Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช…
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคบุคลิกภาพผิดปกติท่ีพบบ่อย
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดง
ของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
ความหมายของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
โรคบุคลิกภาพผิดปกติ (personality disorder) เป็นประสบการณ์ พฤติกรรมและการดําเนินชีวิตท่ีเบี่ยงเบนหรือแตกต่างไปจากบรรทัดฐานและความคาดหวังของสังคม รวมทั้งวัฒนธรรมที่บุคคลนั้นๆ อยู่ โดย บุคลิกภาพที่ผิดปกติ จะเริ่มปราฎในช่วงวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนตันแล้วดําเนินต่อไปจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่โดยมีพฤติกรรม ที่ไม่มีความยืดหยุ่น ปรับตัวยาก มีปัญหาในเรื่องของกระบวนการคิด การแสดงออกทางอารมณ์ การมีสัมพันธภาพกับ บุคคลหรือการควบคุมตนเองอันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์หรือมีชีวิตที่เข้ากับสังคมไม่ได้
กลุ่ม A มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีพฤติกรรมประหลาด พิสดาร (odd or eccentricity) เป็น กลุ่มท่ีมีการปรับตัวได้ยากในระดับที่มีความรุนแรงมากที่สุดและยากท่ีจะรักษาหายได้
กลุ่ม B มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ผิดปกติ หรือคาดเดาไม่ได้ (dramatic, emotional, or erratic) เป็นกลุ่มท่ีมีการปรับตัวยากในระดับท่ีมีความรุนแรงปานกลางและได้บ้างไม่ได้ บ้าง
กลุ่ม c มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีความหวาดกลัวหรือวิตกกังวลอย่างสูง (anxious or fearful) เป็นกลุ่มที่มีการปรับตัวยากในระดับที่มีความรุนแรงน้อยที่สุดและสามารถรักษาได้
ลักษณะอาการและอาการแสดงของ
โรคบุคลิกภาพผดิปกตที่พบบ่อย
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (antisocial personality disorders)
โดยมีอาการแสดงออก อย่างน้อย 3 จาก 7 อาการดังต่อไปนี้
1)ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือมาตรฐานของสังคม
2)หลอกลวงซึ่งเห็นได้จากการพดูโกหกซ้ำแล้วซ้ำอีก
3) หุนหันวู่วาม ไม่คดิ ไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะทําอะไรลงไป
4) หงุดหงิด และก้าวร้าว มีเรื่องต่อสู้ใช้กําลัง หรือทําร้ายผู้อื่นบ่อยๆ
5) ไม่ใส่ใจถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
6) ขาดความรับผดิ ชอบอยู่เป็นประจํา ทํางานอยู่ไม่ได้นาน
7)ไม่รู้สึกสํานึกผดิหรือเสยีใจต่อความผิดที่ได้กระทําลงไป
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อก้ำกึ่ง(borderline personality disorders)
จะมีลักษณะของการขาดความมั่นคงแน่นอนในการที่จะมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น การมองภาพลักษณ์ของตนเองและการควบคุมอารมณ์ รวมทั้งมีการแสดงออกแบบหุนหันวู่วาม ควบคุมตนเองไม่ได้ (impulsivity) เริ่มแสดงอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและจะแสดงออกให้เห็นชัดเจนเมื่อเผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์ ต่าง ๆ
บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependent personality disorders)
จะมีลักษณะของการชอบพึ่งผู้อื่น ยอมตาม และขึ้นอยู่กับผู้อื่นแทบทุกเรื่อง ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเองและกลัวการถูกทอดทิ้งอาการแสดงมักเร่ิมในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและจะแสดงอาการออกให้เห็นชัดเจนเมื่อเผชิญ กับปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆ
สาเหตุ การบําบัดรักษาโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
สาเหตุของโรคบุคคลิกภาพผิดปกติ
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
พันธุกรรม (genetic) พันธุกรรมคือลักษณะที่ติดตัว
บุคคลผู้นั้นมาตั้งแต่เกิด
ประสาทชีววิทยา (neurobiology) การเจ็บป้วยด้วย
โรคทางสมอง หรือความผิดปกติในหน้าที่ ของสมอง
2) ปัจจัยทางจิตวิทยา
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory) มีการขัดของพัฒนาการ โครงสร้างทางจิต
ทฤษฎีการเรียนรู้ (leaning theory)
ทฤษฎีทางจิตสังคม (psychosocial theory)
3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ความส้มพันธ์พ่อแม่ลูกไม่ดี
การที่พ่อแม่เคร่งครัดไม่ผ่อนปรนและขาดเหตุผลต่อเด็ก
ความยากจนและการขาดที่พึ่ง
การบําบัดรักษาโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
1) การบําบัดทางจิตสังคม (psychosocial therapy)
จิตบําบัด (psychotherapy) เป็นการรักษาทางด้านจิตใจ
จิตบําบัตรายบุคคล (individual therapy)
จิตบําบัดแบบกลุ่ม (group therapy)
2) การรักษาด้วยยา (pharmacotherapy)
การพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ
1) การประเมินสภาพ
(assessment)
พันธภาพทางสังคม (social relationships) จะทําให้ทราบถึงสัมพันธภาพในครอบครัว
ลักษณะเฉพาะ (character) อุปนิสัย เช่น บุคลิกภาพลักษณะเคร่งครัดหรือเถรตรง
อารมณ์ทั่วไป (habitual mood) ความคงทนของอารมณ์ การแสดงออกทางอารมณ์
การเลี้ยงดูในวัยเด็ก
การใช้เวลาว่าง (use of leisure)
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
(nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อการทําร้ายตนเอง/ฆ่าตัวตายเนื่องจากรู้สึกไม่มีคุณค่า/สูญเสีย/ล้มเหลว/มีภาวะ ซึมเศร้า
เสี่ยงต่อการทําร้ายผู้อื่นด้วยวิธีรุนแรงเนื่องจากขาดความยับยั้งชั่งใจ/ความอดทนต่อความคับข้องใจต่ำ
การเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดทักษะในการแก้ไขปัญหา
ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เน่ืองจากการรับรู้คุณค่าในตนเองต่ำ
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล
(planning and implementation)
1) บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคมและแบบก้ำกึ่ง และพึ่งพา (antisocial, and borderline personality disorders)
สร้างสัมพันธภาพกับบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติดว้ยความชัดเจน
ให้บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติได้พูดระบายความรู้สึก
ให้ความช่วยหลือและเฝ้าระวงั พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ประเมินประสิทธิผลของยา
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกลุ่มทํากิจกรรมการสร้างสรรค์กับผู้อื่น
แนะนําให้ครอบครัวเข้าใจและให้กําลังใจผู้ป่วย
2) บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependent personality disorders)
ให้ผู้ป่วยพูดระบายความรู้สึกก่อนและหลังการกระทํา
ในสิ่งท่ีบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติกลัวที่จะทํา
สอนการปรับเปลี่ยนวิธีคิดที่มีผลต่อความวิตกกังวล การคิดเชิงบวก
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น โดยเริ่มจากคนจํานวนน้อยก่อน
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ประเมินประสิทธิผลของยา
ให้ความรู้เรื่องครอบครัวเกี่ยวกับโรคการบําบัดรักษาและการดูแล
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
(evaluation)
ไม่มีความคิดฆ่าตัวตาย
ไม่มกี ารทําร้ายบุคคลอื่น
ไม่มีการทําลายสิ่งของ
ไม่รู้สึกว่าตนเองด้อยค่า
ไม่มีความเช่ือที่มาจากอาการหลงผิด ควบคุมพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นได้
เลือกใช้วิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
นางสาวจุรีพันธ์ เตชะอัศวรักษ์ 180101042
นักศึกษาพยาบาลปีที่3