Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม - Coggle Diagram
บทที่ 5 การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
การปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อมที่มุ่งเน้นที่การออกแบบ
ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมนั้นเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ชนิด ต่างๆ มีผลกระทบต่อขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ที่ต่างกันไป
. บทบาทสำคัญของนักออกแบบและนักพัฒนาผลิตภัณฑ์
นับว่าชัดเจนแล้วว่าอาชีพและการค้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ คือผู้ที่มี บทบาทส าคัญในการช่วยสร้างความตระหนักถึงอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบในโรงงาน อุตสาหกรรมที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบ วิศวกร นักสร้างแบบจ าลอง ผู้จัดการฝ่ายการตลาด นักจิตวิทยา นักเขียนด้านเทคนิค นักสร้างเครื่องมือ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพลาสติกนั้น เราจ าเป็นต้องระลึกไว้ ว่าองค์ความรู้ในหลายสาขานั้นท างานด้วยกันและท าเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
บรรจุภัณฑ์ถือว่าได้รับความสนใจในการน ามาเป็นประเด็นโต้เถียงทางสิ่งแวดล้อมมากกว่า ผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆ ที่ถูกผลิตขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการบรรจุภัณฑ์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของแหล่งของเสียที่ มองเห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุด
นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงปัจจัย
การเลือกวัสดุ
วัสดุรีไซเคิล
พอลิไวนิลคลอไรย์ (PVC)
การลดของเสีย
การลดแหล่งกำเนิด
หลีกเลี่ยงส่วนประกอบที่ไม่จำเป็น
บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (ปฐมภูมิ) หรือบรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีก ซึ่งเป็น บรรจุภัณฑ์พื้นฐานที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ เพื่อเก็บไว้ส าหรับการบริโภค ตัวอย่างเช่น ขวดน้ า ถุงใส่อาหาร หลอดยา
บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สอง (ทุติยภูมิ) เป็นบรรจุภัณฑ์เสริมที่ใช้เพื่ออ านวยความ สะดวกในการขายแบบบริการตนเอง ป้องกันการลักขโมย หรือใช้สำหรับการโฆษณา และสร้างยอดขายให้กับผลิตภัณฑ์ หรือมีแนวโน้มว่าถูกทิ้งหลังจากเปิดใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น กล่องใส่ยาสีฟัน พลาสติกหุ้มเครื่องดื่มแบบ แพ็ค 6 ชิ้นหรือ 12 ชิ้น
บรรจุภัณฑ์ส าหรับขนส่งหรือการจ าหน่าย ซึ่งใช้ส าหรับขนส่งสินค้าจาก แหล่งผลิตสินค้าเพื่อน าส่งไปยังจุดหมายปลายทาง เช่น โรงงานหรือฟาร์ม วัสดุบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้คือ กล่อง กระดาษแข็ง แท่นวาง ฟิล์มรัดหด สายรัด และเม็ดโฟมพอลิสไตรีน
ทำให้มีน้ำหนักเบา
ทำให้มีน้ำหนักเบา เช่นเดียวกับทุกผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์มีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ในทุกขั้นของวัฏจักรชีวิตของมัน ตัวอย่างเช่น การผลิตขวดนมพลาสติก ต้องใช้การสกัดแก๊สธรรมชาติผ่าน กระบวนการแตกตัว (Cracking) ในการกลั่น ผ่านกระบวนการพอลิเมอไรเซชั่นเป็น HDPE เป่าขึ้นรูปให้เป็น ขวดบรรจุผลิตภัณฑ์ ขนส่งไปยังซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือบ้าน และท าการก าจัดทิ้งหรือการรีไซเคิล
การออกแบบเพื่อการใช้ซ้ำ
บรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้ซ้ าได้นั้นไม่เป็นเรื่องธรรมดา เหมือนเมื่อ 30 ปีก่อน แต่มันเริ่มที่จะแสดงสัญญาณของการฟื้นสภาพการใช้ โดยล าดับของเสีย (waste hierarchy) ที่ยอมรับกันโดยทั่วไปจะจัดการให้การใช้ซ้ าอยู่ก่อนการรีไซเคิล เพราะผลิตภัณฑ์ไม่ได้ถูกทิ้งไป หลังการใช้เพียงครั้งเดียว แต่อย่างไรก็ตามการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่สามารถ ใช้ซ้ าได้ ตามการประเมินผลกระทบจากวัฏจักรชีวิตทั้งหมด
การออกแบบเพื่อการรีไซเคิล
บรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ท าจากวัสดุชนิดเดียวกัน ในทาง เทคนิคสามารถน าไปรีไซเคิลได้ เช่น PET แก้ว และอลูมินัม ซึ่งหมายความว่าเทคโนโลยีที่ต้องใช้ส าหรับ รีไซเคิลวัสดุเหล่านั้นเป็นที่รู้จักและเป็นวิธีการที่ใช้ได้ดี อย่างไรก็ตามบรรจุภัณฑ์หนึ่งๆ จะสามารถรีไซเคิลได้ อย่างแท้จริงเมื่อมีระบบในการเก็บรวบรวมและการรีไซเคิลที่สามารถรองรับลูกค้าส่วนใหญ่ได้ แก้ว กระดาษ กระดาษแข็ง อลูมินัม เหล็กกล้า PET และ HDPE สามารถน าไปรีไซเคิลได้ในอัตราที่สูงในหลายๆ ประเทศ ส่วนพลาสติกชนิดอื่น เช่น พอลิสไตรีน (PS) พอลิโพรพิลีน (PP) โฟมพอลิสไตรีน (EPS) และพอลิเอทิลีนความ หนาแน่นต่ า (LDPE) ในทางเทคนิคสามารถรีไซเคิลได้ แต่การรีไซเคิลนี้มีความยากล าบากเนื่องด้วยเหตุผล หลายประการ
การออกแบบเพื่อความสามารถในการย่อยสลายได้
การออกแบบเพื่อความสามารถในการย่อยสลายได้ ความสามารถในการย่อยสลายได้ เป็นข้อดีต่อสิ่งแวดล้อม ถ้าบรรจุภัณฑ์มีแนวโน้มว่าจะสิ้นสุดที่แหล่งขยะมูลฝอย เช่น หลอดพลาสติก หรือ เปลือกห่อแฮมเบอร์เกอร์ ถ้าสามารถเก็บรวบรวมกับวัสดุอินทรีย์อื่นๆ เพื่อท าปุ๋ยหมัก การฝังกลบแบบใหม่มี การปิดผนึกและอัดอย่างระมัดระวัง ซึ่งหมายความว่าจะมีอากาศ น้ า และจุลินทรีย
บรรจุภัณฑ์กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์การหมุนเวียนนำกลับไปใช้ประโยชน์ (Recycle)
บรรจุภัณฑ์ควรออกแบบให้สนับสนุนการหมุนเวียนน าไปใช้ประโยชน์
ควรใช้วัสดุหมุนเวียนเป็นส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ด้วย
บรรจุภัณฑ์ควรทำจากวัสดุชนิดเดียวกัน
บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุวัตถุมีพิษ ควรระบุข้อความแนะนำในการใช้และการทิ้ง
ควรระบุคำแนะนำในการเตรียมบรรจุภัณฑ์ก่อนทิ้งไว้บนฉลากด้วย
การลดการใช้บรรจุภัณฑ์ (Reduce)
ลดปริมาณวัสดุที่ใช้ในการท าบรรจุภัณฑ์
เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของสินค้า
หลีกเลี่ยงบรรจุภัณฑ์ที่ดีเกินไป (Over Packaging) เช่น การใช้บรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรง ให้ความคุ้มครองแก่สินค้าเกินความต้องการ
หลีกเลี่ยงการเพิ่มขนาดของบรรจุภัณฑ์ให้ใหญ่กว่าสินค้า
การใช้ซ้ำ (Reuse)
การน าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วมาท าความสะอาดและใช้บรรจุสินค้าซ้ าอีก จะช่วยประหยัด พลังงาน การใช้ซ้ าเป็นการน าบรรจุภัณฑ์มาใช้ในลักษณะเดิมโดยไม่ต้องแปรรูป หรือเปลี่ยนรูปทรงเดิมอาจท า โดยผู้ผลิต เช่น รับซื้อขวดแก้วใช้แล้วมาบรรจุสินค้า หรือท าโดยผู้บริโภคเอง น าไปบรรจุสินค้าอื่นหรือน าไปใช้ ประโยชน์อื่นอีก เช่น น าถุงพลาสติกมาใช้ใส่ของ น ากล่องบรรจุขนมปังกรอบมาใส่ของใช้กระจุกกระจิก
หลีกเลี่ยงการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ท าลายสิ่งแวดล้อม (Reject)
ัสดุบางชนิด เช่น โฟมโพลิสไตริน ซึ่งมีน้ำหนักเบา เป็นฉนวนกันความร้อน กันแรงกระแทกได้ ดี ทนน้ำ และแปรรูปง่าย มักจะน ามาใช้ทำบรรจุภัณฑ์ส าหรับอาหารและวัสดุกันกระแทก ในการผลิตวัสดุ ชนิดนี้จะใช้สาร Cfc (Chlorofluorocarbons) เป็นสารขยายตัว สารชนิดนี้ยังใช้เป็นตัวขับเคลื่อนของ ผลิตภัณฑ์ชนิดฉีดพ่น และใช้ในอุตสาหกรรมท าความเย็น สาร Cfc จะท าลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ ที่ท า หน้าที่ป้องกันรังสีอุลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ ไม่ให้ลงสู่ผิวโลกมากเกินควร รังสีนี้จะเป็นอันตรายต่อการ ด ารงชีวิตของมนุษย์ พืช และสัตว์ เหตุในการเกิดโรคมะเร็งที่ผิวหนัง และตาพร่ามัว
การใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดเติม (Refill)
เป็นวิธีการสืบเนื่องจากความพยายามในการลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตบรรจุภัณฑ์ จึงเกิด วิธีการบรรจุสินค้าในถุงเติม เพื่อประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคและค่าบรรจุภัณฑ์ด้วย เช่น น้ ายาล้างจาน ซื้อครั้งแรกแบบขวดบีบได้มีฝาจุกปิด เมื่อใช้หมดจึงซื้อถุงชนิดเติมซึ่งมีราคาต่ ากว่ามาเติมในขวดเก่าได้ เป็นต้น แนวโน้มความนิยมบรรจุภัณฑ์ชนิด Refill นี้จะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะได้ประโยชน์กับทุกฝ่าย กรณี ของบรรจุภัณฑ์ชนิดเติม ยังรวมไปถึงการน าบรรจุภัณฑ์ไปเติมสินค้าชนิดเดียวกันที่ร้านจ าหน่ายอีกด้วย เช่น ขวดน้ าดื่ม หลังจากใช้น้ าหมดแล้วสามารถน าขวดไปเติมน้ าตามตู้ให้บริการได้
การใช้วัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่ย่อยสลายได้มาทำบรรจุภัณฑ์ (Natural Materials)
ัสดุธรรมชาติหลายชนิด เช่น กระดาษ ไม้ เยื่อไม้ สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติในเวลาไม่ นานนัก ส่วนวัสดุสังเคราะห์ เช่น พลาสติกนั้นย่อยสลายได้ยาก จึงเกิดการประดิษฐ์พลาสติกชนิดสลายตัวได้ ขึ้นมา มีทั้งชนิดสลายตัวด้วยแสงและด้วยเชื้อจุลินทรีย์ บางประเทศมีกฎหมายให้ใช้ถุงพลาสติกที่สลายตัวได้ เท่านั้น ในบ้านเราซึ่งยังไม่มีกฎหมายใช้บังคับโดยตรง ก็มีผู้ประกอบการบางรายค านึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม หันมาใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้กันมากขึ้น
การใช้ฉลากสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม (Eco – Labeling)
ฉลากสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม คือ การใช้สัญลักษณ์แสดงว่าสินค้าและบรรจุภัณฑ์นั้นมีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก ผู้บริโภคส่วนหนึ่งจะใช้สัญลักษณ์เป็นเครื่องช่วยตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้า ลักษณะกลยุทธ์ด้านฉลากแบบนี้ ในแคนาดา ญี่ปุ่น ก็ได้จัดให้มีฉลากสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วย ส าหรับ ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายบังคับ แต่ในอนาคตถ้าผู้บริโภคตระหนักและให้ความส าคัญกับการเลือกซื้อสินค้า ที่ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วิธีนี้ก็น่าจะได้รับความสนใจจากภาคธุรกิจมากขึ้น
การรวมกลุ่มของสินค้าต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์ (Goods Packaging)
หน่วยสินค้ายิ่งมากย่อมมีโอกาสลดค่าใช้จ่ายรวมของบรรจุภัณฑ์ในแง่ของต้นทุนบรรจุภัณฑ์ และค่าขนส่ง นอกจากนี้ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นในให้ลดปริมาตรที่ไม่จ าเป็น เช่น การออกแบบ บรรจุ ภัณฑ์บริเวณปากขวดบานออกเพื่อซ้อนได้ ย่อมเป็นการลดปริมาตรและพื้นที่ผิวของบรรจุภัณฑ์ขนส่ง ซึ่งหมายถึง การลดต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ในการขนส่ง นอกจากนี้ยังคงความแข็งแรงในการเรียงซ้อนของ บรรจุภัณฑ์ชั้นในอีกด้วย
การลดจ านวนสีที่ใช้พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ (Reduce of Colors used Printing)
การลดจ านวนสีที่พิมพ์ ย่อมเป็นการลดค่าใช้จ่ายของบรรจุภัณฑ์ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ สมัยใหม่จึงจ าต้องออกแบบให้พิมพ์สีน้อยที่สุด เช่น สีเดียวแต่ใช้ความสามารถในการออกแบบสร้างความโดด เด่นและความเป็นเอกภาพของตัวบรรจุภัณฑ์ นอกจากสีที่ใช้แล้ววัสดุเสริมต่างๆ ที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์ เช่น สาร ยึดติดหรือกาวจะต้องไม่มีส่วนผสมของโลหะหนักจ าพวก Cadmium (Cd) Arsenic (As) Stibium (Sb) Scandium (Sc) Barium (Ba) Copper (Cu) Zine (Zn) หรือใช้ผงเงิน ผงทองในการพิมพ์
ฉลากสิ่งแวดล้อมจากนานาประเทศ
ประเทศเยอรมนี
ชี้แนะให้ผู้บริโภคซื้อเฉพาะแต่สินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ส่งเสริมให้ผู้ผลิตพัฒนาสินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อม
รณรงค์ให้ฉลากนางฟ้าสีฟ้าเป็นสัญลักษณ์ในการส่งเสริมการจำหน่าย
กลุ่มสหภาพยุโรป (The European Union – EU
โครงการฉลากสิ่งแวดล้อมของกลุ่มสหภาพ ยุโรป เริ่มในปี พุทธศักราช 2531 ใช้ชื่อว่า European Flower โดยก าหนดไว้ใน Council Regulation (EEC) No. 880/92 ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน ผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าและให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้บริโภคถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่ มีต่อสิ่งแวดล้อมฉลากของ EU จะมีระบบตรงข้ามกับฉลากนางฟ้าสีฟ้าที่ว่า ฉลากของ EU จะไม่ใช้เป็น เครื่องหมายแสดงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ EU ตั้งเป้าหมายไว้ว่าผลิตภัณฑ์ในตลาด EU อย่างต่ าร้อยละ 40 ควร ได้รับฉลากภายใน 2-3 ปีนี้ ฉลาก European Flower มิได้มีข้อก าหนดที่เป็นเอกภาพเช่นเดียวกับทุกประเทศ หากแต่เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกสามารถออกข้อก าหนดที่เข้มงวดกว่าของ EU ไปประยุกต์ใช้ในแต่ละ ประเทศ ได้แสดงฉลากสิ่งแวดล้อมของ EU ในชื่อ European Flower
ญี่ปุ่น
โครงการฉลากสิ่งแวดล้อมในญี่ปุ่นได้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างในเดือนธันวาคม ปีพุทธศักราช 2529 หลังจากใช้เวลา 2 ปีกว่า ในการศึกษาและเตรียมการจึงได้เริ่มรณรงค์อีโค มาร์ค (Eco Mark) ในเดือน กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2532 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค และสนับสนุนให้ผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยหันมาเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรการในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า
สหรัฐอเมริกา
โครงการสลากสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกานั้น มีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ Federal Trade Commission (FTC) แต่มิได้แสดงบทบาทอย่างจริงจังต่อฉลากสิ่งแวดล้อม (Green Labeling) ปล่อยให้บริษัทเอกชน 2 แห่ง คือ UL (Underwriters Laboratories Inc.) ที่ใช้ฉลาก Green Seal และ บริษัท Scientific Certification System Inc. ที่มีบริษัทในเครือชื่อ Green Cross Certification Company ใช้ฉลาก Green Cross Certificate ต่างแข่งขันกันสร้างการยอมรับจากผู้บริโภค โดยหวังว่าในอนาคตอันใกล้ทาง FTC จะยอมรับตราของบริษัทใดบริษัทหนึ่งใช้เป็นฉลากสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ทั่วทั้งประเทศ ได้แสดงฉลากสิ่งแวดล้อม ของสหรัฐอเมริกาในชื่อ Green Seal
ประเทศไทย
โครงการฉลากสิ่งแวดล้อมของไทย ได้จัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อ สิ่งแวดล้อม (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD) เมื่อเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2536 เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้บริโภคหันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดในกลุ่มของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน โครงการฉลากเขียวต้องการผลักดันให้ผู้ผลิตค้นหาวิธี หรือ ขั้นตอนการผลิตที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและก่อให้เกิดมลพิษน้อยลง เพื่อลดมลภาวะโดยรวม ที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของเมืองและจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ฉลากเขียวยังเปรียบเสมือนเป็น รางวัลส าหรับผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม ได้แสดงฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในชื่อ ฉลากเขียว (Green Label)