Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หอยมรกตแห่งเกาะตาชัย กระบวนการเกิดสปีชีส์ใหม - Coggle Diagram
หอยมรกตแห่งเกาะตาชัย
กระบวนการเกิดสปีชีส์ใหม
กระบวนการเกิดสปีชีส์ใหม่
คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากสปีชีส์
หนึ่งโดยการแตกแขนงออกเป็นสปีชีสใหม่ ก่อให้เกิดการเพิ่มจำนวนสปีชีส์มากขึ้น เรียกกระบวนการนี้ว่า สปีซิเอชั่น
การเกิดหอยมรกตแห่งเกาะ
ตาชัย
ในอดีตผืนแผ่นดินของไทยกับชวา บอเนียว และสุมาตรา เคยเป็นผืนเดียวกัน กระทั่งเมื่อสองหมื่นล้านปีก่อนเกิดเหตุการณ์น้ำทะเลขึ้นสูง ทำให้ผืนแผ่นดินเริ่มแยกออกจากกัน เริ่มเกิดเกาะเล็กเกาะน้อย และในที่สุดเมื่อ 4,000 ปีก่อน น้ำทะเลสูงขึ้นจนผืนแผ่นดินทางภาคใต้ของประเทศไทยปรากฏเป็นด้ามขวานอย่างชัดเจน ในตอนนั้นหอยทากแ อ ม ฟิ โ ด ร มั ส อ า ล ติ คั ล โ ล ซั สซึ่งหากินอยู่บริเวณแผ่นดิน ได้ถูกแยกออกมาอยู่บนแผ่นดินใหม่ที่กำลังกลายเป็นเกาะเพราะน้ำทะเลมาล้อมรอบ ขณะที่ส่วนหนึ่งยังคงอยู่บนแผ่นดินใหญ
หอยทากแอมฟิโดรมัส อาลติคัลโลซัส ที่อยู่บนแผ่นดินเดิมยังคงหากินและสืบพันธุ์ตามปกติ โดยยังคงมีจำนวนประชากรของหอยเวียนซ้าย-เวียนขวาอย่างสมดุล แต่หอยที่ถูกแยกออกมาอยู่บนผืนแผ่นดินใหม่ที่เป็นเกาะมีน้ำทะเลล้อมรอบ ต้องมีการปรับตัวเพื่อเอาชีวิตรอด ปริมาณอาหารที่มีน้อยลง ทำให้หอยทากแอมฟิโดรมัส อาลติคัลโลซัส ที่ติดเกาะจึงมีขนาดตัวเล็กลงเรื่อยๆ และจำนวนงูกินทาก ศัตรูตัวฉกาจที่มีอยู่มากได้ควบคุมประชากรหอยทากเวียนขวาให้ลดน้อยลงจนหายไปในที่สุด กลายเป็นหอยแอมฟิโดรมัส คลาซิเรียส ที่มีเปลือกเวียนซ้ายทั้งหมด ตัวมีขนาดเล็กลง มีฟันเปลี่ยนไป และอวัยวะเพศหด สั้นลง จึงไม่สามารถผสมพันธุ์กับหอย แอมฟิโดรมัสอาลติคัลโลซัส สปีชีส์ดั้งเดิมได้ จึงถือเป็นหอยแอมฟิโดรมัส สปีชีส์ใหม่อย่างสมบูรณ์
เวียนซ้าย-เวียนขวา นำไปสู่
การเกิดสปีชีส์ใหม่
การเวียนซ้าย เวียนขวาของ
เปลือกเป็นลักษณะที่ถูกถ่ายทอดต่อกัน
มารุ่นแล้วรุ่นเล่า โดยมีโครงสร้างทาง
พันธุกรรมที่เรียกว่า “ยีน” เป็นตัวควบคุม
ลักษณะ หอยมักผสมพันธุ์กับพวกที่มี
เปลือกเวียนข้างเดียวกัน เนื่องจากกลไก
การผสมพันธุ์ของหอยทากบก เวลาจับคู่
จะหันหัวเข้าหากัน โดยยื่นช่องสืบพันธุ์
เข้าชิดกัน แล้วสอดอวัยวะสืบพันธุ์เข้าหา
กัน หอยที่มีเปลือกเวียนขวาจะมีกลุ่ม
อวัยวะสืบพันธุ์อยู่ทางช่องสืบพันธุ์ด้าน
ขวาตรงส่วนหัว หอยเปลือกเวียนซ้ายก็จะ
มีอวัยวะสืบพันธุ์อยู่ทางช่องสืบพันธุ์ด้าน
ซ้ายตรงส่วนหัว หอยที่เปลือกเวียนข้าง
เดียวกันจะสามารถผสมพันธุ์กันสำเร็จ
ถ้าเวียนต่างกันมักจะไม่พบจับคู่กัน
เนื่องจากช่องเปิดอยู่ตรงข้ามกัน การผสม
พันธุ์จึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก
นอกจากนี้การศึกษาร่างกายของ
หอย พบว่า อวัยวะสืบพันธุ์ของหอยที่มี
เปลือกเวียนต่างกัน มีลักษณะหลาย
อย่างที่มีความผันแปร เช่น ความยาวไม่
เท่ากัน ทำให้หอยไม่สามารถผสมข้ามกัน
ได้ระหว่างพวกที่มีลักษณะเปลือกที่เวียน
ต่างกัน สิ่งนี้เองที่นำไปสู่การแบ่งแยก
ทางการผสมพันธุ์ จนในที่สุดเกิดเป็นชนิด
ใ ห ม่ ขึ้ น ไ ด้ ซึ่ ง น ำ ไ ป สู่ ก า ร แ บ่ ง แ ย ก
ท า ง ก า ร ผ ส ม พั น ธุ์
และการเกิดสปีชีส์ใหม่
ในที่สุด
ข้อมูลทางกายวิภาคศาสตร์ และภาพ x-ray ของงูกินหอยทากแสดงให้เห็นว่า
ฟันขากรรไกรด้านขวามีความถี่ของซี่ฟันมากกว่าด้านซ้าย เหมาะที่จะใช้กินหอยที่มี
เปลือกเวียนขวา งูจะจับหอยเปลือกเวียนขวาบนต้นไม้แล้วกินได้ 100% แต่ไม่
สามารถจับกินหอยเปลือกเวียนซ้ายได้เลย ทำให้หอยเวียนซ้ายมีจำนวนมากขึ้น โดย
เฉพาะหอยต้นไม้ ซึ่งแทบจะไม่พบเลยในหอยทะเล งูจึงเป็นปัจจัยหนึ่งในการคัดสรร
ทางธรรมชาติ
ที่มาของชื่อหอยมรกต
หอยมรกตแห่งเกาะตาชัย มีชื่อ
วิทยาศาสตร์ว่า แอมฟิโดรมัส คลาซิ
เรียส
ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม
ราชกุมารี พบที่เดียวคือเกาะตาชัย
นอกชายฝั่งจังหวัดพังงาไปประมาณ
30 กิโลเมตร ลักษณะของหอยชนิด
ย่อยนี้ มีลักษณะเปลือกเวียนซ้ายที่
พบทั้งประชากร ในขณะที่สปีชีส์
ดั้งเดิม คือ แอมฟิโดรมัส อาลติคัล
โลซัส
มีการเวียนทั้งซ้ายและขวา