Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.3 โรคบุคลิกภาพผิดปกติที่พบบ่อย - Coggle Diagram
5.3 โรคบุคลิกภาพผิดปกติที่พบบ่อย
ความหมาย
เป็นประสบการณ์ พฤติกรรมและการดำเนินชีวิตที่
เบี่ยงเบนหรือแตกต่างไปจากบรรทัดฐานและความคาดหวังของสังคม
กลุ่ม A มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีพฤติกรรมประหลาด พิสดาร
กลุ่ม B มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ผิดปกติ หรือคาดเดาไม่ได้
กลุ่ม c มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีความหวาดกลัวหรือวิตกกังวลอย่างสูง
ลักษณะอาการและอาการแสดง
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม
(antisocial personality disorders)
อายุอย่างน้อย 18 ปี โดยจะมีลักษณะของการไม่สนใจ
ใยดีถึงกฎเกณฑ์ความถูกต้อง
แสดงออกอย่างน้อย 3 จาก 7 อาการ
ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือมาตรฐานของสังคม
หลอกลวง ซึ่งเห็นได้จากการพูดโกหกช้ำแล้วซ้ำอีก ใช้การตบตาหรือหลอกลวงหาผลประโยชน์จากผู้อื่น
หุนหันวู่วาม ไม่คิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะทำอะไรลงไป
หงุดหงิดและก้วร้าว มีเรื่องต่อสู้ใช้กำลัง หรือทำร้ายผู้อื่นบ่อยๆ
ไม่ใส่ใจถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
ขาดความรับผิดชอบอยู่เป็นประจำ ทำงานอยู่ไม่ได้นาน
ไม่ชื่อสัตย์ทางการเงิน
ไม่รู้สึกสำนึกผิดหรือเสียใจต่อความผิดที่ได้กระทำลงไป มีท่าที่เฉยๆ หรืออ้างเหตุผลที่ทำไม่ดีทำร้ายร่างกาย หรือขโมยของผู้อื่น
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อก้ำกึ่ง
(borderline personality disorders)
ขาดความมั่นคงแน่นอนในการที่จะมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น การมองภาพลักษณ์ของตนเองและการควบคุมอารมณ์ รวมทั้งมีการแสดงออกแบบหุนหันวู่วาม ควบคุมตนเองไม่ได้
อย่างน้อย 5 จาก 9 อาการ
พยายามอย่างคนเสียสติที่จะหนีความเป็นจริงหรือหนีจากการถูกทอดทิ้ง
สัมพันภาพกับผู้อื่นมีลักษณะที่ไม่แน่นอนระหว่างดีสุดๆ และชั่วร้ายสุดๆ
สับสนในความเป็นตัวของตัวเอง การมองภาพลักษณ์ของตนเองหรือความรู้สึกที่มีต่อตนเองไม่แน่นอน
แสดงพฤติกรรมหุนหันวู่วามซึ่งส่งผลร้ายหรือทำลายตนเองอย่างน้อย 2 อย่าง ได้แก่ สำส่อนทางเพศ ใช้สารสพติต ขับรถประมาท ดื่มจัด
มีพฤติกรรม ท่าทาง หรือพยายามที่จะทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายบ่อยๆ
มีอารมณ์ไม่สม่ำเสมอ ไม่คงที่เปลี่ยนแปลงง่าย
มีความรู้สึกเหงาหว้าเหว่เรื้อรัง
มีการแสดงออกของอารมณ์โกรธรุนแรงไม่เหมาะสม
เมื่อมีความเครียด จะเกิดความหวาดระแวงหรือแสดงอาการแสดงเกี่ยวกับภาวะความจำ การรับรู้เกี่ยวกับตนเองสูญเสียไป (dissociative symptoms)
บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา
(dependent personality disorders)
ชอบพึ่งผู้อื่น ยอมตาม และขึ้นอยู่กับผู้อื่นแทบทุกเรื่อง ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเองและกลัวการถูกทอดทิ้ง
แสดงออกอย่างน้อย 5 จาก 8 อาการ
ไม่กล้าที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง ต้องอาศัยคำแนะนำ
และการให้กำลังใจจากผู้อื่น
ต้องการให้คนอื่นเข้ามารับผิดชอบเรื่องสำคัญๆ ในชีวิตให้ตน
รู้สึกยากที่จะแสดงความคิดเห็นคัดค้าน หรือไม่เห็นด้วยกับคนอื่น
เพราะกลัวเขาจะไม่ยอมรับหรือไม่ช่วยเหลืออีกต่อไป
ไม่สามารถที่จะคิดริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการใหม่ๆ และทำอะไรด้วยตนเองไม่ค่อยได้
ทำทุกอย่างที่จะให้ได้รับการช่วยเหลือเกื้อหนุนจากผู้อื่น ยอมแม้แต่ที่จะอาสาทำในสิ่งที่ไม่สุขสบาย
รู้สึกไม่สบายใจหรือหมดหนทางช่วยเหลือ เมื่อต้องอยู่คนเดียว
เมื่อคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต้องมีอันจากไปหรือสัมพันธภาพต้องยุติลง จะรีบหาสัมพันธภาพใหม่ทันที
ครุ่นคิดแต่ในเรื่องที่จะถูกทอดทิ้งให้ต้องดูแลตนเอง
สาเหตุของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
พันธุกรรม
ประสาทชีววิทยา
2) ปัจจัยทางจิตวิทยา
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
มีการติดขัดในขั้นของพัฒนาการ
โครงสร้างทางจิตบกพร่อง
ทฤษฎีการเรียนรู้ (leaning theory)
ทฤษฎีทางจิตสังคม (psychosocial theory)
3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
การบำบัดรักษาโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
1) การบำบัดทางจิตสังคม
(psychosocial therapy)
จิตบำบัด (psychotherapy)
จิตบำบัดรายบุคคล
จิตบำบัดแบบกลุ่ม
2) การรักษาด้วยยา (pharmacotherapy)
การพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ
1) การประเมินสภาพ (assessment)
พันธภาพทางสังคม
ลักษณะเฉพาะ อุปนิสัย
อารมณ์ทั่วไป
การเลี้ยงดูในวัยเด็ก
การจัดการแก้ไขปัญหาและการใช้กลไกป้องกันตนเองทางจิต
เจตคติและมาตรฐาน
การใช้เวลาว่าง
การกระทำเป็นนิสัย
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม และก้ำกึ่ง
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง/ฆ่าตัวตายเนื่องจากรู้สึกไม่มีคุณค่า/สูญเสีย/
ล้มเหลว/มีภาวะซึมเศร้า
เสี่ยงต่อการทำร้ายผู้อื่นด้วยวิธีรุนแรงเนื่องจากขาดความยับยั้งชั่งใจ/
ความอดทนต่อความคับข้องใจต่ำ
การเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดทักษะในการแก้ไขปัญหา
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องเนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เป็นที่ยอมรับ
ของสังคมมีพฤติกรรมบงการผู้อื่น
สูญเสียพลังอำนาจเนื่องจากความต้องการของตนเองไม่ได้รับการตอบสนอง/รับรู้ความมีคุณค่าในตนเองต่ำ
บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา
วิตกกังวลเนื่องจากกลัวการอยู่ตามลำพัง/ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์
ที่ตนเองเผชิญอยู่ได้
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องมีพฤติกรรมแยกตัวเนื่องจากกลัวการถูกปฏิเสธ/กลัวถูกวิพากษ์วิจารณ์
การเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดทักษะในการแก้ไขปัญหา/
ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เนื่องจากการรับรู้คุณค่าในตนเองต่ำ
การทำหน้าที่รับผิดชอบตามบทบาทที่ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจาก
มีพฤติกรรมและ/หรือความคิดซ้ำ ๆ
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล
แบบต่อต้านสังคมและแบบก้ำกึ่ง และพึ่งพา
สร้างสัมพันธภาพ
พูดระบายความรู้สึก พยาบาลควรให้การยอมรับ เข้าใจ
ให้ความช่วยหลือและเฝ้าระวังพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย
จัดสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัย
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
ช่วยให้บุคคลที่มีบุคลิภาพผิดปกติมีความเข้าใจ ไวต่อความรู้สึก
และอารมณ์ของตนเอง
ฝึกทักษะการจัดการและควบคุมพฤติกรรมทางอารมณ์ที่มากเกินไป
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกลุ่มทำกิจกรรมการสร้างสรรค์กับผู้อื่น
สนับสนุนการรับผิดชอบต่อหน้าที่และปฏิบัติตมกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
ตามความเหมาะสม
เสริมแรงทางบวกมากกว่าการลงโทษ
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเลือกวิธีการคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเอง
แนะนำให้ครอบครัวเข้าใจและให้กำลังใจผู้ป่วย
บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา
ให้ผู้ป่วยพูดระบายความรู้สึกก่อนและหลังการกระทำในสิ่งที่บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติกลัวที่จะทำ
สอนการปรับเปลี่ยนวิธีคิดที่มีผลต่อความวิตกกังวล การคิดเชิงบวก
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
จัดให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่
ปลอดภัย เงียบสงบ
สอนและให้บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติฝึกทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ
ให้บุคคลที่บุคลิกภาพผิดปกติเลือกวิธีการคลายครียด
ที่เหมาะสมกับตนเอง
เสริมแรงทางบวก
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
ให้ความรู้เรื่องครอบครัวเกี่ยวกับโรค การบำบัดรักษา และการดูแล
4) การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation)
ควรประเมินเกี่ยวกับความเข้าใจในปัญหา วิธีการเผชิญกับปัญหา การแสดงพฤติกรรมการปรับตัวที่มีประสิทธิภาพ และความ
ร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วย