Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลทมี่ กีลุ่มโรควติกกังวล
(Generalized anxiety disorder,…
การพยาบาลบุคคลทมี่ กีลุ่มโรควติกกังวล
(Generalized anxiety disorder, Panic disorder, Specific phobia)
โรควิตกกังวลหรือภาวะวิตกกังวลที่ผิดปกติ (Anxiety disorder) เป็นความผิดปกติที่บุคคลตอบสนองต่อ สิ่งที่มาคุกคามมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน และมีความบกพร่องในการทำบทบาทหน้าที่ต่างๆ
-
-
ลักษณะอาการของความวิตกกังวล ได้แก่ อาการตึงเครียดของระบบประสาทอัตโนมัติและกล้ามเนื้อ เช่น ปวดศีรษะ ตึงต้นคอ หายใจไม่ออก อึดอัดจุกแน่น ลำคอ เจ็บหน้าอก ใจสั่น ตกใจง่าย มือเท้าเย็น เหงื่อออก วูบวาบตามลำตัว เสียวแปลบๆ จากศีรษะถึงเท้า หงุดหงิด อ่อนเพลียง่าย นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ
ระดับของความวิตกกังวล
วิตกกังวลระดับปกติ (Normal) เป็นความรู้สึกของบุคคลที่แสดงออกมาให้บุคคลรับรู้ว่า มีความไม่สบายใจ มีความรู้สึกหวาดหวั่น ซึ่งเป็นระดับที่บุคคลจะรู้สึกต้องเตรียมพร้อมในการป้องกันตนเองจากสิ่งที่คุกคาม
วิตกกังวลระดับน้อย (Mild anxiety) ความวิตกกังวลในระดับน้อยสามารถเกิดได้ในชีวิตประจำวัน จะมีลักษณะตื่นตัวดี กระตือรือร้น สามารถสังเกตการณ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆได้ดี เรียนรู้ได้ดี มีความคิดริเริ่ม สามารถมองเห็นความเกี่ยวเนื่องของเหตุการณ์และอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ให้คนอื่นทราบได้อย่างชัดเจน ในระยะ นี้บุคคลจะมีความสามารถในการรับรู้ความจริง จะเห็น จะได้ยิน และรับรู้ข้อมูลได้มาก ความวิตกกังวลในระดับนี้ บุคคลจะเรียนรู้ที่จะหาวิธีในการแก้ไขปัญหา และอาจมีการแก้ไขปัญหาได้ดี
วิตกกังวลระดับปานกลาง (Moderate anxiety) จะมีการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆทั้งการ มองเห็นการฟังมีประสิทธิภาพลดลง ความสนใจและสมาธิลดลง การรับรู้แคบลง บุคคลจะมีอาการพูดเสียงสั่นๆ พูดเร็วขึ้น เริ่มมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ยังมี ความสามารถแก้ไขปัญหาได้แต่ต้องใช้สมาธิมากขึ้น มีความรู้สึกท้าทายต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ได้ มีความ ตื่นตัวมากขึ้นแต่ยังรับรู้ เข้าใจความเกี่ยวเนื่องของเหตุการณ์อยู่
วิตกกังวลระดับสูง (Severe anxiety) บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับสูงจะรับรู้เหตุการณ์ที่จะ เกิดขึ้นในอนาคตได้น้อยลง ความสนใจจดจ่ออยู่กับแค่บางสิ่งบางอย่าง ไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ต้องการพูดได้ พูดจาไม่รู้เรื่อง กระบวนการคิดไม่ดี สับสน อาจจะเกิดช่วงก่อนที่บุคคลจะมองหาความช่วยเหลือ เริ่มมีพฤติกรรมที่แสดงถึงความผิดปกติทางจิตใจ เช่น ซึมเศร้า แยกตัว
วิตกกังวลระดับรุนแรง (Panic state) บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับหวาดกลัวรุนแรงความสามารถ ในการรับรู้จะหยุดชะงัก พูดไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีความสามารถใน การทำสิ่งต่างๆ ความรู้สึกตัว อารมณ์ผิดปกติ การรับรู้ผิดไปจากความเป็นจริง จะไม่สามารถ ควบคุมดูแลตนเองได้ ความคิดเป็นเหตุเป็นผลลดลง แก้ปัญหาไม่ได้ มีความรู้สึกโกรธ ขาดที่ พึ่ง เศร้าหดหู่ หมดอาลัยตายอยากในชีวิต แยกตัวเอง พูดเสียงดังเร็ว ไม่ประติดประต่อเป็นประโยค หน้านิ่วคิ้วขมวด
ลักษณะของความวิตกกังวล
1. Trait –anxiety or A –trait (ความวิตกกังวลประจำตัว) คือ ลักษณะประจ าตัวของแต่ละบุคคลที่มี อิทธิพลต่อการรับรู้และการประเมินสิ่งเร้า โดยมีแนวโน้มที่จะรับรู้และประเมินหรือคาดคะเนสิ่งเร้าว่าน่าจะเกิด อันตรายหรืออาจคุกคามตนเองทำให้มีความวิตกกังวลเกิดขึ้น มักจะเกิดขึ้นกับบุคคลในสถานการณ์ทั่วๆไป
2. State- anxiety or A-state (ความวิตกกังวลในขณะปัจจุบัน) คือความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นกับบุคคล ในสถานการณ์เฉพาะหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจหรือจะเกิดอันตรายต่อบุคคล และจะแสดงพฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ในช่วงที่อยู่ในสถานการณ์นั้น ความวิตกกังวลในขณะปัจจุบันนี้ทำให้บุคคลเกิด ความตึงเครียด หวาดหวั่น กระวนกระวาย ระบบอัตโนมัติตื่นตัวสูงขึ้น ความรุนแรงและระยะเวลาที่เกิดความ วิตกกังวลในขณะปัจจุบันจะแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความวิตกกังวลเฉพาะตัวและ ประสบการณ์ในอดีตของแต่ละบุคคล
-
การบำบัดรักษา
1. การรักษาด้วยยา
ยาต้านอาการวิตกกังวลเป็นยาที่นิยมใช้รักษาผู้ที่มีความผิดปกติด้านความวิตกกังวลทุกรูปแบบ ยา เหล่านี้ได้แก่ Ativan, Xanax, buspar เป็นยาที่นิยมใช้ แต่ยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์หลายอย่าง เช่น หลังจากใช้จะมีผลทำให้ง่วงนอน ไม่สดชื่น ทำให้ติดยาต้องเพิ่มปริมาณยาที่ใช้ และต้องเพิ่มปริมาณยาขึ้น เรื่อยๆ เมื่อใช้เป็นเวลานานในปริมาณสูงๆ การหยุดยาทันที ทำให้เกิดอาการชักได้
3. การบำบัดทางเลือก (Alternative therapy) เพื่อลดความวิตกกังวล การให้ผู้มีปัญหาการเรียนรู้ อาการของความวิตกกังวลและการจัดการกับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น โดยวิธีนี้ผู้มีปัญหาจะสามารถควบคุม ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นและได้ประสบการณ์ใหม่ที่จะเอาชนะความวิตกกังวลนั้น นอกจากนี้จะได้เรียนรู้สาเหตุที่ ซ่อนอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมปัญหาถ้าหากได้ใช้วิธีการทำจิตวิเคราะห์ร่วมด้วย
2.การรักษาทางจิตสังคม การทำจิตบำบัดเป็นวิธีการรักษาต้นเหตุของอาการความวิตกกังวล วิธีการของจิตบำบัดมีหลายวิธี เช่น จิตบำบัดโดยจิตวิเคราะห์ จิตบำบัดโดยทฤษฎีมนุษย์นิยม ซึ่งทุกรูปแบบให้ประโยชน์แก่ผู้ป่วยทั้งสิ้น การจะเลือกใช้รูปแบบการบำบัดใด ผู้บำบัดจะพิจารณาจากปัญหา และลักษณะของผู้ป่ วย ส่วนใหญ่มักจะใช้หลายๆวิธีร่วมกันไป เรียกว่า electric approach เช่น ผู้ป่วยมีอาการกลัวในสิ่งไม่น่ากลัว ผู้บำบัดอาจจะใช้วิธีการทางพฤติกรรมบำบัด โดยวิธี relaxation และวิธี desensitization