Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 ข้อมูล การแก้ปัญหาและขั้นตอนวิธี :recycle: - Coggle Diagram
บทที่ 3
ข้อมูล การแก้ปัญหาและขั้นตอนวิธี :recycle:
การประมวลผลข้อมูล :<3:
ข้อมูล :
หมายถึง ข้อเท็จจริง (fact) ที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งสามารถบันทึกไว้อย่างต่อเนื่องและมีความหมายอยู่ในตัว
ลักษณะของข้อมูลที่ดี
:<3:
ความถูกต้องแม่นยำ
ข้อมูลที่ดีควรจะมีความถูกต้องแม่นยำสูง ความทันเวลา (timeliness)เป็นข้อมูลที่ทันสมัย (up to date) และทันต่อความต้องการของ ผู้ใช้
ความสมบูรณ์ครบถ้วน
ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาต้องเป็นข้อมูลที่ให้ข้อเท็จจริง (facts) หรือข่าวสาร (information) ที่ครบถ้วนทุกด้านทุกประการ
ความกะทัดรัด
ข้อมูลที่ได้รับส่วนใหญ่จะกระจัดกระจาย ควรจัดข้อมูลให้อยู่ใน รูปแบบที่กะทัดรัด สะดวกต่อการใช้และค้นหา
4.vความตรงกับความต้องการของผู้ใช้
ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาควรเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ข้อมูลต้องการใช้ และจำเป็นต้องรู้ / ทราบ หรือเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนกำหนดนโยบายหรือตัดสินปัญหาในเรื่องนั้นๆ
ความต่อเนื่อง
การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในลักษณะของอนุกรมเวลา (time-series) เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการวิเคราะห์วิจัยหรือหาแนวโน้มในอนาคต
กระบวนการวิทยาการข้อมูล :<3:
การเพิ่มข้อมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือให้บริการด้วยข้อมูลนั้น บริการแล้วมูลนั้น นอกจากจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการแล้ว ยังต้องเข้าใจกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดหาและประมวลผลข้อมูลอีกด้วย
ขั้นที่ 1 : การตั้งคำถาม
การตั้งคำถาม (ask an interesting question) ตั้งคำถามที่ตนเองสนใจ
ขั้นที่ 2 : การรวบรวมข้อมูล
ต้องคำนึงถึงเก็บข้อมูลเรื่องอะไร จากที่ไหน จำนวน เท่าใดเพื่อให้ได้ข้อมูลนำเข้าที่ดี ไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี
ขั้นที่ 3 : การสำรวจข้อมูล
ขั้นตอนนี้เราต้องรวบรวมข้อมูลแล้วนำข้อมูลไปplotทำให้เป็นภาพหรือแผนภูมิเพื่อให้เข้าใจความหมายที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล
ขั้นที่ 4 : การวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่ออธิบายความหมาย ความสัมพันธ์ของข้อมูลและทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคต
ขั้นที่ 5 : การสื่อสารและการทำผลลัพธ์ให้เป็นภาพ
เป็นการสื่อสารผลลัพธ์ของข้อมูล โดยการถ่ายทอดเป็นเรื่องราวหรือเป็นภาพให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากข้อมูล
ประโยชน์ของระบบการคิดเชิงออกแบบ :<3:
ฝึกกระบวนการแก้ไขปัญหาตลอดจนหาทางออกที่เป็นลำดับขั้นตอน
ปกติเราอาจจะมีการหาทางแก้ปัญหาแบบสะเปะสะปะ ไม่มีการหาสาเหตุ หรือไม่มีการมองรอบด้าน
ฝึกความคิดสร้างสรรค์
การแชร์ไอเดีย ตลอดจนระดมความคิดนั้น จะทำให้สมองเราฝึกคิดหลากหลายรูปแบบ หลากหลายวิธีการ หลากหลายมุมมอง และทำให้เรารู้จักหาวิธีแปลกๆ ใหม่ๆ
มีทางเลือกที่หลากหลาย
การคิดบนพื้นฐานข้อมูลที่มีหลากหลาย ตลอดจนพยายามคิดหาวิถีทางหรือแชร์ไอเดียที่ดีออกมาหลากหลายรูปแบบ ทำให้เรามองเห็นอะไรรอบด้าน
มีตัวเลือกที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด
เมื่อเรามีตัวเลือกหลากหลายเราก็จะรู้จักคิดวิเคราะห์ และการคิดวิเคราะห์นี้เองจะทำให้เราสามารถเลือกทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุดได้ มีประสิทธิภาพมากกว่า
มีทางเลือกที่หลากหลาย
การคิดบนพื้นฐานข้อมูลที่มีหลากหลาย ตลอดจนพยายามคิดหาวิถีทางหรือแชร์ไอเดียที่ดีออกมาหลากหลายรูปแบบ ทำให้เรามองเห็นอะไรรอบด้าน
มีตัวเลือกที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด
เมื่อเรามีตัวเลือกหลากหลายเราก็จะรู้จักคิดวิเคราะห์ และการคิดวิเคราะห์นี้เองจะทำให้เราสามารถเลือกทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุดได้ มีประสิทธิภาพมากกว่า
เกิดกระบวนการใหม่ตลอดจนนวัตกรรมใหม่
มีการคิดมากมายหลากหลายรูปแบบ ตลอดจนแชร์ไอเดียดีๆ มากมาย การที่เราได้พยายามฝึกคิดจะทำให้เรามักค้นพบวิธีใหม่ๆ เสมอ หรือเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้เช่นกัน
มีแผนสำรองในการแก้ปัญหา
การคิดที่หลากหลายวิธีนอกจากจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์เลือกวิธีที่ดีที่สุดได้แล้วนั้นก็ยังทำให้เรามีตัวเลือกสำรองไปในตัวโดยผ่านกระบวนการลำดับความสำคัญมาเรียบร้อยแล้ว
องค์กรมีการทำงานอย่างเป็นระบบ
เมื่อบุคลากรถูกฝึกให้คิดอย่างเป็นระบบแบบแผนแล้วจะปลูกฝังระบบการทำงานที่ดี
เกิดกระบวนการใหม่ตลอดจนนวัตกรรมใหม่
มีการคิดมากมายหลากหลายรูปแบบ ตลอดจนแชร์ไอเดียดีๆ มากมาย
มีแผนสำรองในการแก้ปัญหา
การคิดที่หลากหลายวิธีนอกจากจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์เลือกวิธีที่ดีที่สุดได้แล้วนั้นก็ยังทำให้เรามีตัวเลือกสำรองไปในตัวโดยผ่านกระบวนการลำดับความสำคัญมาเรียบร้อยแล้ว
องค์กรมีการทำงานอย่างเป็นระบบ
เมื่อบุคลากรถูกฝึกให้คิดอย่างเป็นระบบแบบแผนแล้วจะปลูกฝังระบบการทำงานที่ดี นั่นย่อมส่งผลให้องค์กรมีการทำงานอย่างเป็นระบบ