Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยาที่มีความเสี่ยงสูง (High alert drug) และบัญชียาหลักแห่งชาติ,…
ยาที่มีความเสี่ยงสูง (High alert drug) และบัญชียาหลักแห่งชาติ
ยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drug ; HAD)
คือ กลุ่มยาที่มีโอกาสที่จะเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย เพราะ มีดัชนีการรักษาแคบ หรือมีผลข้างเคียงร้ายแรงต่ออวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ไต เป็นต้น
ชนิดหรือรายการยาความเสี่ยงสูง จะมีความแตกต่างกันในแต่ละโรงพยาบาล
บุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องยาที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาล
แพทย์และบุคลากรของภาควิชาต่างๆ
ฝ่ายเภสัชกรรม
ฝ่ายการพยาบาล
ทีมนำทางคลินิก
การเก็บรักษายาที่มีความเสี่ยงสูง
HAD ทุกชนิดต้องเก็บรักษาโดยแยกจากยาอื่นๆ หรือ ป้องกันการเข้าถึงได้โดยง่าย
ต้องมีสัญลักษณ์สีชมพูสด เตือนว่าเป็นยาที่มีความเสี่ยงสูง
กลุ่มยาเสพติด ได้แก่ fentanyl ,morphine,pethidine ต้องจำกัดการเข้าถึง ต้องใส่ในตู้หรือลิ้นชักที่ lock เสมอ มีผู้ควบคุม ตรวจสอบจำนวนยาอย่างสม่ำเสมอ
การจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
เมื่อได้รับใบสั่งจ่ายยา HAD เภสัชกรต้องตรวจสอบซ้ำ ชื่อ-สกุลผู้ป่วย ชื่อยา ขนาดยา อันตรกิริยาระหว่างยา ข้อห้ามในการใช้ยา ถ้าพบต้องปัญหาต้องติดต่อแพทย์ผู้สั่งยาทันที
การจ่ายยา HAD ต้อง double check เสมอ
การจ่ายยา HAD ที่มีเครื่องหมาย
**
ที่ชื่อยา ต้องติดสติ๊กเกอร์วงกลมสีชมพู ฉลากด้วย เอกสารแนะนำผู้ป่วยประกอบการส่งมอบยาทุกครั้ง
การสั่งจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
ไม่สั่งยา HAD ด้วยวาจา
ไม่ใช้คำย่อในการสั่งยาที่นอกเหนือจากระเบียบการสั่งจ่าายยาของ รพ.
แพทย์ระบุตัวผู้ป่วยอย่างถูกต้อง และพิจารณาผล lab หรือค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญก่อนการสั่งยา HAD
แพทย์คำนวณขนาดยาซ้ำกรณีต้องมีการคำนวณ
แพทย์พิจารณาข้อห้ามใช้ และอันตรกิริยาระหว่างยา HAD กับยาอื่นๆ ที่ผู้ป่วยใช้อยู่ก่อน
การบริหารยา
เมื่อต้องการให้ยาแก่ผู่ป่วย แพทย์หรือพยาบาล ผู้ให้ต้องตรวจสอบชื่อ-นามสกุลผู้ป่วย ชื่อยา ขนาดยาให้ถูกต้องซ้ำก่อนให้ยาแก่ผู้ป่วย
การเตรียมยาให้ปฏิบัติตามที่ระบุในคู่มือยาแต่ละชนิด
พยาบาลอีกคนหนึ่งเป็นผู้ตรวจสอบซ้ำก่อนให้ยาแก่ผู้ป่วย
การเฝ้าระวังผลการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง
พยาบาลเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยตามคู่มือ ติดตามและลงบันทึกผลการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงไว้ในแฟ้มผู้ป่วย
พยาบาลแจ้งแพทย์เจ้าของไข้ทันที เมื่อพบความผิดปกติหรือความผิดพลาดจากการใช้ยา HAD
เมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง หรือเกิดความผิดพลาดที่ถึงตัวผู้ป่วยจากการใช้ยา HAD ผู้พบเหตุการณ์ต้องรายงานอุบัติการณ์ทันที
ตัวอย่างยาที่มีความเสี่ยงสูง
Adrenaline (Epinephrine)
ชื่อยา Adrenaline injection 1 mg/mL (1 mL) GPO
ข้อบ่งใช้ คือ รักษาอาการแพ้อย่างรุนแรง (รวมถึงภาวะ anaphylactic shock) หลอดลมตีบ หัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest)
ขนาดยาที่มีในโรงพยาบาล คือ 1 mg/mL และ100 mcg/mL
ระวังสับสนระหว่าง epinephrine กับ ephedrine
ระวังสับสนเรื่องความแรงของยา
–Adrenaline 1: 1,000 = 1 mg/mL บริหารยาทาง SC
–Adrenaline 1: 10,000 = 0.1 mg/mL บริหารยาทาง IV
สารน้ำที่ใช้ได้D5W, NSS
ความคงตัวหลังเจือจางยา 24 ชั่วโมงในตู้เย็น
ควรให้ทาง central line ถ้าไม่สามารถให้ได้ แนะนำเส้นเลือดใหญ่ หลีกเลี่ยง ankle veins (เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิด gangrene)
ควรหลีกเลี่ยงการฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณสะโพก เนื่องจากอาจทำให้หลอดเลือดตีบจนกล้ามเนื้อตาย
ไม่ควรใช้เมื่อยาตกตะกอน หรือเปลี่ยนเป็นสีชมพู หรือสีน้ำตาลอ่อน
การตรวจติดตาม
บันทึก vital signs, BP ขณะให้ยา
ตรวจดู IV site ทุก 1 ชั่วโมง เพื่อระวังการเกิดยารั่วออกนอกหลอดเลือด (extravasation) ซึ่งจะทำให้เกิดเนื้อเยื่อตายได้ โดยอาการนำคือ ผิวหนังมีสีขาวซีด (blanching) หรือมีสีเทา (graying) ผิวหนังเย็น
Calcium injection
ชื่อยา
-10% Calcium gluconate Injection (10 mL)
-10% Calcium chloride Injection (10 mL, 250 mL)
Screening
ค่าปกติserum calcium (Ca2+ ) = 4.2-5.1 mEq/L
ห้ามใช้ร่วมกับ ceftriaxone ในทารกแรกเกิด
ควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับยากลุ่ม cardiac glycoside (digoxin)
การให้ยาแก่ผู้ป่วย
ห้ามผสมใน bicarbonate เพราะอาจตกตะกอน
ควรแยกเส้นการให้ Ca++IV กับยาอื่นๆ เพราะอาจเกิดการตกตะกอนเมื่อผสมกับยาอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะ phosphate
ควรให้ยาทาง IV ไม่ควรให้IM หรือ SC เพราะจะทำให้เกิด necrosis ได้
การตรวจติดตาม
ตรวจติดตาม BP, pulse (ยานี้อาจทำให้เกิด vasodilation ซึ่งส่งผลให้เกิด hypotension, bradycardia,arrhythmias และ cardiac arrest ได้ นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่ม BP ได้ชั่วคราวในระหว่างบริหารยา โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ป่วยที่มี hypertension)
ตรวจดู IV site บ่อยๆ ทุก 30 นาที เพราะถ้ามียารั่วซึมออกมา จะทำให้เกิดเนื้อเยื่อตายได้
บัญชียาหลักแห่งชาติ
รายการบัญชียาหลักแห่งชาติ ประกอบด้วย
บัญชียาสำหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุข
ประกอบด้วยบัญชีย่อย 5 บัญชี
รวมทั้งรายการยาเภสัชตำรับโรงพยาบาล
บัญชี ก รายการยามาตรฐาน
บัญชี ข รายการยาที่ใช้ยาในบัญชี ก ไม่ได้ หรือไม่ได้ผล
บัญชี ค รายการยาที่ต้องใช้ในโรคเฉพาะทางโดยผู้ชำนาญ
บัญชี ง รายการยาที่มีหลายข้อบ่งใช้ แต่มีความเหมาะสมเพียงบางข้อบ่งใช้
บัญชี จ (จ1) รายการยาสำหรับโครงการพิเศษ
(จ2) รายการยาสำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นเฉพาะ
บัญชียาสมุนไพร
เภสัชตำรับโรงพยาบาล
รายการยาที่โรงพยาบาลสามารถผลิตขึ้นใช้ภายในโรงพยาบาลตามเภสัชตำรับของโรงพยาบาล
บัญชียาจากสมุนไพร
รายการยาจากสมุนไพรที่เป็นยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณ และยาพัฒนาจากสมุนไพร
เกณฑ์การแบ่งระดับสถานบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ตามระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ
หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ (Primary care) : โรงพยาบาลชุมชน
หน่วยบริการระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) : โรงพยาบาลทั่วไป
หน่วยบริการระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) : โรงพยาบาลศุนย์,โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์
การแบ่งระดับสถานพยาบาล
โรงพยาบาลชุมชน
โรงพยาบาลทั่วไป
โรงพยาบาลศูนย์
โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์
นางสาวกัณนิภา นักร้อง รหัสนักศึกษา 6301110801001 Sec 1