Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาเทคนิคพิเศษ, นางสาวกัณนิภา นักร้อง รหัสนักศึกษา 6301110801001 Sec 1 -…
ยาเทคนิคพิเศษ
-
ยาเหน็บ
-
-
-
เทคนิคการใช้ยาสอด
-
- แกะกระดาษที่ห่อยาออก แล้วจุ่มในน้ำสะอาดพอชื้น (ประมาณ 1-2 นาที) เพื่อช่วยให้เม็ดยาลื่น
- นอนหงายโดยชันหัวเข่าขึ้นและแยกขาออก
- สอดยาเข้าช่องคลอดให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยใช้นิ้วช่วยดันยาเข้าไป
- นอนในท่าเดิมอย่างน้อย 15 นาที เพื่อไม่ให้ยาไหลออกจากช่องคลอด
ยาหยอดตา
-
วิธีการใช้ยาหยอดตา
- ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง ถ้ามีขี้ตา ใช้สำลีชุบน้ำสะอาดเช็ดออกก่อนทุกครั้ง
- หยอดตาโดย ดึงหนังตาล่างข้างที่ต้องการหยอดตาให้เป็นกระพุ้งเหลือบตาขขึ้นข้างบน ใช้มืออีกข้างจับขวดยา หยดยาตามจำนวนที่แพทย์สั่ง ระวังไม่ให้ปลายหลอดยาสัมผัสลูกตา ขนตา
- ค่อยๆปิดตา (ห้ามกระพริบตา) หลับตาอย่างน้อย 2 นาที โดยใช้ผ้าสะอาดซับน้ำยาส่วนเกินออก
- เสร็จแล้วปิดฝาขวดยาให้สนิท เก็บยาตามแนะนำของแต่ละผลิตภัณฑ์
ข้อแนะนำอื่นๆ
◉ ยาหยอดตาบางชนิดที่แนะนำการเก็บในตู้เย็น หลังจากนำยาออกจากตู้เย็นควรคลึง หรือกำขวดยาไว้ในอุ้งมือสักครู่ เพื่อให้มีอุณหภูมิของยาใกล้เคียงกับอุณหภูมิของร่างกายก่อนหยอดยา
◉ การหยอดยาตาบางชนิดทำให้รู้สึกขมในคอ สามารถช่วยลดอาการดังกล่าวได้โดยการใช้นิ้วมือกดหัวตาเบา ๆ เป็นเวลา 5 นาที หลังหยอดตา
-
◉ อายุยาหยอดตาหลังเปิดใช้ โดยทั่วไปไม่เกิน 1 เดือน (ยาขวดที่มีสารกันเสีย) หรือใช้ภายใน 24 ชั่วโมง (ยาหลอดที่ไม่มีสารกันเสีย) หรืออาจแตกต่างตามเอกสารกำกับยา
ยาหยอดหู
-
วิธีการใช้ยาหยอดหู
-
- ก่อนหยอดยา ถ้ามีน้ำเหลืองหรือหนอง ควรเช็ดออกด้วยด้วยไม้พันสำลีหรือคัตตอนบัต ด้วยความระวัง
- ยาหยอดหูบางชนิดที่เก็บไว้ในตู้เย็น ก่อนใช้ให้เอาขวดยาใส่ในฝ่ามือ และกำไว้สัก 2-3 นาที เพื่อให้อุณหภูมิของยาใกล้เคียงกับอุณหภูมิของร่างกาย (ถ้าเป็นยาน้ำแขวนตะกอน ให้เขย่าขวดก่อนใช้)
- นอนตะแคงหรือนั่งเอียงศีรษะให้หูข้างที่จะหยอดยาอยู่ด้านบน
- หยอดยาเข้าไปในหูตามที่กำหนด อย่าเอาหลอดหยดสอดเข้าไปในรูหู เพราะหลอดหยดอาจทำให้เกิดบาดแผลต่อหูได้และควรพยายามไม่ให้หลอดหยดสัมผัสกับสิ่งใดๆ เพื่อป้องกันสิ่งปนเปื้อนเข้าไปในยา
- นอนตะแคงหรือเอียงศีรษะอยู่ในท่าเดิม 3-5 นาที
ข้อแนะนำอื่นๆ
◉ ยาหยอดหูบางชนิดที่แนะน้าการเก็บในตู้เย็น หลังจากนำยาออกจากตู้เย็น ควรกำขวดยาไว้ในอุ้งมือสักครู่เพื่อให้มีอุณหภูมิของยาใกล้เคียงกับอุณหภูมิของร่างกายก่อนหยอดยา
-
-
-
ยาทาผิวหนัง
-
ยาชา
-
ยาชาออกฤทธิ์ยับยั้งการกระตุ้นปลายประสาท หรือกีดขวางการส่งสัญญาณไปยังระบบประสาทส่วนปลายที่จะทำให้เกิดความรู้สึกได้
ยาป้ายตา
วิธีการใช้ขี้ผึ้งป้ายตา
- ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง ถ้ามีขี้ตา ใช้สำลีชุบน้ำสะอาดเช็ดออกก่อนทุกครั้ง
-
- นอนหรือนั่งแหงนหน้าขึ้น ใช้มือข้างหนึ่งดึงหนังขอบตาล่างข้างที่ต้องการป้ายตาให้เป็นกระพุ้ง
- ป้ายยาโดยใช้มือหนึ่งจับหลอดยา กะประมาณให้ปลายหลอดห่างจากตาเล็กน้อย ระวังอย่าให้ปลายหลอดสัมผัส หนังตา ขนตา บีบยาป้ายตายาวประมาณครึ่งเซนติเมตรลงไปในกระพุ้งขอบตา
- หลับตาแล้วคลึงหนังตาเบาๆ ให้ยากระจายทั่วตา
-
แผ่นแปะ
เทคนิคแผ่นแปะผิวหนัง
- ควรติดแผ่นแปะในบรเวณที่ไม่มีขน ไม่มีบาดแผล และควรเปลี่ยนบริเวณที่ติดทุกวัน เพื่อป้องกันการระคายเคืองผิหนัง
- ควรทำความสะอาดผิวก่อนแล้วทำให้แห้ง ถ้าจำเป็นต้องติดบริเวณที่มัขนไม่ควรโกนขนเพราะอาจทำให้ผิวหนังมีบาดแผล อาจใช้การเล็มตัดขนออก
- ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง ทั้งก่อนติดและหลังติดแผ่นแปะ
- เปิดซองยาเมื่อต้องการใช้เท่านั้น ยาแผ่นแปะบางชนิดสามารถฉีก ตัด แบ่งยาตามขนาดที่แพทย์สั่งได้ แต่บางชนิดห้ามฉีก ตัด แบ่ง
- เมื่อต้องการติดแผ่นแปะ ให้ลอกแผ่นที่คลุมส่วนเหนียวที่มีตัวยาออก ระวัง อย่าแตะส่วนเหนียวที่จะติดบนผิวหนังเนื่องจากเป็นส่วนที่มีตัวยาอยู่
- เวลาติดแผ่นแปะที่ผิวหนัง ให้กดแผ่นแปะไว้ประมาณ 10 วินาที เพื่อให้แผ่นแปะติดแน่น ควรติดแผ่นแปะอย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง แผ่นแปะบางชนิดต้องเปลี่ยนทุกวัน
- การทิ้งขยะแผ่นแปะ หลังจากดึงแผ่นแปะออกแล้ว ให้พับครึ่งโดยให้ส่วนที่ติดผิวหนังอยู่ด้านในและกดให้ติดกัน ห่อให้มิดชิดเพื่อป้องกันเด็กหรือสัตว์นำไปเล่น
-