Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและมีปัญหาฆ่าตัวตา…
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาจิตสังคม
บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและมีปัญหาฆ่าตัวตาย
. ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงภาวะซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้า หมายถึง การที่บุคคลมีพฤติกรรมที่เกิดจากภาวะจิตใจที่หม่นหมอง หดหู่ เศร้าสร้อยท้อแท้ สิ้นหวัง และมองโลกในแง่ร้าย
ลักษณะอาการและอาการแสดง
1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายได้แก่ นอนไม่หลับเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย โดยไม่ทราบสาเหตุเบื่ออาหาร การรับรสชาติเปลี่ยนแปลง ไม่อยากอาหารน้ำหนักตัวลดลง ดูซูบซีดท้องผูกความต้องการทางเพศลดลง
2)ความสนใจในตนเองลดลง เช่นมีอาการเศร้า เป็นสำคัญ มีความรู้สึกหดหู่ใจ ไม่สดชื่น ไม่แจ่มใสรู้สึกว่า ตนเองไร้คุณค่ามักคิดหมกหมุ่นเกี่ยวกับตนเอง มีพฤติกรรมที่สื่อในการทำลายข้าวของ และทำร้ายตนเอง
3)การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม มักจะพบว่า ผู้ป่วยมีความสนใจสิ่งแวดล้อมลดลง ถอยหนีจากสังคม
ระดับของภาวะซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง (moderate depression/neurotic depression)ถึงขั้นกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติภารกิจประจำวัน แต่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ แต่จะขาดประสิทธิภาพไปบ้าง เช่น จากการสูญเสียสามี
-ภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง (severe depression/Psychotic depression) คือ ภาวะของอารมณ์ซึมเศร้าที่รุนแรงอย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมโดยทั่วๆ ไปอย่างเห็นได้ชัดเจนอาจที่ความคิดทำร้ายตนเองหรือมี
อาการหลงผิดได
ภาวะซึมเศร้าระดับอ่อน (mild depression/blue mood) คือ ภาวะอารมณ์ที่ไม่สดชื่น หม่นหมอง บุคคลทั่วไปมักมีประสบการณ์ เช่น เมื่อต้องแยกจากบุคคลอันเป็นที่รักโดยมักมีภาวะซึมเศร้าระดับนี้เพียงชั่วคราว
ความหมาย ลักษณะอาการและอาการแสดงของการฆ่าตัวตาย
การฆ่าตัวตาย (suicide) หรือใช้คำว่า อัตวินิบาตกรรม หมายถึง การที่บุคคลมีความคิดอยากทำร้ายตนเอง และพยายามทำให้ชีวิตของตนเองสิ้นสุดลงด้วยวิธีการต่างๆ ที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
เพศหญิงมีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าเพศชาย แต่พบว่า เพศชายจะฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าเพศหญิง
นวัยรุ่นที่มีการปรับตัวมากทั้งด้านร่างกายและจิตใจรวมทั้งสิ่งแวดล้อม เช่น การคบเพื่อน การต้องอยู่ในสังคมที่มีการแข่งขันสูง หรือมีการใช้สารเสพติด
บุคคลที่พยายามฆ่าตัวตาย มีประวัติว่ามีการฆ่าตัวตายของบุคคลในครอบครัวมาก่อน บุคคลที่ฆ่าตัวตายสำเร็จมักเป็นบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตประมาณ
บุคคลที่ต้องทำงานในสภาวะกดดัน/สถานการณ์เคร่งเครียดหรือต้องรับผิดชอบสูง ขาดการพักผ่อนต้องทำงานหนักยาวนาน ไม่มีเวลาในการใช้ชีวิตที่ผ่อนคลายหรืออยู่กับครอบครัว
ลักษณะอาการและอาการแสดง
เป็นกลุ่มผู้ที่พยายามทำร้ายตนเอง แต่ไม่ได้หวังผลจะให้ตายจริงๆ และอาจพยายามทำบ่อยครั้งเพื่อประท้วงหรือเรียกร้องความสนใจให้ผู้อื่นหันมาสนใจ/ใส่ใจตน ขาดที่พึ่ง รวมถึงมีภาวะซึมเศร้าในระดับรุนแรง เป็นบุคคลที่มีการพยายามฆ่าตัวตายและจะฆ่าตัวตายได้สำเร็จในครั้งต่อมาเรียกว่า มีการพยายามฆ่าตัวตาย (attempted suicide)
มีความคิดซ้ำๆ ที่จะทำร้ายตนเอง แต่ยังขาดความเชื่อมั่นในการตัดสินใจกล้าๆ กลัวๆ มักแสดงออกด้วยการพูดเปรยๆ หรือบอกผู้อื่นในเชิงขู่ว่า ตนจะทำฆ่าตัวตาเรียกว่า การฆ่าตัวตายแบบคุกคาม (threatened suicide)
มีอารมณ์ซึมเศร้าชัดเจนมีความมุ่งมั่นที่จะฆ่าตัวตายให้สำเร็จ มีการวางแผนการกระทำ และต้องการให้เกิดผลโดยแท้จริงการฆ่าตัวตายสำเร็จ (completed suicide / committed suicide)
สาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย
สาเหตุการฆ่าตัวตาย
ด้านชีวภาพ 5-Hydroxyindoleacetic acid (5-HIAA) ในน้ำไขสันหลังมี
ระดับต่ำลง การเจ็บป่วยทางด้านร่างกายที่เรื้อรังที่มีความทุกข์ทรมาน
ด้านจิตใจการเจ็บป่วยทางจิตใจที่มักเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายได้แก่ โรคทางอารมณ์, โรคซึมเศร้า, ผู้ที่มีอาการหลงผิด, ผู้ที่มีประสาทหลอน, บุคคลที่ติดสารเสพติดในระยะขาดยา/สารเสพติด
ด้านจิตวิเคราะห์ (psychoanalytic theory)
ด้านพฤติกรรมและการรู้คิด (cognitive-behavioral theory)
ด้านสังคม เกิดจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่
ไม่ดีในระยะ 2 ปีแรกของช่วงชีวิต
ด้านจิตวิญญาณที่ขาดที่พึ่งหรือสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ จะทำให้บุคคลรู้สึกโดดเดี่ยว สิ้นหวัง
สาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้า
แนวคิดด้านการใช้กลไกทางจิตใจผู้ที่มีพฤติกรรมซึมเศร้า มีสาเหตุมาจากความเจ็บปวดที่เกิดจากความสูญเสีย (loss) ในสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง
แนวคิดด้านการเปลี่ยนแปลงของสารชีวเคมีในร่างกายเกิดจากการลด
น้อยลงของสารจำพวกไบโอจินิก อะมีนส์ (biogenic amines)
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าและที่มีปัญหาฆ่าตัวตาย
บุคคลที่มีปัญหาการฆ่าตัวตาย
การวินิจฉัยทางการพยาบาล จะมุ่งเน้นการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายหรือการฆ่าตัวตายซ้ำ
กิจกรรมทางการพยาบาล
สร้างสัมพันธแบบตัวต่อตัว ให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล ได้ระบายความรู้สึกเมื่อระดับภาวะซึมเศร้าบรรเทาลดลง
กระตุ้นให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มต่างๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความสามารถของผู้ป่วย
จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย ได้แก่ ห้องพักมีแสงสว่าง ไร้มุมอับ ปราศจากอุปกรณ์ที่เป็นอาวุธที่สามารถทำร้ายตนเอง
ส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีของผู้ป่วยและครอบครัว ให้พูดคุยอย่างเข้าใจ เปิดใจยอมรับ เห็นใจผู้ป่วยและครอบครัว ให้เกิดมีกำลังใจลดความรู้สึกการไร้ที่พึ่ง
ประเมินความเสี่ยงและวางแผนป้องกันการฆ่าตัวตายจากพฤติกรรมของผู้ป่วย
กระตุ้นการตั้งเป้าหมาย ความรู้สึกมีความหวัง และการเรียนรู้สิ่งใหม่ส่งเสริมและสร้างความเข้าใจในบุคลิกภาพ กลไกทางจิตของตนเองที่มีผลทางลบต่อตนเอง
การประเมินปัญหาการฆ่าตัวตาย
การประเมินผลทางการพยาบาล
บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้า
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
ขาดทักษะการเผชิญปัญหาเนื่องจากคิดว่าตนเองไร้ค่าและไร้ความหมาย
นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากมีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง
เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำเนื่องจากเคยมีประวัติการทำร้ายร่างกายตนเอง
กิจกรรมการพยาบาล
กล่าวทักทายผู้ป่วยสม่ำเสมอ พร้อมเรียกชื่อผู้ป่วยทุกครั้ง
จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด ด้วยการจัดหอผู้ป่วยให้สะอาด มีอากาศถ่ายเท มีแสงสว่างเพียงพอมีการดำเนินกิจกรรมในหอผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ร้างสัมพันธภาพแบบตัวต่อตัวตามแบบแผนการสร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจในตัวพยาบาล
การป้องกันการทำร้ายตนเองและผู้อื่นประเมินโอกาสเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง การมีอาการประสาทหลอน หรือมีอาการหลงผิด ดูแลผู้ป่วยใกล้ชิดเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยหรือผู้อื่นอย่างทันทีทันใด
หลีกเลี่ยงคำพูดที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกถูกหลบหลู่ศักดิ์ศรี
กระตุ้นและช่วยเหลือให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและรักษาสุขอนามัยของตนเอง
การประเมินภาวะซึมเศร้า
การประเมินผลทางการพยาบาล