Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช การพยาบาลบุคคลที่ม…
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะสมองเสื่อม (Dementia)
เป็นกลุ่มอาการที่มีการเสื่อมถอยของการทำงานของสมองด้านความคิด การรับรู้อย่างน้อยหนึ่งด้านโดยมี ความสามารถลดลงจากเดิมที่เคยดีมาก่อน โดยที่ผลการเปลี่ยนแปลงนี้ มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย จนไม่สามารถทำหน้าที่การงาน เข้าสังคม เรียนรู้ ตัดสินใจ แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM 5
A. มีหลักฐานจากประวัติและการตรวจประเมิน พบความบกพร่องของสมองด้านความคิดและการรับรู้อย่างน้อยหนึ่งด้านต่อไปนี้ สมาธิและความสนใจ(attention) ความสามารด้านการบริหารจัดการ (executive function) การเรียนรู้ ความจำ การใช้ภาษาด้าน perceptual motor หรือ social cognition
B. อาการดังกล่าวมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างอิสระด้วยตนเองที่ทำอยู่เป็นประจำทุกวัน ต้องมีผู้ช่วยในการทำกิจกรรมที่ซับซ้อน
C. อาการดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นในขณะที่มีภาวะเพ้อ (Delirium)
D. อาการดังกล่าวไม่สามารถอธิบายด้วยโรคจิตเวชอื่นเช่นโรคจิตเภท โรคซึมเศร้า
อาการของ DEMENTIA
กิจกรรมทั่วไปบกพร่อง (Deterioration of habits)
อารมณ์แปรปรวน (Emotional disability)
สูญเสียความสามารถทางสติปัญญา (Deterioration of Intellectual function)
อาการทางสมองด้านอื่นๆ
4.1 สูญเสียความสามารถด้านทิศทาง ด้านสามมิติ วางของผิดที่แล้วไม่สามารถกลับไปที่เดิมเพื่อนำของนั้นๆมาได้ โดยเฉพาะสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย
4.2 การตระหนักรู้ความเจ็บป่ วยของตนเอง (insight)
สาเหตุ
สมองเสื่อมที่เกิดจากพยาธิสภาพของหลอดเลือด
สมองเสื่อมจากสาเหตุอื่นๆ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ HIV ฯลฯ
ความผิดปกติเส้นประสาทสมอง เนื้องอกในสมอง
ภาวะทุโภชนาการ ขาดวิตามิน B1วิตามิน B6 วิตามิน B12 โฟเลต
โรคต่อมไร้ท่อ ภาวะ hypothyroidism โรคต่อมพาราไทรอยด์ โรคต่อมหมวกไต
ภาวะ Metabolic ผิดปกติ เช่น โซเดียมในเลือดต่ำ โรคตับ หรือโรคไตรุนแรง
สารเสพติด พิษสุราเรื้อรัง
โรคทางจิตเวช โรคซึมเศร้า ความผิดปกติจากการนอนหลับ
ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น benzodiazepine, anticholinergic, muscle relaxant เป็นต้น
โรคเรื้อรัง เบาหวาน ไทรอยด์ โลหิตจาง ติดเชื้อ
สมองเสื่อมแบบ Alzheimer
การบำบัดรักษา
การรักษาโดยไม่ใช้ยา เช่น การออกกำลังกาย ฝึกความคิด ความจำ เล่นเกมต่างๆ ดนตรีบำบัด สัตว์เลี้ยงบำบัด สุคนธบำบัด เป็นต้น
3 การดูแลทั่วไป
3.1 การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนองที่เป็นพื้นฐาน ( basic ADL)
3.2 การดูแลสิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย ทั้งด้านความปลอดภัยและความเหมาะสม
3.3 การดูแลฟื้นฟูทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และอาชีพ
3.4 การดูแลในวาระสุดท้ายของชีวิต ผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมจะมีการถดถอย ไม่สามารถทำกิจวัตรหรือหน้าที่ต่างๆ และเสียชีวิตในที่สุด
3.5 การดูแลด้านกฎหมาย ความสามารถในการตัดสินใจและความจำของผู้ป่วยจะเสื่อมลงแพทย์จะแจ้งการวินิจฉัยโรคแก่ผู้ป่วย เพื่อให้ญาติของผู้ป่วยเตรียมตัววางแผนด้านทรัพย์สินและการตัดสินใจอื่นๆ
3.6 การดูแลผู้ดูแล ผู้ดูแลจะมีความเสี่ยงสูงต่อความเครียดและภาวะซึมเศร้า ควรให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ให้ความเข้าใจ เป็นที่ปรึกษา แนะนำวิธีการและเทคนิคการดูแล
การรักษาด้วยยา ยังไม่มียาที่ใช้แก้ไขสาเหตุได้ การให้ยาโดยทั่วไปเป็นการบรรเทาอาการ ช่วยชะลอความแย่ลงของอาการ ยากลุ่มที่ใช้ในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ donepezil, rivastigmine และ galantamine
กระบวนการพยาบาล
การวินิจฉัยการพยาบาล
2.1 กระบวนการคิดและสติปัญญาแปรปรวนเนื่องจากความเสื่อมของเซลล์สมอง
2.2 การดูแลตนเองบกพร่องเนื่องจากสูญเสียความจำและความเข้าใจสิ่งต่างๆ
การปฏิบัติการพยาบาล
3.1 สอนญาติที่จะเป็นผู้ดูแลผู้ป่วย
3.2 พยาบาลหรือผู้ดูแลควรให้ผู้ป่วยได้ระบายและพูดถึงความรู้สึก ให้กำลังใจในการแก้ไข
3.3 ผู้ป่วยที่หลงลืม ไม่ควรพูดล้อเลียน ตำหนิให้ผู้ป่วยเสียหน้า ควรแนะนำหรือเตือนอย่างสุภาพ
3.4 ดูแลสุขอนามัยด้านร่างกายของผู้ป่วย
3.5 ดูแลความสะอาด สุขอนามัยส่วนตัว การอาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว การขับถ่าย
3.6 ให้ผู้ป่วยได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ
3.7 หลีกเลี่ยงการบังคับสิ่งที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
3.8 ยอมรับต่อพฤติกรรมแปลกๆของผู้ป่วย ไม่โต้เถียง บังคับให้เปลี่ยนพฤติกรรมหรือล้อเลียนให้ได้อาย
3.9 จัดให้มีปฏิทินและนาฬิกาตัวโตๆไว้ในที่ที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้โดยง่าย
3.10 ควรสื่อสารกับผู้ป่วยด้วยคำถามปิด ตอบเพียงสั้นๆ
3.11 การสื่อสารด้วยท่าทางจะช่วยเสริมการสื่อสารด้วยคำพูดได้ดียิ่งขึ้น
3.12 ให้อิสระในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด
3.13 หลีกเลี่ยงการทดสอบความจำหรือความสามารถ
3.14 ลดการรบกวนการนอน
3.16 ฟื้นฟูความจำโดยเรียกชื่อผู้ป่วย นำรูปครอบครัวหรือคนใกล้ชิดมาให้ผู้ป่วยดู
3.15 ระวังการพลัดตกหกล้มหรือหลงทางเมื่อออกจากบ้านไปแล้วกลับไม่ถูก
การประเมินผู้ป่วย
1.1 สอบถามจากญาติเกี่ยวกับ ความจำ ความเข้าใจเรื่องราวต่างๆ สภาพอารมณ์ การใช้ภาษา การรับรู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล การแสดงพฤติกรรม การใช้ยา ความเจ็บป่วย
1.2 ความสามารถในการใช้ชีวิตในปัจจุบัน การดูแลตนเอง
4.ประเมินผลการพยบาล