Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคซนสมาธิสั้น -…
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคซนสมาธิสั้น
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคซนสมาธิสั้น
อาการซนไม่อยู่นิ่ง หมายถึง การที่มีกิจกรมการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ (
อาการหุนหันพลันแล่น หมายถึง การกระทำที่รีบร้อนที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันโดยขาดการคิดไตร่ตรอง ขาดความสุขุมรอบคอบ
มีลักษณะการไม่ใส่ใจ ขาดสมาธิ (inattention) และ/หรือ มีอาการซนไม่อยู่นิ่ง (hyperactivity) หุนหันพลันแล่น (impulsivity)
ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคซนสมาธิสั้น
อาการขาดสมาธิมีตั้งแต่ 6 อาการขึ้นไป
มักจะไม่สามารถจดจำรายละเอียด หรือขาดความรอบคอบจึงทำผิดพลาดในเรื่องเกี่ยวกับการเรียน การทำงาน หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ
มักจะไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น
มักจะดูเหมือนไม่สนใจฟังเวลาที่พูดด้วยโดยตรง
มักจะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและไม่สามารถทำงานเกี่ยวกับการเรียน งานบ้าน หรือทำงานต่างๆ ตามหน้าที่ให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้
ม้กมีปัญหาในการวางแผนเกี่ยวกับงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ
มักจะหลีกเลี่ยง ไม่ชอบ หรือลังเลที่จะทำงานที่ต้องใช้ความคิด
มักจะทำของที่จำเป็นสำหรับการเรียนหรือการทำงานหายอยู่บ่อยๆ
มักจะถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากสิ่งเร้าภายนอกได้ง่าย (สำหรับวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่อาจจะรวมถึงความคิดที่ไม่สัมพันธ์กับสิ่งที่ทำ)
มักจะลืมบ่อยๆ เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน
อาการซน ไม่อยู่นิ่ง และอาการหุนหันพลันแล่น มีอาการดังต่อไปนี้ตั้งแต่ 6 อาการขึ้นไป
เมื่อนั่งอยู่กับที่มักจะมีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่าย หรือรู้สึกทรมาน นั่งขยุกขยิกยุกยิกตลอดเวลา ใช้มือหรือเท้าเคาะโน่นเคาะนี่
มักจะลุกจากที่นั่งบ่อยๆ ในสถานการณ์ที่ควรต้องนั่งอยู่กับที่
มักจะวิ่งไปทั่วหรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม (ในผู้ใหญ่
หรือวัยรุ่นอาจเป็นเพียงความรู้สึกกระวนกระวายใจ)
โรคซนสมาธิสั้น อาจารย์วัลลภา กิตติมาสกุล
มักจะไม่สามารถเล่นหรือเข้าร่วมในกิจกรรมสันทนาการได้อย่างเงียบๆ
มักจะยุ่งวุ่นวาย เสมือนหนึ่งขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์อยู่ตลอดเวลา
มักจะพูดมาก พูดไม่หยุด
มักจะโพล่งตอบคำถามก่อนที่จะถามคำถามจบ
มักจะมีปัญหาในการรอคอยให้ถึงตาตนเอง
การบำบัดรักษาโรคซนสมาธิสั้น
การรักษาโดยการปรับพฤติกรรมและการรักษาทางจิตสังคม (behavioral/psychosocial intervention)
การฝึกอบรมพ่อแม่ในการดูแลเด็ก ADHD
• การให้ความรู้แก่พ่อแม่เกี่ยวกับโรคและวิธีการบำบัดรักษา ADHD เพื่อพ่อแม่จะได้มีทัศนคติที่ดีต่อเด็กและมีความรู้ความมั่นใจในการดูแลแก้ไขปรับพฤติกรรมของเด็ก
• สอนเทคนิคต่างๆ ในการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็ก โดยที่ไม่ไปลดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของเด็ก
• แนะนำพ่อแม่ให้จัดทำตารางกิจวัตรประจำวันของเด็ก เนื่องจากเด็ก ADHD มักจะลืมและไม่ใส่ใจในเรื่องต่างๆ รวมทั้งให้
• ให้คำแนะนำพ่อแม่ในการจัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กโดยลดสิ่งเร้าที่จะมากระตุ้น
• ให้คำแนะนำพ่อแม่ในการออกคำสั่งกับเด็กอย่างสั้นๆ และควรให้เด็กการทวนซ้ำ เวลาพูดกับเด็กควรมีการสบสาย (eye contact) กับเด็กด้วย
• ให้คำแนะนำพ่อแม่และบุคคลอื่นในบ้านในการพยายามควบคุมอารมณ์
การให้ความช่วยเหลือเด็กขณะอยู่ที่โรงเรียน
• ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กขณะอยู่ที่โรงเรียนทั้งในเรื่องผลการเรียน พฤติกรรมของเด็กขณะอยู่ในห้องเรียนสัมพันธภาพระหว่างเด็กกับเพื่อนๆ ฯลฯ ควรนำไปใช้เพื่อประกอบในการวินิฉัยโรคและวางแผนให้การช่วยเหลือเด็ก
• ให้คำแนะนำคุณครูเกี่ยวกับโรค ADHD เพื่อจะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวเด็ก โดยเฉพาะพฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นปัญหาว่าเป็นความผิดปกติ มิใช่เรื่องของความรู้สึกชอบ/ไม่ชอบคุณครู อันจะทำให้คุณครูมีทัศนคติที่ดีต่อเด็ก
• ให้คำแนะนำคุณครูเกี่ยวกับเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการปรับพฤติกรรมเด็ก และการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน
การรักษาทางยา
การรักษาโดยกลุ่มยา alpha-adrenergic agonist เช่น clonidine (catapres) ใช้ methylphenidate กรณีที่เป็น ADHD ร่วมกับ tic หรือ tourette’s disorder
การรักษาโดยกลุ่มยาต้านเศร้า (antidepressants) เช่น imipramine
การรักษาโดยกลุ่มยารักษาอาการทางจิต (antipsychotics) เช่น thioridazine (mellaril) haloperidol (haldol) risperidone (risperdal) สำหรับผู้ป่วย ADHD ที่มีความก้าวร้าวหรือมีอาการ tic ร่วมด้วย
• การฝึกทักษะทางสังคม (social skill training) ให้เด็กสังเกตอารมณ์ความรู้สึกของบุคคลอื่น รู้จักรอคอย
• การช่วยเหลือเป็นพิเศษในเด็กที่มีปัญหาทางด้านการเรียน เช่น การเรียนซ่อมเสริม หรือเข้าร่วมในโครงการการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและการเรียน
• การบำบัดทางจิตเป็นรายบุคคลในเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ร่วมด้วย เช่น มองตัวเองในแง่ลบ หรือมีความวิตกกังวล
การพยาบาลโรคซนสมาธิสั้น
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ
ไม่สามารถทำตามบทบาทหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองต่ำเป็นระยะเวลานาน
วิธีการเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพ
การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายบกพร่อง
แบบแผนการนอนไม่เหมาะสม
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่อง
ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับบทบาทของตน
วิธีการเผชิญปัญหาของครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพ
การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล
ดูแลให้เด็กได้รับการรักษาด้วยยาร่วมกับการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมและการรักษาทางจิตสังคม
ติดตามและประเมินผลการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา
กำหนดพฤติกรรมของเด็กที่ความคาดหวังร่วมกันระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครู
ให้ความรู้ คำแนะนำแก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และคุณครูเกี่ยวกับโรค
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดกับพ่อแม่และเด็ก และคุณครู
การประเมินสภาพ (assessment
การประเมินเมื่อเด็กอยู่ที่โรงเรียน
• ควรมีการประเมินว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไรบ้างขณะอยู่ในห้องเรียน
• ลักษณะของการมีปฏิสัมพันธ์ต่อเพื่อน
• ผลการเรียนป็นอย่างไร
• มีพฤติกรมอะไรบ้างที่ทั้งพ่อแม่ คุณครูและ/หรือตัวเด็กเองมองว่าเป็นปัญหา
• ผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมต่างๆ ของโรคที่มีต่อการเรียนและสัมพันภาพที่มีกับเพื่อนและครูมีอะไรบ้าง
• ความรู้ความเข้าใจของคุณครูเกี่ยวกับโรค
การประเมินที่โรงพยาบาล
การจำแนกและการสำรวจเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน
• ประเมินตัวเด็กว่ามีพัฒนาการทุกด้านเหมาะสมตามวัยหรือไม่
• ประเมินระยะเวลาที่เด็กเริ่มมีอาการของโรค รูปแบบของอาการต่างๆ ในปัจจุบัน (pattern of the current symptoms)
• ประเมินว่ามีปัจัยใดที่ทำให้เด็กมีอาการดีขึ้นหรือแย่ลง
• ประเมินการรักษาที่เด็กได้รับมาก่อนหน้านี้
• ประเมินว่าอะไรที่ทำให้พ่อแม่พาเด็กมารับการรักษา
• ประเมินประวัติอดีตในเรื่องเกี่ยวกับอาการของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์
การประเมินผล (evaluation)
พฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหาลดลงหรือไม่
ทั้งในแง่ความรุนแรงและความถี่ในการเกิดพฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหา
จะต้องมีการประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
สาเหตุ การบำบัดรักษาโรคซนสมาธิสั้น
2) ปัจจัยก่อนคลอด
ปัจจัยทางจิตสังคม
ปัจจัยทางชีวภาพ
กายวิภาค สรีรวิทยา ของระบบประสาท (Neuroanatomical and neurophysiological
factors)
สารเคมีของระบบประสาท (neurochemical factors)
พันธุกรรม
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม