Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ G1P0A0L0 GA 37+5 Wks - Coggle Diagram
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์
G1P0A0L0 GA 37+5 Wks
ข้อวินิจฉัยที่ 1 เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ทารกในครรภ์เกิดภาวะขาดออกซิเจน, ภูมิต้านทานต่ำ, การตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมารดามีภาวะโลหิตจาง
ข้อมูลสนับสนุน S: มีอาการเหนื่อยง่ายอ่อนเพลียบ่อย O: ตรวจร่างกายเยื่อบุตาซีด ผล lab 1 Hct/Hb= 33%/10.5 MCV/MCH=62.3/19.7 DCIP=Positive ผล Lab 2 Hct=28.9%
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินผู้ป่วย(การซักประวัติ การตรวจร่างกาย) ประเมินภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์
วัดสัญญาณชีพทุกครั้งที่มารับบริการ
ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวเรื่องภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
3.1 อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง
ในหญิงตั้งครรภ์ หมายถึง โรคที่มีปริมาณเม็ดเลือดแดง
น้อยกว่าปกติ เป็นแล้วจะมีอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด
สาเหตุเกิดจาก
หญิงตั้งครรภ์ ต้องสร้างเม็ดเลือดเพิ่มให้ลูก จึงทำให้แม่มีเลือดน้อยหรือเลือดจาง
หญิงตั้งครรภ์ กินอาหารที่มีธาตุเหล็กในการบำรุงเลือดไม่เพียงพอ
หญิงตั้งครรภ์เป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
ซึ่งเป็นความผิดปกติของเม็ดเลือดมาแต่กำเนิด
การสูญเสียเลือดมาก เช่น แผลในกระเพาะอาหาร โรคไตวายเรื้อรัง
ผลเสีย
ต่อแม่ 1.ติดเชื้อง่ายและรุนแรง ทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิต 2. คลอดก่อนกำหนด 3. โอกาสเสียเลือดหลังคลอดมาก ทำให้เสียชีวิต
ต่อลูก 1. ลูกเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในท้อง 2. ลูกที่คลอดออกมามีพัฒนาการล่าข้าทั้งร่างกาย และสมอง 3. ลูกเจริญเติบโตข้า คลอดออกมาน้ำหนักน้อย
3.2 ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว
ประเมิน สภาพทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ การแนะนำมารดาให้
สังเกตและบันทึกการดิ้นของทารกในครรภ์ การฟังเสียงหัวใจทารก
กินยาบำรุงเลือด ตามที่แพทย์แนะนำทุกวัน ไม่กินพร้อมยาแคลเซียม
กินอาหารบำรุงเลือด ได้แก่ ไข่ ตับหมู ตับไก่ ปลา หมู ไก่
กุ้ง ผักตำลึง ผักบุ้ง คะน้า กะหล่ำปลี ถั่วฝึกยาว ข้าวกล้อง
กินผลไม้หลังอาหาร ได้แก่ กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ มะละกอ
ส้ม สับปะรด พุทรา จะช่วยดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีและลดอาการท้องผูก
หลีกเลี่ยงกินยาบำรุงเลือดพร้อมอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก
ได้แก่ นม เนยน้ำขา กาแฟ ควรกินห่างกัน 2 - 4 ชั่วโมง
แนะนำมารดาให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ โดยนอนอย่างน้อย 10 ชั่วโมงในตอนกลางคืน และนอนพักครึ่งชั่วโมงหลังอาหาร และแนะนำให้นอนตะแคงเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปยังรกได้ดียิ่งขึ้น
แนะนำการรักษาความสะอาดร่างกาย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
เกณฑ์การประเมินผล
มารดาเข้าใจและสามารถบอกการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมได้ถูกต้อง
-ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนกับมารดา และทารก
ผลตรวจ Hct = 32 vol%
สัญญาติชีพปกติ T= 36.5-37.5 องศาเซลเซียล PR=80-100 bpm. RR=16-24 bpm BP=120-90/90-60 mmHg
ข้อวินิจฉัยที่ 2 มีอาการไม่สุขสบายเนื่องจากการตั้งครรภ์
ข้อมูลสนับสนุน
S: ช่วงนี้เป็นตะคริวบ่อยค่ะ ช่วงกลางคืนก็เป็นบ่อย
O:-
เกณฑ์การประเมินผล : มารดาเข้าใจเกี่ยวกับอาการไม่สุขสบาย และสามารถบรรเทาอาการไม่สุขสบายได้
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการเป็นตะคริว
แนะนำให้ความรู้การเป็นตะคริวและวิธีแก้ไข
คือ การหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างฉับพลัน จะมีอาการเกร็ง ปวดส่วนมากจะพบบริเวณน่อง
การป้องกัน
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มนม ดื่มน้ำ 6 - 8 แก้วต่อวัน
นอนตะแคงซ้ายเพื่อลดการกดทับของระบบไหลเวียนเลือดการบรรเทา
เมื่อเกิด ตะคริวโดยการนวด และ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อบริเวณที่มีอาการ
ทานยาบำรุงแคลเซียมออกกำลังกายตามความเหมาะสม
สาเหตุ ระบบไหลเวียนเลือดไม่สะดวกเมื่อมีขนาคท้องใหญ่ขึ้น ขาดแคลเซียมขณะตั้งครรภ์ส่วนมากจะเริ่มมีอาการตั้งแต่ 5 เดือนขึ้นไป
เปิดโอกาสให้มารดาสอบถามข้อสงสัย
การประเมินผล : มารดาเข้าใจเกี่ยวกับอาการไม่สุขสบาย และสามารถบรรเทาอาการไม่สุขสบายได้ถูกต้อง
การวางแผนการนัดหมายครั้งต่อไป
นัดครั้งต่อไปวันที่ 3 มีนาคม 2564 ANC term เพื่อติดตามการคลอด การเจ็บคลอดจริง เจ็บครรภ์เตือน ความก้าวหน้าของการคลอด การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ (NST) การ PV : Pelvic examination, Vaginal examination) ตรวจปากมดลูกเปิดขยาย
ข้อวินิจฉัยที่ 3 การส่งเสริมการปฏิบัติตัวตามไตรมาส
เกณฑ์การประเมินผล : มารดาเข้าใจและสามารถบอกวิธีปฏิบัติตนในไตรมาสที่ 3 ได้ถูกต้อง
คำแนะนำ
การฏิบัติตัว
อาหาร ควรเพิ่มอาหารประเภทโปรตีน เนื้อสัตว์หรือเนื้อปลา พักใบเขียวชนิดต่างๆ และอาหารที่มีแคลเชียม
การฝากครรภ์ตามนัด
การตูแลเต้านม ในระยะ 2-3 เดือนก่อนคลอดในการอาบน้ำ ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมมากนัก เพราะจะลางไขมันบริเวณนั้นออกไปหมด ทำให้หัวนมแห้งและแตกง่าย
อาการเจ็บครรภ์จริง/เตือน
อาการเจ็บครรภ์เตือน
มดลูกเริ่มหดรัดตัวน้อยและระยะห่างมากไม่สม่ำเสมอ เริ่มเจ็บบริเวณหน้าท้องและเจ็บอยู่เฉพาะหน้าท้องเท่านั้น ไม่มีมูกเลือดออกจากช่องคลอด การเจ็บหายไปเมื่อเดินหรือเปลี่ยนท่า
อาการเจ็บครรภ์จริง
มดลูกหดรัดตัวทุก 10 - 15 นาทีจากนั้นจะหดตัวเป็นจังหวะสม่ำเสมอ เริ่มเจ็บบริเวณหลังส่วนล่างหรือบั้นเอวแล้วราวไปด้านหน้าท้องส่วนบนบริเวณยอดมดลูก การเจ็บรุนแรงถี่ขึ้นเรื่อย ๆ มีมูกปนเลือดออกมาจากช่องคลอด ปากมดลูกนุ่มและเปิดขยายบางลงไม่สามารถใช้เทคนิคการผ่อนคลายความเจ็บช่วยให้หายเจ็บได้เด็ดขาด น้ำเดิน เกิดจากถุงน้ำคร่ำรั่ว หรือแตก
การเปลี่ยนแปลง
เหนื่อยง่าย นอนหลับไม่สบาย อึตอัด
ปวดหลัง
ปัสสาวะบ่อย
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ควรเพิ่มเดือนละ 2 กก. รวม 6 กก.
ตะคริว
ข้อมูลสนับสนุน
S: -
O: ผู้รับบริการตั้งครรภ์ GA 37+5 Wks อยู่ในไตรมาสที่ 3
การประเมินผล : มารดาเข้าใจและสามารถบอกวิธีปฏิบัติตนในไตรมาสที่ 3 ได้ถูกต้อง
การประเมินผล : - มารดาเข้าใจและสามารถบอกการปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
-ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนกับมารดา และทารก
ผลตรวจ Hct = 32 vol%
สัญญาติชีพปกติ T= 36.5 องศาเซลเซียล PR=86 bpm. RR=22 bpm BP=120/70 mmHg