Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลท่ีมีภาวะสูญเสียและเศร้าโศก,…
บทที่3 การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม
บุคคลท่ีมีภาวะสูญเสียและเศร้าโศก
ความหมายของภาวะสูญเสียและเศร้าโศก
การสูญเสีย (loss) เป็นการที่บุคคลพลัดพรากจากบุคคล สัตว์เลี้ยง สิ่งของ อวัยวะ หรือ ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองซึ่งบุคคลให้คุณค่าและให้ความหมายว่าเป็นสิ่งที่มีความสําคัญกับชีวิต เมื่อมี การสูญเสียบุคคลจะมีปฏิกิริยาต่อการสญูเสียน้ันๆ
ภาวะเศร้าโศก (grief) เป็นปฏิกิริยาทางอารมณ์และจิตใจที่เกิดขึ้นภายหลังจากบุคคลเผชิญกับ การสูญเสียหรือคาดว่าจะมีการสูญเสียเกิดขึ้น
ประเภทและลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
1) ประเภทและลักษณะอาการและ
อาการแสดงของภาวะสูญเสีย (loss)
การสูญเสียตามช่วงวัย (maturational loss) เช่น เด็กที่ต้องหย่านมแม่ การต้องออกจาก โรงเรียนเมื่อสําเร็จการศึกษาการออกจากครอบครัวเมื่อต้องไปใช้ชีวิตคู่
การสูญเสียภาพลักษณ์ หรือ อัตมโนทัศน์ (loss of body image or some aspect of self) เป็นการสูญเสียด้านร่างกายหรือจิตสังคม เช่น การสูญเสียอวัยวะในร่างกาย
การสูญเสียสิ่งของภายนอก (loss of external object) คือ การสูญเสียสิ่งของต่าง ๆ ภายนอกร่างกาย
การสูญเสียความรักหรอืบคุคลสําคัญในชีวิต(lossofaloveorasignificantother)เช่น การตายของบิดา มารดา ญาติพี่น้อง คู่สมรส บุตร เพ่ือนสนิท
ปฏิกิริยาต่อการสูญเสียแบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะพัฒนาการตระหนักรู้ถึงการสูญเสยี (developingawareness)เป็นระยะที่บุคลเริ่มมีสติรับรู้มากขึ้นและตระหนักรู้ได้ถึงการสูญเสีย อาจเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหรือเป็นชั่วโมง ใช้เวลา 2 – 3 สัปดาห์แล้วจะดีขึ้นเองใน2–4เดือนโดยส่วนใหญ่จะไม่เกิน6เดือน
ระยะพักฟื้น (restitution) เป็นระยะที่บุคคลจะมีการปรับตัวเพื่อฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ เริ่ม ยอมรับความจริง การหมกมุ่นคิดถึงส่ิงท่ีสูญเสียน้อยลง มองหาสิ่งใหม่ทดแทน และเริ่มมีความหวังใหม่ในชีวิต
ระยะช็อค (shock and disbelief) เป็นระยะแรกที่รับรู้ถึงการสูญเสีย บุคคลจะตกใจ ไม่เชื่อ ปฏิเสธ อาจเกิดความรู้สึกมีนชาใน 2 -3 ชั่วโมงถึง 2 -3 สัปดาห์
2) ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะเศร้าโศก (grief)
การเศร้าโศกแบบปกติ (normal grief)
ระยะเฉียบพลัน ระยะนี้เกิดขึ้นในช่วง 4 – 8 สัปดาห์แรก บุคคลจะช็อค ไม่เชื่อ และไม่ยอมรับการสูญเสียที่เกิดขึ้น
ระยะเผชิญกับการสูญเสีย
อาการแสดงทางกายท่ีพบได้บ่อย คือ มีความรู้สึกหายใจขัด ลําคอตีบตัน หมดแรง อ่อนเพลีย ตัวชา หน้ามืด คอแห้ง คลื่นไส้อาเจียน
อาการแสดงทางจิตใจที่พบได้บ่อย คือ มีความคิดหมกมุ่น อยู่กับสัญลักษณ์หรือ ตัวแทนของบุคคลที่สูญเสีย เช่นรูปถ่ายเสื้อผ้าหรือสิ่งของที่เป็นของบุคคลที่สูญเสียเป็นต้น หดหู่ว้าเหว่ กระสับกระส่าย กระวนกระวายและมักแยกตัว ไม่ต้องการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
การเศร้าโศกแบบผิดปกติ
(maladaptive grief)
• chronic grief reaction เป็นปฏิกิริยาความเศร้าโศกเรื้อรัง ยาวนาน
โดยบุคคลจะเวลาหลายปีโยไม่มีท่าทีว่าความรู้สึกน้ันจะลดลง
• delayed grief reaction เป็นปฏิกิริยาเศร้าโศกที่ล่าช้า บุคคลไม่สามารถแสดง ความเศร้าโศกออกมาได้หรือเมื่อต้องเผชิญความสูญเสยีจะมีการแสดงออกในช่วงที่มีการสญูเสยีไม่มากพอ
บุคคลที่มีการเศร้าโศกได้นานเกิน กว่า 1ปีมีลักษณะอาการและอาการแสดง
ไม่สนใจตนเองและสิ่งแวดล้อม ไม่อยากทําอะไร แม้แต่กิจกรรมท่ีเคยชอบ
ไม่มีเป้าหมายในการดําเนินชีวิต รู้สึกหมดหวัง และสิ้นหวังในชีวิต
แยกตัว และขาดทักษะในการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ๆ
มีภาวะซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตาย
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
1) การประเมินภาวะสูญเสีย เศร้าโศก
ประเมินลักษณะบุคลิกภาพของผู้ป่วย
ประสบการณ์การสูญเสียในอดีต รูปแบบท่ีใช้จัดการการสูญเสียและภาวะเศร้าโศกของผู้ป่วย
ประเมินระดับการให้คุณค่า และความหมายของส่ิงสูญเสีย
ในมุมมองของผู้ป่วย
ประเมินความพร้อมแหล่งสนับสนุนชว่ ยเหลือทางสังคมผู้ป่วยเม่ือเผชิญกับเหตุการณ์สูญเสีย
ประเมินระดับความรุนแรงของอาการและอาการแสดงที่เป็นผลจากความสูญเสียแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เป้าหมายระยะยาว
เพื่อฝึกการใช้วิธีในการเผชิญปัญหาที่สร้างสรรค์
เพื่อฝึกทักษะการยอมรับความจริงของชีวิตโดยเฉพาะในเรื่องการสูญเสีย
เป้าหมายระยะสั้น
เพื่อให้การรักษาพยาบาลเรื่องอาการ
และอาการแสดงทางกายให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ครอบครัวและแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือ
ทางสังคมของผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
เพื่อลดภาวะซึมเศร้าหรืออาการแสดงที่เป็น
ภาวะเศร้าโศกแบบผิดปกติให้กลับสู่ภาวะปกติ
3) กิจกรรมการพยาบาล
การดูแลเรื่องอาการ
และอาการแสดงทางกาย
ให้การดูแลเรื่องสุขภาพโดยเฉพาะเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร และนอนไม่หลับ พยายามหา วิธีการให้ได้รับประทานอาหารที่เพียงพอ และสามารถนอนหลับพักผ่อนด้วยตนเอง
จัดกิจกรรม หรือจัดให้เข้ากลุ่มบําบัดที่ได้ผ่อนคลาย เช่น กลุ่มออกกําลังกายโยคะ ตาม ความเหมาะสมกับสมรรถภาพทางร่างกาย เพื่อให้ผู้ป่วยได้ผ่อนคลาย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา หรือการรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์
ให้ความช่วยเหลือ และกระตุ้นให้ผู้ป่วยสนใจเรื่องสขุ วิทยาส่วนบุคคล และกิจวัตรประจําวัน
โดยให้ผู้ป่วยได้พยายามปฏิบัติกิจวัตรประจําวันด้วยตนเองตามความเหมาะสม และให้กําลังใจอย่างสม่ําเสมอ
การลดภาวะเศร้าโศก
ควรให้การพยาบาล
พยายามรับฟังอย่างเข้าใจยอมรับในพฤตกิรรมและมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกต่อ การสูญเสียนั้น คอยเป็นกําลังใจเพื่อประคับประคองให้อารมณ์เศร้าโศกลดลงก่อน
ใช้เทคนิคการสื่อสารเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นและ พยายามชี้ให้ผู้ป่วยเห็นการเชื่อมโยงกันของคุณค่าของสิ่งที่สูญเสียกับภาวะเศร้าโศกท่ีเกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องที่ เกิดขึ้นได้ในความเป็นจริงเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับ เข้าใจ
สร้างสัมพันธภาพแบบตัวต่อตัว ให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล และจากนั้นค่อย ๆ เริ่มจากการพูดคุยกับบุคคลที่ผู้ป่วยสนิทและไว้วางใจ
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความรู้สึกค้างคาใจที่มีต่อผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วได้อย่าง เหมาะสม จะช่วยทําให้อารมณ์เศร้าโศกลดลงได้
อยู่เป็นเพื่อนและเป็นกําลังใจผู้ป่วย
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยมีภาวะเศร้าโศกลดลง สามารถดูแลตนเองได้มากขึ้น
ผู้ป่วยมีการตระหนักรู้ตนเองถึงระดับความรุนแรงของภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสีย
ผู้ป่วยสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้มากขึ้น และแสวงหาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือที่เหมาะสมได้
ผู้ป่วยสามารถสร้างเป้าหมายในชีวิต และปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายนั้นได้
ผู้ป่วยมีวิธีการเผชิญหน้าปัญหาท่ีเหมาะสมมากขึ้น
นางสาวจุรีพันธ์ เตชะอัศวรักษ์ 180101042
นักศึกษาพยาบาลปีที่3