Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5.13 การพยาบาลบุคคลที่มีโรคจิตเภท, :star:นางสาวธาริณี ไหวพริบ รหัส…
บทที่ 5.13 การพยาบาลบุคคลที่มีโรคจิตเภท
ความหมาย
ความผิดปกติจะเกิดขึ้นหลายอย่างแบบค่อยเป็นค่อยไปได้แก่ ความผิดปกติของความคิด การรับรู้ พฤติกรรม อารมณ์ และการสื่อสาร โดยอาจเริ่มต้นที่สัมพันธภาพบกพร่อง ไม่ค่อยสนใจสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ครอบครัวและสังคมเป็นอันมาก
เกณฑ์การวินิจฉยัตาม DSM 5
A.มีอาการต่อไปนี้ อย่างน้อย 2 อาการในช่วงเวลา 1 เดือน และ อาการอย่างน้อย 1 อย่าง ต้องเป็นอาการในข้อ 1,2 หรือ 3
หลงผิด (delusion)
2.ประสาทหลอน(hallucination)
3.ความผิดปกติของการพดู (disorganized speech)
4.ความผิดปกติของพฤติกรรม(disorganized behavior)
5.อาการด้านลบ (negative symptom)
B. มีปัญหาด้านการเข้าสังคม การงาน สัมพันธภาพ หรือสุขอนามัยของตนเอง
C.มีอาการผิดปกติต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งต้องมีอาการในข้อ A อย่างน้อย 1 เดือน โดยช่วงที่เหลือเป็น ระยะเวลาของอาการนำหรืออาการหลงเหลือ อาจมีเพียงอาการด้านลบหรือมีอาการอย่างน้อย 2 อาการในข้อ A.
ที่เหลืออยู่เพียงเบาบาง เช่น มีความคิด หรือประสบการณ์การรับสัมผัสแบบแปลกๆ
E. อาการไม่ได้เกิดจากยาหรือสารเสพติดหรือโรคทางกาย
D. ไม่มีอาการเข้าได้กับโรค Schizoaffective disorder หรือโรคในกลุ่มซึมเศร้าหรือ Bipolar disorder ที่มีอาการทางจิตร่วมด้วย
F. หากมีประวัติของโรค Autism spectrum disorder หรือ Communication disorder ที่เป็นในวัยเด็กจะ วินิจฉัยโรคจิตเภทร่วมด้วยได้ต่อเมื่อมีอาการหลงผิดหรือประสาทหลอนเป็นอาการเด่นเพิ่มจากข้ออื่นในข้อ A.นาน อย่างน้อย 1 เดือน(หรือน้อยกว่าหากการรักษาได้ผลดี)
ลักษณะอาการ
กลุ่มอาการด้านบวก (Positive symptoms)
แสดงออกทางด้านความผิดปกติของความคิด การรับรู้ การติดต่อสื่อสารและการแสดงพฤติกรรม
เช่นมีอาการหลงผิด
ประสาทหลอน
หวาดระแวง
พูดไม่รู้เรื่อง
กลุ่มอาการด้านลบ (Negative symptoms)
แสดงออกทางสีหน้าและอารมณ์ ได้แก่ สีหน้าเฉยเมย ไม่ แสดงอารมณ์ใดๆ ไม่พูด แยกตัวเอง ขาดความสนใจและความกระตือรือร้นในการปฏิบตัิกิจกรรมต่าง ๆ
โรคจิตเภทมีอาการ ที่เรียกวา่จิตแตกสลาย ( Split of mind) ประกอบด้วยอาการ 4 A’s
Affective disturbance
การแสดงอารมณ์ที่ไม่สอดคล้องกับเรื่องที่พูด
เช่นพูดเรื่องเศร้ากลับหัวเราะ
หรืออารมณ์ไม่สมเหตสุมผล
เช่นร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ หัวเราะเรื่อยเปื่อย
Autistic thinking
อย่ใูนโลกของตัวเอง คิดหมกมุ่น ไม่อยู่ในโลกของความจริง
Associative disturbance
ความคิดไม่ต่อเนื่องกันขาดความเชื่อมโยงของความคิด แสดงออกโดยการพูดจาวกวนฟังไม่รู้เรื่องว่าพูดเรื่องอะไร
Ambivalence
ลังเลใจ ตัดสินใจไม่เด็ดขาดคิดกลับไปกลับมา
สาเหตุ
ปัจจัยด้านชีวภาพ ( Biological factors)
1.2 สารชีวเคมีในสมอง ( Biochemical factors )
เช่น โดปามีน (Dopamine) ซีโรโทนิน ( Serotonin)
1.3 กายภาพของสมองที่ผิดปกติ พบว่าส่วนของ lateral ventricles ขยายใหญ่กว่าปกติ และ cortical สองด้านไม่เท่ากันมีสภาพเหี่ยวลีบเล็กลง
1.1 พันธุกรรม ( Genetics)
ปัจจัยทางด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
2.2 กระบวนการพัฒนาการ และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ลักษณะการเลี้ยงดูในวัยเด็กที่ส่งผลต่อกระบวนการพัฒนาทางจิตใจ
2.3 ความเครียด
2.1 ความขัดแย้งภายในจิตใจ
เช่นการวิพากษ์วิจารณ์ การจู้จี้ ้ไม่เป็นมิตร เป็นต้น
2.4 สภาพสังคมและวัฒนธรรม ครอบครัวที่มีเศษฐานะต่ำ ขาดสารอาหาร ที่อยู่อาศัยที่แออัด สกปรก
การบำบัดรักษา
2.การรักษาด้วยยา
เพื่อควบคุมอาการและลดการกำเริบ ผู้ป่วย จะต้องกินยาต่อเนื่อง 4-6 สัปดาห์ และไม่ควรหยุดยาเอง หากผู้ป่วยไม่ยอมกินยา แพทย์จะให้ยาฉีดที่มีฤทธิ์นาน (long acting)ทกุ 2-4 สัปดาห์
1) ระยะเฉียบพลัน(acute phase)
ยาเม็ด เช่น chlorpromazine (CPZ),perphenazine,haloperidol,melleril,clozapine,risperidone,olanzapine
ยาฉีด เช่น fluphenazine decanoate, haloperidol decanoate เป็นต้น
2) ระยะควบคมุอาการให้คงที่ (stabilization phase)
หลังจากอาการสงบแล้วต้องได้รับยาขนาดเดิมต่อเนื่องอีก 6 เดือน
3) ระยะคงที่ (maintainance phase)
เพื่อป้องกันการกำเริบและส่งเสริมการฟื้นฟูทางจิตเวชโดยแพทย์ จะให้ยาขนาดต่อเนื่องที่จะควบคุมอาการได้
3.การรักษาด้วยไฟฟ้า (ECT)
กรณีที่ผ้ปู่วยไมต่อบสนองตอ่การรักษาด้วยยา และมีอาการรุนแรงมาก หรือ ชนิด catatonic มีภาวะซมึเศร้าหรือเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
1.การรักษาแบบผู้ป่วยใน
1.1 เป็นอันตรายต่อตนเองและบุคคลอื่นหรือสังคม
1.2 มีอาการข้างเคียงของยาอย่างรุนแรงที่ต้องดูแลใกล้ชิด
1.3 ไม่ร่วมมือในการรักษา ไม่ยอมกินยา
1.4 ไม่สามารถดูแลตัวเองได้
1.5 มีพฤติกรรมวุ่นวายอย่างมาก
1.6 มีอาการของโรคทางกายที่ต้องควบคุมการรักษา
1.7 มีอาการทางจิตรุนแรงมาก
1.8 มีปัญหาในการวินิจฉัยโรค
การรักษาทางจิตใจและสังคม
เป็นส่วนสำคญัของการรักษาที่ท าควบคไู่ปกบัการรักษาด้วยยาเช่น นิเวศน์บำบัด(milieu therapy) กลมุ่บำบัด(group therapy) การให้ความรู้/คำแนะนำเกี่ยวกับโรค เป็นต้น
กระบวนการพยาบาล
การวินิจฉัยการพยาบาล
สัมพันธภาพบกพร่องเนื่องจากแยกตัวเองและไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
บกพร่องในการดูแลกิจวัตรประจำวันเนื่องจากหมกมุ่นอยู่ในโลกส่วนตัว
มีแนวโน้มเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นเนื่องจากหลงผิดว่ามีคนคอยทำร้าย
อาการเป็นซ้ำเนื่องจากปฏิเสธการรักษาและรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง
ความคิดและการรับรู้ผิดปกติเนื่องจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล
การปฏิบัติการพยาบาลตามพฤตกิรรมปัญหา
3.1 ความคิดผิดปกติ
1.สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด เข้าใจและยอมรับ ความคิดและพฤติกรรมของผ้ปู่วยวทุกอย่างเป็นจริงด้วยท่าทีที่สงบ เป็นมิตร จริงใจ
2.รับฟังเรื่องที่ผู้ป่วยเล่า โดยไม่กล่าวคำขัดแย้ง
ผู้ป่วยที่หลงผิดมากมีอาการคล้มุคลั่งต้องควบคุมพฤติกรรมรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้
ผู้ป่วยที่สื่อสารแบบคลุมเครือพยาบาลต้องสอบถาม ขอความกระจ่าง
ผู้ป่วยพูดวกวนบอกรายละเอียดที่ไม่สัมพันธ์กัน ต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าผู้ป่วยกำลังจะบอกอะไร
สนทนากับผู้ป่วยในบริบทของความเป็นจริง เบี่ยงเบนความสนใจของผู้ป่วยจากความหลงผิดโดย กระต้นุให้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น เล่นไพ่ ทำงานศิลปะ
แนะนำวิธีการที่จะลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับ ความคิดผิดปกติ เช่น พูดคุยกับเพื่อนที่ไว้ใจ
สนับสนุนให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ที่เป็นและการดูแลสขุภาพร่างกายให้แข็งแรง
3.2 การรับรู้ผิดปกติ (ประสาทหลอน)
ข้อ 1-3 เหมือน 3.1 ความคิดผิดปกติ
4.ไม่โต้เถียง หรือพยายามที่จะแก้ไขความเชื่อของผู้ป่วย กรณีที่ผู้ป่วยกำลังได้ยินเสียงสั่ง พยาบาลไมค่วรพูดว่า ผู้ป่วยได้ยินไปเอง แต่ควรพูดว่าพยาบาลไม่ได้ยินเสียงนั้น
สอบถามผู้ป่วยว่าเมื่อเกิดอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยปฏิบัติตัวอย่างไร
แสดงให้ผู้ป่วยรับรู้ว่าพยาบาลใส่ใจในความรู้สึกของผู้ป่วยและผลกระทบของความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
การบอกความจริง(Present reality)ในกรณีที่ผู้ป่วย สามารถยอมรับความจริงนั้นได้ พร้อมทั้งพยาบาลแสดง ให้ผู้ป่วยทราบวา่พยาบาลยอมรับความรู้สึกของผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่ insight ดี ยอมรับการเจ็บป่วยพยาบาลอาจแนะนำให้ผู้ป่วยใช้วิธีการเผชิญต่ออาการประสาทหลอน
จัดให้ผู้ป่วยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยร่วมกลุ่มกิจกรรมบำบัด กับ ผู้ป่วยอื่นๆ เช่น กลุ่มการดูแลตนเอง เมื่อเกิดประสาทหลอน
ชักชวนให้ผู้ป่วยได้พูดคุยมีสัมพันธภาพกับผู้ป่วยคนอื่นเมื่อมีเวลาวา่งโดยพยาบาลเป็นผู้นำสนทนาเริ่มจากกลุ่มเล็กก่อน
กระต้นุให้ผ้ปู่วยตระหนกัถงึความสำคัญของการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่หยุดยาเอง
3.3 การสื่อสารบกพร่อง
ประเมินว่าการสื่อสารที่ผิดปกติของผ้ป่วยเกิดขึ้นในลักษณะใดเกิดแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
ในการสนทนากับผู้ป่วยควรจัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบ สงบ ไม่มีสิ่งกระตุ้น
พิจารณาว่าผู้ป่วยได้รับยากลุ่มต้านโรคจิตกลุ่มใด มานานเท่าใด
สื่อสารกับผู้ป่วยด้วยคำพูดที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
การสื่อสารช้าๆใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล มีหางเสียง
พยายามสำรวจความรู้สึกวิตกกังวล ซึมเศร้า ที่แฝง มากับคำพูดและท่าทางการแสดงออก
ถ้าผู้ป่วยสื่อสารแล้วพยาบาลไม่เข้าใจ พยาบาลควร สอบถามโดยใช้เทคนิคการสนทนา เช่น “ดิฉันไม่เข้าใจ ที่คุณพูดว่า .......” “คุณช่วยอธิบายคำว่า ............”
ถ้าผู้่ป่วยพูดออกนอกเรื่องพยาบาลต้องดึงผู้ป่วยให้ กลับมาอยู่ในหัวข้อการสนทนาที่เป็นจริงขณะนั้น โดยไม่ตำหนิหรือว่าผู้ป่วยเช่น “เรากำลังพูดถึงเรื่องที่ คุณคิดวาสามีไม่มีความจริงใจให้คุณ”
3.4 ผู้ป่วยจติเภทที่มีอาการหวาดระแวง
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด เข้าใจและยอมรับพฤติกรรมของผู้ป่วยว่าทุกอย่างเป็นจริงด้วย ท่าทีที่สงบ เป็นมิตร จริงใจ
รับฟังเรื่องที่ผู้ป่วยเล่า โดยไม่กล่าวคำขัดแย้ง
พูดคุยทักทายกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการจ้องมอง หัวเราะและพูดซุบซิบกับคนอื่นต่อหน้าผู้ป่วย ถ้าจะพูดกับผู้ป่วยคนอื่นก็ต้องพูดให้ผู้ป่วยได้ยินด้วย
ใช้คำพูดที่ตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย ไม่ต้องตีความ
สอบถามผู้ป่วยถึงความคิดว่าผู้อื่นปองร้าย และผู้ป่วยมีวิธีการจัดการอย่างไร
ผู้ป่วยระแวงสงสัยว่าอาหารมียาพิษ พยาบาล บอกความจริงและอาจจะชิมอาหารให้ดู
ผู้ป่วยที่มีความคิดหลงผิด หรือประสาทหลอน การสื่อสารกับผู้ป่วยให้ใช้หลักการเดียวกับที่ได้กล่าวไปแล้ว
บอกและอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจก่อนปฏิบัติการ พยาบาลทุกครั้งว่าพยาบาลจะทำอะไร
หากผู้ป่วยกล่าวโทษ ตำหนิ ไม่ชอบคนนั้น คนนี้ พยาบาลรับฟังเพื่อเป็นข้อมูลไม่ควรกล่าวแก้ตัว หรือขัดแย้งใดๆกับผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่โกรธ ก้าวร้าว มีแนวโน้มความรุนแรง พยาบาลต้องระวังพฤติกรรมอันตราย ไม่จัดให้มีสิ่ง กระตุ้นและจัดให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ใช้แรงให้มาก เช่น เล่นกีฬา ทำสวน เป็นต้น
ผู้ป่วยที่ก้าวร้าว ทำอันตรายผู้อื่น พยาบาลต้องจำกัดพฤติกรรมโดยเรียกชื่อสะท้อนพฤติกรรมและ บอกวา่พยาบาลจะช่วยอย่างไร
พูดคุยโดยใช้เทคนิคการสนทนาที่จะช่วยลด ความรู้สึกก้าวร้าวรุนแรง หากผู้ป่วยเริ่มคิดรู้สึกไม่ดีกับผู้อื่นควรจัดการอย่างไร เช่น หยุดคิด คิดเรื่องอื่นแทน หากิจกรรมทำ หรือบอกพยาบาล เป็นต้น
จัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรมทำงานร่วมกันและพูดคุย กับผู้ป่วยคนอื่น
จัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัดผู้ป่วยอาจต่อต้าน ว่ากลุ่มไม่ดี ไม่น่าสนใจมีแต่คนบ้า พยาบาลต้องอดทนจัดกิจกรรมให้น่าสนใจและเมื่อผ้ปู่วยทำ กิจกรรมได้สำเร็จต้องให้แรงเสริมทันที
จัดให้ผู้ป่วยได้ทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด สมาธิร่วมกับผู้อื่นอย่างน้อย 1- 2 คน เช่น หมากรุก ไพ่บริดจ์ ทั้งนี้ต้องไม่มีการแข่งขันหรือพนันขันต่อกัน
ดูแลให้ได้รับยากลุ่ม Neuroleptics ตามแผนการ รักษา
การประเมินผู้ป่วย (assessment)
1.1 สภาพทั่วไป ลักษณะของผู้ป่วย เพศ วัย การแต่งกาย ความสะอาด
สุขอนามัย การดูแลตนเอง การ เคลื่อนไหว บาดแผล (ถ้ามี)
สภาพที่ญาตินำมาส่งโรงพยาบาล
1.2 อารมณ์ ลักษณะการแสดงอารมณ์ อารมณ์ไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์
หรือเฉยเมย ไม่แสดงอารมณ์ใดๆ ถ้าถูกขัดใจ น้ำเสียง ก้าวร้าว
รุนแรง คลุ้มคลั่งได้
1.3 การพดูสื่อสาร การตอบคำถาม ผู้ป่วยบางคนจะพูดวกวน หรือพูดเร็ว
จนจับใจความไม่ได้หรือไม่พูด การหยุดชะงักของคำพูด
1.4 เนื้อหาความคิด หลงผิดเป็นเรื่องที่ไม่เป็นจริง คิดว่ามีคนคอยติดตาม
ไม่หวังดี นินทา ให้ร้าย
1.5 การรับรู้ความเป็นจริง อาการประสาทหลอนผู้ป่วยไม่พูดตรงๆ จะสังเกต
ได้จากการเอามือป้องหูหหรือการพูดคนเดียว
1.6 การตระหนัก ต่อ ความเจ็บป่วยของตนเอง ส่วนใหญ่ผู่ป่วยจะไม่รับว่า
ตนเองป่วยมกับอกว่ามา โรงพยาบาลด้วยเหตุอื่น
:star:
นางสาวธาริณี ไหวพริบ รหัส 180101120