Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2559 ตอนที่1, นางสาว หัถยา ธรรมชาติ…
พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2559 ตอนที่1
พิกัดอัตราศุลกากร
การแบงประเภทของ สินค้า ที่มีการซื้อขายกันระหว่างประเทศออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้การจําแนกสินค้ามีความละเอียดชัดเจนและแน่นอน โดยใช้ตัวเลขรหัสกํากับสินค้าแตละชนิดไว้อย่างเป็นระบบ
ระบบฮาร์โมไนซ์
สินค้าที่นำเข้ามาหรือส่งออกไปราชอาณาจักรจะต้องเสียอากรศุลกากรตามการจําแนกประเภทพิกัดศุลกากรของสินค้านั้น ซึ่งการจําแนกประเภทพิกัดศุลกากรของไทยอยู่ภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยระบบฮาร์โมไนซ์เพื่อการจําแนกประเภทและการกําหนดรหัสสินค้า โดยทั่วไปจะเรียกว่า อนุสัญญาระบบฮาร์โมไนซการจําแนกพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์(Harmonized System )
หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ระบบ HS"
ระบบฮาร์โมไนซ์(Harmonized System :HS) เป็นระบบมาตราฐานสากลที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยคณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร “ศุลกากรโลก” ( WorldCustoms Organization : WCO) และเป็นระบบพิกัดอัตราศุลกากรที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน
โครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากร
การแบ่งหมวดหมู่ประเภทสินค้าออกเป็น 21 หมวด 97 ตอน พร้อมด้วยหมายเหตุของหมวดและของตอน
ประเภทของสินค้าขาเข้า (ตัวเลข 4 หลัก)
หลักเกณฑ์การตีความ 6 ข้อ
ประเภทย่อย ของสินค้าขาเข้า (ตัวเลข 6 หลัก)
หลักเกณฑ์การตีความ 6 ข้อ
1.
การจําแนกประเภท ให้แยกตามรายละเอียดของประเภท (ของ) แบ่งออกเป็นหมวด ตอน ประเภท ประเภทย่อย
2.
ข. ประเภทที่ระบุถึงวัตถุหรือสารใด ให้หมายรวมถึงของผสมหรือของรวมที่มีวัตถุหรือสารนั้นรวมอยู่กับวัตถุหรือสารอื่น ความที่ระบุถึงของที่ทําด้วยวัตถุหรือสารใดให้หมายรวมถึงของที่ประกอบด้วยวัตถุหรือสารนั้นล้วนๆหรือเพียงบางส่วน การจําแนกสารมากกว่า1ชนิดขึ้นไปให้จําแนกตามหลักเกณฑ์ข้อ3
ก. ประเภทที่ระบุถึงของใด ให้หมายรวมถึงของนั้นที่ยังไม่ครบสมบูรณ์หรือยังไม่สําเร็จ ฯ
3.
(ก) ถ้าประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้โดยเฉพาะและประเภทอื่นระบ
(ข) ของผสม ของรวม ที่ประกอบด้วยวัตถุต่างชนิดกันหรือทําขึ้นจาก
องค์ประกอบต่างกันและของที่จัดทําขึ้นเป็นชุดเพื่อขายปลีก ซึ่งไม่อาจจําแนกประเภทได้ตามหลักเกณฑ์ข้อ3 (ก)ได้ให้จําแนกโดยถือเสมือนว่าของนั้นประกอบด้วยวัตถุหรือองค์ประกอบที่แสดงลักษณะอันเป็นสาระสําคัญของของนั้นเท่าที่จะใช้หลักนี้ได
(ค) เมื่อของใดไม่อาจจําแนกประเภทตามหลักเกณฑ์ข้อ3 (ก) หรือ(ข) ได้ให้จําแนกเข้าประเภทที่ลําดับไว้หลังสุด ในบรรดาประเภทที่อาจจําแนกเข้าโดยเท่าเทียมกัน
4.
ของซึ่งไม่อาจจําแนกประเภทตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้ให้จําแนกเข้าประเภทเดียวกันกับของซึ่งใกล้เคียงกับของนั้นมากที่สุด
5.
(ก) กระเป๋ากล้องถ่ายรูป หีบเครื่องดนตรีกระเป๋าปืน กล่องอุปกรณ์เขียนแบบ กล่องสร้อยคอและภาชนะบรรจุที่คล้ายกัน ที่ทํารูปทรงหรือขนาดเป็นพิเศษเพื่อบรรจุของ โดยเฉพาะใช้ได้คงทนและนําเข้ามาด้วยกันกับของที่มีเจตนาใช้ร่วมกัน ให้จําแนกตามประเภทของของที่บรรจุถ้าตามปกติเป็นของที่ต้องขายพร้อมกัน
(ข) ภายใต้ข้อบังคับของหลักเกณฑ์ข้อ5(ก) ข้างต้น วัตถุและภาชนะสําหรับใช้ในการบรรจุที่บรรจุของเข้ามาให้จําแนกเข้าประเภทเดียวกันกับของนั้น ถ้าวัตถุและภาชนะนั้นเป็นชนิดที่ตามปกติใช้สําหรับของบรรจุดังกล่าวอย่างไรก็ตามไม่ให้ใช้ข้อกําหนดนี้เมื่อได้เห็นชัดว่าวัตถุและภาชนะนั้นเหมาะสําหรับใช้ซํ้าได้อีก
6.
ตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย การจําแนกประเภทของของเข้าในประเภทย่อยของประเภทใดประเภทหนึ่งให้เป็นไปตามความของประเภทย่อยที่เกี่ยวข้องและตามหลักเกณฑ์ข้างต้นโดยอนุโลม
นางสาว หัถยา ธรรมชาติ 6201102098021 LMX2 สาขาการจัดการโลจิสติกส์