Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4.2 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชโรคพฤติกรรมเกเร …
บทที่ 4.2 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชโรคพฤติกรรมเกเร
ความหมาย
โรคพฤติกรรมเกเร (conduct disorder หรือ CD) อยู่ในกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพฤติกรรม โดยจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยรุ่น ด้วยการมีพฤติกรรมก่อกวน เป็นปัญหา และไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้ โดยมีลักษณะละเมิดสิทธิของผู้อื่น เช่น พฤติกรรม ก้าวร้าว หรือการมีพฤติกรรมที่ทำให้ตนนั้นมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับมาตรฐาน ต่างๆ ของสังคมหรือผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า
มักเกิดกับเด็กโตหรือวัยรุ่นตอนต้น โดยเด็กผู้ชายจะเริ่มแสดงอาการช่วงอายุ 10-12 ปี ส่วนเด็กผู้หญิง จะเริ่มแสดงอาการช่วงอายุ 14-16 ปี
อาการและอาการแสดง
มีการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของ สังคมในช่วง12 เดือนที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่พ่อแม่มักพาเด็กมาพบจิตแพทย์เพราะเด็กก่อคดี, มีปัญหาเกี่ยวกับการ เรียน, มีพฤติกรรมไม่เชื่อฟัง เช่น ขโมยของในห้างแล้วถูกจับได้, หนีเรียน, ขโมยของ, ชกต่อยหรือเสพยาเสพติด
เด็กกลุ่มนี้มักมีประวัติว่าเป็นเด็กเชื่อฟังแต่อาจมีปัญหาเรื่องการเรียน มีความวิตกกังวล มีอารมณ์ ซึมเศร้า ไม่มีเพื่อน หรือไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนที่ไม่มีปัญหาพฤติกรรมในวัยเดียวกัน
ซึ่งในระยะแรกๆพฤติกรรมของเด็กกลุ่มนี้ที่เป็นปัญหาจะไม่รุนแรงมากนักแต่พอเข้ากลุ่มกับเด็กที่มีพฤติกรรมเกเรด้วยกันก็จะเริ่มมีพฤติกรรม เมื่อเด็กโตขึ้นจะมีอาการและอาการแสดงจะรุนแรงเปลี่ยนไปตามอายุที่มากขึ้น
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factor)
ยีน
มีการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติน้อย
สมองส่วน paralimbic system ผิดปกติ
neurotransmitters
testosterone hormone ระดับสูง
สติปัญญาในระดับต่ำ และการมีโรคความผิดปกติของการเรียนรู้
ปัจจัยด้านจิตสังคม (psychosocial factors)
พ่อแม่มีการหย่าร้างกัน มีการทะเลาะกัน
ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ เช่น การถูกทำร้าย, หรือการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ลักษณะพื้นอารมณ์ เป็นเด็กที่เลี้ยงยาก อารมณ์รุนแรง
การไม่รับการยอมรับจากเพื่อน
การพยาบาล
1) การประเมินสภาพ
การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์
การประเมินเด็กต้องเป็นไปในลักษณะของการที่ไม่ตัดสินเด็ก
ระดับความรุนแรงของพฤติกรรมที่มีปัญหา ระยะเวลา
ความสามารถในการควบคุมสิ่งเร้าต่างๆ
ประเมินครอบครัว โรคร่วม
2) การวินิจฉัย เช่น มีภาวะเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงเนื่องจากมีกระบวนการแก้ปัญหาที่ไม่เหมาะสม
3) การปฏิบัติการพยาบาล
ฝึกสอนทักษะทางสังคม ทักษะการแก้ไขปัญหา ทักษะการควบคุมความโกรธ
ฝึกให้พ่อแม่กำหนดขอบเขตพฤติกรรม และใช้เทคนิคในการเสริมแรงทางบวกแก่ลูก เช่น การชมเชย การให้รางวัลอย่าง
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดกับเด็กและครอบครัว
4) การประเมินผล เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่
การบำบัดรักษา
การรักษาทางกาย
โรคต่างๆ ที่พบร่วมกับพฤติกรรมเกเร เช่น การบำบัดการติดยาเสพติด
ยา เช่น ยาประเภท antipsychotics เช่น haloperidol , risperidone ในกรณีที่เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นอันตรายต่อผู้อื่น
การรักษาทางจิต
ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้และทักษะการเข้าสังคม
การให้คำปรึกษารายบุคคล โดยมุ่งเน้นในเรื่องการฝึกให้ด็กมีทักษะในการแก้ไขปัญหาโดยใช้สติปัญญา
การบำบัดเพื่อเพิ่ม self-esteem เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้มักจะรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ
การรักษาทางสังคม
การบำบัดครอบครัว จะช่วยให้ครอบครัวทำหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ, เกิดปฏิสัมพันธ์ทางบวกระหว่างสมาชิก
การอบรมพ่อแม่ เพื่อแก้ไขพ่อแม่เรื่องความไม่สม่ำเสมอในการออกกฎระเบียบ การให้รู้จักใช้การเสริมแรงบวก
การบำบัดทางจิตวิญญาณ มีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่น จิตบำบัดรายบุคคล