Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีกลุ่มโรควิตกกังวล - Coggle Diagram
การพยาบาลบุคคลที่มีกลุ่มโรควิตกกังวล
ความวิตกกังวล คือ สภาวะอารมณ์การตอบสนองต่อสิ่งที่ถูกคุกคาม เกิดความรู้สึกหวาดหวั่น ไม่สบายใจ กระวนกระวาย ไม่มั่นใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การตอบสนองจะมากหรือน้อยขึ้นกับการรับรู้ การคาดการณ์ล่วงหน้าของแต่ละบุคคล
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีววิทยา
1.3 สารชีวเคมี (biochemical)
1.4 สารสื่อประสาท (neurochemical)
1.2 กายวิภาคของระบบประสาท (neuroanatomical)
1.5 ภาวะการเจ็บป่วยทางกาย (medical condition)
1.1 กรรมพันธุ์ (genetic)
ปัจจัยทางจิตวิทยา
2.2 ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซัลลิแวน
2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ (cognitive behavior theory)
2.1 ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์(psychodynamic theory)
ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
อาการและอาการแสดงของความวิตกกังวล
.
อาการทางร่างกาย คือ กล้ามเนื้อตึงเครียด เหนื่อย กระสับกระส่าย ปากแห้ง หนาว มือและเท้าเย็น ต้องการปัสสาวะ ตาพร่า กล้ามเนื้อสั่นกระตุก หน้าแดง เสียงสั่น กระสับกระส่ายและอาเจียน หายใจลึกและถี่ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
อาการแสดงด้านจิตใจและอารมณ์ ผู้ที่มีอาการวิตกกังวลอาจแสดงออกอาการทางอารมณ์ที่มีความแตกต่างกันไปลักษณะอารมณ์ที่พบ ได้แก่ มีอาการกระสับกระส่าย หงุดหงิด ซึมเศร้าร้องไห้ โกรธ รู้สึกไม่มีสมาธิ
อาการแสดงด้านพฤติกรรม ได้แก่ เดินไปเดินมา ลุกลี้ลุกลน นั่งไม่ติดที่ เอามือม้วนเส้นผม ระมัดระวังตัวมากเป็นพิเศษ
อาการแสดงด้านความคิด ความจำ ได้แก่ สนใจสิ่งแวดล้อมลดลง ไม่มีสมาธิ ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นรอบตัว ทำให้วิตกกังวล หลงลืม สนใจสิ่งที่ผ่านมามากกว่าเรื่องที่กำลังจะเกิดขึ้น มีอาการครุ่นคิด
ระดับของความวิตกกังวล
วิตกกังวลระดับปานกลาง (Moderate anxiety) จะมีการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆ ทั้งการมองเห็นการฟังมีประสิทธิภาพลดลง ความสนใจและสมาธิลดลง การรับรู้แคบลง บุคคลจะมีอาการพูดเสียงสั่นๆ พูดเร็วขึ้น เริ่มมีอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ยังมีความสามารถแก้ไขปัญหาได้แต่ต้องใช้สมาธิมากขึ้น
วิตกกังวลระดับสูง (Severe anxiety) บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับสูงจะรับรู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้น้อยลง ความสนใจจดจ่ออยู่กับแค่บางสิ่งบางอย่าง ไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ต้องการพูดได้ พูดจาไม่รู้เรื่อง กระบวนการคิดไม่ดี สับสน อาจจะเกิดช่วงก่อนที่บุคคลจะมองหาความช่วยเหลือ
วิตกกังวลระดับน้อย (Mild anxiety) ความวิตกกังวลในระดับน้อยสามารถเกิดได้ในชีวิตประจำวัน จะมีลักษณะตื่นตัวดี กระตือรือร้น สามารถสังเกตการณ์สิ่งแวดล้อมต่างๆได้ดี เรียนรู้ได้ดี มีความคิดริเริ่ม สามารถมองเห็นความเกี่ยวเนื่องของเหตุการณ์และอธิบายเรื่องราวต่างๆ ให้คนอื่นทราบได้อย่างชัดเจน
วิตกกังวลระดับรุนแรง (Panic state) บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับหวาดกลัวรุนแรงความสามารถ ในการรับรู้จะหยุดชะงัก พูดไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีความสามารถใน การทำสิ่งต่างๆ ความรู้สึกตัว อารมณ์ผิดปกติ การรับรู้ผิดไปจากความเป็นจริง
วิตกกังวลระดับปกติ (Normal) เป็นความรู้สึกของบุคคลที่แสดงออกมาให้บุคคลรับรู้ว่า มีความไม่สบายใจ มีความรู้สึกหวาดหวั่น ซึ่งเป็นระดับที่บุคคลจะรู้สึกต้องเตรียมพร้อมในการป้องกันตนเองจากสิ่งที่คุกคาม
ลักษณะของความวิตกกังวล
Trait –anxiety or A –trait (ความวิตกกังวลประจำตัว)
State- anxiety or A-state (ความวิตกกังวลในขณะปัจจุบัน)
การบำบัดรักษา
การรักษาทางจิตสังคม
การบำบัดทางเลือก (Alternative therapy)
การรักษาด้วยยา
ชนิดของโรคในกลุ่มของโรควิตกกังวล
Panic disorder
1.ความรู้สึกกลัว หรือไม่สบายใจอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลารวดเร็วภายในไม่กี่นาทีและถึงระดับสูงสุดในระยะเวลา 10นาที จะต้องมีอาการแสดงเกิดขึ้นอย่างน้อย 4 อาการ
1.1 ใจสั่น หัวใจเต้นแรง หรืออัตราเต้นของหัวใจเร็ว
1.2 เหงื่อออกมาก
1.3 สั่นทั้งตัว
1.4 หายใจเร็วถี่
1.5 รู้สึกอยากอาเจียน
1.6 เจ็บแน่นหน้าอก
1.7 คลื่นไส้ ปั่นป่ วนในท้อง
1.8 รู้สึกวิงเวียน สมองตื้อ โคลงเคลง หรือจะเป็นลม
1.9 ร้อน ๆ หนาว ๆ ตามตัว
1.10 รู้สึกตัวชา หรือรู้สึกซู่ซ่ารู้สึกเหมือนไม่อยู่กับความจริง (Derealization) หรือไม่ใช่ตัวของตัวเอง (Depersonalization)
1.11 กลัวควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือเหมือนจะเป็นบ้า
1.12 กลัวตาย
อาการที่เกิดอย่างน้อยครั้งหนึ่ง จะต้องมีอาการอยู่เป็นเวลาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป โดยเกิดอาการใดอาการหนึ่ง หรือทั้ง 2 อาการ
2.1 กังวลตลอดเวลาว่าจะเกิดมีอาการขึ้นอีก เช่น การสูญเสียการควบคุม หัวใจหยุดเต้น อาการคล้ายจะเป็นบ้า
2.2 การแสดงพฤติกรรมการปรับตัวที่ไม่มีประสิทธิภาพจะเกี่ยวข้องกับการเกิดอาการ ได้แก่ การแสดงพฤติกรรมในการหลีกเลี่ยงการเกิดความกลัวอย่างรุนแรง (Panic attack)
อาการ panic attack ไม่ได้เกิดจากโรคจิตเวชอื่นๆ
อาการที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นผลต่อร่างกายจากการใช้สารต่าง ๆ
การรักษา
จิตบำบัด
การรักษาด้วยยา
Phobia disorder
โรคกลัวอยู่ในที่โล่ง หรือที่ชุมชน (Agoraphobia)
1.อาการเด่น คือ กลัว วิตกกังวล ตั้งแต่ 2 สถานการณ์จาก 5 สถานการณ์
1.1 การใช้ขนส่งมวลชน เช่น รถยนต์โดยสาร รถโดยสารประจ าทาง รถไฟ เรือเครื่องบิน
1.2 ที่โล่งกว้าง เช่น ลานจอดรถ ตลาด สะพาน
1.3 สถานที่ที่มีผู้คนมาก เช่น ร้านค้า โรงภาพยนตร์ โรงละคร
1.4 การเข้าคิวในแถว หรือสถานที่ที่มีคนหนาแน่น
1.5 การอยู่นอกบ้านคนเดียวตามลำพัง
บุคคลกลัวหรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์เหล่านี้เพราะมีความคิดว่าเป็นการยากที่จะหนี หรืออาจจะไม่ช่วยให้มีความพร้อมต่อเหตุการณ์ซึ่งอาจกลายเป็นอาการกลัวอย่างรุนแรง หรือการสูญเสียความสามารถ หรือการทำให้อับอาย เช่น กลัวการหกล้มในผู้สูงอายุ กลัวการควบคุมการถ่ายปัสสาวะไม่ได้
สถานการณ์กลัวอยู่ในที่โล่ง หรือที่ชุมชน
ความกลัว หรือความวิตกกังวล ไม่ใช่เป็นอันตรายที่แท้จริง จากสถานการณ์โรคกลัวอยู่ในที่โล่ง หรือที่ชุมชน และต่อบทบาททางสังคมวัฒนธรรม
ความกลัว ความวิตกกังวล หรือการหลีกเลี่ยงต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอย่างน้อย 6เดือนขึ้นไป
ความกลัว หรือความวิตกกังวลหรือการหลีกเลี่ยง เป็นสาเหตุการเจ็บปวดทางคลินิก หรือความบกพร่องในการใช้ชีวิตในสังคม การประกอบอาชีพ หรือการปฏิบัติหน้าที่ที่สำคัญอื่นๆ ในชีวิต ควรวินิจฉัยแยกโรคจากความเจ็บป่วยอื่น
โรคกลัวสังคม (Social phobia หรือ Social anxiety disorder)
บุคคลกลัวว่าตนเองจะแสดงวิธี หรือแสดงอาการวิตกกังวล ซึ่งจะถูกประเมินภาพลบ
สถานการณ์ทางสังคมจะเป็นสาเหตุให้เกิดความกลัว และความวิตกกังวล
กลัวอย่างชัดเจน หรือวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในสังคม ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกกำลังถูกเฝ้ามองในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
หลีกเลี่ยงสถานการณ์ในสังคม หรืออดทนต่อความกลัวหรือความวิตกกังวลอย่างมาก
ความกลัว หรือความวิตกกังวล ไม่ใช่การถูกคุกคามจากสถานการณ์ในสังคม และจากบริบททางสังคมวัฒนธรรม
ความกลัว ความวิตกกังวล หรือการหลีกเลี่ยงต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอย่างน้อย 6เดือนขึ้นไป
ความกลัว หรือความวิตกกังวล หรือการหลีกเลี่ยง เป็นสาเหตุการเจ็บปวดทางคลินิก หรือความบกพร่องในการใช้ชีวิตในสังคม
อาการไม่ใช่ลักษณะผลของร่างกายที่เกิดจากการใช้สาร
โรคกลัวสิ่งเฉพาะเจาะจง (Specific phobia)
วัตถุหรือสถานการณ์ที่กลัว จะกระตุ้นให้เกิดความกลัว หรือความวิตกกังวล เกือบทุกครั้ง
วัตถุหรือสถานการณ์ที่กลัวเป็นการหลีกเลี่ยงที่รวดเร็ว หรือต้องอดทนกับความกลัว หรือความวิตกกังวลอย่างมาก
กลัวอย่างชัดเจน หรือวิตกกังวลเกี่ยวกับวัตถุหรือสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง
วัตถุหรือสถานการณ์ที่กลัวเป็นการหลีกเลี่ยงที่รวดเร็ว หรือต้องอดทนกับความกลัว หรือความวิตกกังวลอย่างมาก
ความกลัวหรือความวิตกกังวลไม่ใช่เกิดจากอันตรายจากวัตถุ หรือจากบริบททางสังคมวัฒนธรรม
ความกลัว ความวิตกกังวล หรือการหลีกเลี่ยงต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอย่างน้อย 6เดือนขึ้นไป
ความกลัว ความวิตกกังวล หรือการหลีกเลี่ยง เป็นสาเหตุการเจ็บปวดทางคลินิก หรือความบกพร่องในการใช้ชีวิตในสังคม
การรักษา
Specific phobia ใช้วิธีExposure therapy
Social phobia ใช้วิธีการท าจิตบ าบัดร่วมกับการใช้ยา
Generalized Anxiety Disorders (GAD)
อาการ
ความวิตกกังวลมากผิดปกติจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป จะเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือกิจกรรมต่าง ๆ
ผู้ป่วยพบว่า ยากที่จะควบคุมความกังวล
.
ความกังวลจะเกี่ยวข้องกับอาการอย่างน้อย 3 อาการจากทั้งหมด 6 อาการและอย่างน้อยอาการที่เกิดขึ้นได้เกิดมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน
3.1 กระสับกระส่าย
3.2อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
3.3 มีปัญหาด้านสมาธิ หรือใจลอย
3.4 หงุดหงิดง่าย
3.5 ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตึงเครียดตามกล้ามเนื้อ
3.6 มีปัญหาการนอน (หลับยาก นอนหลับตลอดเวลา หลับ ๆ ตื่น ๆ นอนหลับไม่สนิท)
ความวิตกกังวล หรืออาการทางกายเป็นสาเหตุให้มีอาการทางคลินิก หรือบกพร่องในการเข้าสังคมการประกอบอาชีพ หรือการทำหน้าที่ที่สำคัญอื่น ๆ ในชีวิต
การรักษา
จิตบำบัด
การรักษาด้วยยา Benzodiazepine
ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมากผิดปกติต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต ได้แก่ การกลัวเกิดเหตุการณ์ร้าย ๆกับบุคคลที่ใกล้ชิด
Obsessive Compulsive Disorders (OCD)
แสดงอาการย้ำคิด หรืออาการย้ำทำ หรือแสดงทั้งอาการย้ำคิด ย้ำทำ
ย้ำคิด (Obsessions)
1.1 มีความหมกมุ่น โดยเกิดขึ้นซ้ำๆ มากระตุ้น หรือมโนภาพจากประสบการณ์ในบางเวลาระหว่างที่มีอาการ
1.2 ผู้ป่วยพยายามที่จะเพิกเฉย หรือหยุดยั้งความคิด การกระตุ้น หรือมโนภาพหรือต่อต้านด้วยความคิดหรือการกระทำ
ย้ำทำ (Compulsive)
1.1 พฤติกรรมที่ทำซ้ำ ๆ ซึ่งบุคคลจะรู้สึกมีแรงขับที่ปฏิบัติในการตอบสนอง
1.2 พฤติกรรม หรือการแสดงออกด้านจิตใจเพื่อที่จะป้องกัน หรือลดความกังวลหรือความทุกข์ทรมานใจมาก หรือป้องกันเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่น่ากลัว
การย้ำคิด หรือการย้ำทำ เป็นการกระทำที่ใช้เวลามากหรือเป็นสาเหตุของอาการแสดงทางคลินิกด้านทุกข์ทรมานใจมาก หรือความบกพร่องในการใช้ชีวิตในสังคม
การย้ำคิด-การย้ำทำจะไม่มีอาการทางร่างกายที่เป็นผลจากการได้รับสาร
การรักษา
พฤติกรรมบำบัด จะใช้หลัก Exposure และ Response prevention
การรักษาด้วยยา ยากลุ่ม SSRI