Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ของพยัญชนะไทย - Coggle Diagram
หน้าที่ของพยัญชนะไทย
สระ (อ ว ย ร)
สรรค์ รร ทำหน้าที่แทน สระอะ
เสีย ย เป็นส่วนประกอบของสระเอีย
กวน ว เป็นสระอัวลดรูป
ขอ เสือ มือ อ เป็นสระ และเป็นส่วนหนึ่งของสระ
อักษรควบ
ควบกล้ำแท้
เป็นพยัญชนะควบกล้ำที่ออกเสียงพร้อมกันทั้ง 2 ตัว
ควบด้วย ร เช่น กรอบ กราบ เกรง ครอบครัว
ควบด้วย ล เช่น กล้วย กลีบ ไกล แปลง
ควบด้วย ว เช่น ไกว แกว่ง ควาย ขว้าง
ควบกล้ำไม่แท้
เป็นพยัญชนะที่เขียนเหมือนควบกล้ำแท้ ร แต่ออกเสียงเพียงตัวเดียว
ตัวอย่างเช่น จริง สร้าง สระ เศร้า แสร้ง ศรี อ่านว่า (จิง) (ส้าง) (สะ) (เส้า) (แส้ง) (สี)
พยัญชนะต้น
เป็นตัวแรกของคำหรือพยางค์
พยัญชนะท้ายพยางค์ (ตัวสะกด)
มี 35 ตัวเท่านั้น ที่สามารถใช้เป็นตัวสะกดได้ โดยแบ่งเป็น 8 เสียง เรียกว่ามาตราตัวสะกด 8 มาตรา
แม่กก
ออกเสียงสะกด ก ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ก ข ค ฆ เป็นตัวสะกด เช่น นก เลข โรค เมฆ
แม่กด
ออกเสียงสะกด ด ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ด ต ถ ท ธ ฎ ฏ ฐ ฒ จ ช ซ ศ ษ ส เป็นตัวสะกด เช่น เปิด
แม่กบ
ออกเสียงสะกด บ ซึ่งจะใช้พยัญชนะ บ ป พ ภ ฟ เป็นตัวสะกด เช่น ดาบ บาป ภาพ กราฟ โลภ
แม่กน
ออกเสียงสะกด น ซึ่งจะใช้พยัญชนะ น ร ญ ล ฬ เป็นตัวสะกด เช่น แขน คูณ บุญ อาหาร กล ปลาวาฬ
แม่กง
ออกเสียงสะกด ง ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ง เป็นตัวสะกด เช่น จริง วิ่ง ลิง สิงห์ พิง มุ่ง สั่ง
แม่กม
ออกเสียงสะกด ม ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ม เป็นตัวสะกด เช่น นม ดม ลม พรม สม ชิม แยม
แม่เกอว
ออกเสียงสะกด ว ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ว เป็นตัวสะกด เช่น สิว หิว วัว
แม่เกย
ออกเสียงสะกด ย ซึ่งจะใช้พยัญชนะ ย เป็นตัวสะกด เช่น ยาย เนย เคย เลย คุย
อักษรนำ-อักษรตาม
พยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน ประสมสระเดียว
อ่านออกเสียงร่วมกันสนิทเป็นพยางค์เดียวกัน เมื่อมีตัว ห และ ตัว อ เป็นอักษรนำ
ห
เมื่อมีตัว ห เป็นอักษรนำ เช่น หรู หรา หญิง เหลือ หลาย เหลว ไหล หรู หรา –หรูหรา – ห อักษรสูง นำ ร อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห หญิง หญ้า ใหญ่ -หยิง- ห อักษรสูง นำ ญ อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห
อ
เมื่อมีตัว อ เป็นอักษรนำ ย มี 4 คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก
อย่า อยู่ อย่าง อยาก -หย่า หยู่ หย่าง หยาก-อ อักษรกลาง นำ ย อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม อ
อ่านออกเสียงเป็น 2 พยางค์ โดยพยางค์แรกอ่านออกเสียงเหมือนมีสระ อะ ประสมอยู่กึ่งเสียง ส่วนพยางค์หลังอ่านตามสระที่ประสมอยู่ และอ่านออกเสียงวรรณยุกต์ตามพยัญชนะตัวแรก
ตัวอย่างเช่น
ขยับ ขะ-หยับ ข อักษรสูง นำ ย อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห
ฉลาม ฉะ-หลาม ฉ อักษรสูง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ห
ตลาด ตะ-หลาด ต อักษรกลาง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ต
สนาม สะ-หนาม ส อักษรสูง นำ น อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ส
ผลิต ผะ-หลิต ผ อักษรสูง นำ ล อักษรต่ำ ออกเสียงวรรณยุกต์ตาม ผ
ตัวการันต์
จันทร์ ทร์ เป็นตัวการันต์ ลักษณ์ ษณ์ เป็นตัวการันต์ ศิลป์ ป์ เป็นตัวการันต์