Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช …
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคความผดิปกตขิองการรับประทานอาหาร
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
1.1 ความหมายของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
เป็นกลุ่มอาการของโรคทางจิตเวชที่ บุคคลมีความคิด ความรู้สึก ต่อรูปร่าง น้ำหนัก และการกินอาหารของตนที่บิดเบือนจากความเป็นจริงอย่างรุนแรง ส่งผลทำให้บุคคลมีลักษณะความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทานอาหาร มีความเข้มงวดกับการพยายามลด หรือควบคุมน้ำหนักอย่างมาก
ความผิดปกติของการกิน (eating disorder) ที่พบได้บ่อยมี 2 ชนิด ได้แก่ อนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า (anorexia nervosa) และบูลิเมีย เนอร์โวซ่า (bulimia nervosa)
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
อนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า (anorexia nervosa) เป็นภาวะที่บุคคลปฏิเสธการมีน้ำหนักตัวปกติ มีความ วิตกกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวของตนเองตลอดเวลา มีความกลัวอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวหรือกลัวอ้วนมากๆ ทั้งที่มีน้ำหนักตัวน้อย เป็นความ ผิดปกติทางจิตเวชเรื้อรังชนิดหนึ่งที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุด
แบบที่1 แบบจำกัด (restricting type) คือ ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมแบบรับประทานมากและไม่มีการ ขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating / purging type) เช่น ทำให้ตนเองอาจาเจียน หรือการใช้ยาระบาย ยาขับ ปัสสาวะ หรือยาสวนถ่ายอย่างพร่ำเพรื่อ ในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา
แบบที่2 แบบรับประทานมากและมีการขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating / purging type) คือ ผู้ป่วยมีพฤติกรรมรับประทานมากและมีการขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating / purging type) เช่น ทำให้ตนเองอาจาเจียน หรือการใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ หรือยาสวนถ่ายอย่างพร่ำเพรื่อ ในระยะ 3 เดือนที่ ผ่านมา
มีลักษณะอาการและอาการแสดง
• ผู้ป่วยปฏิเสธการรับประทานอาหารเพื่อคงไว้ซึ่งน้ำหนักตัวในระดับปกติ เพราะกลัวน้ำหนักที่จะ เพิ่มขึ้นจากการรับประทานอาหาร หรือมีความรู้สึกกังวลและกลัวว่าตนเองจะอ้วนมากเกินไป กลายเป็นความคิด หมกมุ่นอยู่กับรูปร่างและน้ำหนักตัวของตนเอง แม้ว่าตนเองจะมีน้ำหนักตัวน้อย
• ผู้ป่วยจะให้คุณค่ากับตนเองในการประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักตัวและรูปร่าง การ ประเมินตนเองของผู้ป่วยจึงขึ้นอยู่กับเรื่องน้ำหนักตัวหรือรูปร่าง ในผู้ป่วยอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า (anorexia nervosa) นี้จะมีความผิดปกติในการรับรู้ตนเองเกี่ยวกับน้ำหนักตัวหรือรูปร่างของตน หรือปฏิเสธความรุนแรงของน้ำหนักตัวที่ต่ำ
• ผู้ป่วยมักมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้อื่นผิดปกติไปเพราะมักคิดว่าตนเองปกติแต่ผู้อื่นผิดปกติทำให้ เกิดการปฏิเสธการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการลดน้ำหนักและความผอมของตนเอง รูปแบบความคิดไม่ยืดหยุ่นและไม่ ยอมรับความเป็นจริงนี้ส่งผลให้การให้ประวัติในการรักษาของผู้ป่วยไม่ตรงตามความจริง
• ผู้ป่วยมักมีการขาดประจำเดือนร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะแสดงอาการในช่วงวัยรุ่นตอนต้น
บูลิเมีย เนอร์โวซ่า (bulimia nervosa)
ภาวะที่ร่างกายมีความรู้สึกผิดปกติ เห็นอาหารแล้วเกิด ความอยากบริโภคและบริโภคได้ในปริมาณมากกว่าปกติโดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ โดยเฉพาะอาหารประเภท แป้งและน้ำตาล การบริโภคอาหารแต่ละครั้งจะบริโภคในปริมาณมากในเวลารวดเร็ว เมื่อบริโภคเสร็จแล้วจะรู้สึกผิด ไม่สบายใจ และพยายามเอาอาหารที่บริโภคเข้าไปออกด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ล้วงคอให้อาเจียน กินยาระบาย หรือ ออกกำลังกายอย่างหนักติดต่อกันนานหลายชั่วโมง เพื่อใช้พลังงานจากอาหารที่บริโภคให้หมด
ลักษณะอาการและอาการแสดง
• มีการรับประทานอย่างมากเป็นระยะๆ
ลักษณะที่1 มีช่วงของการรับประทานที่รับประทานอาหารในช่วงเวลาสั้นๆ ครั้งละมากๆ มากกว่าคนทั่วไปจะบริโภคได้ในช่วงเวลาและในสถานการณ์ที่เท่ากันหรือคล้ายคลึงกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลา รับประทานอาหารน้อยกว่า 2 ชั่วโมง
ลักษณะที่ 2 มีความรู้สึกว่าไม่สามารถที่จะควบคุมการรับประทานได้ในระหว่างนั้น เช่น รู้สึกว่า ตนเองหยุดการรับประทานไม่ได้หรือควบคุมชนิดหรือปริมาณอาหารไม่ได้
• แสดงออกทางพฤติกรรมชดเชยในลักษณะที่ไม่เหมาะสมอยู่เป็นระยะๆ ป้องกัน น้ำหนักไม่ให้เพิ่มขึ้น เช่น ทำให้ตนเองอาเจียน ใช้ยาระบาย ใช้ยาขับปัสสาวะ หรือใช้ยาสวนถ่ายหรือยาอื่นอย่าง ไม่หมาะสม อดอหารติดต่อกัน 3 - 4 วัน หรือ ออกกำลังกายอย่างหักโหมติดต่อกันมากกว่า 5 ชั่วโมง
• มีทั้งการรับประทานที่มากกว่าปกติ และพฤติกรรมชดเชยที่ไม่หมาะสม เกิดขึ้นเฉลี่ยอย่างน้อย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
เป็นระยะเวลานานติดต่อกัน 3 เดือน
• มีการประเมินตนเองเกี่ยวกับเรื่องของน้ำหนักตัวหรือรูปร่างอย่างมาก
• ความผิดปกติดังกล่าวนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในช่วงของ anorexia nervosa ที่บุคคลมีการปฏิเสธการ มีน้ำหนักตัวปกติ, ความวิตกกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวของตนเองตลอดเวลาหรือมีความกลัวอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการ เพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวหรือกลัวอ้วนมากๆทั้งที่มีน้ำหนักตัวน้อยเท่านั้น
สาเหตุ การบำบัดรักษาโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
2.1 สาเหตุของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological factors)
• ด้านพันธุกรรม จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านพันธุกรรมส่งผลทำให้บุคคลมีโอกาสเกิดความ ผิดปกติของการรับประทานอาหารคือ บุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า พบว่า คู่แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน
• ด้านสารสื่อประสาทในสมอง จากการศึกษาพบว่าความผิดปกติของการรับประทานอาหารกับ โรคซึมเศร้า (depression disorder) มีความสัมพันธ์กับสารสื่อประสาทในสมอง (neurotransmitters) จากผลร ศึกษาปัจจัยทางซีวภาพพบว่ มีความส้มพันธ์กับความผิดปกติของระบบซีโรโทนิน (serotonin) มากที่สุด ซึ่งพบว่า บุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารทั้ง 2 กลุ่ม
2) ปัจจัยทางด้านจิตใจ (psychological factors)
• พัฒนาการของจิตใจ เนื่องจากโรคนี้มักพบมากในกลุ่มวัยรุ่น จึงมีการสันนิษฐานว่าการ
พัฒนาการของจิตใจน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความผิดปกติของการการรับประทานอาหาร
วัยรุ่นจึงให้ความหมายความพึงพอใจจากการรับประทานอาหารเหมือนกับว่าเป็นความพึงพอใจทางเพศ
และวัยรุ่นเป็นวัยที่มีสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นหลาย
• บุคลิกภาพ บุคคลที่มีบุคลิกภาพพื้นฐานลักษณะเจ้าระเบียบ จริงจัง ต้องการความสำเร็จสูง ทำทุกอย่างสมบูรณ์แบบอยู่ตลอดวลา (perfectionist) และบุคคลที่มีบุคลิกภาพไม่ค่อยแสดงอารมณ์
ขาดทักษะในการ ใช้ชีวิตในสังคม มีปัญหาความขัดแย้งในจิตใจ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำ (low self-esteem) ขาดความมั่นใจใน ตนเอง (self-doubts)
ไม่กล้าตัดสินในในเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง มักทำตามความคาดหวังของผู้อื่นเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ
• ลักษณะการเลี้ยงดู พบว่า มารดาที่มีลักษณะปกป้องลูกมากเกินไป(overprotection) เจ้าระเบียบและกลัวการพลัดพรากมากผิดปกติ
หรือครอบครัวที่บิดามีลักษณะเข้มงวดในกฎระเบียบมาก
หรือไม่ค่อย แสดงออก ย้ำคิดย้ำทำและขาดความชื่อมั่นในตนเอง
3) ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม (sociocultural factors)
• สัมพันธภาพในครอบครัว บุคคลที่มีลักษณะสัมพันธภาพในครอบครัวไม่ค่อยดีมีความขัดแยัง เกิดขึ้นภายในครอบครัว หรือครอบครัวที่เกิดการหย่าร้าง การทารุณกรรมทางเพศหรือคนในครอบครัวมีปัญหาการติด สุราเรื้อรัง
• สังคมเมืองที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอุตสหกรรม มีฐานะทางสังคมและ เศรษฐกิจดี ทำให้บุคคลต้องใช้ความสวยงามและรูปร่างของตนเองในการประกอบอาชีพ เช่น ดารา, นักแสดง, นางแบบ และนายแบบ เป็นต้น
2.2 การบำบัดรักษาโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
1) การบำบัดรักษาทางกาย อายุรแพทย์จะดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางร่างกายตามอาการ ที่เกิดขึ้น ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากสาเหตุภาวะขาดสารอาหารของบุคคลที่มีความผิดปกติของการ รับประทานอาหาร โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า
2) การบำบัดรักษาด้วยยา (pharmacotherapy) ยาที่ใช้รักษาบุคคลที่มีความผิดปกติของการ รับประทานอาหาร
ใช้ยา
• ยาต้านเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSR) ได้แก่ ยาฟูลออกซีทีน (fluoxetine)
ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า และบุคคลที่เป็นบูลิเมียเนอร์โวซ่า
• ยาต้านโรคจิตกลุ่มใหม่ ได้แก่ ยาโอลานชาปืน (olanzapine)
และ ยาริสเพอริโดน (risperidone) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า
• ยากระตุ้นความอยากอาหาร ได้แค่ megestrolacetate
ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า
• ยาต้านเศร้ากลุ่ม tricyclic antidepressant (ICAs)
ได้แก่ ยาอะมิทริปไทลีน (amitriptyline) และยาอิมิพรมิน (imipramine) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นบูลิเมีย เนอร์โวซ่า
3) จิตบำบัดรายบุคคล (individual psychotherapy) เป็นการรักษาอันดับแรก ๆ ในบุคคลที่มี ความผิดปกติของการรับประทานอาหาร ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งจะช่วยให้บุคคลที่มี ความผิดปกติของการรับประทานอาหารเข้าใจ ยอมรับการเจ็บป่วย และให้ความร่วมมือในการรักษาเพิ่มขึ้น
4) การบำบัดความคิด (cognitive therapy) บุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหาร ส่วนใหญ่จะมีความคิดและความเชื่อที่สัมพันธ์กับอาหาร น้ำหนัก มโนทัศน์แห่งตน (self-concept) และสัมพันธภาพ ระหว่างบุคคล การบำบัดด้านความคิดจึงมีเป้าหมาย เพื่อแก้ไขความคิดและความคิดรวบยอด เกี่ยวกับตนเอง
5) พฤติกรรมบำบัด (behavioral therapy)ผู้บำบัดจะต้องสังเกตอาการของการรับประทาน อาหาร และอาการแสดงของความผิดปกติของการรับประทานอาหารอย่างใกล้ชิด
6) ครอบครัวบำบัด (family therapy) เป้าหมายอันดับแรกของครอบครัวบำบัด คือ พยายามให้ ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการหยุดพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ
7) กลุ่มบำบัด (group therapy) บุคคลที่มีความผิดปกติของการการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ ส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมแยกตัวออกจากคนอื่น พยายามหลีกเลี่ยงการการรับประทานอาหารร่วมกับคนอื่น
8) โภชนาการบำบัด (nutrition therapy) นักโภชนาการจะดูแลวางแผนจัดเมนูอาหารที่เหมาะสม สำหรับบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารและให้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร
9) อาชีวบำบัต (occupational therapy) นักอาชีวบำบัดช่วยให้บุคคลที่มีความผิดปกติของการ รับประทานอาหาร ได้เรียนรู้การวางแผนในการเลือกซื้อหารและประกอบอาหารตัวยตนเอง เพื่อให้บุคคลที่มีความ ผิดปกติของการรับประทานอาหารสามารถวางแผนจัดเมนูอาหารออกมาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การพยาบาลบุคคลที่มีโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
1) การประเมินสภาพ (assessment)
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
มีภาวะขาตสารอาหารเนื่องจากปฏิเสธการรับประทานอาหารหรือความอยากอาหารลดลง
เสี่ยงต่อการบาดเจ็บในช่องปากเนื่องจากมีพฤติกรรมล้วงคออาเจียน
เสี่ยงต่อการผลัตตกหกล้มเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง
มีวิธีการจัดการกับปัญหาที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากขาดความรู้
มีความวิตกกังวลเนื่องจากการรับรู้เกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่บิดเบือน
ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงเนื่องจากการรับรู้เกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่บิดเบือน
เกิดภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโตรไลท์ในร่างกายเนื่องจากมีพฤติกรรมล้วงคออาเจียน
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
1) การดูแลให้ได้รับสารอาหารและน้ำที่เพียงพอผู้รับบริการที่มีความผิดปกติของการรับประทาน อาหาร
ดูแลให้อาหารทางปาก กรณีผู้รับบริการสามารถควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้ตี ขึ้น พยาบาลอาจเสนอให้ผู้รับริการการรับประทานอาหารทางปากได้ เนื่องจากการรับประทานอาหารเองทางปากจะ ทำให้ผู้รับบริการเกิดความรู้สึพึงพอใจมากกว่าการให้อาหารทางสายให้อหาร ถ้าผู้รับบริการการรับประทานอาหาร ทางปากอย่างเดียวแต่ยังได้พลังงานไม่เพียงพอ หรือน้ำหนักตัวลดลง พยาบาลต้องให้ข้อมูลกับทีมสุขภาพเพื่อร่วมกัน พิจารณาให้อาหารทางสายให้อาหารร่วมด้วย
บันทึกปริมาณสารอาหารและน้ำที่ได้รับในแต่มื้อ โดยพยาบาลจะต้องลงบันทึกปริมาณ สารอาหารและน้ำที่ได้รับตามความป็นจริง เพื่อประเมินปริมาณสารอาหารที่ผู้รับบริการได้รับตลอดทั้งวันและวางแผน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสมในแต่ละราย
ดูแลผู้รับบริกรอย่างใกล้ชิดระหว่างรับประทานอาหารและหลังรับประทานอาหาร ไม่อนุญาต ให้เข้าห้องน้ำภายหลังการรับประทานอาหารอย่างน้อย 30 นที ภายหลังอาหารในแต่ละมื้อพยาบาลต้องเฝ้าระวัง ผู้รับบริการช่อนห่อหรือโยนอาหารทิ้ง และป้องกันไม่ให้ผู้รับบริการเข้าไปล้วงคออาเจียนในห้องน้ำ เพื่อให้ได้รับ สารอาหารครบตามปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน
ผู้รับบริการมีความสึกอยากล้วงคออาเจียนภายหลังการรับประทานอาหาร ให้พยาบาลอยู่เป็น เพื่อนและกระตุ้นให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเบียงเบนความรู้สึก แต่จะไม่อนุญาตให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมหรือออก กำลังกายที่หักโหมเพราะจะทำให้สูญเสียพลังงานและทำให้น้ำหนักลดลง
การปรับพฤติกรรมการกินอหารโดยการให้หรือการจำกัดสิทธิพิเศษสำหรับผู้รับบริการ เกณฑ์ การให้สิทธิพิเศษจะไม่เน้นพฤติกรรมการรับประทานอาหาร จำนวนมื้อของการรับประทานอาหาร จำนวนแคลอรี่ของ อาหารที่ได้รับต่อวัน หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ดูแลให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำส่วนกลาง (central venous catheter) กรณีมีข้อบ่งชี้ที่ จำเป็น
ดูแลให้อาหารทางสายให้อาหาร (tube feeding) กรณีมีข้อบ่งชี้ที่จำเป็นต้องให้อาหารทาง สายให้อาหาร ให้บอกเหตุผลของการใส่สายให้อาหารให้ผู้รับบริการทราบตามความเป็นจริงและอธิบายผู้รับบริการให้ เข้าใจว่าการใส่สายให้อาหารไม่ใช่เป็นการลงโทษ
2) การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับบริกาที่มีความผิดปกติของ การรับประทานอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะผู้รับบริการมักไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาเนื่องจากไม่ยอมรับว่า อาการเหล่านั้นเป็นปัญหาและมีความรู้สึกว่าตนเองมีปมด้อย รวมทั้งไม่เห็นด้วยกับการรักษา มีความคิดว่าเป็นการ บังคับจึงมีพฤติกรรมต่อต้านการรักษา
3) การรักษาด้วยยา บทบาทที่สำคัญของพยาบาล คือ การดูแลให้ผู้รับบริการได้รับยา ครบถ้วนตามแผนการรักษา ส่งเสริมให้ผู้รับบริการเห็นความสำคัญของการรับประทานยา ร่วมมือรับประทาน ยาอย่างต่อเนื่อง และต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประทานยา ถ้าผู้รับบริการรู้สึกทุกข์
4) การให้คำปรึกษา
ให้ผู้รับบริการสำรวจความเชื่อความรู้สึกของตนเองที่มีต่อรูปร่างและน้ำหนักของตนเอง โดยมี เป้าหมายของการให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้รับบริการได้ปรับเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับน้ำหนักของตนเองให้ดีขึ้น
สนับสนุนให้ผู้รับบริการได้พูดระบายความรู้สึกที่มีต่อตนเอง ความรู้สึกที่มีต่อน้ำหนักและ รูปร่างของตนเอง ความรู้สึกเครียดเกี่ยวกับอาหารและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ความรู้สึกที่มีต่อครอบครัว
ปรับปลี่ยนทัศนคติของผู้รับบริการในการรับรู้ภาพล้กษณ์ของตนเองในทางบวกช่วยสร้างความ กระจ่างเกี่ยวกับความคิดที่มีต่อรูปร่างของตนเอง และปรับปลี่ยนความคิดที่บิดเบือนจากความเป็นจริง
การเสริมพลังอำนาจในตนเองให้กับบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารมี ความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองในการควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เพราะผู้รับบริการสวนใหญ่จะมีความรู้สึกว่าตนมีปมด้อย มีความรู้สึกอ่อนไหวง่าย วิธีนี้จะช่วยให้ผู้รับบริการได้เรียนรู้ที่จะเคารพตนเอง เชื่อว่าตนเองเป็นอิสระ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ พ่อแม่ ครอบครัวหรือสังคมเท่านั้น
ให้สุขภาพจิตศึกษา ถือเป็นกิจกรรมการพยาบาลที่สำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา พยาบาลจะต้องให้ความรู้แก่ผู้รับบริการและญาติผู้ดูแลเกี่ยวกับโรค สาเหตุของโรค อาการ อันตรายจาก ภาวะแทรกซ้อ
ครอบครัวบำบัด มีความสำคัญมากเพราะผู้รับบริการโดยเฉพาะวัยรุ่นส่วนใหญ่ยังต้องอศัยอยู่ กับครอบครัว บางครั้งเมื่อพ่อแม่ทราบว่ลูกเป็นโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร มักปฏิกิรยาต่อการเป็น โรคด้วยความรู้สึกเสียใจ ผิดหวัง โกรธ หรือลับสนหลายอย่างปนกัน
กลุ่มบำบัด เป็นอีกหนทางสำหรับบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารจะช่วยให้ รู้สึกปลอดภัยและรู้สึกว่าตนเองไม่ได้แตกต่างจากบุคคลอื่น
4) การประเมินผล (evaluation)
ด้านร่างกาย
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1-14 กิโลกรัมต่อสัปดาห์หรือประเมินดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 18.5 22.9 กิโลกรัมต่อเมตร2ผิวหนังชุ่มขึ้น มีความยืดหยุ่นดีขึ้น
ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น จังหวะการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต
ระบบทางเดินอหาร ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากพฤติกรรมการล้วงคออาเจียน เช่น การ ฉีกขาดของหลอดอาหารหรือเยื่อบุลำคอ
ระบบสืบพันธุ์ การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศและประจำเดือนมาปกติ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการปกติ
การตรวจ CBC ปกติ ไม่พบภาวะซีด (anemia) ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (leucopenia) เม็ด เลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ (neutropenia) และภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia)
ด้านความคิดและความรู้สึก
ความคิดที่บิดเบือนจากความป็นจริงลดลง เช่น มีการรับรู้น้ำหนักตัว หรือรูปร่างของตนเอง ตามความเป็นจริง
ความรู้สึกที่มีต่อภาพล้กษณ์ของตนเองดีขึ้น ความรู้สึกผิดที่ลดลง ความมีคุณค่าในตนเอง เพิ่มขึ้น ไม่มีความคิดทำร้ายตนเอง
ด้านพฤติกรรม
รูปแบบการรับประทานอาหารเป็นปกติ พฤติกรรมการชั่งน้ำหนักตัวบ่อย ๆ และหมกมุ่นอยู่ กับการลดน้ำหนักลดลง ไม่มีพฤติกรรมการลดน้ำหนัก เช่น การใช้ยาระบายและยาขับปัสสาวะที่ไม่เหมาะสมหรือออก กำลังกายที่หักโหมเพื่อให้น้ำหนักตัวลดลง
น.ส.เปมิกา เพิ่มชีวา รหัส180101126