Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจร่างกายระบบทางเดินอาหาร Gastrointestinal system, ดาวน์โหลด (1),…
การตรวจร่างกายระบบทางเดินอาหาร Gastrointestinal system
วัตถุประสงค์
• บอกหลักการสำคัญในการตรวจร่างกายระบบทางเดินอาหารได้
• อธิบายขั้นตอนและวิธีการตรวจร่างกายระบบทางเดินอาหารได้
• อธิบายการประเมินภาวะสุขภาพระบบทางเดินอาหารได้
• บอกวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษระบบทางเดินอาหารได้
หลักการตรวจช่องท้อง
• Right upper quadrant (RUQ) คือ ส่วนบนขวา
• Left lower quadrant (LLQ) คือ ส่วนลางซ้าย
• Right lower quadrant (RLQ) คือ ส่วนล่างขวา
• Left upper quadrant (RUQ) คือ ส่วนบนซ้าย
โครงสร้างระบบทางเดินอาหาร Physiology of the Gastrointestinal system
อวัยวะในระบบทางเดินอาหาร
อวัยวะที่ช่วยย่อยในระบบทางเดินอาหาร
ทักษะการตรวจร่างกาย Gastrointestinal system
การดู (Inspection)
ให้ดูจากทางด้านปลายเท้าขึ้นไปทางศีธษะของผู้รับบริการ
ท้องโตผิดปกติ การโปงนน ก้อนในช่องท้องโตนนขึ้น
รอยแผลเป็นหรือรอยผ่าตัด
เส้นเลือดดำโป่งพอง (portal system)
สะดือถูกดึงรั้งหรือโป้งนูนขึ้นจากการมีน้ำในช่องท้อง
มีก้อนนูนโตที่บริเวณขาหนีบจากการมีไส้เลื่อน
peristaltic wave
spider nevi
การฟัง (Auscultation)
ใช้ Stethoscope ด้าน Diaphragm ฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ (Bowel sound or peristalsis) เสียงดัง กร๊อก-กร๊อก เหมือนเทน้ำจากขวดอัตราไม่สม่เสมอประมาณ 5-30 ครั้ง/นาที เวลาฟังนาน 3 นาที/ครั้ง
Normal
-Hyperactive
-Hypoactive
Bowel sound absent
การเคาะ (Percussion)
การเคาะตับ
โดยเริ่มเคาะตั้งแต่ 2nd ICS ข้างขวาของปอดในแนว Midclavicular line จะได้ยินเสียงโปรงเคาะตามแนวต่ำาลงมาเรื่อยๆ จนเสียงเปลี่ยนเป็นทึบที่ระดับซี่โครงซี่ที่ 5, 6 หรือใต้ราวนมเล็กน้อย เป็นขอบบนของตับจากนั้นเริ่มเคาะจาก Iliac crest ขึ้นไปในแนวเดิมจนได้ยินเสียงทึบ เป็นขอบล่างของตับ เหนือชายโครงประมาณ 1 นิ้วฟุต จากนั้นเริ่มเคาะจาก Iliac crest ขึ้นไปในแนวเดิมจนได้ยินเสียงทึบ เป็นขอบล่างของตับ เหนือชายโครงประมาณ 1 นิ้วฟุต ขนาดของตับคนปกติ ในแนว Midclavicular line ประมาณ 6 - 12 cm
Shifting dullness การเคาะเพื่อประเมินน้ำในช่องท้อง
เคาะบริเวณต่างๆ จนทั่วท้องสังเกตว่าส่วนใดเคาะทึบ ส่วนใดเคาะโปร่งคนปกติจะเคาะได้เสียงโปร่ง(Tympanic)
Fluid thrill การเคาะเพื่อประเมินน้ำในช่องท้อง
การคลำ (Palpation)
วิธีการคลำ แบ่งได้เป็น 2 แบบ
การคลำตื้น (Light or superficial palpation)
ใช้อุ้งนิ้ววางชิดกันกดเบาๆ ความลึกประมาณ 1 เซนติเมตร ให้ทั่วทุกบริเวณ
บริเวณที่กดเจ็บ (Tenderness)
การเกร็ง (Spasm) ของกล้ามเนื้อเมื่อถูกกด
-การปวดท้อง แข็งเกร็ง (Rigidity)
หน้าท้องเกร็ง (abdominal guarding)
อาการกดกดปล่อยแล้วเจ็บ (Rebound tenderness)
การคลำลึก (Deep or bimanual palpation)
ใช่มือข้างหนึ่งวางลงบนมืออีกข้างหนึ่งมือบนใช้กดความลึกประมาณ 5-8 เซนติเมตร มือล่างใช้รับความรู้สึก
หาก้อนในท้อง บอกขนาด รูปร่าง ความแข็ง ลักษณะของผิว การเคลื่อนไหว
การกดเจ็บ (Tenderness)
กดปล่อยเจ็บ (Rebound tenderness)เช่น ตำแหน่ง McBurney's point
การคลำมี 2 วิธี
วิธีที่ 1
วางมือขวาราบที่หน้าท้องผู้รับบริการ ให้ปลายนิ้วชี้ไปทางศีรษะของผู้รับบริการนิ้วชี้และนิ้วกลางอยู่ด้านนอกของกล้ามเนื้อRectus เริ่มคลำจากหน้าท้องเคลื่อนขึ้นไปหาชายโครงขวาให้ผู้รับบริการหายใจเข้าเต็มที่แล้วออกแรงกดที่ปลายนิ้วจากนั้นช้อนมือขึ้นจะพบขอบตับ ปกติควรอ่อนนุ่ม ขอบบางเรียบขนาด 1 - 2 นิ้วมือ
วิธีที่ 2
Hooking techniqueให้ยืนด้านขวามือของผู้รับบริการหันหน้าเข้าหาปลายเท้าผู้รับบริการ วางมือ 2 ข้างชิดกับนท้องด้านขวาใต้ระดับที่เคาะได้ความทึบของตับกดปลายนิ้วและช้อนขึ้นสู่บริเวณ Costal Marginแล้วให้ผู้รับบริการหายใจเข้าลึกๆ
การคลำถุงน้ำดี
คลำที่บริวณชายโครงขวาตัดกับขอบนอกของกล้ามเนื้อ Rectus abdomens ลักษณะของถุงน้ำดีปกติที่คลำได้ คือ กลม อ่อนนุ่ม และเคลื่อนลงขณะหายใจเข้า ในรายที่สงสัย ถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน ตรวจโดยใช้มือขวาวางบนขอบชายโครงขวา ใช้หัวแม่มือกดบริเวณฤงน้ำดี เมื่อผู้รับบริการหายใจเข้า แล้วมีอาการเจ็บบริเวณฤงน้ำดีเรียกว่า Murphy's sign
การคลำม้าม
ให้ยืนด้านขวาของผู้รับบริการ เอื้อมมือซ้ายข้ามตัวผู้รับบริการ ใช้นิ้วสอดเข้าไปในระหว่างซี่โครงที่ 10 กับ 11 แล้วใช้มือขวาคลำเริ่มคลำตั้งแต่ท้องน้อยข้างขวาไปเรื่อยจนจรดชายโครงด้านซ้าย ปกติจะคลำไม่พบถ้าม้ามโตกว่าปกติประมาณ 3 เท่า จึงจะคลำพบ