Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการส่งเสร…
แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพทางการพยาบาล Pender’s Health Promotion Model and Its Applications in Nursing Practice
มโนทัศน์ของเมตาพาราดามทางการพยาบาลตามแนวคิดแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพ (Metaparadigm concepts as defined in health promotion model)
มโนทัศน์ของเมตาพาราดามทางการพยาบาล ประกอบด้วย บุคคล (person)
สิ่งแวดล้อม (environment) สุขภาพ (health) และการพยาบาล (nursing)
ซึ่งตามแนวคิด แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพ เพนเดอร์และคณะอธิบายว่า
1) บุคคล เป็นแกนหลัก ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ บุคคลแต่ละคนมีลักษณะส่วนตัวแตกต่างกัน และประสบการณ์ที่ได้รับแตกต่างกันซึ่งมีผลต่อการปฏิบัติพฤติกรรม อีกทั้ง บุคคลมีการเรียนรู้พฤติกรรมสุขภาพภายในบริบทของครอบครัว และชุมชน
2) สิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมระหว่างบุคคล และสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมที่บุคคลนั้นอาศัย
-
4) การพยาบาล เพนเดอร์ไม่ได้นิยามการพยาบาลโดยตรง
แต่กล่าวถึงบทบาทของการพยาบาลภายในบริบทของการสร้างเสริมสุขภาพ
ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญและมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล
ได้แก่ การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ
การสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตน การสร้างเสริมประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการจัดการกับอุปสรรคเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ และคณะ (Pender, 2002) พบว่ามีทั้ง ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางและทางอ้อมต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และจากการทบทวนวรรณกรรม เกี่ยวกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามกรอบแนวคิดของเพนเดอร์ในต่างประเทศ พบว่า ตัวแปร ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติในสัดส่วนที่สูง คือ การรับรู้ความสามารถแห่งตน การรับรู้ อุปสรรคพฤติกรรมในอดีตที่เกี่ยวกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ลักษณะส่วนบุคคล การรับรู้ ประโยชน์ อิทธิพลด้านสถานการณ์ และอิทธิพลด้านบุคคล ดังเช่น Suwannaroop ศึกษาในกลุ่ม ผู้สูงอายุ โดยใช้ลักษณะส่วนบุคคล อิทธิพลด้านบุคคล การรับรู้สถานะด้านสุขภาพ เป็นตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 60
ปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามแนวคิดของเพนเดอร์ (Pender, 1996) ประกอบไป ด้วยดังนี้
1) ประสบการณ์และลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ประกอบด้วยพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องใน อดีต ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น เพศ อายุแรงจูงใจ ความสามารถของตนเองในการกระท ากิจกรรม วัฒนธรรม เชื้อชาติการศึกษา เป็นต้น
2) ความคิดและความรู้สึกต่อพฤติกรรมเฉพาะ คือ การรับรู้ ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสร้าง เสริมสุขภาพ
การรับรู้ความสามารถของตนเอง กิจกรรมที่สัมพันธ์กับอารมณ์ อิทธิพลระหว่างบุคคล และอิทธิพลด้านสถานการณ์และ
3) ผลที่เกิดจากพฤติกรรม คือ พันธะสัญญาเพื่อวางแผนการกระทำ ความต้องการและความชอบ เพนเดอร์ (Pender, 1996) จึงได้กำหนดแบบแผนการสร้างเสริมสุขภาพ ประกอบไปด้วยพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ 6 ด้าน คือ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านการออกกำลังกาย ด้านโภชนาการ ด้านการเจริญทางจิตวิญญาณ ด้านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ ด้านการจัดการกับความเครียด
-
-
-