Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ (premature rupture of membranes;PROM) -…
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ (premature rupture of membranes;PROM)
ความหมาย
การที่ถุงเยื่อหุ้มเด็กแตกหรือปริออก ทำให้มีน้ำคร่ำซึมรั่วหรือไหลออกมาในช่องคลอดสู่ภายนอกก่อนการเจ็บครรภ์จริง
ในอายุครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 37 สัปดาห์เรียก (premature rupture of membranes;PROM)
In case เป็น PROM เพราะผู้คลอดอายุครรภ์ครบกำหนด มีน้ำใสๆไหลออกทางช่องคลอดออกๆหยุดๆตั้งแต่เวลา 20.00 น. และเริ่มเจ็บท้องทุก 5-10 นาที เวลา 03.00 น.
อายุครรภ์ไม่ครบกำหนดเรียก Preterm premature rupture of membranes (PPROM)
สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่มีปัจจัยเสี่ยงดังนี้
ปัจจัยภายใน เมื่อใกล้ครบกำหนดคลอดผนังของถุงน้ำคร่ำจะอ่อนแอลงตามกลไกของสรีรวิทยาและการขาดความสมดุลย์ของ collagen ในผนัง amniotic membrane
In case ไม่สามารถระบุได้ เนื่องจากไม่มีข้อมูลจากสถานการณ์
ปัจจัยภายนอก เมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้นจะมีการขยายตัวของมดลูกมากขึ้นและมดลูกมีการหดตัวตัวเป็นช่วงบ่อยขึ้นทำให้ความดันในโพรงมดลูกเพิ่มประกอบกับมีการขยับตัวของทารกในครรภ์แรงขึ้นทำให้ถุงน้ำคร่ำมีโอกาสแตกง่าย:
สาเหตุอื่นๆ
ทารกท่าผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง เนื่องจากส่วนน้ำไม่กระชับกับช่องเชิงกราน และแรงดันในโพรงมดลูกจะดันมาที่ถุงน้ำโดยตรง ทำให้ถุงน้ำแตกได้ง่าย
In case เนื่องจากส่วนนำไม่กระชับ จากผลตรวจทางช่องคลอด station -2
การอักเสบติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ โพรงมดลูก การติดเชื้อเรื้อรังของระบบทางเดินปัสสาวะ
การติดเชื้อของช่องทางคลอด
ภาวะมดลูกขยายตัวมากจากการตั้งครรภ์แฝดหรือครรภ์แฝดน้ำ
การทำหัตถการ เช่น การเย็บผูกปากมดลูก การเจาะดูดน้ำคร่ำ การตัดปากมดลูก
ความผิดปกติของปากมดลูก เช่น ปากมดลูกปิดไม่สนิท คอมดลูกสั้น ความผิดปกติของมดลูกแต่กำเนิด
ภาวะรกเกาะต่ำ รกรอกตัวก่อนกำหนด
เคยมีประวัติ PPROM ,คลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อน
ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น การสูบบุหรี่ ภาวะทุพโภชนาการและเศรษฐานะต่ำ ขาดวิตามิน C
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ หญิงตั้งครรภ์ให้ประวัติว่ามีน้ำไหลออกทางช่องคลอด พยาบาลต้องแยกลักษณะน้ำที่ออกมาต้องมีการซักถามเกี่ยวกับลักษณะ สี กลิ่น ปริมาณน้ำคร่ำ วัน เวลาที่ถุงน้ำแตก เพื่อประเมินระยะเวลาและโอกาสของการติดเชื้อ
In case ผู้คลอดให้ประวัติว่า มีน้ำใสๆไหลออกทางช่องคลอดออกๆหยุดๆตั้งแต่เวลา 20.00 น. และเริ่มเจ็บท้องทุก 5-10 นาที เวลา 03.00 น.
2.การตรวจร่างกายตรวจดูบริเวณช่องคลอด อาการ/อาการแสดงของการติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์ การตรวจภายในโดยใช้เครื่องมือถ่างขยายปากช่องคลอดที่ปลอดเชื้อ (sterile swab) ให้หญิงตั้งครรภ์ไอหรือเบ่งลงด้านล่างจะพบน้ำคร่ำไหลออกจากปากมดลูกหรือขังอยู่ในช่องคลอด (Cough test) ควรหลีกเลี่ยงการตรวจภายในโดยใช้นิ้วมือโดยตรงยกเว้นรายที่มีการเจ็บครรภ์คลอด หรือวางแผนการให้คลอดภายใน 24 ชั่วโมง
In case ตรวจ Cough test ได้ positive ตรวจทางช่องคลอด (PV) ได้ MR
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-Nitrazine paper test หรือ pH test เป็นการทดสอบความเป็นกรดด่าง โดยน้ำคร่ำมีฤทธิ์เป็นด่างนำกระดาษสีเหลืองมาป้ายกับน้ำในช่องคลอดกระดาษจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำเงิน (pH > 7) การตรวจวิธีนี้จะมีผลบวกลวงเกิดขึ้นได้จากการปนเปื้อนของเลือด น้ำอสุจิ หรือน้ำยา
In case ตรวจ Nitrazine test ได้ pH 8
-Fern test เป็นการทดสอบโดยแพทย์ใช้ไม้พันสำลี (sterile swab)
ป้ายน้ำในช่องคลอดหรือขังอยู่ใน posterior firnix ป้ายบนแผ่นสไลด์ ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ ให้ผลบวกเมื่อพบผลึกรูปใบเฟิร์นซึ่งเกิดจากส่วนประกอบของ electrolytes โดยเฉพาะ NaCL ที่แห้งแล้วจับตัวเป็นผลึก อาจพบผลลวงได้ในกรณีที่มีการปนเปื้อนของสิ่งคัดหลั่ง เช่น เลือด น้ำยาหล่อลื่น
4.การตรวจเพื่อพยากรณ์โรค เช่น การตรวจพบ C-reactive protein ของน้ำในช่องคลอดในอายุครรภ์ที่ไม่ครบกำหนด > 10 ng/ml จะช่วยบอกว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบหรือการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำและมักคลอดภายใน 5 วัน
ผลต่อมารดาและทารก
ผลต่อมารดา
Uterine contraction การหดรัดตัวของมดลูก
เกิดการเจ็บครรภ์คลอดได้
ทารกมีโอกาสขาดออกซิเจน
In case น้ำคร่ำปกติสีขาวขุ่น FHR ไม่ได้ระบุข้อมูล
In case ผู้คลอดมีอาการเจ็บท้องทุก 5-10 นาที
Oligohydramnios ปริมาณน้ำในโพรงมดลูกน้อย จนไม่พอที่จะทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันอันตรายจากแรงบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกและส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
-มดลูกหดรัดตัวผิดปกติ ทำให้มีการคลอดแห้ง และทารกขาดออกซิเจนง่ายขึ้น
-อาจทำให้มารดามีรกลอกตัวก่อนกำหนด
-ติดเชื้อหลังคลอด
In case ไม่มีภาวะ Oligohydramnios เนื่องจากถุงน้ำคร่ำพึ่งแตกเวลา 20.00 น.
Prolapsed cord สายสะดือพลัดต่ำ เนื่องจากส่วนนำยังอยู่สูง
Cord compression สายสะดือถูกกด
ทารกขาดออกซิเจน
In case PV ไม่พบสายสะดือพลัดต่ำ
Chorioamnitis เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียสามารถผ่านขึ้นไปในโพรงมดลูกได้
ติดเชื้อไปถึงหลังคลอด
Hypotonic uterine contraction มดลูกหดรัดตัวน้อยกว่าปกติ
Prolonged labour การคลอดล่าช้าหรือการคลอดยาวนาน
In case ไม่มีข้อมูล
ผลต่อทารก
-ทารกในครรภ์มีภาวะขาดออกซิเจนจากหลายสาเหตุ เช่น สายสะดือถูกกดทับจากมีสายสะดือพลัดต่ำ ภาวะน้ำคร่ำน้อย
-การติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์จนถึงแรกเกิด
-ทารกอาจคลอดก่อนกำหนด
In case ยังไม่สามารถระบุได้ เนื่องจากยังไม่คลอดและไม่มีผลการตรวจ