Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน - Coggle Diagram
บทที่ 6 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
ความหมาย
จิตเวชฉุกเฉิน (emergency psychiatry) เป็นภาวะที่บุคคลมีความแปรปรวนทางด้านความคิด อารมณ์ ความสัมพันธ์ทางสังคม หรือ พฤติกรรมอย่างเฉียบพลันหรือรุนแรง จนอาจทําให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น จําเป็นต้องได้รับการบําบัด ช่วยเหลืออย่างถูกต้องเหมาะสมโดยเร่งด่วน
ลักษณะอาการและอาการแสดง
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
ลักษณะทั่วไป:
มีท่าทางตึงเครียด หน้านิ่งคิ้วขมวด ตาจ้องขมึงไปรอบ ๆ เพื่อหาบุคคลหรือ สิ่งของที่เป็นเป้าหมายการทําร้าย ทําลาย มีความระวนกระวาย ขู่ว่าจะฆ่าหรือทําร้ายผู้อื่น ทําลาย มีท่าทางหวาดกลัว
อารมณ์:
แสดงความโกรธอย่างรุนแรง ขาดการควบคุมอามณ์ เช่น ใช้คําพูดรุนแรง เสียงดัง หน้าแดง ฉุนเฉียว
การรู้สติ (level of consciousness):
สับสน วัน เวลา สถานที่
เคยมีประวัติมีพฤติกรรมรุนแรง
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior)
suicidal intention ความต้องการที่จะฆ่าตัวตาย
suicide committed suicide การฆ่าตัวตายสําเร็จ
suicidal ideation ความคิดอยากฆ่าตัวตาย
suicidal attempt การพยายามฆ่าตัวตาย
self-injurious or self-harm behavior พฤติกรรมที่ตั้งใจทําร้ายตนเองให้บาดเจ็บ
ลักษณะทั่วไป:
เศร้าหมอง ร้องไห้ ไม่สบตา ตามองพื้น คอตก ไหล่ห่อ ไม่ค่อยสนใจดูแลสุขอานามัยตนเอง คิดช้า พูดช้า เคลื่อนไหวช้า ตอบคําถามแบบถามคําตอบคํา
ลักษณะอารมณ์
:คนที่คิดฆ่าตัวตายมีหลายอารมณ์ อาจเศร้า โกรธ คับแค้นใจ
ความคิด:
อาจโทษตนเองคิดว่าตนเองเป็นคนไม่ดีไม่มีคุณค่า เป็นภาระกับคนอื่น
การรับรู้:
ประสาทหลอน มีคนสั่ง (command hallucinations for self-harm)
พฤติกรรม:
พยายามฆ่าตัวตาย
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium)
acute brain syndrome
เสียการรู้คิด (cognition)
อาการสับสนเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่ บุคคล (disorientation)
มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว (fluctuation of consciousness)
มีประวัติโรคทางกายรื้อรัง เช่น เบาหวาน ตับวาย ไตวาย หรืออาการป่วยทางกายนํา
มีประวัติใช้สารเสพติด
มีประวัติอาการทาระบบประสาท หมดสติ ชัก อุบัติเหตุทางสมอง
4) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome)
การมีอาการขึ้นมาทันทีทันใด
หายใจลึกและเร็วเป็นเวลาหลายนาทีโดยที่ไม่รู้ตัว จากนั้นจะเริ่มมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกหายใจไม่อิ่ม วิงเวียน ใจสั่น นิ้วมือจีบยืดเกร็ง (carpopedal spasm)
ชาบริเวณริมฝีปาก นิ้วมือ นิ้วเท้า
5) อาการแพนิค (panic attack disorders)
ผู้ป่วยมีความกลัวอย่างรุนแรง
อย่างน้อย 4 อาการ ได้แก่ ใจสั่น เหงื่อออกมาก มือสั่น ตัวสั่น หอบ หายใจไม่ออก เจ็บแน่นหน้าอก คลื่นไส้แน่นท้อง เวียนศรีษะเป็นลม กลัวตาย ชาเจ็บตามผิวหนัง รู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ ตามตัว
มีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือน
กลัวจะควบคุมตนเองไม่ได้
กล้วเป็นโรคห้วใจหรือกลัวเสียสติ
มีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ขาดงาน หรือขาดโรงเรียน
6) อาการพิษจากสารเสพติดและอาการขาดสาร (substance intoxication and withdrawal)
สุรา (alcohol)
อาการพิษสุรา (alcohol intoxication) พฤติกรรมก้าวร้าว การตัดสินใจเสีย
อาการขาดสุรา (alcohol withdrawal) ชีพจรเร็ว มือสั่น นอนไม่หลับ คลื่นไอเจียน
แอมเฟตามีน (amphetamine)
อาการพิษของแอมเฟตามีน (amphetamine intoxication) รู้สึกสบาย
ผิดปกติ ร่วมกับอารมณ์รื่นเริงสนุกสนาน จนถึงขั้นความรู้สึกตื่นตัวสูง กระวนกระวายหงุดหงิด โกรธง่าย
อาการขาดแอมเฟตามีน (amphetamine withdrawal) อ่อนเพลีย ฝันร้าย
นอนไม่หลับ หรือหลับมาก พลุ่งพล่าน กระวนกระวาย อยากเสพยาอย่างรุนแรง
ฝิ่น (opioid)
อาการพิษจากฝิ่น (opioid intoxication) อารมณ์ร่าเริงในระยะแรกแล้ว
เปลี่ยนเป็นรู้สึกไม่สุขสบาย พลุ่งพล่าน กระวนกระวายหรือเชื่องช้า
อาการขาดฝิ่น (opioid withdrawal) กระวนกระวาย อยากเสพฝิ่น รู้สึกไม่
สบาย อ่อนเพลีย ฝันร้าย นอนไม่หลับ หรือหลับมาก หงุดหงิด อยากเสพยาอย่างรุนแรง ชวนทะเลาะหรือก้าวร้าวต่อ
คนอื่นง่าย
สาเหตุ
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
functional causes
โรคจิตเภทชนิดหวาดระแวง โรคไบโพล่าร์ที่มีอาการแมเนียจนควบคุมตนเองไม่ได้
organic causes
พิษจากยา สารเสพติด อาการขาดสารเสพติด โรคลมชัก
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย (suicide behavior)
โรคทางจิตเนื่องจากการปรับตัว (adjustment disorder)
โรคซึมเศร้า (major depressive disorder)
โรคจิตเภท (schizophrenia)
ติดสุราหรือยาเสพติด (alcohol dependence or substance dependence)
บุคลิกภาพผิดปกติ (personality disorder)
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง (delirium)
central nervous system disorder ประสบอุบัติเหตุกระทบกระเทือนสมอง ชัก
metabolic disorder เช่น โรคตับวาย ไตวาย ขาดวิตามีนบี
endocrinopathy เช่น ภาวะฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์
systemic lines อาการพิษจากการดื่มสุราและสารเสพติด
ยาที่เป็นสาเหตุของการเกิดอาการสับสนเพ้อคลั่ง เช่น antihistamine, atropine, thiazine,clozapine, tricyclic antidepressant, barbiturates, benzodiazepine
4) กลุ่มอาการหายใจถี่ (hyperventilation syndrome) ยังไม่ทราบแน่ชัด
5) อาการแพนิค (panic attack disorders)
พันธุกรรม
ปัจจัยทางจิตใจ
การมีจุดอ่อนทางชีวภาพแฝงอยู่
การบำบัด
1) พฤติกรรมรุนแรง (violence behavior)
การป้องกันการเกิดพฤติกรรมรุนแรง (violence precautions)
การควบคุมพฤติกรรมรุนแรง (violence control) การแยกหรือจํากัดบริเวณ การผูกมัด การใช้ยาควบคุมอาการ
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง
2) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย
การรักษาทางกายเป็นอันดับแรก
การป้องกันและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายซ้ํา
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง
3) ภาวะสับสนเพ้อคลั่ง
การบําบัดรักษาด้วยยา ที่นิยมใช้ antipsychotics drug ได้แก่ haloperidoldelirium ที่มีอาการวุ่นวาย
การบําบัดด้านสิ่งแวดล้อม
1) การผูกยึด
2) การส่งเสริมการรับรู้สิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง
3) ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในที่ ที่มีแสงสว่างอย่างเพียงพอ มีเสียงบ้างพอสมควร
การประเมินและวางแผนการดูแลต่อเนื่อง
4) กลุ่มอาการหายใจถี่
ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย (reassurance) ว่าอาการที่เกิดไม่อันตรายถึงชีวิต
ช่วยให้ผู้ป่วยสงบและผ่อนคลาย
ช่วยลดอาการหายใจไม่อิ่มของผู้ป่วยให้ดีขึ้น
สอนให้ผู้ป่วยหายใจในอัตราที่ปกติ (breathing exercise)
สอนการผ่อนคลายด้วยวิธีต่าง ๆ (relaxation techniques) การทําสมาธิ (meditation)
5) อาการแพนิค
สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้ป่วย
ใช้หลัn therapeutic communication ให้กําลังใจและประคับประคองจิตใจ
แยกผู้ป่วยออกมาจากสถานการณ์ที่ทําให้เกิดอาการ โดยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปอยู่ที่สงบ
ให้ยาตามแผนการรักษา
ให้ความรู้และการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติ
6) อาการพิษจากสารเสพติดและอาการขาดสาร
วัดและบันทึกสัญญาณชีพ สัญญาณประสาท จนหมดภาวะพิษจากสารเสพติดและอาการขาตสารเสพติด
ตรวจสอบทางเดินหายใจ (clear airway) อาจต้องให้ออกซิเจนและใช้เครื่องช่วยหายใจเมื่อหมดสติ
เฝ้าระวังอันตรายจากพฤติกรรมรุนแรง แอะอะ ก้าวร้าว เพ้อ
ให้การรักษาทางกาย เช่น ให้สารน้ํา เกลือแร่ กลูโคส วิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบี 1
ใช้ยา antidote เช่น narcane (narloxone) ในรายที่ได้สารพวกฝิ่นหรืออนุพันธ์ของฝิ่น (เฮโรอีน) เกินขนาด
กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการชัก ผู้ป่วยจะได้รับยาแก้ชัก เช่น ให้valium ฉีดเข้าหลอดเลือดดําช้าๆ และอาจให้ยาซ้ําได้ถ้าจําเป็นผู้ป่วยอาจได้รับยากันชักฉีดเข้ากล้ามหรือชนิดรับประทานต่อไป
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
การจําแนกผู้ป่วย
immediate ทันที
ภาวะฉุกเฉิน (emergency)
ภาวะรีบด่วน (urgent)
ภาวะกึ่งรีบด่วน (semi-urgent)
ภาวะไม่รีบด่วน (non-urgent)
ให้การพยาบาลบําบัดดูแลระยะแรก
การประเมินและบําบัดต่อเนื่อง
การจําหน่ายหรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยบําบัดอื่น