Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case มายแอสทีเนียกราวีส (Myasthenia Gravis) - Coggle Diagram
Case มายแอสทีเนียกราวีส (Myasthenia Gravis)
สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค
ข้อมูลผู้ป่วย
สิ่งแวดล้อม
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ
เช่น ยาฆ่าแมลง สารโลหะหนัก รังสี
จุดอ่อนด้านร่างกายและจิตใจ
ขาดความมั่นใจในตนเอง
จิตใจอ่อนแอ ไม่เข้มแข็ง
ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
ตัวอย่างเช่น ทารกที่มีแม่เป็นโรคนี้ก็อาจเกิดมาเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน แต่จะพบได้น้อยโดยหากได้รับการรักษาในทันทีทารกเหล่านี้มักจะสามารถกลับมาเป็นปกติได้ภายใน 2 เดือนหลังคลอดหรือเด็กบางคนอาจเกิดมาพร้อมกับภาวะ Congenital myasthenic Syndrome ซึ่งเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก
การพยาบาล/หน้าที่ของพยาบาล
การจัดการสิ่งแวดล้อม
ควรจัดเตียงไว้ใกล้โต๊ะพยาบาลเพื่อสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ไม่ควรมีของเกะกะเยอะเกินไป จัดของใช้ให้เป็นระเบียบ
การปรับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ด้วยการมีสุขอนามัยที่ดี และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย
หากเกิดการติดเชื้อหรือป่วย ควรรีบรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องทันที
หลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หนักเกินไป
ไม่ควรทำให้ตัวเองรู้สึกร้อนหรือหนาวมากจนเกินไป
ควบคุมความเครียด
การค้นหาความเสี่ยง
การวินิจฉัยภาวะ Myasthenia gravis ทําได้จากประวัติ การตรวจร่างกายที่จําเพาะ และที่สําคัญที่สุดคือ การส่งตรวจเลือดและการส่งตรวจการส่งกระแสไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ สําหรับประวัติได้กล่าวถึงแล้วในข้างต้น ในที่นี้จะอธิบายถึงการตรวจร่างกายที่จําเพาะ และการส่งตรวจเพิ่มเติมที่สําคัญ
การวินิจฉัย
ข้อมูลผู้ป่วย
อาการสำคัญ
ผู้ป่วยกลืนอาหารลำบาก สำลัก ปวดเมื่อยตา และหนังตาตกทั้งสองข้างมากขึ้น ก่อนมาโรงพยาบาล 1 วัน
Lab และการตรวจพิเศษ
Hb 15.6 gm/dl (ค่าปกติ 13.3-17.7 ) Hct 40% (ค่าปกติ 39.8-52.2 )
WBC 9.2 THSD/Cumm (ค่าปกติ 4-11 ) PMN 58% (ค่าปกติ 50-60 )
Sodium 136 mEq/L (ค่าปกติ 136-140) Potassium 3.3 mEq/L (ค่าปกติ 3.5-4.5)
Clorile 100 mEq/L (ค่าปกติ 100-110) Bicabonate 29 mEq/L (ค่าปกติ 22-32)
ประวัติการเจ็บป่วย
ประวัติการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บในอดีต
ปฏิเสธการเจ็บป่วยและการเจ็บป่วยในอดีต
ประวัติการเจ็บป่วยของครอบครัว
: บิดา มารดา ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ป่วยเป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 3 คน ปฏิเสธโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตามปกติ หายใจได้สะดวก
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
5 วันก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยเมื่อยตา 2 ข้างและหนังตาตกทั้ง 2 ข้าง 1 วันก่อนมารพ.เป็นมากขึ้น เริ่มมีกลืนอาหารลำบาก และสำลักบางครั้ง
การพยาบาล/หน้าที่ของพยาบาล
การเก็บข้อมูลสำคัญเพิ่มเติม
-การตรวจเลือด แพทย์จะตรวจนับจำนวนของแอนติบอดี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นจะมีจำนวนของแอนติบอดี้ที่ไปยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อมากผิดปกติ ส่วนมากจะตรวจพบแอนติบอดี้ชนิด Anti-MuSK
-การตรวจการชักนำประสาท (Nerve Conduction Test) ทำได้ 2 วิธี คือ Repetitive Nerve Stimulation Test เป็นการทดสอบด้วยการกระตุ้นเส้นประสาทซ้ำ ๆ เพื่อดูการทำงานของมัดกล้ามเนื้อ โดยการติดขั้วไฟฟ้าที่ผิวหนังบริเวณที่พบอาการอ่อนแรง และส่งกระแสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยเข้าไปเพื่อตรวจสอบความสามารถของเส้นประสาทในการส่งสัญญาณไปที่มัดกล้ามเนื้อ และการตรวจด้วยไฟฟ้า (Electromyography) เป็นการวัดกระแสไฟฟ้าจากสมองที่ส่งไปยังกล้ามเนื้อเพื่อดูการทำงานของเส้นใยกล้ามเนื้อเพียงเส้นเดียว (Single-fiber Electromyography หรือ EMG)
-การตรวจระบบประสาท ด้วยการทดสอบการตอบสนอง กำลังความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความรู้สึกจากการสัมผัส การทรงตัว หรือการมองเห็น เป็นต้น
การศึกษาพยาธิสภาพ
มัยแอสทีเนียกราวิส เป็นผลสืบเนื่องมาจากความบกพร่องในการส่งสัญญาณประสาทที่รอยต่อประสาทและกล้ามเนื้อ ตัวรับ
อเซทิลโคลินบนเยื่อหุ้มเซลล์ของกล้ามเนื้อหลังประสาน ไม่สามาถจำตัวเองได้จึงกลายเป็นแอนติเจนเสียเอง ทำให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ คือ |gG antibody ซึ่งจะถูกขับออกมาด้านตัวรับอเซทิลโคลิน IgG นี้จะจีบกันได้พอดีกับตำแหน่งรับ และขัดขวางการจับของอเซทิลโคลิน ท้ายที่สุดปฏิกิริยาที่เกิดทำให้ตำแหน่งที่รับอเซทิลโคลินบนเยื่อหุ้มเซลล์กล้ามเนื้อลดลง การทำลายตำแหน่งของตัวรับนี้ทำให้การส่งต่อสัญญาณประสาทผ่านรอยต่อประสาทกับกล้ามเนื้อลดลง กล้ามเนื้อจึงไม่เกิดดีโพลาไรซ์
การเตรียมความพร้อมเพื่อการตรวจวินิจฉัย/การแปลผล
การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า หรือ Electrodiagnostic study เป็นเทคนิคที่ใช้ตรวจวัดสัญญาณไฟฟ้าในเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยและพยากรณ์พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อ โดยการตรวจประกอบด้วย2ส่วนคือ
1) การตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท หรือ Nerve conduction study (NCS)และ
2) การตรวจวินิจฉัยไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ หรือ Electromyographic study(EMG)
วิธีการตรวจวินิจฉัย EMG
1) การตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท หรือ Nerve conduction study
เป็นการตรวจโดยปล่อยกระแสไฟฟ้าในขนาดที่ปลอดภัย กระตุ้นตามแนวทางเดินของเส้นประสาท ในส่วนต่างๆของร่างกายที่สงสัยความผิดปกติ และใช้อุปกรณ์ตรวจรับสัญญาณ ซึ่งจะแสดงผลเป็นกราฟทางหน้าจอ เพื่อใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของเส้นประสาทในบริเวณที่สงสัยว่ามีรอยโรค
2) การตรวจวินิจฉัยไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ หรือ Electromyographic study
ตรวจโดยใช้เข็มขนาดเล็กตรวจรับสัญญาณผิดปกติในกล้ามเนื้อ โดยแพทย์จะนำข้อมูลจากการตรวจทั้งสองส่วนมาประกอบกันเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค
การรักษาเฉพาะโรค
การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
1.การรับประทานยา
• ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เช่น เพรดนิโซน (Prednisone) เป็นยาชนิดเม็ดที่ใช้ในปริมาณต่ำ เพื่อยับยั้งการผลิตแอนติบอดี้ การใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงได้ เช่น กระดูกบางลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่น ๆ รวมไปถึงโรคเบาหวาน
• ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants) เช่น อะซาไธโอพรีน, ไมโคฟีโนเลต โมฟีทิล, ไซโคลสปอริน, เมทโธเทร็กเต หรือทาโครลิมัส การใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร |ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่น ๆ รวมไปถึงตับและไตอักเสบ การใช้ยานี้จำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานจึงจะเห็นผล ควรตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย เพื่อตรวจสอบระบบภูมิคุ้มกันและผลข้างเคียงอื่น ๆ
• การเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า (Plasmapheresis) โดยเป็นการกำจัดแอนติบอดี้ที่จะไปขัดขวางการทำงานของกล้ามเนื้อออกจากร่างกาย โดยวิธีการรักษานี้จะให้ผลอยู่เพียงไม่กี่สัปดาห์ และอาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ความดันเลือดลดลง มีเลือดไหล จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
•ยาในกลุ่ม Cholinesterase Inhibitors เช่น ไพริโดสติกมีน (Pyridostigmine) เหมาะแก่ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงระดับเบาหรือผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการ โดยยาจะช่วยเพิ่มการทำงานระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวและแข็งแรงขึ้น การใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้ เหงื่อออกและน้ำลายไหลมาก เป็นต้น
ในปัจจุบัน การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีหลายวิธี แต่ส่วนใหญ่รักษาตามอาการและเน้นเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ทั้งนี้แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงแต่ละราย เช่น อายุ ความรุนแรงของอาการ ตำแหน่งที่เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น โดยมีวิธีการรักษาดังนี้
2. การรักษาด้วยการผ่าตัด
ต่อมไทมัส (Thymus Gland) เป็นอวัยวะในร่างกายที่ทำหน้าที่เป็นทั้งเนื้อเยื่อน้ำเหลืองและต่อมไร้ท่อ โดยตั้งอยู่บริเวณหน้าต่อหัวใจและเส้นเลือดแดงใหญ่หลังต่อกระดูกหน้าอก (Sternal Bone or Breastbone) ตัวต่อมมีลักษณะรูปร่างคล้ายกับผีเสื้อ มีหน้าที่หลักในการทำให้เม็ดเลือดขาวชนิด T cell เติบโตอย่างสมบูรณ์และผลิตฮอร์โมนไทโมซินเพื่อกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดขาวชนิด T cell เช่นกัน ในภาวะปกติต่อมไทมัสจะเจริญเติบโตและขยายขนาดจนถึงช่วงวัยรุ่นและจะค่อย ๆ ฝ่อลงจนเป็นเพียงเนื้อเยื่อไขมันเมื่อเข้าสู่ช่วงผู้ใหญ่
3.การเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า (Plasmapheresis
โดยเป็นการกำจัดแอนติบอดี้ที่จะไปขัดขวางการทำงานของกล้ามเนื้อออกจากร่างกาย โดยวิธีการรักษานี้จะให้ผลอยู่เพียงไม่กี่สัปดาห์ และอาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ความดันเลือดลดลง มีเลือดไหล จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง รักษาให้อาการดีขึ้นได้ แต่ถ้าไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ทันท่วงที อาจมีแนวโน้มทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น
• ภาวะหายใจล้มเหลว (Myasthenic Crisis) เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อที่มีหน้าที่ควบคุมการหายใจอยู่ในภาวะอ่อนแอ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหายใจได้ด้วยตนเอง
• เนื้องอกที่ต่อมไทมัส มีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 15% ในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งต้อมไทมัสนี้เป็นต่อมที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
• ภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroid) หรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid) ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมที่อยู่บริเวณด้านหน้าของลำคอ มีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่ควบคุมการเผาผลาญ หากเกิดการแทรกซ้อนของภาวะพร่องไทรอยด์ ผู้ป่วยจะมีอาการขี้หนาว น้ำหนักขึ้น ส่วนในผู้ป่วยที่มีการแทรกซ้อนของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ จะมีอาการขี้ร้อน น้ำหนักลดลง
• มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองอื่น ๆ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรดเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus) หรือที่รู้จักในชื่อโรคพุ่มพวง
การพยาบาล
การพยาบาลในระยะรุนแรงโดยระดับความรุนแรงของความผิดปกติของการบริหารความปลอดภัยวิทยยุคอและคุณภาพของเสียง
การพยาบาลในระยะไกลศาลาคลีนิกการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย
แผนการจำหน่าย
E-Environment
การจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของผู้ป่วย การให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การจัดการปัญหาด้านเศรษฐกิจ
T-Treatment
ทักษะที่เป็นตามแผนการรักษา เช่น การคลายกล้ามเนื้อ รวมถึงการเฝ้าสังเกตอาการตนเองและแจ้งให้พยาบาลทราบ
M-Medicine
การแนะนำใช้ยาที่ตนเองได้รับ อย่างละเอียด สรรพคุณของยา ขนาด วิธีใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยา ตลอดจนการสังเกตภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งข้อห้ามการใช้ยา
H-Health
การส่งเสริม ฟื้นฟูสภาพทางด้านร่างกายและ จิตใจ ตลอดจนการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
D-Diagnosis
การให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ถึงสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
O-Out patient
การมาตรวจตามนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานพยาบาลใกล้บ้าน ในกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินตลอดจนการส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการดูแล ต่อเนื่อง