Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Dx.Lt.+Rt. side Heart Failure ผู้ป่วยชาย 62 ปี - Coggle Diagram
Dx.Lt.+Rt. side Heart Failure
ผู้ป่วยชาย 62 ปี
เปรียบเทียบทฤษฎีโรค
Left side Heart failure
พยาธิสรีรวิทยา
เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวลดลง จะทำให้มีเลือดคั่งในหัวใจห้องล่างซ้าย เลือดที่อยู่ในหัวใจห้องบนซ้ายไม่สามารถลงสู่ห้องล่างซ้ายได้ เป็นผลให้เลือดที่ปอดไม่สามารถเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาได้ เกิดภาวะเลือดคั่งในหลอดเลือด Pulmonary vein ทำให้แรงดันในหลอดเลือด pulmonary สูงขึ้น ซึ่งส่งผลถึงแรงดันของหลอดเลือดฝอยที่อยู่ในถุงลมด้วย ทำให้น้ำในหลอดเลือดฝอยถูกดันให้ซึมผ่านเข้าไปในถุงลม และช่องว่างระหว่างเซลล์ในปอด ในบางรายถ้าแรงดันในปอดสูงมากทำให้หลอดเลือดฝอยแตก มีเลือดออกสู่ถุงลม หลอดลม ทำให้เสมหะมีเลือดปน
อาการและอาการแสดง
1)
หายใจหอบเหนื่อย
2)
นอนราบไม่ได้ (Orthopnea) และมี (Paroxysmal nocturnal dyspnea : PND
3)
การไอ ฟังเสียงปอดจะมีเสียง Crepitation
4)
อ่อนเพลีย (Fatigue)
5)
ความดันโลหิตลดลง
6)
สมองขาดออกซิเจน มีอาการกระสับกระส่าย ความจำเสื่อม เป็นลม
7)
อาการเจ็บหน้าอก พบได้ในกรณีที่เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ
8)
อาการทางระบบไต ปัสสาวะลดลงเวลากลางวันและมีปัสสาวะออกมากเวลากลางคืน
9)
ผอมและขาดสารอาหาร (Cachexia and malnutrition)
10)
ผิวซีด/ เขียว
ผู้ป่วยรายนี้ มี หายใจหอบเหนื่อย,นอนราบไม่ได้,ไอ,ฟังเสียงปอดพบเสียง Crepitation,ซีด Capillary refill time = 3 s.
Right side Heart failure
พยาธิสรีรวิทยา
หัวใจห้องล่างขวาล้มเหลว เป็นต่อเนื่องมาจากการมีแรงดันหลอดเลือดในปอดสูงรวมทั้งแรงดันในหลอดเลือด pulmonary artery จากการที่มีภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว ทำให้หัวใจห้องล่างขวาพยายามบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปฟอกที่ปอด เมื่อทำงานหนักเข้าหัวใจถึงอ่อนล้า และเกิดการล้มเหลวในการทำงาน ทำให้มีเลือดคั่งในหัวใจห้องล่างขวา เลือดจากหัวใจห้องบนขวาไม่สามารถลดลงสู่ห้องล่างขวาได้ เป็นผลให้เลือดจากตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มาตาม Superior vena cava และ Inferior vena cava ไม่สามารถเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาได้ จึงคั่งอยู่ตามหลอดเลือดดำตามร่างกาย เมื่อแรงดันในหลอดเลือดดำสูงขึ้นจะดันน้ำให้ซึมออกจากหลอดเลือดผ่านเข้าสู่ช่องว่างระหว่างเซลล์และเซลล์ของร่างกาย เกิดการบวมตามร่างกาย
อาการและอาการแสดง
1) การบวม (Edema) ตามระยางค์ต่างๆ อาจกดบุ๋ม (Pitting Edema)
3) ท้องมาน (Ascites)
4) หลอดเลือดดำที่คอโป่ง
5) จุกแน่นบริเวณใต้ชายโครงขวาหรือบริเวณลิ้นปี่
2) ตับโต
ผู้ป่วยรายนี้ มี Pitting edema 3+, มีเส้นเลือดที่คอโป่งพอง
สาเหตุ
1.ความผิดปกติของหัวใจ โรคของลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว โรคของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด/ตาย การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจพิการเป็นต้น
Pt. Hx.ลิ้นหัวใจรั่ว ได้ทำ Valvular replacement
จากโรคอื่น เช่น เป็นโรคโลหิตจางมาก่อน โรคต่อมไธรอยด์ทำงานมากเกินไป โรคความดันโลหิตสูง โรคไตวาย เป็นต้น
Pt. มี Hx.HT
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและตรวจพิเศษ
CXR
EKG 12 lead
Lab
CBC
BUN,Cr
ระดับ natriuretic peptides
LFT
TFT
Echocardiography
Case นี้ มี Order เจาะ CXR,BUN,Cr,Electrolyte,U/A
ข้อมูลสนับสนุนของผู้ป่วยรายนี้
ไอ,หายใจเหนื่อยหอบ,นอนราบไม่ได้(Orthopnea) เป็นมา 1 hr
Lung: Crepitation
Pitting Edema 3+
มี Neck vein engorged
V/S : BP 135/92 mmHg,P108/min, RR
ไม่ทราบ
T=36.9 c O2sat 93%RA
Hx.เดิมป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว,HT
Heart : Murmur
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ปริมาณเลือดออกจากหัวใจต่อนาทีลดลงเนื่องจากพยาธิสภาพของหัวใจล้มเหลว
ผิวหนังสูญเสียหน้าที่ เนื่องจากบวมน้ำ
มีภาวะน้ำเกินเนื่องจากหัวใจไม่สามารถบีบตัวให้เลือดไปเลี้ยงไตได้เพียงพอ
การแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่อง เนื่องจากน้ำคั่งในปอด
การกำซาบของเนื้อเยื่อลดลง เนื่องจากปริมาณเลือดออกจากหัวใจลดลง
ความทนในการทำกิจกรรมลดลง เนื่องจากปริมาณเลือดออกจากหัวใจลดลง
การรักษา
การรักษาที่ได้รับ
Retain foley's cath
On O2 canular 3 LPM
On Heparin lock
V/S ทุก 4 hr.
Record I/O
Lasix 40 mg IV stat
การรักษาที่ควรได้รับเพื่มเติม
ควบคุมโภชนาการ รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกตื
จำกัดการดื่มน้ำ ไม่เกิน 1500 ml/day
จำกัดการทานเกลือ ไม่เกิน 2 gms/day
Low salt diet
จำกัดการดื่ม Alc
จำกัดการทำกิจกรรมบนเตียง
EKG 12 lead/monitor EKG
จัดท่านอนศีรษะสูง 45-60 องศา
การซักประวัติตรวจร่างกายที่ควรตรวจเพิ่มเติม
ซักประวัติ
Hx.ไอเป็นเลือด,จุกแน่นท้อง?,การปัสสาวะ,PND,ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการ,ถาม Hx.การใช้ยา การรักษาก่อนมารพ.
การตรวจร่างกาย
ตรวจ Conjunctiva เพื่อดูเรื่องซีด,Trachea shift?,ตรวจดู Clubing finger,ตรวจ Hepatomegaly,ตรวจหา Ascites
ตรวจวัด V/S ให้ครบถ้วน (Case ไม่ทราบ RR)
ข้อมูลยา
ชื่อยา
: Furosemide (Lasix)
กลุ่มยา
: Loop diuretic drug
กลไกการออกฤทธิ์
: ยับยั้งการดูดกลับของโซเดียม และคลอไรด์ ที่ Ascending limb of Henle's loop เป็นส่วนใหญ่ โดยยับยั้งการดูดกลับของคลอไรด์ จึงมีผลยับยั้งการดูดกลับของโซเดียมด้วย หากให้ยาในปริมาณสูง สามารถยับยั้งการดูดกลับของโซเดียมบริเวณ proximal และ distal tubule ทำใหเร่างกายเสียโซเดียมและ คลอไรด์ จำนวนมาก รวมทั้งเสียโปแตสเซียม แม็กนีเซ่ยม และ แคลเซียมด้วย
ข้อบ่งใช้
: ลดบวมจากสาเหตุ ตับแข็ง หัวใจวาย และโรคไต รวมทั้ง Nephrotic syndrome ให้ทางหลอดเลือดดำผู้ป่วย Acute pulmonary edema และใช้ลดความดันโลหิตสูงด้วย
S/E
Dehydrate
Postural hypotension
มึนงง สับสน
ตะคริว
เบื่ออาหาร
มี Urea nitrogen,Cr,Uric acid,น้ำตาลในเลือดสูง
เหตุผลที่ผู้ป่วยได้รับยานี้
เนื่องจากผู้ป่วยมีพยาธิสภาพของโรคหัวใจล้มเหลว ทำให้ความสามารถในการบีบตัวของหัวใจเพื่อสูบฉีดเลือดลดลง จึงทำให้เลือดที่อยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ปอด แขน ขา ไม่ได้ถูกส่งกลับมายังหัวใจได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเลือดมีส่วนประกอบคือน้ำ ทำให้มีน้ำเกิน มาอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการบวม และเมื่อมีน้ำเกินอยู่ในบริเวณปอด ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง ร่างกายเกิดภาวะพร่องออกซิเจน การได้รับยาชนิดนี้ จึงช่วยให้ร่างกาย ลดการดูดกลับของ Na และ Cl ซึ่งเกลือแร่ทั้งสองตัวนี้ มีคุณสมบัติคือ ดูดน้ำเข้าหนาตัว เมื่อไม่มีการดูดกลับ น้ำจึงไม่ถูกดูดกลับด้วย จึงส่งผลทำให้น้ำถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการบวมลดลง และหายใจเหนื่อยลดลง