Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บท 5.2 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิต …
บท 5.2
การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยทางจิต
บุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ
ความหมาย
ความผิดปกติทางเพศ
(sexual dysfunctions)
ความผิดปกติที่รบกวนความสามารถ
ของบุคคลในการตอบสนองทางเพศ
หรือการมีควมสุขทางเพศ
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง
(gender dysphoria)
ความรู้สึกอึดอัดคับข้องใจที่เกิดจาก
ความไม่สอดคล้องกันของเพศที่จิตใจต้องการเป็นกับเพศกำเนิดที่เป็นอยู่
พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต
(paraphilic dysfunctions)
ความผิดปกติที่บุคคลมีจินตนาการ
อารมณ์เร้าทางเพศ หรือการแสดงออกทาง
พฤติกรรมทางเพศที่ไม่ใช่วิธีปกติที่คนทั่วไปกระทำ
ลักษณะอาการและอาการแสดง
ความผิดปกติทางเพศ
(sexual dysfunctions)
ภาวะหลั่งช้า (delayed ejaculation)
ความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งต้วของอวัยวะเพศชาย
หรือการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile disorder)
ความผิดปกติเกี่ยวกับความรู้สึกถึงจุดสุดยอดในหญิง
(female orgasmic disorder)
ความผิดปกติเกี่ยวกับความสนใจ/ความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศในหญิง ( female sexual interest/arousal disorders)
การเจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน/ความผิดปกติเมื่อมีการสอดใส (genitor-pelvic pain/penetration disorder)
การมีความต้องการทางเพศน้อยผิดปกติในชาย
(male hypoactive sexual desire disorder)
ภาวะหลั่งเร็วผิดปกติ(premature (early) ejaculation)
ความบกพร่องในการทำหน้าที่ทางเพศอันเป็นผลมาจากการใช้ยาหรือสารเสพติด(substance/medication-induced sexual dysfunction)
ความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศอื่นที่ไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัย (other specified sexualdysfunction)
ความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศที่ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้(unspecified sexual dysfunction)
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง
(gender dysphoria)
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศในเด็ก
(gender dysphoria in children)
เด็กผู้ชายจะชอบอย่างมากในการแต่งตัวคล้ายผู้หญิง
หรือแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าของผู้หญิง
ส่วนเด็กผู้หญิงจะชอบอย่างมากในการแต่งตัวคล้ายผู้ชาย
มีความชอบอย่างมากในการแสดงบทบาทของเพศตรงข้าม
ในการละเล่นต่างๆ หรือในการเล่นในจินตนาการ
มีความชอบอย่างมากในการเล่นของเล่น เกมส์ หรือกิจกรรมต่างๆ
ที่เป็นของเพศตรงข้าม
มีความต้องการอย่างมากที่จะมีเพื่อนเล่นเป็นเพศตรงข้าม
เด็กผู้ชายจะปฏิเสธการเล่นของเล่น เกมส์ หรือกิจกรรมที่เป็นของผู้ชาย และหลีกเลี่ยงการละเล่นที่รุนแรง ส่วนเด็กผู้หญิงจะปฏิเสธการเล่นของเล่น เกมส์ หรือกิจกรรมที่เป็นของผู้หญิง
มีความไม่ชอบอย่างมากในอวัยวะเพศของตน
มีความต้องการอย่างมากที่จะมีลักษณะทางเพศทั้งปฐมภูมิ (primary sex characteristics) และทุติยภูมิ (secondary sex characteristics)
ที่เหมือนกับเพศที่ต้องการ
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่
(gender dysphoria in adolescents and adult)
มีความไม่สอดคล้องกันอย่างชัดเจนของเพศที่ต้องการ
เป็นกับลักษณะทางเพศทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ
มีความต้องการอย่างมากที่จะกำจัดลักษณะทางเพศทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ
มีความต้องการอย่างมากที่จะมีลักษณะทางเพศทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิของเพศตรงข้ามกับเพศที่ถูกกำหนดมา
มีความต้อการอย่างมากที่จะเป็นเพศตรงข้ามกับเพศที่ถูกกำหนดมา
มีความต้องการอย่างมากที่จะให้ผู้อื่นปฏิบัติกับตนเหมือนที่ปฏิบัติ
กับเพศตรงข้ามกับเพศที่ถูกกำหนดมา
มีความต้องการอย่างมากที่จะทำให้ผู้อื่นเชื่อว่า ตนมีความรู้สึกและการแสดงออกแบบเดียวกับเพศตรงข้ามกับเพศที่ถูกกำหนดมา
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเองที่ไม่เข้าเกณฑ์การวินิฉัย (other specified gender dysphoria)
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเองที่ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ (unspecified gender dysphoria)
พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต
(paraphilic dysfunctions)
บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมาจากการแอบดูผู้อื่นเปลือยกายหรือมีเพศสัมพันธ์ (voyeuristic disorder) โดยที่บุคคลนั้นต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้เปิดเผย
อวัยวะเพศของตนให้บุคคลแปลกหน้าดู(exhibitionistic disorder)
บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้สัมผัสและเสียดสีกับผู้อื่นโดยที่เขาไม่ยินยอม (frotteuristic disorder)
บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้รับการดูถูกเหยียดหยาม ถูกดี ผูกมัด หรือได้รับความเจ็บปวดทรมานด้วยวิธีต่างๆ (sexual masochism disorder)
บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้เห็นผู้อื่นได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน (sexual sadism disorder)
บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้มีกิจกรรมทางเพศกับเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์(อายุ 13 ปี หรือน้อยกว่า) (pedophilic disorder) โดยบุคคลนั้นต้องมีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป และมีอายุมากกว่าเด็กอย่างน้อย 5 ปี
บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากกับวัตถุสิ่งของ (fetishistic disorder)
บุคคลมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศอย่างมากจากการได้แต่งตัว สวมเสื้อผ้าของเพศตรงข้าม (transvestic disorder)
บุคคลมีการแสดงออกของพฤติกรรมทางเพศที่วิปริต และส่งผลให้บุคคลเกิดความตึงเครียดและสูญเสียหน้าที่ทางสังคมและหน้าที่การงาน แต่มีอาการไม่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคดังกล่าวข้างต้น (other specified paraphilic disorders)
10) บุคคลมีการแสดงออกของพฤติกรรมทางเพศที่วิปริต และส่งผลให้บุคคลเกิดความตึงเครียดและสูญเสียหน้าที่ทางสังคมและหน้าที่การงาน แต่มีอาการไม่ครบตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรค (unspecified
paraphilic disorders paraphilic disorder)
สาเหตุของความผิดปกติทางเพศ
ความผิดปกติทางเพศ
(sexual dysfunctions)
1) ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหลั่งช้า
(delayed ejaculation)
อายุที่เพิ่มขึ้น การมาจากครอบครัว
ที่เคร่งครัดในเรื่องเพศ ความวิตกกังวล
ความเกลียดชังเพศหญิง
2) ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งต้วของอวัยวะเพศชาย หรือการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile disorder)
3) ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติเกี่ยวกับความรู้สึก
ถึงจุดสุดยอดในหญิง (female orgasmicdisorder)
พันธุกรรม, การเจ็บป่วยทางร่างกาย
4) ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติเกี่ยวกับความสนใจ/ความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศในหญิง (female
sexual interest/arousal disorders)
พันธุกรรม การเจ็บป่วยทางร่างกายและทางจิต
อายุที่เพิ่มขึ้น ภาวะหมดประจำเดือน การขาดฮอร์โมนเพศ
5) ปัจจัยที่มีผลต่อการเจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน/ความผิดปกติเมื่อมีการสอดใส
(genitor-pelvicpain/penetration disorder)
6) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีความต้องการทางเพศน้อยผิดปกติในชาย
(male hypoactive sexual desire disorder)
7) ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหลั่งเร็วผิดปกติ
(premature (early) ejaculation)
8) ปัจจัยที่มีผลต่อความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศ
อันเป็นผลจากการใช้ยา หรือ สารเสพติด
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง
(gender dysphoria)
1) ปัจจัยทางชีวภาพ
การมีระดับของฮอร์โมนของเพศตรงข้ามสูงกว่าปกติตั้งแต่ตั้งครรภ์
พันธุกรรม
2) ปัจจัยทางจิตสังคม
• ปัจจัยส่วนบุคคล
ลักษณะที่มีมาแต่กำเนิดของด็ก (temperament)
การเลี้ยงดูที่สนับสนุนการแสดงออก
• ปัจจัยด้านครอบครัวและสังคม
ทัศนคติของบิดามารดา
ลักษณะการเลี้ยงดูก็มีอิทธิพล
ต่อการพัฒนาเอกลักษณ์ทางเพศ
การเกลียดชังเพศของเด็ก
การไม่ห้ามปรามการแสดงออกของพฤติกรรม
ที่เป็นเพศตรงข้าม
การส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นเพศตรงข้ามให้แก่เด็ก
พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต
(paraphilic dysfunctions)
ปัจจัยทางชีวภาพ
ความสัมพันธ์ของความผิดปกติของฮอร์โมน androgenกับการเกิดอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศ หรือพบความผิดปกติของสมองส่วน temporal lobe
ในผู้ที่มีความผิดปกติในกลุ่มพฤติกรรมทางเพศที่วิปริต
ปัจจัยทางจิตสังคม แนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์
(psychoanalytic theory)
ความรู้สึกวิตกกังวลต่อการถูกตัดอวัยวะเพศในเด็ก (castration anxiety)
ทำให้เด็กหาวัตถุที่เป็นสัญญลักษณ์ของมารดาเพื่อใช้
ทดแทนความปลอดภัยของตน
การบำบัดรักษาของบุคคล
ที่มีความผิดปกติทางเพศ
ความผิดปกติทางเพศ
(sexual dysfunctions)
1) ภาวะหลั่งช้า (delayed ejaculation)
2) ความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งต้วของอวัยวะเพศชาย
หรือการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ(erectile disorder)
3) ความผิดปกติเกี่ยวกับความรู้สึกถึงจุดสุดยอดในหญิง
(female orgasmic disorder)
4) ความผิดปกติเกี่ยวกับความสนใจ/ความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศในหญิง (female sexual interest/arousal disorders)
5) การเจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน/ความผิดปกติเ มื่อมีการสอดใส (genitor-pelvic pain/penetration disorder)
6) การมีความต้องการทางเพศน้อยผิดปกติในชาย
(male hypoactive sexual desire disorder)
7) ภาวะหลั่งเร็วผิดปกติ(premature (early) ejaculation)
8) ความบกพร่องในหน้าทีทางเพศอันเป็นผลจกการใช้ยาหรือสารเสพติ(substance/medication-induced sexual dysfunction)
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง
(gender dysphoria)
การรักษาที่ตัวเด็กแบบรายคน
การรักษาครอบครัว
การรักษาแบบกลุ่ม
เป้าหมายคือการพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเพศเดียวกัน
และการคบเพื่อนเพศเดียวกัน
การรักษาผู้ใหญ่ที่เป็น gender dysphoria
การทำจิตบำบัด (psychotherapy)
การรักษาด้วยฮอร์โมนเพศร่วมกับการรักษาด้วยการผ่าตัด
พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต
(paraphilic dysfunctions)
1) การบำบัดทางชีวภาพ
ในการรักษาผู้ที่มีพฤติกรรมทางเพศที่วิปริตแบบย้ำทำ
voyeuristic, exhibitionistic,
frotteuristic, และ pedophilic disorders
การรักษาด้วยยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม SSRIs
fluoxetine, sertraline
การใช้ยาต้านฮอร์โมน
เพศชาย (antiandrogenic drugs)
medroxyprogesterone acetate (provera)
2) การบำบัดทางจิตสังคม
การทำจิตบำบัดแบบอิงการหยั่งรู้ (insight-oriented psychotherapy)
การบำบัดการปรับความคิดและพฤติกรรม (CBT)
การใช้พฤติกรรมบำบัด (behavioral therapy)
การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ
ความผิดปกติทางเพศ
(sexual dysfunctions)
1) การประเมินสภาพ
(assessment)
ประวัติทั่วไป เช่น โครงสร้างพื้นฐานของครอบครัว
ประวัติทางเพศในอดีต เช่น
การอบรมสั่งสอนเรื่องเพศจากบิดามารดา
ประวัติด้านสัมพันธภาพ เช่น การติดต่อสื่อสาร
การจัดการความขัดแย้ง
ประวัติทางเพศในปัจจุบัน เช่น เพศที่แท้จริง
เพศที่ต้องการเป็น รสนิยมทางเพศ
ประวัติการติตโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และ HIV/AIDS
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
(nursing diagnosis)
มีการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศ
เนื่องจากความวิตกกังวลว่าจะตั้งครรภ์
มีความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศจากการเจ็บป่วยด้วยโรคทางกาย
มีความบกพร่องในหน้ที่ทางเพศจากการถูกทารุณกรรม
ทางเพศในวัยเด็ก
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล
จัดสิ่งแวดล้อมที่มีความป็นส่วนตัวและรักษาความลับของผู้ป่วย
การตรวจร่างกายที่ต้องมีการสัมผัสร่างกายควรแจ้งให้ผู้ป่วย
ได้ทราบก่อน และควรมีผู้ช่วยอยู่ด้วย
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยบนพื้นฐานของความเชื่อถือไว้วางใจ
เคารพในความเป็นบุคคล และไม่ตัดสินผู้ป่วย
แจ้งให้ทราบถึงบทบาทของพยบาลในการประเมิน
และซักประวัติทางเพศอย่างครอบคลุม
สังเกตท่าทางการแสดงออก
ส่งเสริมบรรยากาศการสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ
ให้เป็นเรื่องธรรมดา(normalization)
ประเมินและซักประวัติอย่างครอบคลุมทั้งของผู้ป่วยและคู่ของผู้ป่วย
ให้คู่ของผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในการบำบัด
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของการเจ็บป่วย ภาวะสุขภาพ
และการใช้ยาที่มีต่อการทำหน้าที่ทางเพศ
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง .
และความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศที่ผู้ป่วยยังขาดอย
4) การประเมินผล(evaluation)
การที่ผู้ป่วยหรือความผิดปกติที่มีอย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุก
กรณีที่ผู้ป่วยสามารถหายจากการเจ็บปวยได้
ดังนั้นข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่าการพยาบาลได้ผลทางบวก
ภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง
(gender dysphoria)
1) การประเมินสภาพ
(assessment)
1) ประวัติทั้งปัจจุบันและในวัยเด็ก
2) ประวัติของครอบครัว
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
(nursing diagnosis)
มีความสับสนในเอกลักษณ์ทางเพศของตน
มีความรู้สึกอึดอ้ดใจที่ต้องแสดงพฤติกรรมที่
ไม่สอดคล้องกับเพศที่ตนต้องการเป็น
การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นบกพร่องเนื่องจากกลัวถูกปฏิเสธสัมพันธภาพ
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล
1) เด็กที่มีปัญหา gender dysphoria
ช่วยให้บุคคลได้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของตน
ยอมรับตนเองได
ตัดสินใจใช้ชีวิตตามความต้องการของตนบนพื้นฐานของข้อมูล
ที่เพียงพออย่างมีความสุขโดยไม่มีความรู้สึกขัดแย้งในใจ
2) ผู้ใหญ่ที่มีปัญหา gender dysphoria
ช่วยให้ผู้ป่วยได้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของตน
ยอมรับตนเองได้
พร้อมที่จะเผชิญกับเรื่องยุ่งยากต่างๆ ที่จะตามมาเมื่อตัดสินใจใช้ชีวิตแบบเพศที่ตนเป็นอยู่หรือตามเพศที่ตนต้องการ
4) การประเมินผล(evaluation)
มีความเข้าใจ ยอมรับตนเองได้
พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต
(paraphilic dysfunctions)
1) การประเมินสภาพ
(assessment)
การทำร้ายตนเอง
ปัญหาที่นำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล
ประเมินควมคิดความรู้สึกที่มีต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น
จากพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติ
2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล
(nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองเนื่องจากมีความรู้สึกละอายใจกับพฤติกรรมทางเพศของตนและการสูญเสียความภาคภูมิใจในตนเอง
เสี่ยงต่อการทำร้ายผู้อื่นเนื่องจากมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศ
เสี่ยงต่อการทำร้ายผู้อื่นเนื่องจากไม่สามารถควบคุมตนเองได้
การแสดงออกทางเพศไม่มีประสิทธิภาพมี
การแสดงออกทางเพศแปลกจากปกติ
ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นบกพร่องเนื่องจากการแยกตนเอง
ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นบกพร่องเนื่องจากไม่กล้าสร้างสัมพันธภาพ
กับบุคคลอื่น
มีความวิตกกังวลกับพฤติกรรมทางเพศของตน และการไม่สามารถควบคุมตนเองได้
3) การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล
การลดหรือเลิกพฤติกรรมทางเพศที่เป็นปัญหาและทดแทนด้วยพฤติกรรมที่สร้างสรรค์ในการตอบสนองความต้องการทางเพศ
มีกิจกรรมทางเพศแบบปกติ
ระบุแหล่งขอความช่วยเหลือในการควบคุมตนเองหากต้องการได้
4) การประเมินผล(evaluation)
การลดหรือเลิกพฤติกรรมทางเพศที่เป็นปัญหา
มีพฤติกรรมที่สร้างสรรค์ในการตอบสนองความต้องการทางเพศ
ทดแทนพฤติกรรมทางเพศที่เป็นปัญหา
มีกิจกรรมทางเพศแบบปกติ
บอกถึงแหล่งขอความช่วยเหลือในการควบคุมตนเองหากต้องการได้