Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะ SHOCK, นางสาวณัฐพร ลาดหนองขุ่น 6201110801022 - Coggle Diagram
ภาวะ SHOCK
ช็อก หมายถึง ภาวะผิดปกติของระบบไหลเวียนทำให้เนื้อเยื่อในร่างกายได้รับเลือดไม่เพียงพอ จึงขาดออกซิเจนและอาหาร และไม่เพียงพอที่จะขับของเสียออกจากกระบวนการ Metabolism ออกจากเซลล์ ช็อก คือ ภาวะของ Inadequate tissue perfusion
ภาวะช็อก (shock, circulatory shock) เป็นภาวะทางการแพทย์ซึ่งอันตรายและมีอันตรายถึงชีวิต เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในระยะแรกส่วนใหญ่ทำให้มีระดับออกซิเจนในเนื้อเยื่อต่างๆ ไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้ทำงานได้ไม่ปกติ
การลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ อาศัยเลือด การลดลงของการไหลเวียนของเลือดจึงทำให้การนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆ ลดลงไปด้วย จึงเป็นสาเหตุที่สำคัญสาเหตุหนึ่งของช็อก
ผลของภาวะช็อกมีหลายอย่าง ทั้งหมดสัมพันธ์กับภาวะซึ่งระบบไหลเวียนโลหิตทำหน้าที่ได้ไม่เพียงพอ เช่น อาจทำให้มีออกซิเจนในเลือดต่ำ หรือหัวใจหยุดเต้นได้
ชนิดของภาวะช็อก
1.Hypovolemic Shock มีสาเหตุจากการเสียเลือด สารเหลวรวมทั้งสารอิเลคโตรลัยท์ในระบบไหลเวียนเลือด เช่นการตกเลือด ท้องร่วงรุนแรง ลำไส้อุดตัน บาดแผลไฟไหม้รุนแรง
2.Cardiogenic Shock มีสาเหตุมาจากการทำงานของหัวใจในการสูบฉีดเลือดผิดปกติเช่น หัวใจขาดเลือด( MI), หัวใจเต้นผิดปกติ (Arrhythmia) หัวใจวาย Pulmonary embolism ,และ Cardiac temponade
3.Vasogenic shock มีสาเหตุมาจากการขยายตัวของหลอดเลือดส่วนปลาย เช่น neurogenic shock หรือ Spinal shockที่เกิดขึ้นภายหลังการบาดเจ็บที่ C-Spine ในระดับที่สูงกว่า T4 หรือSeptic shock จากการติดเชื้ออย่างรุนแรง
พยาธิสภาพ
-
-
3.Systemic vascular resistance ต่ำจากvasodilatation ซึ่งทำให้เลือดตกค้าง ( pooling)อยู่ใน microcirculation ( เช่น Septic shock )หรือใน Capacitance vessel (เช่น Neurogenic shock )เมื่อเซลล์ในเนื้อเยื่อขาดออกซิเจนพลังงานที่ได้จากกลูโคสจะลดลงมากเพราะ ปฏิกิริยาเป็นแบบ anaerobic เนื้อเยื่อยังสะสมสารจาก metabolism รวมทั้งLactic acid จนเกิด Acidosis การขาดพลังงานทำให้ metabolism ต่างๆของเซลล์เสื่อม รวมทั้งระบบ Sodium pump โซเดียมจึงซึมเข้าเซลล์จนเกิดภาวะผิดปกติของเกลือแร่ถ้าช็อกได้รับการรักษาอย่างรีบด่วน เซลล์ในเนื้อเยื่อสามารถฟื้นกลับสู่สภาวะปกติได้แต่ถ้าช็อกเป็นมานานเซลล์จะถูกทำลายจนอวัยวะวาย และผู้ป่วยอาจเสียชีวิตในที่สุด
อาการ อาการแสดง
อาการและอาการแสดงของช็อกเป็นการแสดงออกของ Low peripheral blood flow ร่วมกับการตอบสนองของร่างกายเกี่ยวกับAdreno-sympathetic activity ซึ่งมีอาการแสดงดังนี้
หลอดเลือดบริเวณผิวหนัง ท้อง ลำไส้ ตับ ไต ปอด หดตัว เพื่อให้มีเลือดไปเลี้ยงสมองและหัวใจพอเพียง ทำให้มีผิวหนังซีด เย็น มีเหงื่อออก ปัสสาวะน้อยลง และถ้าอาการรุนแรงขึ้นจนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ผู้ป่วยจะเริ่มสับสน ระดับความรู้สึกตัวจะลดน้อยลง หัวใจเต้นแรงและเร็วขึ้นหายใจเร็วและแรงขึ้น
หลักการดูแล
การรักษามุ่งไปที่การให้สารน้ำทดแทนปริมาตรของสารน้ำในระบบไหลเวียนโลหิตที่
หายไป โดยให้ สารน้ำชนิด Balanced salt เช่น0.9%NSS หรือLRS , Acetar ตามด้วยการให้เลือด โดยมีหลักการดังนี้Maintain airway และ Adequateventilationชดเชยเลือดหรือน้ำและเกลือที่เสียไปอย่างรีบด่วน ปริมาณและอัตราของเลือดและน้ำเกลือที่ให้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของช็อก
ในกรณีเร่งด่วน การแก้ไขภาวะระบบไหลเวียน (ควรทำเป็นแนวทางการให้การรักษาของแต่ละโรงพยาบาล) คือ รีบให้ 0.9%NSSหรือ LRS หรือ Acetar ทางหลอดเลือดดำด้วยเข็มขนาดใหญ่ ดูดเลือดส่งตรวจและจองเลือดถ้าผู้ป่วยช็อกหรือเสียเลือดมากควรรีบให้สารน้ำอย่างน้อย2 เส้น ในปริมาณ 2 ลิตรเริ่มต้นในผู้ใหญ่หรือ 20 ซีซีต่อกก. ในเด็กทันทีและดูผลการตอบสนองว่าเป็นอย่างไร เพื่อเป็นแนวทาง
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะความเป็นกรดที่รุนแรงในร่างกาย ทำให้เกิดการทำลายเซลล์ในอวัยวะต่างๆของร่างกาย และผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากภาวะ DIC (Disseminated Intravascular Coagulation) หรือภาวะที่มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นใน microcirculation ทั่วร่างกาย ดังนั้นการดูแลรักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก สิ่งสำคัญต้องแก้ไขคือภาวะHypovolemic และ Acidosis ให้ได้เร็วที่สุด
การพยาบาล
การรักษามุ่งไปที่การให้สารน้ำทดแทนปริมาตรของสารน้ำในระบบไหลเวียนโลหิตที่หายไป โดยให้ สารน้ำชนิด Balanced salt เช่น 0.9%NSS หรือLRS , Acetar ตามด้วยการให้เลือด โดยมีหลักการดังนี้
-
• ชดเชยเลือดหรือน้ำและเกลือที่เสียไปอย่างรีบด่วน ปริมาณและอัตราของเลือดและน้ำเกลือที่ให้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของช็อก
-
• ในกรณีเร่งด่วน การแก้ไขภาวะระบบไหลเวียน (ควรทำเป็นแนวทางการให้การรักษาของแต่ละโรงพยาบาล) คือ รีบให้ 0.9%NSS หรือ LRS หรือ Acetar ทางหลอดเลือดดำ ด้วยเข็มขนาดใหญ่ ดูดเลือดส่งตรวจและจองเลือด
• ถ้าผู้ป่วยช็อกหรือเสียเลือดมากควรรีบให้สารน้ำอย่างน้อย
2 เส้น ในปริมาณ 2 ลิตรเริ่มต้นในผู้ใหญ่ หรือ 20 ซีซีต่อกก. ในเด็กทันทีและดูผลการตอบสนองว่าเป็นอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาต่อไป
-