Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช …
บทที่ 5
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
ความหมาย
โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร (eating disorder) เป็นกลุ่มอาการของโรคทางจิตเวชที่ บุคคลมีความคิด ความรู้สึก ต่อรูปร่าง น้ำหนัก และการกินอาหารของตนที่บิดเบือนจากความเป็นจริงอย่างรุนแรง
ลักษณะอาการและอาการแสดง
อนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า (anorexia nervosa) เป็นภาวะที่บุคคลปฏิเสธการมีน้ำหนักตัวปกติ มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวของตนเองตลอดเวลา
• ผู้ป่วยปฏิเสธการรับประทานอาหารเพื่อคงไว้ซึ่งน้ำหนักตัวในระดับปกติ
• ผู้ป่วยจะให้คุณค่ากับตนเองในการประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักตัวและรูปร่าง
• ผู้ป่วยมักมีความคิดเห็นกี่ยวกับผู้อื่นผิดปกติไปเพราะมักคิดว่าตนเองปกติ
• ผู้ป่วยมักมีการขาดประจำเดือนร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะแสดงอาการในช่วงวัยรุ่นตอนต้น
บูลิเมีย เนอร์โวซ่า (bulimia nervosa) เป็นภาวะที่ร่างกายมีความรู้สึกผิดปกติ เห็นอาหารแล้วเกิด ความอยากบริโภคและบริโภคได้ในปริมาณมากกว่าปกติโดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้
• มีการรับประทานอย่างมากป็นระยะๆ
• แสดงออกทางพฤติกรรมชดเชยในลักษณะที่ไม่เหมาะสมอยู่เป็นระยะๆ ในการพยายามป้องกัน น้ำหนักไม่ให้เพิ่มขึ้น
• มีการประเมินตนเองเกี่ยวกับเรื่องของน้ำหนักตัวหรือรูปร่างอย่างมาก
สาเหตุของโรค
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological factors)
• ด้านพันธุกรรม
• ด้านสารสื่อประสาทในสมอง ระบบซีโรโทนิน (serotonin) มากที่สุด
2) ปัจจัยทางด้านจิตใจ (psychological factors)
• พัฒนาการของจิตใจ
• ลักษณะการเลี้ยงดู
• บุคลิกภาพ
3) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม (sociocultural factors)
• สัมพันธภาพในครอบครัว บุคคลที่มีลักษณะสัมพันธภาพในครอบครัวไม่ค่อยดีมีความขัดแยัง เกิดขึ้นภายในครอบครัว
• สังคมเมืองที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอุตสหกรรม มีฐานะทางสังคมและ เศรษฐกิจดี ทำให้บุคคลต้องใช้ความสวยงามและรูปร่างของตนเองในการประกอบอาชีพ
การบำบัดรักษาโรค
1) การบำบัดรักษาทางกาย
ดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางร่างกายตามอาการที่เกิดขึ้น
2) การบำบัดรักษาด้วยยา (pharmacotherapy)
• ยาต้านเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSR) ได้แก่ ยาฟูลออกซีทีน (fluoxetine) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า และบุคคลที่เป็นบูลิเมียเนอร์โวซ่า
• ยาต้านเศร้ากลุ่ม tricyclic antidepressant (ICAs) ได้แก่ ยาอะมิทริปไทลีน (amitriptyline) และยาอิมิพรมิน (imipramine) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นบูลิเมีย เนอร์โวซ่า
• ยาต้านโรคจิตกลุ่มใหม่ ได้แก่ ยาโอลานชาปืน (olanzapine) และ ยาริสเพอริโดน (risperidone) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า
• ยากระตุ้นความอยากอาหาร ได้แค่ megestrolacetate ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า
3) จิตบำบัดรายบุคคล (individual psychotherapy)
ช่วยให้บุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารเข้าใจ ยอมรับการเจ็บป่วย และให้ความร่วมมือในการรักษาเพิ่มขึ้น
4) การบำบัดความคิด (cognitive therapy)
เพื่อแก้ไขความคิดและความคิดรวบยอด เกี่ยวกับตนเองทั้งเรื่อง รูปร่างและน้ำหนักตัวที่บิดเบื่อนจากความจริงอย่างรุนแรง
5) พฤติกรรมบำบัด (behavioral therapy)
ผู้บำบัดจะต้องสังเกตอาการของการรับประทานอาหาร และอาการแสดงของความผิดปกติของการรับประทานอาหารอย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนในการบำบัดที่เหมาะสม
6) ครอบครัวบำบัด (family therapy)
พยายามให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการหยุดพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ
8) โภชนาการบำบัด (nutrition therapy)
นักโภชนการจะดูแลวางแผนจัดเมนูอาหารที่เหมาะสม สำหรับบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารและให้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร
7) กลุ่มบำบัด (group therapy)
บุคคลที่มีความผิดปกติของการการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ ส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมแยกตัวออกจากคนอื่น
9) อาชีวบำบัต (occupational therapy)
เรียนรู้การวางแผนในการเลือกซื้อหารและประกอบอาหารตัวยตนเอง เพื่อให้บุคคลที่มีความ ผิดปกติของการรับประทานอาหารสามารถวางแผนจัดเมนูอาหารออกมาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การพยาบาลบุคคลที่มีโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
1) การประเมินสภาพ (assessment)
• การซักประวัติ เพื่อประเมินเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยทั้งด้านความคิดและพฤติกรรม
• การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram)
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
มีภาวะขาตสารอาหารเนื่องจากปฏิเสธการรับประทานอาหารหรือความอยากอาหารลดลง
เกิดภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโตรไลท์ในร่างกายเนื่องจากมีพฤติกรรมล้วงคออาเจียน
เสี่ยงต่อการบาดเจ็บในช่องปากเนื่องจากมีพฤติกรรมล้วงคออาเจียน
เสี่ยงต่อการผลัตตกหกล้มเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
1) การดูแลให้ได้รับสารอาหารและน้ำที่เพียงพอผู้รับบริการที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
2) การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
3) การรักษาด้วยยา บทบาทที่สำคัญของพยาบาล คือ การดูแลให้ผู้รับบริการได้รับยาครบถ้วนตามแผนการรักษา
4) การให้คำปรึกษา
4) การประเมินผล (evaluation)
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1-14 กิโลกรัมต่อสัปดาห์
ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น จังหวะการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต
ระบบทางเดินอหาร ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากพฤติกรรมการล้วงคออาเจียน
ระบบสืบพันธุ์ การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศและประจำเดือนมาปกติ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการปกติ
นางสาวธารารัตน์ มีวงษ์ รหัส 180101119