Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบหัวใจ ไหลเวียนและความผิดปกติ …
การพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบหัวใจ ไหลเวียนและความผิดปกติ
ของระบบหลอดเลือด: Aneurysm
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ( Aortic Aneurysm ) หลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) จะนำเลือดแดง จากหัวใจไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย การโป ่งพองของหลอดเลือดคือการโป ่งพองของหลอดเลือดเฉพาะที่ (localized) และเป็นอย่างถาวรการโป่งพองของหลอดเลือดมี 2 ชนิด
True การโป่งพองทุกชั้นของหลอดเลือด
False การโป่งพองเฉพาะบางชั้นของหลอดเลือด
Abdominal Aortic Aneurysm ( AAA) หมายถึงความผิดปกติเฉพาะจุดของabdominal aorta ท าให้aorta มีขนาดโตกว่าปกติ1.5 เท่า อย่างปกติabdominal aorta มีขนาดประมาณ 2 ซม. ดังนั้นเมื่อตรวจพบ abdominal aorta ที่มีขนาด 3 ซม. ก็ให้สงสัยว่าอาจเป็น aneurysm อย่างไรก็ตาม ขนาดของ aorta ที่ปกติขึ้นอยู่กับอายุ เพศและน้ำหนัก
อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยหลายรายอาจไม่มีอาการใด ๆ นำมาก่อนเพียงแต่ตรวจพบโดยบังเอิญจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอก หรือ คลำก้อนเต้นได้ในช่องท้อง ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องอก อาจมีอาการจากการกดเบียดของหลอดเลือดต่ออวัยวะข้างเคียง เช่น กดหลอดลม ทำให้หายใจลำบาก กดเบียด หลอดอาหาร ทำให้กลืนลำบาก
การรักษา การรักษาสามารถแบ่งแยกไปได้2 ประเภทตามความรีบด่วนในการรักษาดังนี้
ในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการของการแตกของ Aneurysm
การให้สารน้ำโดยรีบด่วนและรีบนำผู้ป ่วยเข้าสู่ห้องผ่าตัดโดยเร็วที่สุด
ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการของการแตกของ Aneurysm
วิธีผ่าตัด
การผ่าตัดใหญ่แบบเปิด(open surgery) ถือเป็นการผ่าตัดที่เป็นมาตรฐาน โดยผ่าตัดผ่านทางช่องทรวงอก หรือช่องท้องขึ้นกับตำแหน่งพยาธิสภาพของหลอดเลือดแล้วใส่หลอดเลือดเทียมทดแทน วิธีนี้ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาล 10-14 วัน ใช้เวลาพักฟื้น 3-6 เดือน
Endovascular aortic stenting การผ่าตัดด้วยวิธีการสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้มด้วยขดลวด(Stent Graft) ผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบเพื่อสอดหลอดเลือดเทียมเข้าไปใส่แทนที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่โป ่งพองในช่องอกหรือช่องท้อง เป็นทางเลือกใหม่ ที่เริ่มใช้ในภายหลังเหมาะส าหรับผู้ป ่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัดใหญ่ซึ่งการผ่าตัดวิธีหลังนี้จะมีแผลผ่าตัดขนาดเล็ก ลดอัตราการเสี่ยงและการให้เลือดนอนโรงพยาบาล 3-5 วัน
Cerebral aneurysm โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง การโป่งพองของหลอดเลือดสมองอาจเป็นหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดด าก็ได้ส่วนมากเป็นหลอดเลือดแดงโป่งพอง ชนิดจริง (true aneurysm) ส่วนชนิดปลอม (false aneurysm)มักเกิดจากการฉีกขาดของหลอดเลือดทุกชั้นทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อเยื่อรอบ ๆ
อาการและอาการแสดงจะมีอาการผิดปกติทางระบบประสาท ซึ่งที่พบบ่อยที่สุด คืออาการปวดหัวอย่างรุนแรงที่สุดในชีวิตแบบไม่เคยเป็นมาก่อน และเป็นขึ้นแบบทัน ทีทันใด ร่วมกับอาการต่างๆดังต่อไปนี้
คลื่นไส้อาเจียน
คอแข็ง (Stiffness of neck)
ตามัว มองเห็นไม่ชัด
ชัก
หนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น
สับสน
หมดสติโคม่า
อาจเสียชีวิตทันที
การรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพองในสมอง
การรักษาทางยา
การรักษาโดยการผ่าตัด
รังสีร่วมรักษาโดยอุดหลอดเลือด ( theraputic endovascular embolization)
การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด
1.1 การพยาบาลด้านจิตใจ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติได้ซักถาม ปลอบโยนให้กำลังใจและอธิบายเกี่ยวกับโรคและการรักษาตามความเหมาะสม
1.2 การพยาบาลด้านร่างกาย ให้ผู้ป่วยงดน้ำงดอาหารก่อนผ่าตัด โกนศีรษะและทำความสะอาดหนังศีรษะ จดบันทึกอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด เพื่อเปรียบเทียบกับหลังผ่าตัดว่าดีขึ้นหรือเลวลง ผู้ป่วยหรือญาติต้องลงนามในใบยินยอมการผ่าตัดให้เรียบร้อย ซักประวัติตรวจสอบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การจองเลือด ผลการถ่ายภาพรังสีสมอง สวนปัสสาวะคาและต่อลงถุงที่ปิดสนิทก่อนส่งผู้ป่วยไปห้องผ่าตัด
การพยาบาลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด
2.1 การพยาบาลใน 24 ชั่วโมงแรก
2.1.1 ควรให้ผู้ป่วยนอนพักนิ่งๆ บนเตียง ให้นอนหงายราบหรือนอนตะแคงข้างที่ไม่ได้ทำการผ่าตัด โดยใช้หมอนรองศีรษะไว้
2.1.2 เมื่อผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัวให้ยกหมอนสูงได้เล็กน้อย ประมาณ 10 องศา
2.1.3 บันทึกสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัวและอาการทางระบบประสาททุก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที2 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมงจนอาการปกติ
2.1.4 สังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น อาการกระสับกระส่าย ปวดศีรษะ มึนศีรษะ
2.1.5 ในผู้ป ่วยผ่าตัดสมองทุกรายควรให้ออกซิเจน และดูแลการหายใจให้เป็นไปตามปกติ
2.2 การพยาบาลหลัง 24 ชั่วโมง
2.2.1 การทำแผลด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ
2.2.2 การให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
2.2.3 ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวหรือรู้สึกตัวแต่แขนขาอ่อนแรงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ต้องช่วยพลิกตะแคงตัวทุก2 ชั่วโมง นวดตามปุ่มกระดูกที่อาจเกิดแผลกดทับได้ดูแลผิวหนังให้แห้งอยู่เสมอ
2.2.4 แนะน าและช่วยให้ผู้ป ่วยมีการออกก าลังของแขนขา ข้อต่อต่างๆ ป้องกันข้อติดแข็งและช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตด
2.2.5 ดูแลให้รับประทานอาหารอย ่างเพียงพอ ในรายที่กลไกการกลืนไม่ปกติต้องให้อาหารทางสายยาง
2.2.6 แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีกากและดื่มน้ำมากๆ (ในรายที่ไม่จำกัดน้ำ) เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
2.2.7 แนะนำไม่ให้ผู้ป่วยเบ่งถ่ายอุจจาระ เพราะจะทำให้เกิดความดันในกะโหลกศีรษะสูง แพทย์บางท่านอาจให้ยาระบายหรือยาเหน็บทางทวารหนัก
2.2.8 ไม่ควรสวนอุจจาระให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองเป็นโรคที่มีพยาธิสภาพของหลอดเลือดโดยตรง