิกภาพผิดปกติเป็นการรักษาตามอาการที่จำเป็นต้องควบคุม เช่น การให้ยาคลายกังวล เพื่อลตความวิตกกังวล การให้ยาลดอารมณ์เศร้าในกรณีที่ผู้ป่วยมีอารมณ์ซึมเศร้า
การพยาบาลบุคคลที่มีกลุ่มโรควิตกกังวล
ความหมาย
สภาวะอารมณ์การตอบสนองต่อสิ่งที่ถูกคุกคาม เกิดความรู้สึกหวาดหวั่น
ไม่สบายใจ กระวนกระวาย ไม่มั่นใจต่อสถานการณ์ทเี่กิดขึ้น
สาเหตุ (Etiology)
กรรมพันธุ์ (genetic)
กายวิภาคของระบบประสาท (neuroanatomical)
ภาวะของอารมณ์อยทูี่ limbic system ,diencephalon (thalamus และ hypothalamus) และ reticular formation
สารชีวเคมี (biochemical) การมี blood lactate สูงผิดปกติทา ให้ผู้ป่วยมีอาการ panic disorder
สารสื่อประสาท (neurochemical) จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่า สารสื่อประสาท โดยเฉพาะ
serotonin และGABA มีส่วนทา ให้เป็นโรคนี้
ลักษณะอาการของความวิตกกังวล
อาการทางร่างกาย
กล้ามเนื้อตึงเครียด เหนื่อย กระสับกระส่าย ปากแห้ง หนาว มือและเท้าเย็น ต้องการปัสสาวะ ตาพร่า กล้ามเนื้อสั่นกระตุก หน้าแดง เสียงสั่น กระสับกระส่ายและอาเจียน หายใจลึกและถี่ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
อาการแสดงด้านจิตใจและอารมณ์
อาการทางอารมณ์ที่มีความแตกต่างกันไปลักษณะอารมณ์ที่พบ ได้แก่ มีอาการกระสับกระส่าย หงุดหงิด
อาการแสดงด้านพฤติกรรม
ได้แก่ เดินไปเดินมา ลุกลี้ลุกลน นั่งไม่ติดที่ เอามือม้วนเส้นผม
ระดับของความวิตกกังวล
วิตกกังวลระดับปกติ (Normal)
มีความไม่สบายใจ มีความรู้สึกหวาดหวั่น
วิตกกังวลระดับน้อย (Mild anxiety)
เกิดได้ในชีวิตประจาวัน จะมีลักษณะตื่นตัวดี กระตือรือร้น สามารถสังเกตการณ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆได้ดี
วิตกกังวลระดับปานกลาง (Moderate anxiety)
มีการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆทั้งการมองเห็นการฟังมีประสิทธิภาพลดลง ความสนใจและสมาธิลดลง การรับรู้แคบลง
วิตกกังวลระดับสูง (Severe anxiety)
รับรู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้น้อยลง ความสนใจจดจ่ออยู่กับแค่บางสิ่งบางอย่าง ไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ต้องการพูดได้ พูดจาไม่รู้เรื่อง
การบำบัดรักษา
การรักษาด้วยยา
Ativan, Xanax, buspar เป็นยาที่นิยมใช้
การรักษาทางจิตสังคม
จิตบำบัดโดยจิตวิเคราะห์ จิตบาบัดโดยทฤษฎีมนุษย์นิยม
ชนิดของโรคในกลุ่มของโรควิตกกังวล
Generalized Anxiety Disorders (GAD)
ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมากผิดปกติต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต ได้แก่ การกลัวเกิดเหตุการณ์ร้าย ๆ กับบุคคลที่ใกล้ชิด เช่น การกลัวสามีถูกทาร้าย การกลัวบุตรจะประสบอุบัติเหตุ
Panic disorder
ความรู้สึกกลัว หรือไม่สบายใจอย่างรุนแรง
Phobia disorder
กลัวอย่างรุนแรง ไม่มีเหตุผล กลัวเกินเหตุ และเกิดขึ้นบ่อย โดยไม่สามารถระงับหรือหักห้ามความกลัวนั้นได้
Obsessive Compulsive Disorders (OCD)
การคิดหรือทาเรื่องหนึ่งเรื่องใดซ้าๆ โดยไม่สามารถหยุดยั้งได้ ทั้งๆที่รู้ว่าสิ่งที่คิดหรือทานั้นไม่สมเหตุสมผล
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะเพ้อ
กลุ่มอาการ ( SYNDROME) เป็นภาวะฉุกเฉิน ที่มีลักษณะความผิดปกติของสติสัมปชัญญะ การรู้สึกตัว(CONSCIOUSNESS)เกิดการเปลี่ยนแปลงของการรู้คิดและการรับรู้ (COGNITIVE FUNCTION)
เกณฑ์การวินิจฉัย ตาม DSM 5
บกพร่องของสมาธิ ความสนใจ และระดับความรู้สึกตัว(
เปลี่ยนแปลงในข้อ A เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ อาการขึ้นๆลงๆระหว่างวัน
ตรวจพบความผิดกติของความคิดและการรับรู้ (COGNITIVE FUNCTION)
อาการต่างๆ ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยภาวะCOMA
มีหลักฐานการเจ็บป่วยทางกายและมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา การใช้ยา สารเสพติดสารพิษ
อาการ
ไม่มีสติ ไม่มีสมาธิอย่างมาก คิดเลขง่ายๆไม่ได้
การรับรู้ และ ความคิดผิดปกติ
ตื่นกลางคืน (วุ่นวาย) นอนกลางวัน
การรับรู้เวลา สถานที่บุคคล บกพร่อง
สาเหตุ
METABOLIC IMBALANCE
SUBSTANCE ABUSE TOXICITY & WITHDRAWAL SYNDROMES
การขาดวิตามิน ในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง
สารสื่อประสาทและพยาธิสรีรวิทยา
ACETHYLCOLINEลดลง
DOPAMINE เพิ่มขึ้น
NOREPINEPHRINEในผู้ป่วย ALCOHOL WITHDRAWAL DELIRIUM ทำงานมากผิดปกติ
ขาดGABA
GLUTAMATE ถูกกระตุ้นในภาวะHYPOXIA เกิดการบาดเจ็บของเซลประสาท
กระบวนการพยาบาล
การป้องกันอุบัติเหตุ/การบาดเจ็บ
ป้องกันอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
บอกวันเวลาสถานที่ จัดปฏิทิน นาฬิกา ให้ผู้ป่วยเห็น
สมองเสื่อม ( DEMENTIA)
ความหมาย
การเสื่อมถอย ของ การทางานของสมอง
“ด้านความคิด การรับรู้” ความสามารถลดลงจากเดิมที่ เคยดีมาก่อน
ผลการเปลี่ยนแปลง มีผลกระทบต่อการดาเนินชีวิตของผู้ป่วย
เกณฑ์การวินิจฉัยDSM 5
ความบกพร่องของสมองด้านความคิดและการรับรู้อย่างน้อยหนึ่งด้าน
ผลกระทบต่อการดาเนินชีวิตอย่างอิสระด้วยตนเอง
สมาธิ และ ความสนใจ(ATTENTION)
ความสามารถด้านบริหารจัดการ (EXECUTIVE FUNCTION)
การเรียนรู้ ความจา การใช้ภาษา
ลักษณะ/อาการ
สูญเสียความสามารถทางสติปัญญา
กิจกรรมทั่วไปบกพร่อง
อารมณ์แปรปรวน
สาเหตุ
สมองเสื่อมแบบ ALZHEIMER การเสื่อมของเซลล์ประสาทเกิดจาก NEUROFIBRILLARY TANGLE (NFT) และ BETA AMYLOID PLAQUE
สมองเสื่อมที่เกิดจากพยาธิสภาพของหลอดเลือด
สมองเสื่อมจากเหตุอื่นๆ เช่น เบาหวาน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
การบาบัดรักษา
DONEPEZIL, RIVASTIGMINEและ GALANTAMINE
การดูแลทั่วไป BASIC ADL
โรคจิตเภท
ความหมาย
ความผิดปกติของความคิด การรับรู้ พฤติกรรม อารมณ์ และการสื่อสาร
เกณฑ์DSM-5
มีอาการต่อไปนี้ อย่างน้อย 2อาการในช่วงเวลา 1เดือน และอาการอย่างน้อย 1อย่าง ต้องเป็นอาการในข้อ 1,2หรือ 3
หลงผิด (DELUSION)
2.ประสาทหลอน(HALLUCINATION)
3.ความผิดปกติของการพูด (DISORGANIZED SPEECH)
4.ความผิดปกติของพฤติกรรม(DISORGANIZED BEHAVIOR)
5.อาการด้านลบ (NEGATIVE SYMPTOM)
มีปัญหาด้านการเข้าสังคม การงาน สัมพันธภาพ หรือสุขอนามัยของตนเอง
ไม่มีอาการเข้าได้กับโรค SCHIZOAFFECTIVE DISORDER หรือโรคในกลุ่มซึมเศร้า หรือ BIPOLAR DISORDE
4 A’S OF BLEULER
ASSOCIATIVE DISTURBANCE ความคิดไม่ต่อเนื่องกัน ขาดความเชื่อมโยงของความคิด แสดงออกโดยการพูดจาวกวนฟังไม่รู้เรื่องว่าพูดเรื่องอะไร
AFFECTIVE DISTURBANCEการแสดงอารมณ์ที่ไม่สอดคล้องกับเรื่องที่พูด เช่นพูดเรื่องเศร้ากลับหัวเราะหรืออารมณ์ไม่สมเหตุสมผล เช่น ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ หัวเราะเรื่อยเปื่อย
AUTISTIC THINKING อยู่ในโลกของตัวเอง คิดหมกมุ่น ไม่อยู่ในโลกของความจริง
AMBIVALENCEลังเลใจ ตัดสินใจไม่เด็ดขาด คิดกลับไปกลับมา
ลักษณะอาการ
อาการด้านบวก
ความคิดผิดปกติ หลงผิด หวาดระแวง
ประสาทหลอน หูแว่ว เห็นภาพหลอน
สื่อสารผิดปกติ พูดไม่รู้เรื่อง ตอบไม่ตรงคาถาม
แสดงพฤติกรรม การเคลื่อนไหวแปลกประหลาด
พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ทาร้าย ทาลาย
อาการด้านลบ
อารมณ์เฉยเมย ไร้อารมณ์
พูดน้อยหรือไม่พูดเลย สัมพันธภาพไม่ดี
แยกตนเอง ไม่สนใจสิ่งรอบตัว
ขาดแรงดลใจ ขาดความคิดสร้างสรรค์
ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชา
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ
สารชีวเคมีในสมอง( BIOCHEMICAL FACTORS)
เช่น DOPAMINE, SEROTONIN
กายภาพของสมอง LATERAL VENTRICLES ขยายใหญ่กว่าปกติ และ CORTICALสองด้านไม่เท่ากัน เหี่ยว ลีบ เล็ก
การบาบัดรักษา
การรักษาแบบผู้ป่วยใน
อาการทางจิตรุนแรง วุ่นวายมาก เป็นอันตราย มีอาการข้างเคียงของยา ไม่กินยา อาการกาเริบ
การรักษาด้วยยา
ยากลุ่มต้านโรคจิต เพื่อควบคุมอาการ
การรักษาด้วยไฟฟ้า (ECT)
ความผิดปกติทางด้านอารมณ์
โรคซึมเศร้า Depressive disorder
อาจแสดงอารมณ์เศร้ามากผิดปกติ (Depressive) ซึมเศร้ามาก ร้องไห้มาก ปฏิเสธสังคม อ่อนเพลีย หดหู่ใจ อยากตาย
ลักษณะอารมณ์เศร้า (Depression)
เศร้า หดหู่ใจ สะเทือนใจ ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล เบื่อหน่ายสังคม สิ่งแวดล้อมรอบตัว ท้อแท้ เหนื่อยหน่าย ซึมเฉย
โรคซึมเศร้ารุนแรง
การวินิจฉัยดูที่อาการแสดงครั้งเดียว หรือกลับเป็นอีกมากกว่า 2ครั้ง
พิจารณาตามระดับความรุนแรงของอาการ:mild, moderate, severe
มีอาการโรคจิตชัดเจน มีการสูญเสียการรับรู้ความจริง หลงผิด ประสาทหลอน
มีอาการของโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ต่อเนื่องและนานเป็นเวลาอย่างน้อย 2ปีขึ้นไป
มีอาการของโรคที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล
เป็นโรคซึมเศร้าที่เกิดในช่วงเวลาหลังคลอด โดยมีอาการภายใน 4สัปดาห์หลังคลอด
โรคซึมเศร้าดิสไธมิก(Dysthymic Disorder)
คล้ายโรคซึมเศร้ารุนแรง แต่อาการน้อยกว่า
มักเป็นอารมณ์เศร้าตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยรุ่น
เป็นมาไม่น้อยกว่า 2ปี
มี 2 ลักษณะ:Early Onset (อาการเริ่มเป็นก่อนอายุ 21), Late Onset (อาการเริ่มเป็นหลังอายุ 21ปีขึ้นไป)
โรคซึมเศร้าในช่วงก่อนมีประจาเดือน (Premenstrual DisphoricDisorder)
อารมณ์เศร้า วิตกกังวลเด่น อาการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงๆ และกดดันในสัปดาห์ที่มีประจาเดือน
จะมีอาการเกิดขึ้นประจาในช่วงรอบเดือนส่วนใหญ่ของปีที่ผ่านมา
โรคอารมณ์คุ้มคลั่ง Mania disorder
อาจมีอารมณ์ครื้นเครง คลุ้มคลั่ง เริงร่ามากกว่าปกติ (Mania)หัวเราะโดยไม่มีเหตุผลตลอดเวลา
ลักษณะอารมณ์คลุ้มคลั่ง (Mania)
ครึกครื้น ครื้นเครงมากกว่าปกติ อารมณ์ดีมากเกินปกติ หัวเราะร่าเริงโดยไม่มีเหตุผล คิดว่าตนเป็นใหญ่
เป็นความผิดปกติทางอารมณ์เป็นอาการเด่น โดยบุคคลอาจมีอารมณ์เศร้ามากผิดปกติ อ่อนเพลีย ร้องไห้ เศร้ามาก อยากตาย หรือ
อาจมีอารมณ์ดีมากผิดปกติ ครื้นเครง พูดมาก อาจมีอาการเพียงลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือทั้งสองลักษณะร่วมกัน
ปัจจัยเหตุของโรคอารมณ์แปรปรวน
ปัจจัยด้านชีวภาพ (Biological factors)
มีNorepinephrinต่าภาวะคลุ้มคลั่งจะมี NEสูง
การกระจายสารละลายNa & K ในและนอกเซลประสาทไม่สมดุล
โรคอารมณ์คลุ้มคลั่งสลับเศร้า(BipolarDisorders)
อารมณ์ขึ้นๆลงๆ โดยมีอารมณ์เศร้าระดับต่า ถึงอารมณ์เริงร่า คลุ้มคลั่ง (Euphoria-Mania) หรือมีอาการสุขสลับเศร้า
เกณฑ์การวินิจฉัยโรค
มีอาการต่อไปนี้มากกว่า 3 อาการ
ความรู้สึกคุณค่าในตนเองสูงเกินจริง
ต้องการพักผ่อนน้อยหรือนอนไม่หลับ
พูดมาก พูดไม่หยุด,
ความคิดฟุ้งซ่าน
ชนิด
Bipolar I
มีทั้งอารมณ์เศร้า (depress) หรืออารมณ์แบบผสม(mixed)
คยมีอาการเศร้ามาก่อน
Bipolar II
มีทั้งอารมณ์เศร้า สนุก ครื้นเครง
Cyclothymic Disorder
มีอาการปรากฏเป็นช่วงๆ อย่างน้อยเป็นเวลา 2ปี
มีอาการคลุ้มคลั่ง และเศร้า อาการอาจไม่ครบเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้ารุนแรง
ในช่วงกว่า 2ปี อาจไม่มีอาการตามเกณฑ์นานถึง 2เดือน
โรคอารมณ์แปรปรวนอื่นๆ
เป็นความผิดปกติที่มีผลต่อสภาพทางร่างกายโดยตรง
เป็นผลจากการใช้ยาและสารเสพติด สารบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์
การรักษา
ยาต้านอาการเศร้า (Antidepressant) : Amitriptyline 10, 25 มก.Imipramine 25 มก. Nortriptyline 10, 25มก.2)
ยารักษาโรคอารมณ์คลุ้มคลั่ง : Chlorpromazine, Haloperidol, Lithium
การรักษาด้วยไฟฟ้า