Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเคร…
บทที่ 3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดง การตอบสนองของความวิตกกังวลและความเครียด
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดง การตอบสนองของความวิตกกังวล
ความวิตกกังวล หมายถึง ความรู้สึกไม่สบาย สับสน กระวนกระวายกระสับกระส่าย หรือตื่น ตระหนกต่อสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่อาจจะเกิดข้ึนในอนาคตและเกรงว่าจะเกิดอันตรายหรือความ เสียหายซึ่งอาจเกิดขึ้นจริงหรือคิดขึ้นเองจากสิ่งที่ไม่รู้ไม่แน่ใจ ซึ่งบอกไม่ได้ชัดเจน ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและพฤติกรรม
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ของบุคคลที่มีความวิตกกังวล
1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
ระบบประสาท จะมีอาการปวดศีรษะจากความเครียด ตาพร่า หูอื้อ ปากแห้ง เหงื่อออก มือสั่น รูม่านตาขยาย
ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์จะมีอาการปัสสาวะบ่อยปัสสาวะไม่สุด มีการเปลี่ยนแปลงในรอบเดือน ความรู้สึกทางเพศลดลง
ระบบทางเดินอาหาร จะมีอาการกลืนลําบาก ปากแห้ง ท้องอืด ท้องเฟ้อ อึดอัดแน่น ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องเดิน
ระบบทางเดินหายใจจะมีอาการสะอึกหายใจเร็วหายใจลําบาก
ระบบหัวใจและหลอดเลือด จะมีภาวะหัวใจเต้นเร็ว
ผิดจังหวะ เจ็บหน้าอก ใจสั่น
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อจะมีอาการเกร็ง
ของกล้ามเนื้อปวดเมื่อยอ่อนเพลียมือสั่น
2) การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์ บุคคลจะมีความรู้สึกหวาดหวั่น กลัว ขาดความ เชื่อมั่นในตนเองมองตนเองไร้ค่า
3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม บุคคลจะขาดความสนใจ ขาดความคิดริเริ่ม รู้สึกว่า ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
4) การเปลี่ยนแปลงด้านสติปัญญา ความคิด ความจําลดลง คิดไม่ออก ครุ่นคิด
การตอบสนองของบุคคลต่อความวิตกกังวล
มีการเจ็บป่วยทางกาย (somatizing)
มีพฤติกรรมเผชิญความวิตกกังวลในเชิงสร้างสรรค์ (constructive behavior)
พฤติกรรมชะงักงันหรือถดถอย (paralysis and retreatingbehavior)
พฤติกรรมที่แสดงออกถึงการต่อสู้ (acting out behavior)
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดง การตอบสนองของความเครียด
ความเครียด หมายถึง ปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายและจิตใจที่มีต่อสิ่งกระตุ้น (stressor) และ บุคคลนั้นได้ประเมินแล้วว่าสิ่งกระตุ้นนั้นคุกคามหรือทําให้ตนเองรู้สึกไม่มั่นคง ปลอดภัย หากบุคคลมีความครียดระดับสูงและสะสมอยู่นาน ๆ จะก่อให้เกิดโรคทางกายและทางจิตได้
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ของบุคคลที่มีความเครียด
1)การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ได้แก่ มึนงง ปวดศีรษะ หูอื้อ มีเสียงด้งในหู ปวดตาม กล้ามเนื้อ อ่อนแรงไม่อยากทําอะไร มีปัญหาเรื่องการนอน กัดฟัน อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่อิ่ม มือย็น แน่นจุกท้อง เบื่ออาหาร คล่ืนไส้อาเจียน ท้องร่วง ท้องผูก
2)การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจสังคมไดแ้ก่วิตกกังวลโกรธง่ายหงุดหงดิ ซึมเศร้าท้อแท้ การตัดสินใจไม่ดี สมาธิสั้น ขี้ลืม ไม่มีควมคิดริเริ่ม ความจําไม่ดี ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มองโลกในแงร้าย แยกตัว มีปัญหาด้านสัมพันธภาพ หรือไม่มีความสุขกับชีวิต
3) การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม ได้แก่ ร้องไห้ กัดเล็บ ดึงผมตัวเอง รับประทานอาหาร เก่ง ติดบุหรี่ สุรา ก้าวร้าว เปลี่ยนงานบ่อย หรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะทํางานได้
การตอบสนองของบุคคลต่อความเครียด
1) การตอบสนองด้านร่างกาย เมื่อมีเหตุการณ์มากระตุ้น ร่างกายจะมีการปรับตัวเพื่อตอบสนอง (general adaptation syndrome) หรือตอบสนองเฉพาะที่ (local adaptation syndrome)
2) การตอบสนองด้านจิตใจ เมื่อมีเหตุกรณ์ที่มากระตุ้น บุคคลจะประเมินเหตุการณ์ และ รับรู้ถึงการถูกคุกคาม หรือไม่ปลอดภัย จิตใจก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเหตุการณ์นั้นๆ โดยการใช้ กลไกทางจิต (Coping Mechanism / Defense Mechanism) เพื่อลด หรือขจัดความเครียดท่ีเกิดข้ึน
ชนิด ระดับของความวิตกกังวลและความเครียด
ชนิด ระดับของความวิตกกังวล
ระดับความวิตกกังวล
2) ความวิตกกังวลปานกลาง (moderate anxiety) +2 เมื่อมีเหตุการณ์มากระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวล บุคคลจะมีความต่ืนตัวมากขึ้น พยายามควบคุมตนเองมากข้ึน และใช้ความพยายามในการแก้ปัญหาสูงขึ้น สติสัปชัญญะยังคงมีอยู่แต่มีคลื่อนไหวมาก ขึ้นจเกือบจะลุกลี้ลุกลน การรับรู้แคบลง ทําความเข้าใจและมองห็นความสัมพันธ์ของปัญหาต่างๆ ลดลง
1) ความวิตกกังวลต่ำmild anxiety) +1
เป็นความวิตกกังวลระดับเล็กน้อย ที่เกิดขึ้นเป็นปกติในบุคคลทั่วไป จะช่วยกระตุ้นให้ บุคคลตื่นตัว และพยายามแก้ปัญหาในการทํากิจกรรมต่างๆ ได้สําเร็จ
3) ความวิตกกังวลรุนแรง (severe anxiety) +3
บุคคลจะมีระดับสติสัมปชัญญะลดลง สมาธิในการรับฟังปัญหาและข้อมูลต่าง ๆลดลง หมกมุ่นครุ่นคิดในรายละเอียดปลีกย่อย จนไม่สามารถติดตามเนื้อหาของเรื่องราวได้อย่างกว้างขวาง มึนงง กระสับกระส่าย ไม่อยู่กับท่ี
4) ความวิตกกังวลท่วมท้น (panic anxiety) +4 เมื่อความวิตกกังวลท่ีมีไม่ได้รับการระบายออกหรอื แก้ไขให้ลดลง จะมีการสะสมความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนบุคคลไม่สามารถจะทนต่อไปได้
ชนิดความวิตกกังวล
2) ความวิตกกังวลเฉียบพลัน (acute anxiety) เป็นความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มี เหตุการณ์เข้ามากระทบหรือคุกคาม ทําให้บุคคลเกิดความวิตกกังวล
3) ความวิตกกังวลเรื้อรัง (chronic anxiety) เป็นความรู้สึกหวาดหวั่นไม่เป็นสุขขาดความ ม่ันคงปลอดภัยที่แฝงอยู่ในตัวของบุคคลตลอดเวลา
1) ความวิตกกังวลปกติ (normal anxiety) เป็นความวิตกกังวลที่พบได้ทั่วไปเป็นแรงผลักดันให้ชีวิตประสบความสําเร็จ มีผลให้บุคคลตื่นตัว
ชนิด ระดับของความเครียด
ชนิดความเครียด
1) ความเครียดฉับพลัน (acute stress)
ความเครียดท่ีเกิดขึ้นทันทีและร่างกายก็
ตอบสนองต่อความเครียดนั้นทันท่ี
2) ความเครียดเรื้อรัง (chronic stress) ความเครียดที่เกิดขึ้นทุกวันและร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อความครียดนั้น ซึ่งบุคคลมักมีความเครียดโดยที่ไม่รู้ตัวหรือไม่มีทางหลีกเลี่ยง
ระดับของความเครียด
1) ความเครียดระดับต่ำ(mild stress)
เป็นแรงจูงใจในที่นําไปสู่ความสําเร็จในชีวิตได้
(แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 0 - 23 คะแนน)
2) ความเครียดระดับปานกลาง (moderate stress)
หวาดหวั่นหายได้ หากิจกรรม หรือระบาย
(แบบประเมิน ST 20 ระดับ คะแนน 24 - 41 คะแนน)
3) ความเครียดระดับสูง (high stress)
เป็นความเครียดท่ีเกิดจากเหตุการณ์รุนแรง สิ่งต่าง ๆ สถานการณ์หรือเหตุการณ์รอบตัวที่แก้ใขจัดการปัญหาน้ันไม่ได้ การฝึกหายใจ คลายเครียด พูดคุยระบายความเครียดกับผู้ไว้วางใจ หาสาเหตุหรือ ปัญหาที่ทําให้เครียดและหาวิธีแก้ไข ระดับคะแนน 42 - 61 คะแนน
4) ความเครียดระดับรุนแรง (severe stress) เป็นความเครียดระดับสูงและเรื้อรังต่อเนื่องหรือกําลังเผชิญกับวิกฤตของชีวิต ควรรีบไปหาแพทย์ (แบบประเมิน ST 20 ระดับคะแนน 62 คะแนนขึ้นไป)
สาเหตุของบุคคลท่ีมีความวิตกกังวลและความเครียด
สาเหตุของบุคคลท่ีมีความวิตกกังวล
1) สาเหตุทางด้านชีวภาพ
ด้านกายภาพของระบบประสาท
ด้านชีวเคมี (biochemical factors)
ด้านการเจ็บป่วย (medical factors)
2) สาเหตุทางด้านจิตสังคม
ด้านจิตวิเคราะห์(psychoanalytictheory)
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด
3) สาเหตุทางด้านสังคม
สาเหตุของบุคคลที่มีความเครียด
1) สาเหตุจากภายนอก ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น สภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ การย้ายถิ่นฐานที่อยู่ การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วยของบุคคลอันป็นท่ีรัก การหย่าร้าง ภาวะว่างงาน
2) สาเหตุภายในตัวบุคคล ได้แก่ ภาวะสุขภาพของตนเอง เช่น ภาวะเจ็บปวยที่เผชิญอยู่ ความ พิการ
การพยาบาลบุคคลที่มีความวิตกกังวลและความเครียด
การพยาบาลบุคคลที่มีความวิตกกังวล
1) การประเมินสภาวะความวิตกกังวล
การประเมินความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม
การประเมินระดับความรุนแรงของความวิตกกังวล
การประเมินสาเหตุของความวิตกกังวลและวิธีการผชิญกับภาวะวิตกกังวล
2) การวินิจฉัยการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยให้กลับปกติ
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้และเข้าใจถึงเหตุและผลของความวิตกกังวล
เพื่อขจัดความขัดแย้งและบรรเทาประสบการณ์ท่ีเจ็บปวดให้กับผู้ป่วย
3) กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยเพื่อปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความไม่สบายใจความทุกข์ใจ และปัญหาต่างๆออกมาโดยที่พยาบาลรับฟังอย่างต้ังใจ
ใช้คําพูดง่าย ๆ ข้อความสั้น ๆ กะทัดรัดได้ใจความตรงไปตรงมา น้ําเสียงท่ีพูดต้องชัดจน นุ่มนวล ในการการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วย
ให้กําลังใจโดยอาจสัมผัสผู้ป่วยเบา ๆ
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ปวยรู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้น
ผู้ป่วยสามารถแยกแยะและประเมินระดับความวิตกกังวลของตนเองได้
ผู้ป่วยสามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมเพื่อลดความวิตกกังวลได้
การพยาบาลบุคคลที่มีความเครียด
1) การประเมินสภาวะความเครียด
ประเมินอาการแสดงทางร่างกายที่เป็นผลมาจากความเครียดหรืออาการทางกายที่มีอยู่เดิม กําเริบ
ประเมินอาการแสดงทางจิตใจ
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะสั้น
เพ่ือลดความเครียดของผู้ป่วยให้กลับสู่ภาวะปกติ
เพ่ือให้การบําบัดรักษาอาการทางกายที่มีอยู่ในตอนนั้น
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้และเข้าใจกลวิธีในการปรับตัวต่อเหตุกรณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด
เพื่อให้ผู้ป่วยได้จัดการความเครียดที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้นและไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่น
เพื่อปรับบุคลิภาพและการใช้กลไทางจิตให้เหมาะสมมากข้ึน
3) กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด
ส่งเสริมและให้กําลังในการฝึกและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้และเลือกกลวิธีในการจัดการความเครียดที่สร้างสรรค์ที่ผู้ป่วยสนใจ
สอนและแนะนําให้ประเมินระดับความเครียตด้วยตนเอง
กระตุ้นและให้กําลังใจผู้ป่วยวางแผนการเปลี่ยนแปลงตนเอง
ให้ความช่วยเหลือดูแลให้ผู้ป่วยได้รับวิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอ
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
อาการทางกายทุเลาหรือกลับสู่ภาวะปกติ
ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ระดับความเครียดลดลง
ผู้ป่วยสามารถเช่ือมโยงอาการ และอาการแสดงท่ีสัมพันธ์กับความเครียดของตนเองได้
ผู้ป่วยสามารถบอกวิธีการจัดการความเครียดที่เหมาะสมกับตนเองได้
ผู้ป่วยสามารถแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคม
นางสาวจุรีพันธ์ เตชะอัศวรักษ์ 180101042
นักศึกษาพยาบาลปีที่3