Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช …
บทที่ 5
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคบุคลิกภาพผิดปกติที่พบบ่อย
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
1.1 ความหมายของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
โรคบุคลิกภาพผิดปกติ(personality disorder) เป็นประสบการณ์ พฤติกรรมและการดำเนินชีวิตที่ เบี่ยงเบนหรือแตกต่างไปจากบรรทัดฐานและความคาดหวังของสังคม รวมทั้งวัฒนธรรมที่บุคคลนั้นๆ อยู่ โดย บุคลิกภาพที่ผิดปกตินี้จะเริ่มปรากฎในช่วงวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนตัน แล้วดำเนินต่อไปจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่โดยมีพฤติกรรม ที่ไม่มีความยืดหยุ่น ปรับตัวยาก
กลุ่ม A มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีพฤติกรรมประหลาด พิสดาร (odd or eccentricity) เป็น กลุ่มที่มีการปรับตัวได้ยากในระดับที่มีความรุนแรงมากที่สุดและยากที่จะรักษาหายได้ ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบ หวาดระแวง เก็บตัว และจิตเภท
กลุ่ม B มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ผิดปกติ หรือคาดเดาไม่ได้ (dramatic, emotional, or erratic) เป็นกลุ่มที่มีการปรับตัวยากในระดับที่มีความรุนแรงปานกลางและได้บ้างไม่ได้ บ้าง ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม ก้ำกึ่ง ฮีสที่เรีย และ หลงตัว
กลุ่ม c มีบุคลิกภาพผิดปกติในลักษณะที่มีความหวาดกลัวหรือวิตกกังวลอย่างสูง (anxious or fearful) เป็นกลุ่มที่มีการปรับตัวยากในระดับที่มีความรุนแรงน้อยที่สุดและสามารถรักษาได้ ได้แก่ บุคลิกภาพผิดปกติแบบ หลีกเลี่ยง พึ่งพา และย้ำคิดย้ำทำ
1.2 ลักษณะอาการและอาการแสดงของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (antisocial personality disorders) จะต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปี ลักษณะของการไม่สนใจใยดีถึงกฎเกณฑ์ความถูกต้องหรือ กระทำการที่ละเมิดสิทธิผู้อื่นตั้งแต่อายุ 15 ปีอาการแสดงเกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงที่มีอาการแสดงของโรคจิตเภทหรือโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว มีอาการอย่างน้อย3จาก7
1) ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือมาตรฐานของสังคม
2) หลอกลวง ซึ่งเห็นได้จากการพูดโกหกช้ำแล้วซ้ำอีก ใช้การตบตาหรือหลอกลวงหา
ผลประโยชน์จากผู้อื่น
3) หุนหันวู่วาม ไม่คิดไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะทำอะไรลงไป
4) หงุดหงิดและก้าวร้าว มีเรื่องต่อสู้ใช้กำลัง หรือทำร้ายผู้อื่นบ่อยๆ
5) ไม่ใส่ใจถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
6) ขาดความรับผิดชอบอยู่เป็นประจำ ทำงานอยู่ไม่ได้นาน ไม่ชื่อสัตย์ทางการเงิน
7) ไม่รู้สึกสำนึกผิดหรือเสียใจต่อความผิดที่ได้กระทำลงไป มีท่าที่เฉยๆ
หรืออ้างเหตุผลที่ทำไม่ดี ทำร้ายร่างกาย หรือขโมยของผู้อื่น
บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อก้ำกึ่ง (borderline personality disorders) มีลักษณะของการขาดความมั่นคงแน่นอนในการที่จะมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น การมอง ภาพลักษณ์ของตนเองและการควบคุมอารมณ์ รวมทั้งมีการแสดงออกแบบหุนหันวู่วาม ควบคุมตนเองไม่ได้ มีอาการแสดงออกอย่างน้อย 5 จาก 9 อาการ
9อาการ
1) พยายามอย่างคนเสียสติที่จะหนีความเป็นจริงหรือหนีจากการถูกทอดทิ้ง
2) สัมพันธ์ภาพกับผู้อื่นมีลักษณะที่ไม่แน่นอนระหว่างดีสุดๆ และชั่วร้ายสุดๆ
3) สับสนในความเป็นตัวของตัวเอง การมองภาพลักษณ์ของตนเองหรือความรู้สึกที่มีต่อตนเอง ไม่แน่นอน
4) แสดงพฤติกรรมหุนหันวู่วามซึ่งส่งผลร้ายหรือทำลายตนเองอย่างน้อย 2 อย่าง ได้แก่ สำส่อน ทางเพศ ใช้สารสพติต ขับรถประมาท ดื่มจัด
5) มีพฤติกรรม ท่าทาง หรือพยายามที่จะทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายบ่อยๆ
6) มีอารมณ์ไม่สม่ำเสมอ ไม่คงที่เปลี่ยนแปลงง่าย
7) มีความรู้สึกเหงาหว้าเหว่เรื้อรัง
8) มีการแสดงออกของอารมณ์โกรธรุนแรงไม่เหมาะสม ควบคุมอารมณ์โกรธไม่ได้ ระเบิด อารมณ์รุนแรงได้ง่าย หรือทำร้ายร่างกาย
9) เมื่อมีความเครียด จะเกิดความหวาดระแวงหรือแสดงอาการแสดงเกี่ยวกับภาวะความจำ การรับรู้เกี่ยวกับตนเองสูญเสียไป
บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependent personality disorders)
จะมีลักษณะของการชอบพึ่งผู้อื่น ยอมตาม และขึ้นอยู่กับผู้อื่นแทบทุกเรื่อง ไม่กล้าตัดสินใจด้วย ตนเองและกลัวการถูกทอดทิ้ง โดยมีอาการแสดงออกอย่างน้อย 5 จาก 8 อาการ
8อาการ
1) ไม่กล้าที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง ต้องอาศัยคำแนะนำ และการให้กำลังใจจากผู้อื่น
2) ต้องการให้คนอื่นเข้ามารับผิดชอบเรื่องสำคัญๆ ในชีวิตให้ตน
3) รู้สึกยากที่จะแสดงความคิดเห็นคัดค้าน หรือไม่เห็นด้วยกับคนอื่น เพราะกลัวเขาจะไม่ยอมรับ หรือไม่ช่วยเหลืออีกต่อไป
4) ไม่สามารถที่จะคิดริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการใหม่ๆ และทำอะไรด้วยตนเองไม่ค่อยได้
5) ทำทุกอย่างที่จะให้ได้รับการช่วยเหลือเกื้อหนุนจากผู้อื่น ยอมแม้แต่ที่จะอาสาทำในสิ่งที่ไม่สุข สบาย
6) รู้สึกไม่สบายใจหรือหมดหนทางช่วยเหลือ เมื่อต้องอยู่คนเดียว เพราะกลัวว่าจะไม่มี ความสามารถพอที่จะทำอะไรได้ด้วยตัวเอง
7) เมื่อคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต้องมีอันจากไปหรือสัมพันธภาพต้องยุติลง จะรีบหา สัมพันธภาพใหม่ทันที
8) ครุ่นคิดแต่ในเรื่องที่จะถูกทอดทิ้งให้ต้องดูแลตนเองบุคลิกภาพแบบพึ่งพาจะยึดติดอยู่กับคนใดคนหนึ่ง เช่น คู่ชีวิตสามีหรือภรรยา พ่อแม่ เป็น ระยะเวลานาน
สาเหตุ การบำบัดรักษาโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
2.1 สาเหตุของโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
พันธุกรรม (genetic) พันธุกรรมคือลักษณะที่ติดตัวบุคคลผู้นั้นมาตั้งแต่เกิด เช่น ลักษณะ ประจำตัวเด็กแต่ละคนหรือการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
ประสาทชีววิทยา (neurobiology)การเจ็บป้วยด้วยโรคทางสมอง หรือความผิดปกติในหน้าที่ ของสมอง
2) ปัจจัยทางจิตวิทยา
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)อธิบายถึงสาเหตุของบุคลิกภาพที่ผิดปกติตาม ทฤษฎีของ ฟรอยด์ (Freud's psychosexual stages of development)
1) มีการติดขัดในขั้นของพัฒนาการ กล่าวคือ เด็กไม่สามารถที่จะเติบโตตามขั้นของ
พัฒนาการที่ควรจะเป็นได้ หรือการมีปม (fixation) เกิดขึ้นในขั้นของพัฒนาการบางขั้น
2) โครงสร้างทางจิต (psychic structure; id, ego, superego) บกพร่อง กล่าวคือ egoไม่ สามารถที่จะทำหน้าที่ประสานความต้องการของ id และ superego ได้ ทำให้กลไกปกป้องทางจิต (defense mechanism) ถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาทางจิตใจ
ทฤษฎีการเรียนรู้ (leaning theory) อธิบายว่า บุคคลมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติเพราะมีการ เรียนรู้ที่ผิดปกติมาตั้งแต่ช่วงต้นของชีวิต
ทฤษฎีทางจิตสังคม (psychosocial theory) อธิบายว่า บุคคลมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติเพราะมี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลสำคัญในแต่ละช่วงวัยของพัฒนาการไม่เหมาะสมซึ่งปฏิสัมพันธ์ทางสังคมนี้เป็นรากฐาน สำคัญของการพัฒทางบุคลิภาพ
3) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ความส้มพันธ์พ่อแม่ลูกไม่ดี การเลี้ยงดูของพ่อแม่เป็นประสบการณ์ในวัยเด็กที่อาจส่งเสริม พฤติกรรมและบุคลิภาพที่ผิดปกติ เช่น ปล่อยตามใจ ทอดทิ้ง ทารุณกรรม เข้มงวด ลงโทษ เป็นตัน
การที่พ่อแม่หรือบุคคลที่มีอำนาจในครอบครัวมีบุคลิกภาพผิดปกติ เด็กอาจลอกเลียนลักษณะ ที่ผิดปกติเหล่านั้นได้
ความยากจนและการขาดที่พึ่ง
การที่พ่อแม่เคร่งครัดไม่ผ่อนปรนและขาดเหตุผลต่อเด็ก เมื่อเด็กประพฤติผิดไปจากสิ่งที่พ่อแม่
กะเกณฑ์ไว้ก็จะตำหนิหรือลงโทษเด็กโดยไม่ยอมรับฟังเหตุผลจากเด็ก อาจทำให้เด็กเป็นผู้มีพฤติกรรมก้าวร้าวและ ประพฤติตรงกันข้ามกับที่พ่อแม่ต้องการ
2.2 การบำบัดรักษาโรคบุคลิกภาพผิดปกติ
1) การบำบัดทางจิตสังคม (psychosocial therapy)
1) จิตบำบัตรายบุคคล (individual therapy)
2) จิตบำบัดแบบกลุ่ม (group therapy)
2) การรักษาด้วยยา (pharmacotherapy)
การพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ
1) การประเมินสภาพ (assessment)
พันธภาพทางสังคม (social relationships)
ลักษณะเฉพาะ (character) อุปนิสัย
อารมณ์ทั่วไป (habitual mood) ความคงทนของอารมณ์ การแสดงออกทางอารมณ์และ สภาพอารมณ์ในขณะนี้
การเลี้ยงดูในวัยด็ก ประวัติการใช้ความรุนแรงในครอบครัว และเหตุการณ์วิกฤตในชีวิต
การจัดการแก้ไขปัญหาและการใช้กลไกป้องกันตนเองทางจิต เช่น การโทษตนเอง โทษผู้อื่น การ เก็บกด การอ้างเหตุผล การแยกตัว เป็นต้น
เจตคติและมาตรฐาน (attitudes and standards) การซักถามถึงความเชื่อทางศาสนา มาตรฐานศีลธรรม เจตคติที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพหรือความเจ็บปวย
การใช้เวลาว่าง (use of leisure) จะช่วยบอกถึงการชอบอยู่คนเดียวหรือชอบเข้าสังคม
การกระทำเป็นนิสัย (habits) ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และการใช้สารเสพติด
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
ตัวอย่างการวินิจฉัยการพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม และก้ำกึ่ง
การเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดทักษะในการแก้ไขปัญหา
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องเนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมมีพฤติกรรมบง การผู้อื่น
สูญเสียพลังอำนาจเนื่องจากความต้องการของตนเองไม่ได้รับการตอบสนอง/รับรู้ความมี คุณค่าในตนเองต่ำ
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง/ฆ่าตัวตายเนื่องจากรู้สึกไม่มีคุณค่า/สูญเสีย/ล้มเหลว/มีภาวะ ซึมเศร้า
เสี่ยงต่อการทำร้ายผู้อื่นด้วยวิธีรุนแรงเนื่องจากขาดความยับยั้งชั่งใจ/ความอดทนต่อความคับ ข้องใจต่ำ
ตัวอย่างการวินิจฉัยการพยาบาลบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา
วิตกกังวลเนื่องจากกลัวการอยู่ตามลำพัง/ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ที่ตนเองเผชิญอยู่ได้
การเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากขาดทักษะในการแก้ไขปัญหา/ขาดความเชื่อมั่นใน ตนเอง
ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เนื่องจากการรับรู้คุณค่าในตนเองต่ำ
การทำหน้าที่รับผิดชอบตามบทบาทที่ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีพฤติกรรมและ/หรือ ความคิดซ้ำ ๆ
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องมีพฤติกรรมแยกตัวเนื่องจากกลัวการถูกปฏิเสธ/กลัวถูก วิพากษ์วิจารณ์
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
1) บุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคมและแบบก้ำกึ่ง และพึ่งพา (antisocial, and borderline personality disorders)
สร้างสัมพันธภาพกับบุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติด้วยความชัดเจน มุ่งเน้นสัมพันธภาพ
ให้บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติได้พูตระบายความรู้สึก พยาบาลควรให้การยอมรับ เข้าใจ ความรู้สึก และการแสดงออก มุ่งเน้นลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ให้ความช่วยหลือและเฝ้าระวังพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทำ ร้ายตนเองและผู้อื่นหรือฆ่าตัวตาย เป็นต้น
จัดสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัย จำกัดสิ่งของเครื่องใช้ที่อาจนำมาใช้เป็นอาวุธในการทำ ร้ายผู้อื่นหรือตัวองได้
2) บุคลิกภาพผิดปกติแบบพึ่งพา (dependent personality disorders)
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น โดยเริ่มจากคนจำนวนน้อยก่อน เมื่อบุคคลที่มี บุคลิกภาพผิดปกติเริ่มมีความมั่นใจจึงค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้น
บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับรุนแรง มีภาวะตื่นตระหนก ต้องจัดให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ ปลอดภัย เงียบสงบ เพื่อลดสิ่งกระตุ้นและลดความวิตกกังวลที่มีของผู้ป่วย
สอนและให้บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติฝึกทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ เช่น ทักษะทางสังคม การ สื่อสาร การปฏิเสธ การกล้าแสดงออก การบริหารเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการแสดงออกและสามารถปฏิบัติตัว ได้อย่างเหมาะสม
ให้บุคคลที่บุคลิกภาพผิดปกติเลือกวิธีการคลายครียดที่เหมาะสมกับตนเอง
ให้ผู้ป่วยพูดระบายความรู้สึกก่อนและหลังการกระทำในสิ่งที่บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติกลัว ที่จะทำ
สอนการปรับเปลี่ยนวิธีคิดที่มีผลต่อความวิตกกังวล การคิดเชิงบวก เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วย สามารถเผชิญกับความกลัวหรือความวิตกกังวลของตนเอง
4) การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation)
ข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่าการพยาบาลได้ผลทางบวก
ไม่มีความคิดฆ่าตัวตาย
ไม่มีการทำร้ายบุคคลอื่น
ไม่มีการทำลายสิ่งของ
ไม่รู้สึกว่าตนเองด้อยค่า
มีสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้
ไม่มีความเชื่อที่มาจากอาการหลงผิด ควบคุมพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นได้
เลือกใช้วิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
น.ส.เปมิกา เพิ่มชีวา รหัส180101126