Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช บุคคลที่มีกลุ่มโรค…
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
บุคคลที่มีกลุ่มโรคอาการทางกาย
กลุ่มโรคอาการทางกาย (somatic symptom and related disorders) บุคคลที่มีปัญหาทางด้านจิตใจหรือมีความกดดันทางด้านจิตใจแต่แสดงอาการของการมีปัญหาทางด้านจิตใจออกมาให้เห็นเป็นความเจ็บป่วยทางด้านร่างกาย สามารถอธิบายได้จากความเชื่อที่ว่า ร่างกาย จิตใจมีการทำงานสัมพันธ์กัน โดยเมื่อจิตใจมีความเจ็บป่วยก็จะส่งผลเชื่อมโยงให้เกิดปัญหาขึ้นที่ร่างกาย
ลักษณะอาการและอาการแสดง
โรค somatization disorder ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าร่างกายมีอาการผิดปกติหลายอย่างและมีความรุนแรงมากเกินจริงก่อนอายุ 30 ปี อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เรื้อรังนานหลายปี โดยไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติของร่างกาย หรือหากตรวจพบความผิดปกติทางร่างกายก็ไม่เพียงพอที่จะเป็นสาเหตุของอาการเหล่านั้นที่เกิดขึ้นได้และอาการผิดปกติที่ เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เป็นผลมาจากยา สารเสพติด การแสร้งหรือจงใจทำให้เกิดขึ้น โดยมีอาการครบตามลักษณะของโรค somatization disorder ซึ่งมีดังต่อไปนี
.
1) มีอาการปวด (pain) อย่างน้อย 4 ตำแหน่งพร้อมกัน เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ปวดหลัง ปวดข้อแขนขา ปวดท้องขณะมีประจำเดือน ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ ปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
2) มีอาการของระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal symptom) อย่างน้อย 2 อาการ เช่น คลื่นไส้ แน่นท้อง อาเจียน ท้องเดิน
3) อาการทางเพศ (Sexual symptom) อย่างน้อย 1 อาการ เช่น เฉื่อยชาทางเพศ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
4) อาการที่คล้ายโรคทางระบบประสาท (pseudo neurological symptom) น้อย 1 เช่น การทรงตัว แขนขาไม่มีแรงหรือเป็นอัมพาต กลืนอาหารลำบาก พูดไม่มีเสียง ตามองไม่เห็น หูหนวก ชัก เป็นต้น
โรค Hypochondriasis ผู้ป่วยจะมีความกลัวหรือกังวลอย่างน้อย 6 เดือนว่าตนเองจะป่วยเป็นโรคร้ายโรคใดโรคหนึ่ง โดยที่ตนเองไม่มีการเจ็บป่วยนั้นจริง หรือบางครั้งตีความการทำงานตามปกติของร่างกายว่าเป็นอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงแม้ จะได้รับคำอธิบายหรือมีหลักฐานยืนยันจากแพทย์ว่าไม่ได้การเจ็บป่วยก็ตาม ผู้ป่วยก็ยังคงกังวลและครุ่นคิดว่าตนเองป่วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงสนใจกับร่างกายของตนเองมากมีความวิตกกังวลสูงเกี่ยวกับการป่วยของตนเอง หากร่างกายมีอะไรเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็จะทึกทักหรือตีความเอาว่าเกิดความผิดปกติขึ้นกับตัวเขา ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงหมกมุ่น แยกตัวจากสังคม ไม่ปฏิบัติงานที่ควรปฏิบัติได้ หรือปฏิบัติตนเป็นคนป่วยตลอด มักไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์บ่อย ๆ แต่ผู้ป่วยก็คิดว่าไม่ได้ช่วยให้อาการของตนดีขึ้น ส่งผลทำให้มีอารมณ์เศร้า ไม่พอใจการรักษา และต้องการเปลี่ยน ผู้รักษาไปหาคนใหม่ (doctor shopping)
สาเหตุ
โรค somatization disorder ยังไม่ทราบแน่ชัดแต่พบว่า
1) ปัจจัยด้านชีวภาพ
การทำงานที่น้อยกว่าปกติของสมองส่วนหน้า (frontal lope) และสมองซีกไม่เด่น (non–dominant hemisphere)
พันธุกรรม
ผู้ป่วยมีความผิดปกติของระดับการใส่ใจ (attention) การรู้คิดและเข้าใจ(cognition)
2) ปัจจัยทางจิตสังคม
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
อาการแสดงทางร่างกายเป็นการสื่อแทนความรู้สึกภายในจิตใจ ในการ
หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบหรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่ต้องทำ เป็นการแสดงความโกรธหรือความก้าวร้าวภายในจิตใจที่มีหรือเป็นการเก็บกดความต้องการของตนลงไปในจิตไร้สำนึก
ทฤษฎีการเรียนรู้
อาการแสดงทางร่างกายที่เกิดขึ้น เป็นการรับแบบอย่างมาจากพ่อแม่
การอบรมสั่งสอน หรือเกิดจากวัฒนธรรมประเพณีบ้างอย่างที่สนับสนุนให้มีการแสดงออกทางอาการผิดปกติด้านร่างกายแทนการแสดงถึงอารมณ์หรือความต้องการภายในจิตใจของตนเอง
.
.- โรค hypochondriasis ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบปัจจัยเสี่ยงในการเกิด hypochondriasis ดังนี้
1) ถูกกระตุ้นได้ด้วยความเครียดหรือปัญหาชีวิต
2) มีประวัติถูกกระทำทารุณในวัยเด็ก
3) มีประวัติเจ็บป่วยร้ายแรงในวัยเด็กหรือเรียนรู้ที่จะใช้บทบาทการเป็นผู้ป่วยในการแก้ปัญหาชีวิต
4) มีแปลความรู้สึกของร่างกายผิดปกต
การบำบัดรักษา
โรค hypochondriasis โดยทั่วไปในผู้ป่วยโรคนี้การบำบัดด้วยยาไม่ค่อยได้ผล ผู้ป่วยอาจจะได้รับยาแก้ต้านเศร้าที่อาจช่วยให้อาการดีขึ้นบ้าง นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาด้วยจิตบำบัดอาจเป็นจิตบำบัดแบบกลุ่ม
โรค somatization disorder ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงในโรคนี้ แต่ผู้ป่วยจะได้รับการบำบัดตามปัญหาของผู้ป่วยเป็นรายๆไป
การพยาบาล
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
หลังรวบรวมข้อมูลอาจพบว่ามีปัญหาต่าง ๆที่ต้องการความช่วยเหลือบำบัดทางการพยาบาล
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการยอมรับปัญหาที่แท้จริงของตนเอง และหาแนวทางในการจัดการปัญหาของตนได้อย่างเหมาะสม
1) การประเมินสภาพ
ด้านจิตใจ
มุ่งเน้นทางด้านอารมณ์และความคิดเป็นสำคัญ
อาการต่าง ๆที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยนั้นเขารู้สึกอย่างไร
ด้านสังคม
ประเมินแรงกดดันที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดอาการต่าง ๆมากขึ้น เพื่อจะช่วยให้พยาบาลเข้าใจและหาแนวทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไป
ด้านร่างกาย
ได้รับการตรวจร่างกายทั่วไปอย่างถี่ถ้วน เพื่อความ
ชัดเจนว่าผู้ป่วยไม่มีการเจ็บป่วยทางร่างกายจริง
การรวบรวมข้อมูลที่เป็นปัญหาด้านร่างกายของผู้ป่วยจึงต้อง
ระมัดระวัง และมีการส่งต่อข้อมูล
4) การประเมินผลทางการพยาบาล
สามารถประเมินได้จากการบอกกล่าวของผู้ป่วยเอง ครอบครัวผู้ป่วยหรือจากการสังเกตของพยาบาล ข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่าการพยาบาลได้ผลทางบวก