Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช…
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช บุคคลที่มีกลุ่มโรคอาการทางกาย
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงของกลุ่มโรคอาการทางกาย
ความหมายของกลุ่มโรคอาการทางกาย
กลุ่มโรคอาการทางกาย (somatic symptom and related disorders) บุคคลที่มีปัญหาทางด้าน
จิตใจ หรือ มีความกดดันทางด้านจิตใจแต่แสดงอาการของการมีปัญหาทางด้านจิตใจออกมาให้เห็นเป็นความเจ็บป่วย ทางด้านร่างกาย ซึ่งการแสดงออกของความเจ็บป่วยทางจิตใจผ่านออกมาให้เห็นทางการเจ็บป่วยด้านร่างกายนั้น สามารถอธิบายได้จากความเชื่อที่ว่า ร่างกาย จิตใจมีการทํางานสัมพันธ์กัน โดยเมื่อจิตใจมีความเจ็บป่วยก็จะสง่ ผล เชื่อมโยงให้เกิดปัยหาข้ึนที่ร่างกาย กลุ่มโรคอาการทางกายประกอบด้วยโรคต่าง ๆที่สําคัญหลายโรค แต่ในท่ีนี้จะขอ กล่าวถึงเฉพาะโรค somatization disorder, โรค Hypochondriasis
ลักษณะอาการและอาการแสดงของกลุ่ม
โรคอาการทางกาย
โรค somatization disorder
1) มีอาการปวด (pain) อย่างน้อย 4 ตําแหน่งพร้อมกัน
2) มีอาการของระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal symptom) อย่างน้อย 2 อาการ เช่น คลื่นไส้ แน่นท้อง อาเจียน ท้องเดิน
3) อาการทางเพศ (Sexual symptom) อย่างน้อย 1 อาการ เช่น เฉื่อยชาทางเพศ ประจําเดือนมา ไม่สม่ำเสมอ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
4) อาการที่คล้ายโรคทางระบบประสาท (pseudo neurological symptom) น้อย 1 เช่น การ ทรงตัว แขนขาไม่มีแรงหรือเป็นอัมพาต กลืนอาหารลําบาก พูดไม่มีเสียง ตามองไม่เห็น หูหนวก ชัก
โรค Hypochondriasis
ผู้ป่วยจะมีความกลัวหรือกังวลอย่างน้อย 6 เดือนว่าตนเองจะป่วยเป็นโรคร้ายโรคใดโรคหนึ่ง โดยที่ตนเองไม่มีการเจ็บป่วยนั้นจริง
สาเหตุ การบําบัดรักษากลุ่มโรคอาการทางกาย
สาเหตุของกลุ่ม
โรคอาการทางกาย
โรค somatization disorde
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
ผู้ป่วยมีความผิดปกติของระดับการใส่ใจ (attention)
การทํางานที่น้อยกว่าปกติของสมองส่วนหน้า (frontal lope)
พันธุกรรม
2) ปัจจัยทางจิตสังคม
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ทฤษฎีการเรียนรู้
โรค hypochondriasis
1) ถูกกระตุ้นได้ด้วยความเครียดหรือปัญหาชีวิต
2) มีประวัติถูกกระทําทารุณในวัยเด็ก
3) มีประวัติเจ็บป่วยร้ายแรงในวัยเด็ก
4) มีแปลความรู้สึกของร่างกายผิดปกติ
การบําบัดรักษาของกลุ่มโรคอาการทางกาย
โรค somatization disorde
ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงในโรคนี้ แต่ผู้ป่วยจะได้รับการบําบัดตามปัญหาของผู้ป่วยเป็นรายๆไป ส่วนใหญ่แพทย์ที่ทําการบําบัดรักษา มักจะเป็นแพทย์ประจําเพียงคนเดียว และมีการนัดพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องมีช่วงระยะเวลาในการนัดพบไม่ห่างยาวนานมากนักทั้งน้ีเพื่อลดความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งไม่ได้รับความสนใจ อาการป่วยของตนเองเท่าที่ควร และหลีกเลี่ยงการตรวจพิเศษที่ไม่จําเป็น
โรค hypochondriasis
โดยท่ัวไปในผู้ป่วยโรคน้ีการบําบัดด้วยยาไม่ค่อยได้ผล ผู้ป่วยอาจจะได้รับยาแก้ต้านเศร้าที่อาจช่วยให้อาการดีขึ้นบ้าง หรือหากผู้ป่วยมีโรคทางจิตเวชอื่นร่วมด้วย ผู้ป่วยกอ็ าจจะได้รับยาที่ตอบสนองต่ออาการของโรคจติ เวชอื่นที่ผู้ป่วยมีร่วมอยู่ด้วย เพื่อจะลดความเครียดและช่วยผู้ป่วยในการปรับตัวกับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และ ดําเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาด้วยจิตบําบัดอาจเป็นจิตบําบัดแบกลุ่ม ส่วนจิต บําบัดแบบอ่ืน ๆ
การพยาบาลบุคคลท่ีมี
กลุ่มโรคอาการทางกาย
1) การประเมินสภาพ (assessment)
ด้านร่างกาย
ส่วนมากผู้ป่วยกลุ่มโรคอาการทางกาย มักจะได้รับการตรวจร่างกายทั่วไปอย่างถี่ถ้วน เพื่อความ ชัดเจนว่าผู้ป่วยไม่มีการเจ็บป่วยทางร่างกายจริง การรวบรวมข้อมูลที่เป็นปัญหาด้านร่างกายของผู้ป่วยจึงต้อง ระมัดระวัง และมีการส่งต่อข้อมูลถึงอาการต่าง ๆ กับทีมผู้บําบัดอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากอาการของผู้ป่วยกลุ่มนี้มี ความใกล้เคียงกับโรคทางร่างกายหลายอย่าง
ด้านจิตใจ
ควรมุ่งเน้นทางด้านอารมณ์และความคิดเป็นสําคัญ เช่น อาการต่าง ๆที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยนั้นเขารู้สึกอย่างไร ซึ่งส่วนมากจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มโรคอาการทางกายจะมีอารมณ์ท้อแท้ ทุกข์ทรมาน รู้สึกว่าช่วยตัวเองไม่ได้
ด้านสังคม
ประเมินแรงกดดันที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดอาการต่าง ๆมากข้ึน เพื่อจะช่วยให้พยาบาลเข้าใจและหา แนวทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไป
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
(nursing diagnosis)
ไม่สนใจที่จะแก้ปัญหาทางจิตใจเพราะปฏิเสธปัญหาทางจิตใจ
มีความบกพร่องในการดูแลตนเองด้านสุขภาพอนามัย
มีอาการเจ็บป่วยทางร่างกายหลายอย่าง
ต้องพึ่งพายาลดอาการปวด
มีอารมณ์ซึมเศร้าหรือพยายามทําร้ายตนเอง
มีความบกพร่องในวิธีเผชิญปัญหาหรือความไม่สบายใจ
ไม่สามารถทําหน้าท่ีได้ตามบทบาทหรือแยกตัวจากสังคม
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล
(planning and implementation)
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด (therapeutic relationship) กับผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ
ให้เวลาผู้ป่วยได้พูดระบายความในใจได้อย่างอิสระ ต้ังใจรับฟัง ใส่ใจกับคําพูด และการกระทําท่ีผู้ป่วย แสดงออกมาโดยไม่นําตนเองไปตัดสินพฤติกรรมของผู้ป่วย
ส่งเสริมความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับปัญหาทางสุขภาพของผู้ป่วย และทักษะที่จําเป็น ตามแต่ละปัญหาที่แท้จริงของของผู้ป่วย
ดูแลให้จัดสภาพแวดล้อมที่เน้นความปลอดภัยเนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มโรคอาการทางกาย มักมีความรู้สึก ว่าการเจ็บป่วยของเขาทุกข์ทรมานอาจคิดทําร้ายตนเองได
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาเพื่อควบคุม ลดระดับอาการและอาการแสดงของโรคร่วมที่ ผู้ป่วยม
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
(evaluation)
สามารถบอกวิธีในการเผชิญหรือแก้ปัญหาของตนเองได้
สีหน้าสดช่ืนแจ่มใส
นอนหลับพักผ่อนได้
ประกอบกิจวัตรประจําวัน บทบาท และหน้าท่ีของตนเองได้
นางสาวจุรีพันธ์ เตชะอัศวรักษ์ 180101042
นักศึกษาพยาบาลปีที่3