Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเลือกทำเลที่ตั้งและลักษณะของเรือนไทย 4 ภาค - Coggle Diagram
การเลือกทำเลที่ตั้งและลักษณะของเรือนไทย 4 ภาค
การเลือกทำเลที่ตั้ง
ภาคอีสาน
เป็นภาคที่มีความแห้งแล้งกว่าภาคอื่นๆ ถึงแม้ว่า ในแต่ละปีฝนตกไม่น้อยกว่าภาคกลางแต่เนื่องจากดิน ในภาคนี้เป็นดินทรายซึ่งไม่อุ้มน้ำจึงไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ แต่บางปีก็เกิดน้ำท่วมใหญ่ จึงมีการเลือกตั้งสถานที่ ทั้งที่ราบลุ่ม ใกล้แหล่งน้ำที่ดอนมีน้ำซับ หรือชายป่า
ภาคเหนือ
ชาวเหนือนิยมตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น้ำระหว่างหุบเขา เมื่อเมืองขยายตัวขึ้น จึงต้องมีการจัดการ ระบบชลประทานที่เรียกว่า"ฝาย" เพื่อให้มีน้ำใช้ในการเกษตร
ภาคกลาง
เป็นที่ราบลุ่มที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย การตั้งบ้านเรือนจึงมักสร้างอยู่ริมแม่น้ เป็นแนวยาวไปตลอดทั้งสองฝั่งของริมน้ำ
ภาคใต้
ถึงแม้ว่าภาคใต้จะมีฝนตกชุกและมีแม่น้ำลำคลองหลายสาย แต่ชาวบ้านก็อาศัย น้ำบ่อ หรือน้ำพัง(ตระพัง) ในชีวิตประจำวัน เหตุผลที่ไม่นิยมใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลอง เนื่องจากแม่น้ำภาคใต้ มีอิทธิพลจากน้ำเค็มเมื่อน้ำทะเลหนุน
ลักษณะของเรือนไทยในแต่ละภาค
เรือนภาคเหนือ
บริเวณที่อยู่อาศัยของภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็น เรือนที่อยู่อาศัย จึงต้องมีชายคาที่ลาดคลุมลงมาถึงตัวเรือน และมีหน้าต่างน้อย
ลักษณะเด่นที่ทำให้สังเกตได้ว่าเป็นเรือนภาคเหนือ คือ มียอดปั้นลม นิยมประดับไม้กาแลที่แกะสลักอย่างงดาม
โดยเรือนกาแลเป็นที่นิยมปลูกมากในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และเขตลำน้ำปิงตอนเหนือ
เรือนภาคอีสาน
เรือนกึ่งถาวร แบ่งเป็นเรือนเหย้า เป็นเรือนเครื่องผูกหรือ ผสมเรือนเครื่องสับ เป็นเรือนของเขยที่พึ่งแยกตัวออกจากเรือนของพ่อแม่
รือนตั้งต่อดิน เป็นเรือนที่มีสัดส่วนและแข็งแรงกว่าตูบต่อเล้า นิยมปลูกเป็นเรือนแฝดใต้ถุนสูง ลักษณะคล้ายเรือนเกย
เรือนทางภาคอีสานมีทั้งเรือนเครื่องผูกที่มักสร้างเป็นที่พักชั่วคราว ไว้หลบแดดหลบฝน มีขนาดไม่ใหญ่นัก เรียกว่า "ตูบ
เรือนถาวร หรือเรือนเครื่องสับไม้จริง รูปทรงเรียบง่าย หลังคาจั่วมีหน้าต่างบานเล็กๆ
เรือนภาคกลาง
เรือนครอบครัวขยาย เมื่อลูกสาวแต่งงาน พ่อแม่มักปลูกเรือนให้ลูกสาวและลูกเขยอยู่ต่างหากอีก1ห้อง
เรือนคหบดี เป็นเรือนหมู่ขนาดใหญ่ ผู้สร้างมักฐานะดี ประกอบด้วยเรือนใหญ่เรือนรี เรือนขวาง เรือนครัวและหอนก บริเวณกลางชานมักเจาะช่องเพื่อปลูกต้นไม้
เรือนครอบครัวเดี่ยว เป็นเรือนขนาดเล็ก มีเรือนนอน1หลัง แบ่งเป็นห้องนอนและห้องโถง เรือนครัวอีก1หลัง
เรือนภาคใต้
เรือนไทยมุสลิม เป็นเรือนที่สะท้อนสถาปัตยกรรมพื้นบ้านและวัฒนธรรมอิสลาม มีการกำหนดบริเวณแบ่งแยกพื้นที่เพศชายและหญิงอย่างชัดเจน นิยมสร้างเป็นทรงจั่ว ทรงปั้นหยา หรือทรงมนิลา
เรือนไทยพุทธ เรือนมีขนาดไม่ใหญ่โตนัก หลังค่าจั่วและไม่ยกพื้นสูง มีชายคายื่นยาว ช่องหน้าต่างน้อย
เรือนภาคใต้มีทั้งเครื่องเรือนที่ผูกเป็นเรือนของชาวประมง และเครื่องเรือนสับ แบ่งเป็นเรือนของชาวพุทธ พบได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงสงขลา