Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4.1 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชเด็กที่มีภาวะบกพ…
บทที่ 4.1 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวชเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ความหมาย
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (intellectual disability) ปัจจุบันถูกนำมาใช้แทนคำว่า ภาวะปัญญาอ่อน (mental retardation) หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นในระยะพัฒนาการจากการที่สมองของเด็กหยุดพัฒนาหรือมีการพัฒนาอย่างไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่องของการทำหน้าที่ของสติปัญญาและการปรับตัวส่งผลให้พัฒนาการด้านต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ภาษา สติปัญญา ซึ่งมีผลต่อการพึ่งตนเองในชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน และการมีส่วนร่วมทางสังคมเกิดความความบกพร่อง
อาการและอาการแสดง
ความบกพร่องทางสติปัญญา
เช่น การให้เหตุผล การแก้ปัญหา การวางแผน ความคิดนามธรรม การตัดสินใจ การเรียนรู้ในโรงเรียนหรือประสบการณ์ ซึ่งตรวจพบได้ด้วยการประเมินทางคลีนิกและการทดสอบระดับสติปัญญา
ความบกพร่องของการปรับตัว
ส่งผลให้บุคคลมีพัฒนาการที่ไม่หมาะสม ไม่สามารถพึ่งพาตนเอง และรับผิดชอบต่อสังคมได้ ทำให้มีความจำกัดในการดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่งตรวจพบได้ด้วยการประเมินทางคลีนิกและการทำหน้าที่ในการปรับตัว
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาและการปรับตัว
1) มีพัฒนาการล่าซ้ำ
2) มีความบกพร่องด้านเชาว์ปัญญา
4) มีลักษณะผิดปกติของอวัยวะ เช่น ดาวน์ซินโดรม
3) มีปัญหาด้านพฤติกรรม
ระดับความรุนแรง
3) รุนแรง (severe intellectual disability)
IQ 20-34 ต้องการความช่วยเหลือมาก พบร้อยละ 3-4 พบได้ตั้งแต่ขวบปีแรก
ด้านความคิด : มีข้อจำกัดด้านการคิด การใช้ภาษา ต้องช่วยเหลือในการแก้ปัญหาตลอดชีวิต
ด้านสังคม : มีข้อจำกัดในการพูด อาจพูดได้เป็นคำหรือวลี จะมีสัมพันธภาพกับครอบครัวและผู้คุ้นเคย
ด้านการปฏิบัติ : ต้องการความช่วยเหลือทุกอย่างในการทำกิจวัตรประจำวัน ต้องใช้เวลาอย่างต่อเนื่องในการฝึกและช่วยเหลือ บางรายพบพฤติกรรมที่เป็นปัญหาร่วมด้วย
2) ปานกลาง (moderate intellectual disability)
ด้านความคิด : ทักษะการสื่อสาร ความคิดคำนวณ เข้าใจเวลา และการเงินมีข้อจำกัด ต้องการความช่วยเหลือในการทำงานในชีวิตส่วนตัวและการดำเนินชีวิต
IQ 35-49 พบร้อยละ 12 มักได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่วัยก่อนเรียน พบว่ามีการเรียนรู้ล่าช้ากว่าวัยเดียวกัน
ด้านสังคม : จะรับรู้ระเบียบทางสังคมได้ไม่ถูกต้อง มีข้อจำกัดในการตัดสินใจและการสื่อสาร
ด้านการปฏิบัติ : สามารถดูแลตนเองในการรับประทานอาหาร แต่งกาย ขับถ่าย โดยต้องใช้เวลาฝึกมากกว่าเด็กปกติ แต่สามารถฝึกอาชีพที่ไม่ต้องอาศัยทักษะได้ แต่ต้องอาศัยการช่วยเหลือและเวลา
4) รุนแรงมาก (profound intellectual disability)
ระดับ IQ < 20 ต้องการความช่วยเหลือตลอดเวลา พบร้อยละ1:2 พบได้ตั้งแต่แรกเกิด อาจมีความพิการทางหน้าตาและร่างกายร่วมด้วย
ด้านการปฏิบัติ : พึ่งพาผู้อื่นในทุกด้านต้องอาศัยการฝึกอย่างมากในการช่วยเหลือตนเอง
ด้านความคิดและสังคม : มีข้อจำกัดในการเข้าใจสัญลักษณ์ของการสื่อสาร อาจเข้าใจคำหรือท่าทางง่าย ๆ มีสัมพันธภาพดีกับครอบครัวและผู้ดูแลที่คุ้นเคย ไม่สามารถมีกิจกรรมทางสังคมกับคนอื่นได้
1) เล็กน้อย (mild intellectual disability)
ด้านสังคม : ไม่มีวุฒิภาวะ มีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่น
ด้านความคิด : มีความยากลำบากในการเรียนรู้ทักษะการอ่าน เขียน คำนวณ และความคิดเชิงนามธรรม
ด้านการปฏิบัติ : ดูแลตนเองได้เหมาะสมตามวัย อาจต้องการความช่วยเหลือกิจกรรมที่ซับซ้อน มักไม่พบโรคและรูปร่างหน้าตาปกติ
IQ 50-69 ต้องการความช่วยเหลือเป็นครั้งคราว พบร้อยละ 80 มีความบกพร่องในเด็กวัยก่อนเรียน วินิจฉัยเมื่อเด็กเข้าสู่วัยเรียนแล้ว
สาเหตุ
2) ระยะตั้งครรภ์มารดามีการใช้แอลกอฮอล์ ยา หรือสารเคมีอื่นๆ ระยะคลอดการคลอดก่อนกำหนด และหลังคลอดจากโรคที่เกิดในวัยเด็ก เช่นโรคไอกรน
3) จิตสังคม พบว่า เด็กที่เติบโตมาท่ามกลางความยากจน ครอบครัวแตกแยก
1) พันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของยีน
การบำบัดรักษา
การรักษาโรคทางกาย กายภาพบำบัด การจัดโปรแกรมการฝึกทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ กิจกรรมบำบัด อรรถบำบัด การจัดการศึกษาพิเศษเฉพาะเด็ก การพื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ การให้คำแนะนำครอบครัว
การพยาบาล
2) การวินิจฉัย เช่น ไม่สามารถสื่อสารบอกความต้องการของตนเองได้เนื่องจากพัฒนาการด้านการใช้ภาษาล่าช้า
3) กิจกรรมการพยาบาล
การส่งเสริมพัฒนาการตามความสามารถของเด็ก : การจัดโปรแกรมการสอนที่เฉพาะราย
ส่งเสริมสุขภาพทั้งในระยะก่อนตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด เพื่อป้องกัน
การช่วยเหลือครอบครัว ในระยะที่พ่อแม่มีความรู้สึกสูญเสีย เศร้าโศก พยาบาลแสดงความเข้าใจและยอมรับ ให้ข้อมูล ให้สมาชิกสามารถปรับตัวในการอยู่ร่วมกัน
1) การประเมินสภาพ
การซักประวัติรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการสำคัญ
การประเมินด้านร่างกาย ผลการตรวจอื่นๆ การตรวจสภาพจิต
ใช้แบบคัดกรองพัฒนาการ
4) การประเมินผล เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่