Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่5 การพยาบาลบุคคลที่มี กลุ่มโรควิตกกังวล (Generalized anxiety…
บทที่5
การพยาบาลบุคคลที่มี กลุ่มโรควิตกกังวล (Generalized anxiety disorder, Panic disorder, Specific phobia)
ความหมาย
ความวิตกกังวล (Anxiety) หมายถึง ความรู้สึกไม่สบายใจ หวาดหวั่น ไม่มั่นใจต่อสภาพการณ์ใน อนาคตเกรงว่าจะเกิดอันตรายหรือความเสียหาย เนื่องจากมีสิ่งคุกคามความมั่นคงของบุคคล ขณะเดียวกันจะมี ความไม่สุขสบายทางร่างกายร่วมด้วย เป็นานๆเสียสุขภาพจิต
Spielberger
การตอบสนองทางอารมณ์ที่มาจาก
1) ความเครียด ความหวาดหวั่น และความกระวนกระวายใจ
2) ความไม่สบายใจ
3) การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระจิต
องค์ประกอบ 3 ประการ คือ ความกดดัน การรับรู้ต่อความกดดันและการตอบสนองทางอารมณ์
ความวิตกกังวล (Anxiety)
การตอบสนองทางอารมณ์ต่อภัยคุกคามที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยการ คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า เกิดขึ้นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกกระวนกระวาย มีความตึง เครียดของกล้ามเนื้อ เช่น มือสั่น ตื่นเต้น ปั่นป่วนท้อง แน่นหน้าอก ลุกลี้ลุกลน
โรควิตกกังวลหรือภาวะวิตกกังวลที่ผิดปกติ (Anxiety disorder)
ความผิดปกติที่บุคคลตอบสนองต่อ สิ่งที่มาคุกคามมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน และมีความบกพร่องในการทำบทบาทหน้าที่ต่างๆ
อุบัติการณ์(Epidemiology)
ประชากรประมาณร้อยละ 20 เป็นโรควิตกกังวลชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่ Obsessive Compulsive Disorders, Social phobia และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มักเริ่มต้นในระยะวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นพบ ได้น้อย ที่เริ่มมีอาการในวัยเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ขึ้นไป
สาเหตุ (Etiology)
ปัจจัยทางชีววิทยา (Biological factors)
1.1 กรรมพันธุ์ (genetic) จากการศึกษาครอบครัวและฝาแฝด พบว่า พันธุกรรมมีความสัมพันธ์กับการ เกิดโรควิตกกังวล
1.2 กายวิภาคของระบบประสาท (neuroanatomical)
ภาวะของอารมณ์อยู่ที่ limbic system ,diencephalon (thalamus และ hypothalamus) และ reticular formation ถ้ามีความผิดปกติของสมอง ส่วนนี้ทำให้เกิด Anxiety ได้
1.3 สารชีวเคมี (biochemical)
มี blood lactate สูงผิดปกติทำให้ผู้ป่วยมีอาการ panic disorder หรือบุคคลมีความผิดปกติของ thyroid hormone ทำให้เกิดความวิตกกังวลได้
1.4 สารสื่อประสาท (neurochemical)
สารสื่อประสาท โดยเฉพาะ serotonin และGABA มีส่วนทำให้เป็นโรค
1.5 ภาวะการเจ็บป่วยทางกาย (medical condition)
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน น้ำตาลในเลือดต่ำcaffeine intoxication, substance intoxication ทำให้เกิดโรค
ปัจจัยทางจิตวิทยา (Psychological factors)
2.1 ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์(psychodynamic theory) Freud กล่าวว่า Ego เป็นส่วนหนึ่งของ บุคลิกภาพ ไม่สามารถจัดการ conflict ที่เกิดขึ้นกับ Id และ Superego ความวิตกกังวลเป็นการที่ ego อยู่ใน อันตรายจากภาวะคุกคามทั้งจากภายในและภายนอกตัวบุคคล และอาการทางจิตประสาทจะเกิดขึ้น เพื่อต่อสู้กับ ความวิตกกังวล
2.2 ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซัลลิแวน เชื่อว่าความวิตกกังวลเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับปัญหาทาง อารมณ์ที่เกิดจากการไม่ได้รับการยอมรับจากคนรอบข้างในช่วงต้นของชีวิต แล้วจะมาเป็นตัวแบบของการเกิด ความวิตกกังวลเมื่อพบกับเหตุการณ์ร้ายๆในชีวิตต่อๆมา
2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ (cognitive behavior theory) มีแนวคิดว่าความวิตกกังวลเป็นปฏิกิริยาการเรียนรู้ที่ มีต่อสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งที่คุกคามเข้ามาท าให้หวาดหวั่น เมื่อเผชิญกับสิ่งเร้าในลักษณะเดียวกัน
ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social and environmental factors)
ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับ การเกิดโรควิตกกังวลน้อย แต่อาการของโรควิตกกังวลจะเป็นไปตามสังคมวัฒนธรรมของบุคคล เช่นภาวะ Panic attack อาการ หายใจขัด หายใจไม่เต็มปอด เจ็บแน่นหน้าอก กลัวตาย ในขณะที่กลุ่มวัฒนธรรมอื่นจะรู้สึกหวาดกลัวเหมือนโดนเวทย์มนต์คาถา
ลักษณะอาการของความวิตกกังวล
อาการ
อาการทางร่างกาย คือ กล้ามเนื้อตึงเครียด เหนื่อย กระสับกระส่าย ปากแห้ง หนาว มือและเท้าเย็น ต้องการปัสสาวะ ตาพร่า กล้ามเนื้อสั่นกระตุก หน้าแดง เสียงสั่น กระสับกระส่ายและอาเจียน หายใจลึกและถี่ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
อาการแสดงด้านจิตใจและอารมณ์ ผู้ที่มีอาการวิตกกังวลอาจแสดงออกอาการทางอารมณ์ที่มีความ แตกต่างกันไปลักษณะอารมณ์ที่พบ ได้แก่ มีอาการกระสับกระส่าย หงุดหงิด ซึมเศร้าร้องไห้ โกรธ รู้สึกไม่มีสมาธิ
อาการแสดงด้านความคิด ความจ า ได้แก่ สนใจสิ่งแวดล้อมลดลง ไม่มีสมาธิ ไม่ตอบสนองต่อสิ่ง กระตุ้นรอบตัว ท าให้วิตกกังวล
อาการแสดงด้านพฤติกรรม ได้แก่ เดินไปเดินมา ลุกลี้ลุกลน นั่งไม่ติดที่ เอามือม้วนเส้นผม ระมัดระวัง ตัวมากเป็นพิเศษ
ระดับของความวิตกกังวล
แบ่ง5ระดับ
วิตกกังวลระดับปกติ (Normal)
แสดงออกให้คนเห็นว่ามีความไม่ สบายใจ มีความรู้สึกหวาดหวั่น ซึ่งเป็นระดับที่บุคคลจะรู้สึกต้องเตรียมพร้อมในการป้องกันตนเองจากสิ่งที่คุกคาม
วิตกกังวลระดับน้อย (Mild anxiety)
ความวิตกกังวลในระดับน้อยสามารถเกิดได้ในชีวิตประจำวัน จะมีลักษณะตื่นตัวดี กระตือรือร้น สามารถสังเกตการณ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆได้ดี เรียนรู้ได้ดี มีความคิดริเริ่ม
วิตกกังวลระดับปานกลาง (Moderate anxiety)
การรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆทั้งการ มองเห็นการฟังมีประสิทธิภาพลดลง ความสนใจและสมาธิลดลง การรับรู้แคบลงอาการพูดเสียงสั่นๆ พูดเร็วขึ้น เริ่มมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
วิตกกังวลระดับสูง (Severe anxiety)
จะรับรู้เหตุการณ์ที่จะ เกิดขึ้นในอนาคตได้น้อยลง ความสนใจจดจ่ออยู่กับแค่บางสิ่งบางอย่าง ไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ต้องการพูดได้ พูดจาไม่รู้เรื่อง กระบวนการคิดไม่ดี สับสนจะมองหาความช่วยเหลือ
วิตกกังวลระดับรุนแรง (Panic state)
มีความวิตกกังวลระดับหวาดกลัวรุนแรงความสามารถ ในการรับรู้จะหยุดชะงัก พูดไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีความสามารถใน การท าสิ่งต่างๆ ความรู้สึกตัว อารมณ์ผิดปกติ
สรุป
บุคคลในภาวะปกติ จะมีระดับความวิตกกังวลในระดับ 1 ถึง 3
ถ้าระดับความวิตกกังวลถึงระดับ 4 และ 5 ถือว่าบุคคลนั้นอยู่ในภาวะฉุกเฉินทางจิตเวชต้องได้รับการช่วยเหลือ
ลักษณะของความวิตกกังวล
Trait –anxiety or A –trait (ความวิตกกังวลประจำตัว)
ลักษณะประจำตัวของแต่ละบุคคลที่มี อิทธิพลต่อการรับรู้และการประเมินสิ่งเร้า โดยมีแนวโน้มที่จะรับรู้และประเมินหรือคาดคะเนสิ่งเร้าว่าน่าจะเกิด อันตรายหรืออาจคุกคามตนเองทำให้มีความวิตกกังวลเกิดขึ้น
State- anxiety or A-state (ความวิตกกังวลในขณะปัจจุบัน)
ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับบุคคล ในสถานการณ์เฉพาะหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจหรือจะเกิดอันตรายต่อบุคคล และจะแสดง พฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ในช่วงที่อยู่ในสถานการณ์นั้น ความวิตกกังวลในขณะปัจจุบันนี้ทำให้บุคคลเกิด ความตึงเครียด หวาดหวั่น กระวนกระวาย ระบบอัตโนมัติตื่นตัวสูงขึ้น
การบำบัดรักษา
การรักษาด้วยยา
ยาที่นิยมใช้รักษาผู้ที่มีความผิดปกติด้านความวิตกกังวลทุกรูปแบบ ยา เหล่านี้ได้แก่ Ativan, Xanax, buspar เป็นยาที่นิยมใช้ แต่ยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่าง
การรักษาทางจิตสังคม
เป็นวิธีการรักษาต้นเหตุของอาการความวิตกกังวล วิธีการของจิตบำบัดมีหลายวิธี เช่น จิตบำบัดโดยจิตวิเคราะห์ จิตบำบัดโดยทฤษฎีมนุษย์นิยม ซึ่งทุกรูปแบบให้ประโยชน์แก่ผู้ป่วยทั้งสิ้น
การบำบัดทางเลือก (Alternative therapy)
เพื่อลดความวิตกกังวล การให้ผู้มีปัญหาการเรียนรู้ อาการของความวิตกกังวลและการจัดการกับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น
ใช้วิธีการทำจิตวิเคราะห์ร่วมด้วย
Visual imagery การสร้างจินตภาพ
Changeof pace or scenery การเปลี่ยนย้ายสถานที่อยู่
Exerciseor massage การออกก าลังกายหรือการนวด
Transcendental meditation การทำสมาธิ
Biofeedback การใช้เครื่องไบโอฟีดแบคตรวจสอบ
Systematic desensitization วิธีเผชิญภาวะวิตกกังวลอย่างเป็นระบบ
7.relaxation exercise ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
Therapeutictouch or laying on of hands การใช้พลังสัมผัส
Hypnosis การสะกดจิต
ชนิดของโรคในกลุ่มของโรควิตกกังวล
กลุ่มโรคด้านจิตเวชตาม DSM 5
Anxiety Disorders
1.1 Panic Disorder
1.2 Phobia Disorders
1.3 Generalized Anxiety Disorder
Obsessive-Compulsive and Related Disorders
2.1 Obsessive-Compulsive Disorders (OCD)
Trauma-and Stress-Related Disorders
3.1 Posttraumatic Stress Disorder (PTSD)
3.2 Acute Stress Disorder
3.3 Adjustment Disorders
Somatic Symptom and Related Disorders
กลุ่มของโรควิตกกังวล ที่จะนำเสนอในที่นี้ได้แก่
Generalized Anxiety Disorders
Panic disorder
Phobia disorder
Obsessive Compulsive Disorders
Generalized Anxiety Disorders (GAD)
ความหมาย
ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมากผิดปกติต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต ได้แก่ การกลัวเกิดเหตุการณ์ร้าย ๆ กับบุคคลที่ใกล้ชิด
อาการ Generalized Anxiety Disorder ตาม DSM 5
ความวิตกกังวลมากผิดปกติจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ อย่างน้อย 6เดือนขึ้นไป จะเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือ กิจกรรมต่าง ๆ
ผู้ป่วยพบว่า ยากที่จะควบคุมความกังวล
ความกังวลจะเกี่ยวข้องกับอาการอย่างน้อย 3อาการจากทั้งหมด 6อาการและอย่างน้อยอาการที่ เกิดขึ้นได้เกิดมาแล้วไม่น้อยกว่า 6เดือน
3.1 กระสับกระส่าย
3.2อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
3.3 มีปัญหาด้านสมาธิ หรือใจลอย
3.4 หงุดหงิดง่าย
3.5 ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตึงเครียดตามกล้ามเนื้อ
3.6 มีปัญหาการนอน (หลับยาก นอนหลับตลอดเวลา หลับ ๆตื่น ๆ นอนหลับไม่สนิท)
ความวิตกกังวล หรืออาการทางกายเป็นสาเหตุให้มีอาการทางคลินิก หรือบกพร่องในการเข้าสังคม การประกอบอาชีพ
ระบาดวิทยา
พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 2เท่า อาการมักเริ่มต้นในวัยเด็ก และวัยรุ่น ร้อยละ 50ของผู้ป่วย จะมี โรคจิตเวชอื่น ๆ ร่วมด้วย
การดำเนินโรค
โรคกังวลไปทั่ว เป็นโรคเรื้อรัง มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ส่วนใหญ่อาการจะรุนแรงในช่วงที่เครียด หลังจากหายเครียดแล้วอาการจะดีขึ้น
การรักษา
จิตบำบัด เช่น วิธี Cognitive behavior therapy (CBT) โดยแก้ไขให้ผู้ป่วยกลับมามองโลกอย่าง เหมาะสม ร่วมกับการใช้วิธี Relaxation technique เพื่อลดอาการต่าง ๆ ทางกาย
การรักษาด้วยยา Benzodiazepineเช่น Diazepam ช่วยลดอาการวิตกกังวล และอาการทางกายได้ดี ยากลุ่ม SSRI เช่น Sertraline, Paroxetine Propanolol ใช้เพื่อลดอาการใจสั่น มือสั่น แต่ต้องระวัง ผลข้างเคียง เช่น Depression, Bradycardia, Nausea
การพยาบาล
การประเมินผู้ป่วย
1.1 ด้านร่างกาย มีอาการ
1.2 ด้านอารมณ์ มีความวิตกกังวล ทุกข์ใจ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
วิตกกังวล เนื่องจากการใช้วิธีเผชิญความเครียด ไม่มีประสิทธิภาพ
ข้อมูลสนับสนุน : ผู้ป่วยบอกหายใจไม่เต็มอิ่ม นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ
การปฏิบัติการพยาบาล
3.1 การพยาบาลเพื่อช่วยลดระดับความวิตกกังวล
3.1.1 จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ลดสิ่งกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวล
3.1.2 พูดคุยกับผู้ป่วยด้วยน้ำเสียงและท่าทีที่สงบ ใช้คำพูดที่เข้าใจง่ายๆ สั้นๆ ชัดเจน
3.1.3 ให้ผู้ป่วยสำรวจความรู้สึก ค้นหาสาเหตุ ตระหนักรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับตน
3.1.4 สนับสนุนให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกไม่สบายใจ
3.1.5 อยู่กับผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยร้องไห้ให้นั่งเงียบๆ ซึ่งเป็นการยอมรับการแสดงอารมณ์ ตึงเครียดที่สามารถทำได้
3.1.6 ประเมินความคิดที่จะทำอันตรายต่อตนเอง โดยใส่ใจกับคำพูด การกระทำที่แสดง ถึงความรู้สึกหมดหนทางและความรู้สึกหมดหวัง
3.1.7 เฝ้าระวังการทำร้ายตนเอง หลังจากความวิตกกังวลลดลง พยาบาลช่วยให้ผู้ป่วย แก้ไขพฤติกรรมและใช้วิธีแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมต่อไป
3.2 การพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยแก้ไขปัญหา
3.2.1 พูดคุยกับผู้ป่วย ถึงปัญหาและความขัดแย้งที่มีอยู่ เพื่อช่วยให้ประเมินความรุนแรง ของปัญหา และผลที่เกิดขึ้นจากการปรับตัวในทางลบของผู้ป่วย
3.2.2 ช่วยผู้ป่วยสำรวจทางเลือกในการแก้ไขปัญหา และการแสดงพฤติกรรม เพื่อเพิ่ม วิธีการปรับตัวที่เหมาะสม
3.2.3 สอนและให้การปรึกษาเกี่ยวกับ หลักการบำบัดด้านความคิด เพิ่มการตระหนักรู้
3.2.4 สอนเทคนิควิธีการผ่อนคลาย (relaxation exercise) เพื่อลดระดับความวิตกกังวล ด้วยตนเอง
3.2.5 ส่งเสริมให้ทำงานอดิเรก และทำกิจกรรมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อช่วยผู้ป่วยจัดการ กับความรู้สึกเครียด
Panic disorder
ความหมาย
อาการ Panic attack ตาม DSM เป็น ความรู้สึกกลัว หรือไม่สบาย ใจอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลารวดเร็วภายในไม่กี่นาทีและถึงระดับสูงสุดในระยะเวลา 10นาที จะต้องมี อาการแสดงเกิดขึ้นอย่างน้อย 4 อาการ
อาการ
1.1 ใจสั่น หัวใจเต้นแรง หรืออัตราเต้นของหัวใจเร็ว
1.2 เหงื่อออกมาก
1.3 สั่นทั้งตัว
1.4 หายใจเร็วถี่
1.5 รู้สึกอยากอาเจียน
1.6 เจ็บแน่นหน้าอก
1.7 คลื่นไส้ ปั่นป่ วนในท้อง
1.8 รู้สึกวิงเวียน สมองตื้อ โคลงเคลง หรือจะเป็นลม
1.9 ร้อน ๆ หนาว ๆ ตามตัว
1.10 รู้สึกตัวชา หรือรู้สึกซู่ซ่ารู้สึกเหมือนไม่อยู่กับความจริง (Derealization) หรือไม่ใช่ตัวของ ตัวเอง (Depersonalization)
1.11 กลัวควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือเหมือนจะเป็นบ้า
1.12 กลัวตาย
อาการที่เกิดอย่างน้อยครั้งหนึ่ง
2.1 กังวลตลอดเวลาว่าจะเกิดมีอาการขึ้นอีก เช่น การสูญเสียการควบคุม หัวใจ หยุดเต้น อาการคล้ายจะเป็นบ้า
2.2 การแสดงพฤติกรรมการปรับตัวที่ไม่มีประสิทธิภาพจะเกี่ยวข้องกับการเกิด อาการ ได้แก่ การแสดงพฤติกรรมในการหลีกเลี่ยงการเกิดความกลัวอย่างรุนแรง
อาการที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นผลต่อร่างกายจากการใช้สารต่าง ๆ เช่น การใช้ยาเสพติด ยารักษาโรค
อาการ panic attack ไม่ได้เกิดจากโรคจิตเวชอื่นๆ เช่น social phobia, specific phobia, obsessive compulsive disorder
การดำเนินโรค
โรคมักเกิดในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยทั่วไปจะเป็นเรื้อรัง ถ้าผู้ป่วยมีอาการบ่อย จะทำให้ผู้ป่วยกังวล และเกิด Phobic avoidance และ Agoraphobia
ระบาดวิทยา
พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 2.3 เท่า มักพบในช่วงอายุประมาณ 25 ปี
การรักษา
จิตบำบัด เช่น Cognitive behavior therapy (CBT) ร่วมกับ Relaxation Technique การฝึกหายใจ เมื่อเกิด Hyperventilation
การรักษาด้วยยา ได้แก่ ยากลุ่ม SSRI เช่น Fluoxetine และ Benzodiazepine เช่น Alprazolam
การพยาบาล
การประเมินผู้ป่วย
1.1 ด้านร่างกาย
1.2 ด้านอารมณ์ ผู้ป่วยแสดงให้เห็นว่าวิตกกังวล
1.3 ด้านความคิดผู้ป่วยอาจจะมีความคิดฆ่าตัวตาย
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
วิตกกังวลอย่างรุนแรง เนื่องจากรับรู้ว่ามีการคุกคามต่อชีวิต อัตมโนทัศน์ ภาพลักษณ์
ข้อมูลสนับสนุน : มีอาการของ panic attack เกิดขึ้น
การปฏิบัติการพยาบาล
3.1 พยาบาลแสดงท่าทีสงบ ไม่คุกคามผู้ป่วย ความวิตกกังวลสามารถถ่ายเทความรู้สึกจาก พยาบาลมายังผู้ป่วย
3.2 ตระหนักถึงความรู้สึกกลัวของผู้ป่วย โดยอยู่กับผู้ป่วย และให้กำลังใจว่าปลอดภัยเพราะผู้ป่วยอาจ กลัวว่าเขาจะเสียชีวิต
3.3 สื่อสารกับผู้ป่วย ด้ายคำพูดที่เข้าใจง่าย สั้น ชัดเจน ให้ผู้ป่วยบอกพยาบาลเมื่อความรู้สึกกลัวเกิดขึ้น เพื่อลดความวิตกกังวล ไม่ให้มีมากจนถึงอาการ panic
3.4 ถ้าผู้ป่วยมีอาการหายใจเร็ว(hyperventilation) ให้ผู้ป่วยหายใจในถุงกระดาษและมุ่งความ สนใจมาที่การหายใจของผู้ป่วย
3.5 จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ไม่มีสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการ panic
3.6 สอนและให้การปรึกษา
3.7 ให้ยาคลายกังวลตามแผนการรักษา
Phobia disorder
ความหมายเป็นความกลัวอย่างรุนแรง ไม่มีเหตุผล กลัวเกินเหตุ และเกิดขึ้นบ่อย โดยไม่สามารถระงับหรือหักห้าม ความกลัวนั้นได้
ชนิดของ Phobia disorders แบ่งตาม DSM
โรคกลัวอยู่ในที่โล่ง หรือที่ชุมชน (Agoraphobia)
อาการเด่น คือ กลัว วิตกกังวล ตั้งแต่ 2 สถานการณ์จาก 5 สถานการณ์
1.1 การใช้ขนส่งมวลชน เช่น รถยนต์โดยสาร รถโดยสารประจำทาง รถไฟ เรือเครื่องบิน
1.2 ที่โล่งกว้าง เช่น ลานจอดรถ ตลาด สะพาน
1.3 สถานที่ที่มีผู้คนมาก เช่น ร้านค้า โรงภาพยนตร์ โรงละคร
1.4 การเข้าคิวในแถว หรือสถานที่ที่มีคนหนาแน่น
1.5 การอยู่นอกบ้านคนเดียวตามลำพัง
บุคคลกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์เหล่านี้เพราะมีความคิดว่าเป็นการยากที่จะหนี
สถานการณ์กลัวอยู่ในที่โล่ง หรือที่ชุมชน จะกระตุ้นทำให้เกิดความกลัว หรือความวิตกกังวล
ความกลัว หรือความวิตกกังวล ไม่ใช่เป็นอันตรายที่แท้จริง จากสถานการณ์โรคกลัวอยู่ในที่โล่ง หรือที่ ชุมชน และต่อบทบาททางสังคมวัฒนธรรม
ความกลัว ความวิตกกังวล หรือการหลีกเลี่ยงต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอย่างน้อย 6เดือนขึ้นไป
ความกลัว หรือความวิตกกังวลหรือการหลีกเลี่ยง เป็นสาเหตุการเจ็บปวดทางคลินิก หรือความ บกพร่องในการใช้ชีวิตในสังคม
สถานการณ์กลัวอยู่ในที่โล่ง หรือที่ชุมชน ผู้ป่วยจะมีการหลีกเลี่ยงที่รวดเร็ว หรือ ต้องอดทนกับความ กลัว หรือความวิตกกังวลอย่างมาก
โรคกลัวสังคม (Social phobia หรือ Social anxiety disorder)
กลัวอย่างชัดเจน หรือวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในสังคม
ข้อสังเกต ในเด็ก ความกลัว หรือวิตกกังวล อาจจะเกิดขึ้นในขอบเขตของเพื่อน ไม่ใช่อยู่ในระหว่างการมี ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่
บุคคลกลัวว่าตนเองจะแสดงวิธี หรือแสดงอาการวิตกกังวล ซึ่งจะถูกประเมินภาพลบ เช่น จะเป็นความ อดสู หรือความน่าอาย
สถานการณ์ทางสังคมจะเป็นสาเหตุให้เกิดความกลัว และความวิตกกังวล
ข้อสังเกต ในเด็ก ความกลวั หรือวิตกกงัวลอาจแสดงโดย การรอ้งไห้การออกฤทธิ์(Tantrum) ตัวแข็งทื่อ
หลีกเลี่ยงสถานการณ์ในสังคม หรืออดทนต่อความกลัวหรือความวิตกกังวลอย่างมาก
ความกลัว หรือความวิตกกังวล ไม่ใช่การถูกคุกคามจากสถานการณ์ในสังคม และจากบริบททางสังคม วัฒนธรรม
ความกลัว ความวิตกกังวล หรือการหลีกเลี่ยงต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอย่างน้อย 6เดือนขึ้นไป
ความกลัว หรือความวิตกกังวล หรือการหลีกเลี่ยง เป็นสาเหตุการเจ็บปวดทางคลินิก หรือความ บกพร่องในการใช้ชีวิตในสังคม การประกอบอาชีพ
อาการไม่ใช่ลักษณะผลของร่างกายที่เกิดจากการใช้สาร
ระบาดวิทยา
Specific phobia จะพบในเพศหญิงมากกว่าในเพศชาย 2:1
Social phobia จะพบในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง 2:1และมักพบในช่วงวัยรุ่น
การดำเนินโรค
Specific phobia และ Social phobia เป็นอาการเรื้อรัง และมักเกิดในช่วงวัยรุ่น ทำให้มีผลกระทบต่อ การเรียน และการทำงาน ผู้ป่วยจึงมักไม่ค่อยมีเพื่อน และอาจมี Depressive disorderและ Alcohol abuse
การรักษา
Specific phobia ใช้วิธีExposure therapy มากที่สุด
Social phobia ใช้วิธีการทำจิตบำบัดร่วมกับการใช้ยา ได้แก่ ยากลุ่ม SSRI เช่น Paroxetine ยา Benzodiazepine เช่น Clonazepam และยา Beta-adrenergic antagonist
การพยาบาล
การประเมินผู้ป่วย
1.1 ด้านร่างกาย ถ้าความกลัวรุนแรงมากควรประเมินอาการทางกายจาก panic attack
1.3 ด้านความคิด ประเมินการรับรู้สิ่งคุกคามที่ทำให้ผู้ป่วยกลัว
1.2 ด้านอารมณ์ ความกลัวต่อสิ่งต่างๆ มีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยอย่างไร
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
2.1 รู้สึกกลัวที่ไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากอยู่ในสถานที่ที่บุคคลรู้สึกว่าไม่สามารถหนีได้ หรืออาจทำให้เกิดอันตรายได้ข้อมูลสนับสนุน : ผู้ป่วยมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญสิ่งที่กลัวโดยตรง
2.2 แยกตัวจากสังคม เนื่องจากกลัวอยู่ในสถานที่ซึ่งบุคคลไม่สามารถจะหนีได้ข้อมูลสนับสนุน : อยู่ตามลำพังปฏิเสธที่จะออกจากห้องหรือออกจากบ้าน
การปฏิบัติการพยาบาล
3.1 สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด ยอมรับความกลัวของผู้ป่วย
3.2 อยู่เป็นเพื่อนขณะที่ผู้ป่วยมีความกลัว และให้กำลังใจว่าเขาปลอดภัย
3.3 พูดคุย ถึงสถานการณ์ที่เป็นจริงและให้ตระหนักว่าพฤติกรรมของเขาเป็นวิธีแก้ไขความวิตกกังวล
3.4 ให้ผู้ป่วยตัดสินใจเลือกวิธีในการจัดการกับความกลัวด้วยตนเอง
Obsessive Compulsive Disorders (OCD)
ความหมาย
เป็นการคิดหรือทำเรื่องหนึ่งเรื่องใดซ้ำๆ โดยไม่สามารถหยุดยั้งได้ ทั้งๆที่รู้ว่าสิ่งที่คิดหรือทำนั้นไม่ สมเหตุสมผล ผู้ป่วยจะแสดงอาการย้ำคิด เช่น ความปลอดภัย ความสะอาด ความเป็นระเบียบ
เกณฑ์การวินิจฉัยโรค Obsessive-Compulsive Disorders ตาม DSM 5
ย้ำ้คิด (Obsessions)
1.1 มีความหมกมุ่น โดยเกิดขึ้นซ้ำๆ มากระตุ้น หรือมโนภาพจากประสบการณ์ในบางเวลาระหว่างที่มี อาการ
1.2 ผู้ป่วยพยายามที่จะเพิกเฉย หรือหยุดยั้งความคิด การกระตุ้น หรือมโนภาพหรือต่อต้านด้วยความคิด หรือการกระทำ
ย้ำทำ (Compulsive)
1.1 พฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ เช่น การล้างมือ การออกคำสั่ง การตรวจตราสิ่งของ หรือการแสดงออกด้าน จิตใจ เช่น การสวดมนต์ การนับ การพูดคำซ้ำๆ อย่างเงียบ ๆ
1.2 พฤติกรรม หรือการแสดงออกด้านจิตใจเพื่อที่จะป้องกัน หรือลดความกังวลหรือความทุกข์ทรมานใจ มาก หรือป้องกันเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่น่ากลัว
ข้อสังเกต ในเด็กเล็ก อาจไม่สามารถบอกจุดมุ่งหมายของพฤติกรรมได้
ระบาดวิทยา
พบในประชากรทั่วไปร้อยละ 2-3โดยพบในเพศชายและเพศหญิงเท่า ๆ กัน
การดำเนินโรค
ผู้ป่วยมักเป็นอาการอยู่นานกว่าจะมารับการรักษา การพยากรณ์โรค พบว่าร้อยละ 20-30อาการจะดีขึ้น หลังการรักษาอย่างชัดเจน กลุ่มที่พยากรณ์โรคไม่ดี ได้แก่ ผู้ที่คุมอาการย้ำทำไม่ได้ มีอาการตั้งแต่เด็ก
การรักษา
พฤติกรรมบำบัด จะใช้หลัก Exposure และ Response prevention ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจาก ผู้ป่วยมาก
การรักษาด้วยยา ยากลุ่ม SSRI เช่น Fluoxetine
การพยาบาล
การประเมินผู้ป่วย
1.1 ทางร่างกาย
1.2 ทางอารมณ์
1.3 ทางความคิด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การทำหน้าที่ที่รับผิดชอบตามบทบาทที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีพฤติกรรมกระทำซ้ำ
ข้อมูลสนับสนุน : ผู้ป่วยไม่สามารถทำหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ตามปกติ
การปฏิบัติการพยาบาล
3.1 สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกไว้วางใจ
เพื่อให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก ไม่สบายใจ
3.2 ช่วยให้ผู้ป่วยลดการทำพฤติกรรมซ้ำ
3.4 สอนและการปรึกษา
น.ส.เปมิกา เพิ่มชีวา รหัส180101126