Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Drugs in Infectious disease, นางสาวกัณนิภา นักร้อง รหัสนักศึกษา…
Drugs in Infectious disease
ได้แก่
• Antibacterial drugs
คือยาที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
• Antituberculosis drugs
คือยาที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อวัณโรค
• Antiviral drugs
คือยาที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อไวรัส
• Antimalarial drugs
คือยาที่ใช้สำหรับต้านมาลาเรีย
• Antiparasite drugs
คือยาที่ใช้สำหรับฆ่าพยาธิ
• Antifungal drugs
คือยาที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อรา
• Antiseptic and Disinfectant
กลุ่มยา Beta-lactams
ได้แก่
Penicillins
Cephalosporins
Monobactam
Carbapenems
การแพ้ยาข้ามกันในกลุ่ม Beta-lactams
อาจมีการแพ้ยาข้ามกลุ่มกันได้ เนื่องจากมีโครงสร้างบางส่วนคล้ายคลึงกัน คือ Beta-lactam ring
ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยากลุ่ม Penicillins ถ้าแพ้ไม่รุนแรงควรหลีกเลี่ยงยากลุ่ม 1st cephalosporins โดยอาจพิจารณาใช้ยากลุ่ม 3rd -Cephalosporins, 4th -cephalosporins ได้ แต่ถ้าแพ้รุนแรงหรือผ่าน Type I hypersensitivity ได้แก่ แพ้แบบ Anaphylaxis อาจต้องหลีกเลี่ยงยากลุ่ม Cephalosporins และ Carbapenems ด้วย
ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยากลุ่ม Penicillins ชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอาการของ Type I hypersensitivity ควรหลีกเลี่ยงยาในกลุ่ม Penicillins ทั้งหมด ยกเว้นผู้ป่วยพบมีประวัติการใช้ยาชนิดนั้นๆ ได้ เช่น แพ้ Pen V แต่มีเคยกินยา anoxycillin ได้ปลอดภัยมาหลายครั้ง
ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ Cephalosporins แบบไม่รุนแรง เช่น ผื่น Maculopapular rash อาจต้องระวังยาที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกัน ได้แก่ แพ้ Ceftriaxone ควรระมัดระวังการใช้ Cefixime เป็นต้น ซึ่งอาจใช้ยาคนละ generation ได้
กลุ่ม Carbapenems มักไม่แพ้ข้ามกัน เช่น แพ้ imipenem มักจะใช้ meropenem และ ertapenem ได้
ยากลุ่ม Fluoroquinolones
ได้แก่ Norfloxacin, Ofloxacin, Ciprofloxacin, Levofloxacin, Moxifloxacin, Sitafloxacin, Gatifloxacin (ยาตา)
ยับยั้งการสังเคราะห์ DNA ทำให้แบคทีเรียตาย ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ทั้งแบคทีเรียแกรมบวก แกรมลบ ไม่มีฤทธิ์ต่อ anarobes
รักษา: การติดเชื้อโรคท้องร่วง, การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ, ต่อมลูกหมาก, ปอด, ทางเดินอาหาร, ยาบางตัวใช้รักษาวัณโรค
Side effect: มึนงง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชัก อาจเกิดได้ทั้ง น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ ผื่น ปฏิกิริยาการผื่นแพ้จากการให้ยา (infusion reaction) เอ็นอักเสบ ไม่ควรใช้ในผู้ป่วย G-6-PD และโรค Myasthenia gravis
ยากิน ควรกินห่างนม ยาลดกรด ธาตุเหล็ก แคลเซียม อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
ยาฉีด เป็นรูปแบบพร้อมใช้ ควรบริหารยาตามเวลาที่เอกสารกำกับยากำหนด
ยาสามารถตีหรือเกิดอันตรกิริยากับยาอื่นได้ เช่น warfarin, amiodarone เป็นต้น
ยากลุ่ม Tetracyclines
ได้แก่ Tetracycline, Doxycycline, Minocycline, Tigecycline
ยับยั้งการสังเคราห์โปรตีนของแบคทีเรีย ออกฤทธิ์ได้ทั้งแบคทีเรียแกรมบวก แกรมลบ มีฤทธิ์ต่อเชื้อ Plasmodium falciparum, atypical pathogen, anarobes
ใช้รักษาสิว การติดเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
รูปแบบยา: Tetracycline, Doxycycline, Minocycline รูปแบบยากิน ส่วน Tigecycline รูปแบบยาฉีด
Side effect: คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย พิษต่อตับ ผื่นไวต่อแสง ยาฉีดอาจทำให้เกิดหลอดเลือดดำอักเสบ
ยากิน ควรกินห่างนม ยาลดกรด ธาตุเหล็ก แคลเซียม 2 ชั่วโมง
Tetracycline ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 และเด็กต่ำกว่า 8 ปี เพราะมีผลต่อการเจริญของกระดูกและฟัน สะสมยา ทำให้ฟันเหลือง/น้ำตาล
ยากลุ่ม Aminoglycosides
ได้แก่ Amikacin, Streptomycin, Gentamicin, Netilmicin, Neomycin, Kanamycin
จับกับ Ribosomes 30s ของแบคทีเรีย รบกวนการสร้างโปรตีน ออกฤทธิ์เด่นต่อแบคทีเรียแกรมลบ เสริมฤทธิ์กับยาอื่นเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก
ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย, วัณโรค, เสริมฤทธิ์กับกลุ่มpenicillins หรือ vancomycin สำหรับรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่เยื่อบุหัวใจ
Side effect: พิษต่อไต, พิษต่อหูทั้งเรื่องการได้ยินและการทรงตัว ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรค Myasthenia gravis
ควรปรับยาในผู้ป่วยที่มีไตบกพร่อง
Co-trimoxazole
ยับยั้งการสร้างกรดโฟลิกของเชื้อ ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญของแบคทีเรีย ครอบคลุมแกรมบวกและแกรมลบ มีฤทธิ์ต่อเชื้อ Pneumocystis jiroveciiและToxoplasmagondii เป็นต้น
ยาฉีดควรผสมสารน้ำ 1 amp (400/80) ต่อสารน้ำ D5W 75-125 ml หากผสมสารน้ำปริมาณน้อย อาจส่งผลให้ยาตกตะกอน และควรบริหารยานาน 90 นาที
ระวังการใช้ยาในผู้ป่วย G-6-PD, ปรับยาในผู้ป่วยที่มีไตบกพร่อง
Side effect: ปวดหัว เวียนหัว มึนงง ชัก ผื่นแพ้ เกิดได้หลายรูปแบบ เช่น MP rash, Fixed drug eruption หรือรุนแรง DRESS หรือ SJS/TEN, กดการทำงานของไขกระดูก, K สูง,พิษต่อไต/ตับ
การแพ้ยาชนิดนี้ต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาซัลฟากลุ่มยาปฏิชีวนะ ส่วนยาที่มีโครงสร้างซัลฟาอื่นๆ เป็นข้อควรระวัง นอกจากนี้ต้องระวังการใช้ยา Dapsone ด้วย
Colistin
ออกฤทธิ์ทำลายเชื้อ (bactericidal) โดยจับกับเยื่อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรีย แล้วยาไปแย่งจับและขับแคลเซียม และแมกนีเซียมของเชื้อ ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์รั่ว และแบคทีเรียตายในที่สุด
ออกฤทธิ์เด่นต่อเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ โดยเฉพาะเชื้อดื้อยา A.baumannii, Carbapenem-resistant Enterobacteriaceae (CRE)
รูปแบบยาฉีด โดยควรบริหารยา 30 นาที ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง อาจมีการประยุกต์นำไปใช้เป็นรูปแบบยาพ่นเพื่อรักษาปอดติดเชื้อ
Side effect: พิษต่อไตสูง จนอาจทำให้ไตพิการถาวร, พิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง ชารอบๆปาก เดินเซ อาจมีฤทธิ์ทำให้หัวใจหยุดทำงาน,เมื่อนำไปเป็นยาพ่นอาจท าให้เกิดหลอดลมหดเกร็ง (bronchospasm)
Anti-Tuberculosis ยาต้านวัณโรค
•สูตรมาตรฐาน IRZE
•ยาอื่นๆ ที่อาจจะใช้ได้แก่ streptomycin, amikacin, ofloxacin, levofloxacin
•สูตรอื่นๆ อาจปรับเปลี่ยนเมื่อมีการแพ้ยาหรือดื้อยา ได้แก่ Ethionamide (Eo), Cycloserine (Cs), Aminosalicylate sodium หรือ Para-aminosalicylate (PAS)
Antiviral drug ยาต้านไวรัส
Anti-retroviral ยาสำหรับรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ HIV
Anti-viral ยาสำหรับรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส ได้แก่ ไวรัสโรคเริม ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสตับอักเสบบีหรือซี เป็นต้น
Antimalarial drugs ยาต้านมาลาเรีย
Artesunate ใช้กรณีที่คิดว่าเป็น P. falciparum หรือ ภาวะมาลาเรียรุนแรง ยามีทั้งรูปแบบกินและฉีดรูปแบบฉีด: Artesunete + 5% sodium bicarbonate 1 ml จากนั้นกรณี IV ให้เติม NSS หรือ D5W 5 ml ส่วน IM ให้เติม NSS หรือ D5W 2 ml ใช้ประมาณเกือบ 1 สัปดาห์หรือจนกว่าผู้ป่วยกินยาเม็ดได้
Mefloquine มักใช้คู่กับ Artesunate
Chloroquine เป็นยาขนานแรก กรณีรู้ชนิดมาลาเรีย non-falciparum (P. vivax, P. ovale, P. malariae,P. knowlesi)
Primaquine มักใช้ต่อจาก Chloroquine ถ้าติดเชื้อ P. vivax, P. ovale ชนิดไม่รุนแรง
Quinine มักใช้เป็นยาขนานที่สองยากลุ่มนี้ต้องระวังการใช้ในผู้ป่วย G-6-PD โดยควรแนะนำการกินให้ดี เนื่องจากบางชนิดใช้ทั้งป้องกันต้องกินก่อนการเดินทาง เป็นต้น
Antiparasite drugs ยารักษาการติดเชื้อพยาธิ
พยาธิตัวกลม ได้แก่ ปากขอ ตัวกลม เส้นด้าย : Albendazole, Mebendazole
พยาธิตัวตืด เช่น ตืดหมู ตืดวัว: Niclosamide (ไม่มีฤทธิ์ต่อไข่พยาธิ ดังนั้นต้องกินยาระบาย),Praziquentel
พยาธิใบไม้ในตับ: Praziquentel
พยาธิ Strongyloids: Ivermectin, Albendazole
Antiseptic and Disinfectants
น้ำยาฆ่าเชื้อ เป็นชื่อเรียกสารเคมีที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ปลอดเชื้อ หรือระงับเชื้อ ซึ่งจะระบุที่ฉลากของผลิตภัณฑ์ ว่ามีฤทธิ์ระดับใด ได้แก่
Antiseptics หมายถึง สารเคมีที่ใช้ทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ใช้กับภายนอกของร่างกายสิ่งมีชีวิตโดยไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อเหล่านั้น
Disinfectant หมายถึง สารเคมีที่ใช้ทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคและใช้กับสิ่งไม่มีชีวิตเช่น เครื่องมือและสถานที่เป็นต้น สารเคมีเหล่านี้จะทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังและเยื่อเมือกของร่างกายโดยตรง
Germicide หรือ Micromicide ความหมายใกล้เคียงกับ disinfectant ถ้าเจาะจงเฉพาะเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ จะระบุเป็น bactericide, fungicide , virucide, sporicide เป็นต้น
แบ่งตามความสามารถในการทำลายเชื้อได้ 3 ระดับ
น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพสูง (High-Level disinfectant) หมายถึง สารเคมีที่ทำลายสปอร์ของแบคทีเรียและจุลินทรีย์ทุกชนิด จึงเหมาะใช้เป็นสารที่ทำให้ปลอดเชื้อ (sterilant) ในวัสดุหรือเครื่องมือที่ต้องการปลอดเชื้ออย่างยิ่ง (critical items)
น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพปานกลาง (intermediate-level disinfectants) คือ สารเคมีที่ไม่สามารถทำลายสปอร์ของแบคทีเรีย แต่ทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสำคัญ เช่น เชื้อวัณโรคและไวรัสได้โดยฤทธิ์ในการทำลายเชื้อไวรัสเปลี่ยนแปลงไปตามความเข้มข้นของน้ำยา ใช้สารเคมีเหล่านี้ในกลุ่มเครื่องมือที่ต้องการปลอดเชื้อปานกลาง (semi-critical items)
น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพต่ำ (low-level disinfectants) คือ สารเคมีที่ไม่สามารถทำลายสปอร์ของแบคทีเรียและไม่สามารถทำลายเชื้อวัณโรคและเชื้อไวรัสได้ สารเคมีเหล่านี้เมื่อความเข้มข้นสูงเพิ่มสูงขึ้นอาจเปลี่ยนจาก low-level disinfectants เป็น intermediate-level disinfectants ได้เช่น povidone-iodine จาก 75 ppm. ถึง 450 ppm. สารเคมีบางชนิด แม้ความเข้มข้มจะเพิ่มขึ้นเพียงใดก็เป็น low-level disinfectants
นางสาวกัณนิภา นักร้อง รหัสนักศึกษา 6301110801001 Sec 1