Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคความผิดปกติของก…
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
1.1 ความหมายของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร (eating disorder) เป็นกลุ่มอาการของโรคทางจิตเวชที่
บุคคลมีความคิด ความรู้สึก ต่อรูปร่าง น้ำหนัก และการกินอาหารของตนที่บิดเบือนจากความเป็นจริงอย่างรุนแรง
ส่งผลทำให้บุคคลมีลักษณะความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
ความผิดปกติของการกิน (eating disorder) ที่พบได้บ่อยมี 2 ชนิด ได้แก่ อนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า
(anorexia nervosa) และบูลิเมีย เนอร์โวซ่า (bulimia nervosa)
มีความเข้มงวดกับการพยายามลดหรือควบคุมน้ำหนักอย่างมาก โดยมีกลวิธีทั้งการอดอาหาร การหักโหมออกกำลังกาย และทำให้ตนอาเจียนออกหลังจากรับประทานอาหาร
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
อนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า (anorexia nervosa)
แบบที่ 2 แบบรับประทานมากและมีการขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating / purging
type)
แบบที่ 1 แบบจำกัด (restricting type)
เป็นภาวะที่บุคคลปฏิเสธการมีน้ำหนักตัวปกติ มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวของตนเองตลอดเวลา มีความกลัวอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวหรือ กลัวอ้วนมากๆ ทั้งที่มีน้ำหนักตัวน้อย และไม่คำนึงถึงผลกระทบของร่างกายที่เกิดจากการปฏิเสธอาหาร
บูลิเมีย เนอร์โวซ่า (bulimia nervosa)
เป็นภาวะที่ร่างกายมีความรู้สึกผิดปกติ เห็นอาหารแล้วเกิดความอยากบริโภคและบริโภคได้ในปริมาณมากกว่าปกติ โดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ โดยเฉพาะอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล
การบริโภคอาหารแต่ละครั้งจะบริโภคในปริมาณมากในเวลารวดเร็ว
เมื่อบริโภคเสร็จแล้วจะรู้สึกผิด
ไม่สบายใจ และพยายามเอาอาหารที่บริโภคเข้าไปออกด้วยวิธีการต่างๆ
เช่น ล้วงคอให้อาเจียน กินยาระบาย หรือออกกำลังกายอย่างหนักติดต่อกันนานหลายชั่วโมง เพื่อใช้พลังงานจากอาหารที่บริโภคให้หมด
สาเหตุ การบำบัดรักษาโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
2.1 สาเหตุของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological factors)
ด้านพันธุกรรม
ด้านสารสื่อประสาทในสมอง
2) ปัจจัยทางด้านจิตใจ (psychological factors)
พัฒนาการของจิตใจ
บุคลิกภาพ
ลักษณะการเลี้ยงดู
3) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม (sociocultural factors)
สัมพันธภาพในครอบครัว
สังคมเมืองที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอุตสหกรรม
2.2 การบำบัดรักษาโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
1) การบำบัดรักษาทางกาย
2) การบำบัดรักษาด้วยยา (pharmacotherapy)
ยาต้านเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSR) ได้แก่ ยาฟูลออกซีทีน
(fluoxetine) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า และบุคคลที่เป็นบูลิเมียเนอร์โวซ่า
ยาต้านเศร้ากลุ่ม tricyclic antidepressant (ICAs) ได้แก่ ยาอะมิทริปไทลีน (amitriptyline)
และยาอิมิพรมิน (imipramine) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นบูลิเมีย เนอร์โวซ่า
ยากระตุ้นความอยากอาหาร ได้แค่ megestrol acetate ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย
เนอร์โวซ่า
3) จิตบำบัดรายบุคคล (individual psychotherapy)
.
ป็นการรักษาอันดับแรก ๆ ในบุคคลที่มี
ความผิดปกติของการรับประทานอาหาร ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งจะช่วยให้บุคคลที่มี
ความผิดปกติของการรับประทานอาหารเข้าใจ ยอมรับการเจ็บป่วย และให้ความร่วมมือในการรักษาเพิ่มขึ้น
4) การบำบัดความคิด (cognitive therapy)
.
บุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
ส่วนใหญ่จะมีความคิดและความเชื่อที่สัมพันธ์กับอาหาร น้ำหนัก มโนทัศน์แห่งตน (self-concept) และสัมพันธภาพ
ระหว่างบุคคล การบำบัดด้านความคิดจึงมีเป้าหมาย เพื่อแก้ไขความคิดและความคิดรวบยอด เกี่ยวกับตนเองทั้งเรื่อง
รูปร่างและน้ำหนักตัวที่บิดเบื่อนจากความจริงอย่างรุนแรง ช่วยให้รับรู้สิ่งเร้าจากภายในร่างกาย เช่น ความหิว และ
อารมณ์หรือความต้องการที่แท้จริงของตนเองได้ตามความเป็นจริง
5) พฤติกรรมบำบัด (behavioral therapy)
.
ผู้บำบัดจะต้องสังเกตอาการของการรับประทาน
อาหาร และอาการแสดงของความผิดปกติของการรับประทานอาหารอย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนในการบำบัดที่
เหมาะสมในแต่ละรายเพื่อเพิ่มน้ำหนัก ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายเพราะผุดคลที่มี
ความผิดปกติของการรับประทานอาหาร แต่ละรายจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน
6) ครอบครัวบำบัด (family therapy)
เป้าหมายอันดับแรกของครอบครัวบำบัด คือ พยายามให้
ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการหยุดพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าครอบครัว
บำบัดจะช่วยหยุดพฤติกรมการกินรับประทานอาหารที่ผิดปกติได้อย่างมีประสิทธิผล เป้าหมายที่สำคัญของการทำ
ครอบครัวบำบัดของวัยรุ่นที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ
7) กลุ่มบำบัด (group therapy)
บุคคลที่มีความผิดปกติของการการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ
ส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมแยกตัวออกจากคนอื่น พยายามหลีกเลี่ยงการการรับประทานอาหารร่วมกับคนอื่น
เพื่อเก็บความลับเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติของตนองไว
8) โภชนาการบำบัด (nutrition therapy)
โภชนการจะดูแลวางแผนจัดเมนูอาหารที่เหมาะสม
สำหรับบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารและให้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร เช่น การคำนวณการวางแผน
โปรแกมการรับประทานอาหาร วางแผนมื้ออาหาร ซึ่งการคำนวณความต้องการสารอาหาร จะต้องคงไว้ซึ่งความ
ต้องการสารอาหารมากกว่าแคลอรี่ที่ควรได้รับในระดับปกติ ร้อยละ 30-50
9) อาชีวบำบัต (occupational therapy)
นักอาชีวบำบัดช่วยให้บุคคลที่มีความผิดปกติของการ
รับประทานอาหาร ได้เรียนรู้การวางแผนในการเลือกซื้อหารและประกอบอาหารตัวยตนเอง เพื่อให้บุคคลที่มีความ
ผิดปกติของการรับประทานอาหารสามารถวางแผนจัดเมนูอาหารออกมาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การแนะแนวอาชีพและฝึก
อาชีพเพื่อให้บุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหาร สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพเมื่อออกจาก
โรงพยาบาล
การพยาบาลบุคคลที่มีโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
1) การประเมินสภาพ (assessment)
การซักประวัต
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การประเมินจากการตรวจร่างกาย
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
มีภาวะขาตสารอาหารเนื่องจากปฏิเสธการรับประทานอาหารหรือความอยากอาหารลดลง
เกิดภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโตรไลท์ในร่างกายเนื่องจากมีพฤติกรรมล้วงคออาเจียน
เสี่ยงต่อการบาดเจ็บในช่องปากเนื่องจากมีพฤติกรรมล้วงคออาเจียน
เสี่ยงต่อการผลัตตกหกล้มเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง
มีวิธีการจัดการกับปัญหาที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากขาดความรู้
มีความวิตกกังวลเนื่องจากการรับรู้เกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่บิดเบือน
ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงเนื่องจากการรับรู้เกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่บิดเบือน
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
2.การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับบริกาที่มีความผิดปกติของ
การรับประทานอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะผู้รับบริการมักไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาเนื่องจากไม่ยอมรับว่า
อาการเหล่านั้นเป็นปัญหาและมีความรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย รวมทั้งไม่เห็นด้วยกับการรักษา มีความคิดว่าเป็นการ
บังคับจึงมีพฤติกรรมต่อต้านการรักษา ดังนั้น ในการสร้งสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดพยาบาลจะให้การช่วยเหลือเพื่อ
ช่วยบรรเทาความไม่สบายใจในสิ่งที่เป็นปัญหา ส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถมองเห็นและเข้าใจถึงปัญหา และมีการ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่เหมาะสมต่อไป การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดเมื่อผู้รับบริการมีความเข้าใจ
ตนเอง จะช่วยให้ผู้รับบริการสามารถมองเห็นและเข้าใจถึงปัญหามากขึ้นเกิดความศรัทธา และร่วมมือในการปฏิบัติ
ตามคำแนะนำเพิ่มขึ้น
1.การดูแลให้ได้รับสารอาหารและน้ำที่เพียงพอ
การดูแลให้ได้รับสารอาหารและน้ำที่เพียงพอ ผู้รับบริการที่มีความผิดปกติของการรับประทาน
อาหาร จะมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานพยาบาลจึงต้องดูแลให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นทางปาก
หรือทางสายให้อาหาร โดยพยาบาลจะต้องวางแผนกำหนดตารางการได้รับอาหารในแต่ละวันให้ชัดเจน และดูแลให้
ได้รับสารอาหารและน้ำตามเวลาที่กำหนด แจ้งให้ผู้รับบริการทราบเมื่อถึงเวลาอาหาร ชนิดอาหารและข้อปฏิบัติต่าง ๆ
ตามความเป็นจริง เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจเหตุผล เห็นความสำคัญและทราบเป้าหมายของการพยาบาลที่ชัดเจน
ปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน ระยะแรกจะเริ่มให้ประมาณ 1,000 - 6,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน และเพิ่มขึ้น
เรื่อย ๆ จนถึง 3,000-4,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน เป้าหมายของเพิ่มน้ำหนักประมาณ 1-1.4 กิโลกรัม/สัปดาห์ หลักการในการให้อาหาร
3.การรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยา บทบาทที่สำคัญของพยาบาล คือ การดูแลให้ผู้รับบริการได้รับยา
ครบถ้วนตามแผนการรักษา ส่งเสริมให้ผู้รับบริการเห็นความสำคัญของการรับประทานยา ร่วมมือรับประทาน
ยาอย่างต่อเนื่อง และต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประทานยา ถ้าผู้รับบริการรู้สึกทุกข์
ทรมานจากผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากยา จะส่งผลให้ความร่วมมือในการรับประทานยาลดลง
4) การให้คำปรึกษา
ให้ผู้รับบริการสำรวจความเชื่อความรู้สึกของตนเองที่มีต่อรูปร่างและน้ำหนักของตนเอง โดยมี
เป้าหมายของการให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้รับบริการได้ปรับเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับน้ำหนักของตนเองให้ดีขึ้น
สนับสนุนให้ผู้รับบริการได้พูดระบายความรู้สึกที่มีต่อตนเอง ความรู้สึกที่มีต่อน้ำหนักและ
รูปร่างของตนเอง ความรู้สึกเครียดเกี่ยวกับอาหารและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ความรู้สึกที่มีต่อครอบครัว เช่น รูปแบบ
การเลี้ยงดู บทบาทของคนในครอบครัว กิจกรรมต่าง ๆ การสื่อสารและสัมพันธภาพภายในครอบครัว หรือเหตุการณ์ที่
ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวด เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการจัดการกับความรู้สึกเหล่านั้น
ปรับปลี่ยนทัศนคติของผู้รับบริการในการรับรู้ภาพล้กษณ์ของตนเองในทางบวกช่วยสร้างความ
กระจ่างเกี่ยวกับความคิดที่มีต่อรูปร่างของตนเอง และปรับปลี่ยนความคิดที่บิดเบือนจากความเป็นจริง
การเสริมพลังอำนาจในตนเองให้กับบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารมี
ความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองในการควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เพราะผู้รับบริการสวนใหญ่จะมีความรู้สึกว่าตนมีปมด้อย
มีความรู้สึกอ่อนไหวง่าย วิธีนี้จะช่วยให้ผู้รับบริการได้เรียนรู้ที่จะเคารพตนเอง เชื่อว่าตนเองเป็นอิสระ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ
พ่อแม่ ครอบครัวหรือสังคมเท่านั้น
ให้สุขภาพจิตศึกษา ถือเป็นกิจกรรมการพยาบาลที่สำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา
พยาบาลจะต้องให้ความรู้แก่ผู้รับบริการและญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับโรค สาเหตุของโรค อาการ อันตรายจาก
ภาวะแทรกซ้อน ความจำเป็นในการเพิ่มน้ำหนักตัวให้อยู่ในเณฑ์ปกติ
ครอบครัวบำบัด มีความสำคัญมากเพราะผู้รับบริการโดยเฉพาะวัยรุ่นส่วนใหญ่ยังต้องอศัยอยู่
กับครอบครัว
กลุ่มบำบัด เป็นอีกหนทางสำหรับบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารจะช่วยให้
รู้สึกปลอดภัยและรู้สึกว่าตนเองไม่ได้แตกต่างจากบุคคลอื่น
การเยี่ยมน ในกรณีผู้รับบริการที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีอาการดีขึ้นก่อนที่จะให้
ผู้รับบริการกลับบ้าน
4) การประเมินผล (evaluation)
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1-14 กิโลกรัมต่อสัปดาห์หรือประเมินดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง
18.5 22.9 กิโลกรัมต่อเมตร2 ผิวหนังชุ่มขึ้น มีความยืดหยุ่นดีขึ้น
ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น จังหวะการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต
ระบบทางเดินอหาร ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากพฤติกรรมการล้วงคออาเจียน เช่น การ
ฉีกขาดของหลอดอาหารหรือเยื่อบุลำคอ
ระบบสืบพันธุ์ การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศและประจำเดือนมาปกติ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการปกติ
การตรวจ CBC ปกติ ไม่พบภาวะซีด (anemia) ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (leucopenia) เม็ด
เลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ (neutropenia) และภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia)