Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคความผิดปกติของก…
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
ความหมาย
โรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร (eating disorder)
เป็นกลุ่มอาการของโรคทางจิตเวชที่บุคคลมีความคิด ความรู้สึก ต่อรูปร่าง น้ําหนัก และการกินอาหารของตนที่บิดเบือนจากความเป็นจริงอย่างรุนแรงส่งผลทําให้บุคคลมีลักษณะความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทานอาหาร มีความเข้มงวดกับการพยายามลดหรือควบคุมน้ําหนักอย่างมาก โดยมีกลวิธีทั้งการอดอาหาร การหักโหมออกกําลังกาย และทําให้ตนอาเจียนออกหลังจากรับประทานอาหาร
อนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า (anorexia nervosa)
เป็นภาวะที่บุคคลปฏิเสธการมีน้ําหนักตัวปกติ มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับน้ําหนักตัวของตนเองตลอดเวลา
แบบที่1 แบบจํากัด (restricting type)
คือ ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมแบบรับประทานมากและไม่มีการขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating / purging type) เช่น ทําให้ตนเองอาจาเจียน หรือการใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ หรือยาสวนถ่ายอย่างพร่ําเพรื่อ ในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา
แบบที่2 แบบรับประทานมากและมีการขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating / purgingtype)
คือ ผู้ป่วยมีพฤติกรรมรับประทานมากและมีการขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating / purging type)เช่น ทําให้ตนเองอาจาเจียน หรือการใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ หรือยาสวนถ่ายอย่างพร่ําเพรื่อ ในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยปฏิเสธการรับประทานอาหารเพื่อคงไว้ซึ่งน้ําหนักตัวในระดับปกติ เพราะกลัวน้ําหนักที่จะเพิ่มขึ้นจากการรับประทานอาหาร หรือมีความรู้สึกกังวลและกลัวว่าตนเองจะอ้วนมากเกินไป กลายเป็นความคิดหมกมุ่นอยู่กับรูปร่างและน้ําหนักตัวของตนเอง แม้ว่าตนเองจะมีน้ําหนักตัวน้อย
ผู้ป่วยจะให้คุณค่ากับตนเองในการประสบความสําเร็จในการลดน้ําหนักตัวและรูปร่าง นีจะมีความผิดปกติในการรับรู้ตนเองเกี่ยวกับน้ําหนักตัวหรือรูปร่างของตน หรือปฏิเสธความรุนแรงของน้ําหนักตัวที่ต่ํา
อยู่ในขณะนั้น
ผู้ป่วยมักมีความคิดเห็นกี่ยวกับผู้อื่นผิดปกติไปเพราะมักคิดว่าตนเองปกติแต่ผู้อื่นผิดปกติ ทําให้เกิดการปฏิเสธการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับการลดน้ําหนักและความผอมของตนเอง
ผู้ป่วยมักมีการขาดประจําเดือนร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะแสดงอาการในช่วงวัยรุ่นตอนต้น
บูลิเมีย เนอร์โวซ่า (bulimia nervosa)
เป็นภาวะที่ร่างกายมีความรู้สึกผิดปกติ เห็นอาหารแล้วเกิดความอยากบริโภคและบริโภคได้ในปริมาณมากกว่าปกติโดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ เมื่อบริโภคเสร็จแล้วจะรู้สึกผิดไม่สบายใจ และพยายามเอาอาหารที่บริโภคเข้าไปออกด้วยวิธีการต่างๆ
มีการรับประทานอย่างมากป็นระยะๆ ซึ่งช่วงดังล่าวอาจมีลักษณะ 2 ประการ
ลักษณะที่1 มีช่วงของการรับประทานที่รับประทานอาหารในช่วงเวลาสั้นๆ ครั้งละมากๆมากกว่าคนทั่วไปจะบริโภคได้ในช่วงเวลาและในสถานการณ์ที่เท่ากันหรือคล้ายคลึงกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลารับประทานอาหารน้อยกว่า 2 ชั่วโมง
ลักษณะที่ 2 มีความรู้สึกว่าไม่สามารถที่จะควบคุมการรับประทานได้ในระหว่างนั้น เช่น รู้สึกว่าตนเองหยุดการรับประทานไม่ได้หรือควบคุมชนิดหรือปริมาณอาหารไม่ได้
แสดงออกทางพฤติกรรมชดเชยในลักษณะที่ไม่เหมาะสมอยู่เป็นระยะๆ เช่น ทําให้ตนเองอาเจียน ใช้ยาระบาย ใช้ยาขับปัสสาวะ หรือใช้ยาสวนถ่ายหรือยาอื่นอย่างไม่หมาะสม อดอหารติดต่อกัน 3 - 4 วัน หรือ ออกกําลังกายอย่างหักโหมติดต่อกันมากกว่า 5 ชั่วโมง
มีทั้งการรับประทานที่มากกว่าปกติ และพฤติกรรมชดเชยที่ไม่หมาะสม เกิดขึ้นเฉลี่ยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน 3 เดือน
มีการประเมินตนเองเกี่ยวกับเรื่องของน้ําหนักตัวหรือรูปร่างอย่างมาก
บุคคลมีการปฏิเสธการเพิ่มขึ้นของน้ําหนักตัวหรือกลัวอ้วนมากๆทั้งที่มีน้ําหนักตัวน้อยเท่านั้นเพิ่มขึ้นของน้ําหนักตัวหรือกลัวอ้วนมากๆทั้งที่มีน้ําหนักตัวน้อยเท่านั้น
สาเหตุของโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological factors)
ด้านพันธุกรรม
คู่แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน และ คู่แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ
ด้านสารสื่อประสาทในสมอง
มีความส้มพันธ์กับความผิดปกติของระบบซีโรโทนิน (serotonin) มากที่สุด
ปัจจัยทางด้านจิตใจ (psychological factors)
พัฒนาการของจิตใจ
เกิดจากความพยายามยับยั้งแรงขับทางเพศในระดับจิตใต้สํานึกของตนเองที่เพิ่มขึ้นในระยะวัยรุ่น ซึ่งมีพัฒนาการติดอยู่ที่ระยะปาก (oral stage) วัยรุ่นจึงให้ความหมายความพึงพอใจจากการรับประทานอาหารเหมือนกับว่าเป็นความพึงพอใจทางเพศ
บุคลิกภาพ
บุคคลที่มีบุคลิกภาพพื้นฐานลักษณะเจ้าระเบียบ จริงจัง ต้องการความสําเร็จสูง ทําทุกอย่างสมบูรณ์แบบอยู่ตลอดวลา (perfectionist) และบุคคลที่มีบุคลิกภาพไม่ค่อยแสดงอารมณ์ ขาดทักษะในการใช้ชีวิตในสังคม มีปัญหาความขัดแย้งในจิตใจ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ํา (low self-esteem) ขาดความมั่นใจในตนเอง (self-doubts) ไม่กล้าตัดสินในในเรื่องต่างๆ ด้วยตนเองมักทําตามความคาดหวังของผู้อื่นเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับบุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบนี้จะหันเหความสนใจของการมีคุณค่าในตนเองมาที่น้ําหนักและรูปร่างแทน มีการมองภาพตนเองบิดเบือนมองเห็นสัดส่วนร่างกายอ้วนไปทั้ง ๆ ที่ไม่ได้อ้วน
ลักษณะการเลี้ยงดู
พบว่า มารดาที่มีลักษณะปกป้องลูกมากเกินไป(overprotection) หรือและบิดามีลักษณะเข้มงวดในกฎระเบียบมาก หรือไม่ค่อย
แสดงออก ย้ําคิดย้ําทําและขาดความชื่อมั่นในตนเอง
ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม (sociocultural factors)
สัมพันธภาพในครอบครัว
สังคมเมืองที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอุตสหกรรม มีฐานะทางสังคมและ
เศรษฐกิจดี ทําให้บุคคลต้องใช้ความสวยงามและรูปร่างของตนเองในการประกอบอาชีพ
การบําบัดรักษาโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
การบําบัดรักษาทางกาย
อายุรแพทย์จะดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางร่างกายตามอาการ
ที่เกิดขึ้น และควรให้บุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารมีส่วนร่วมในการควบคุมน้ําหนัก และการเลือกการรับประทานอาหาร ของตนเองให้มากที่สุดหากไม่ได้อยู่ในภาวะอันตราย
การบําบัดรักษาด้วยยา (pharmacotherapy)
ยาต้านเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSR) ได้แก่ ยาฟูลออกซีทีน(fluoxetine) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า และบุคคลที่เป็นบูลิเมียเนอร์โวซ่า
ยาต้านเศร้ากลุ่ม tricyclic antidepressant (ICAs) ได้แก่ ยาอะมิทริปไทลีน (amitriptyline)และยาอิมิพรมิน (imipramine) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นบูลิเมีย เนอร์โวซ่า
ยาต้านโรคจิตกลุ่มใหม่ ได้แก่ ยาโอลานชาปืน (olanzapine) และ ยาริสเพอริโดน(risperidone) ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซีย เนอร์โวซ่า
ยากระตุ้นความอยากอาหาร ได้แค่ megestrolacetate ใช้รักษาบุคคลที่เป็นอนอเรคเซียเนอร์โวซ่า
จิตบําบัดรายบุคคล (individual psychotherapy)
เป็นการรักษาอันดับแรก ๆ ในบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหาร ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งจะช่วยให้บุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารเข้าใจ ยอมรับการเจ็บป่วย และให้ความร่วมมือในการรักษาเพิ่มขึ้น
การบําบัดความคิด (cognitive therapy)
เพื่อแก้ไขความคิดและความคิดรวบยอด เกี่ยวกับตนเองทั้งเรื่องรูปร่างและน้ําหนักตัวที่บิดเบื่อนจากความจริงอย่างรุนแรง ช่วยให้รับรู้สิ่งเร้าจากภายในร่างกาย เช่น ความหิว และอารมณ์หรือความต้องการที่แท้จริงของตนเองได้ตามความเป็นจริง
พฤติกรรมบําบัด (behavioral therapy)
เพื่อวางแผนในการบําบัดที่เหมาะสมในแต่ละรายเพื่อเพิ่มน้ําหนัก ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการออกกําลังกายเพราะบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหาร แต่ละรายจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน
กลุ่มบําบัด (group therapy)
การทํากลุ่มบําบัดเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้บุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารรู้สึกปลอดภัยและรู้สึกว่าตนเองไม่ได้แตกต่างไปจากบุคคลอื่น
ครอบครัวบําบัด (family therapy)
เป้าหมายอันดับแรกของครอบครัวบําบัด คือ พยายามให้
ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการหยุดพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ
โภชนาการบําบัด (nutrition therapy)
นักโภชนการจะดูแลวางแผนจัดเมนูอาหารที่เหมาะสม
อาชีวบําบัต (occupational therapy)
นักอาชีวบําบัดช่วยให้บุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหาร ได้เรียนรู้การวางแผนในการเลือกซื้อหารและประกอบอาหารตัวยตนเอง
การพยาบาลบุคคลที่มีโรคความผิดปกติของการรับประทานอาหาร
การประเมินสภาพ (assessment)
การซักประวัติ
เช่น ความคิดและการรับรู้เกี่ยวกับรูปร่างและน้ําหนัก พฤติกรรมการรับประทานอาหารและการควบคุมอาหาร พฤติกรรมการลดน้ําหนัก พฤติกรรมชั่งน้ําหนักบ่อย ๆ รู้สึกผิดหลังรับประทานอาหาร สัมพันธภาพภายในครอบครัว เพื่อน ประวัติการถูกทําร้ายร่างกาย ถูกทารุณกรรมทางเพศ ประวัติการเจ็บป่วยทางจิตเวช
การประเมินจากการตรวจร่างกาย
การเจริญเติบโต น้ําหนัก ส่วนสูง ความหนาแน่นของชั้นไขมันใต้ผิวหนัง เส้นรอบแขนเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน คํานวณค่าดัชนีมวลกาย body mass index (BMI) ค่าปกติ18.5 - 22.9 กิโลกรัม/เมตร2 ปาก ฟัน เหงือก เยื่อบุในช่องปาก คอ หลอดอาหารที่เป็นผลจากการล้วงคออาเจียนทําให้มีกรดขย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหาร จังหวะการเต้นของหัวใจ ชีพจร และความดันโลหิต ระบบการขับถ่าย การปัสสาวะ การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางเพศ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (laboratorytest) ได้แก่ CBC การตรวจ blood chemistry test การตรวจต่อมไร้ท่อ เพื่อประเมินระดับโกรทฮอร์โมน (GH)
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
มีภาวะขาตสารอาหารเนื่องจากปฏิเสธการรับประทานอาหารหรือความอยากอาหารลดลง
เกิดภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโตรไลท์ในร่างกายเนื่องจากมีพฤติกรรมล้วงคออาเจียน
เสี่ยงต่อการบาดเจ็บในช่องปากเนื่องจากมีพฤติกรรมล้วงคออาเจียน
เสี่ยงต่อการผลัตตกหกล้มเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง
มีวิธีการจัดการกับปัญหาที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากขาดความรู้
มีความวิตกกังวลเนื่องจากการรับรู้เกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่บิดเบือน
ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงเนื่องจากการรับรู้เกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่บิดเบือน
การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด
การรักษาด้วยยา
การดูแลให้ได้รับสารอาหารและน้ําที่เพียงพอ
การให้คําปรึกษา
ให้ผู้รับบริการสํารวจความเชื่อความรู้สึกของตนเองที่มีต่อรูปร่างและน้ําหนักของตนเอง
สนับสนุนให้ผู้รับบริการได้พูดระบายความรู้สึกที่มีต่อตนเอง
ปรับปลี่ยนทัศนคติของผู้รับบริการในการรับรู้ภาพล้กษณ์ของตนเองในทางบวกช่วยสร้างความกระจ่างเกี่ยวกับความคิดที่มีต่อรูปร่างของตนเอง และปรับปลี่ยนความคิดที่บิดเบือนจากความเป็นจริง
การเสริมพลังอํานาจในตนเองให้กับบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารมีความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองในการควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้
ให้สุขภาพจิตศึกษา ถือเป็นกิจกรรมการพยาบาลที่สําคัญ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาพยาบาลจะต้องให้ความรู้แก่ผู้รับบริการและญาติผู้ดูแล
ครอบครัวบําบัด ส่งเสริมครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล แนะนํา ผู้รับบริการว่าพ่อแม่ต้องการให้ปฏิบัติอย่างไร
กลุ่มบําบัด เป็นอีกหนทางสําหรับบุคคลที่มีความผิดปกติของการรับประทานอาหารจะช่วยให้รู้สึกปลอดภัยและรู้สึกว่าตนเองไม่ได้แตกต่างจากบุคคลอื่น
การเยี่ยมบ้าน
พยาบาลต้องอธิบายวัตถุประสงค์และวิธีปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้านเพื่อให้สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
พยาบาลประเมินความคิด ความรู้สึกของผู้รับบริการก่อน และหลังการกลับไปเยี่ยมบ้าน
สนับสนุนให้ญาติมีส่วนร่วมในการสังเกตพฤติกรรมการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ พฤติกรรมการออกกําลังกาย และการลดน้ําหนักของผู้รับบริการขณะกลับไปเยี่ยมบ้าน
การประเมินผล (evaluation)
ถือเป็นขั้นตอนที่สําคัญที่จะช่วยให้พยาบาลทราบว่าการพยาบาลที่ให้กับผู้รับบริการเหมาะสม
หรือไม่และบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่