Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการสร้างและสลายคาร์โบไฮเดรต, นางสาว ธนพร จวงครุฑ เลขที่ 42 ปี 1 -…
กระบวนการสร้างและสลายคาร์โบไฮเดรต
ไกลโคลิซิส
ขั้นตอนที่ 1 เติมหมู่ฟอสเฟตในกลูโคส 1 โมเลกุลได้เป็น กลูโคส-6-ฟอสเฟต โดยเอนไซม์เฮกโซไคเนส
ขั้นตอนที่ 2 กลูโคส-6-ฟอสเฟตเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปเป็น ฟรุกโตส-6-ฟอสเฟตโดยเอนไซม์ฟอสโฟกลูโค ไอโซเมอเรส
ขั้นตอนที่ 3 เติมหมู่ฟอสเฟตในฟรุกโตส-6-ฟอสเฟต เปลี่ยนรูปร่างเป็นฟรุกโตส1,6บิสฟอสเฟต ปฏิกิริยานี้มี ฟอสโฟฟรุกโตส ไคเนส เป็นตัวเร่ง
ขั้นตอนที่ 4 ฟรุกโตส1,6บิสฟอสเฟตแตกตัวเป็นกลีเซอรอลดีไฮด์-3-ฟอสเฟตและไดไฮดรอกซิอะซิโตนฟอสเฟต โดยใช้เอนไซม์อัลโดเลสเข้าร่วมทำปฏิกิริยา
ขั้นตอนที่ 5 เกิดขึ้นไปพร้อมกับขึ้นตอนที่ 4 ไดไฮดรอกซิอะซิโตนฟอสเฟตจะเปลี่ยนรูปร่างเป็นกลีเซอรอลดีไฮด์-3-ฟอสเฟต โดยมีเอนไซม์ไตรโอส ฟอสเฟต ไอโซเมอเรสมาทำปฏิกิริยา
ขั้นตอนที่ 6 กลีเซอรอลดีไฮด์-3-ฟอสเฟตเปลี่ยนไปเป็น 1,3-บิสฟอสโฟกลีเซอเรต
โดยเอนไซม์กลีเซอรอลดีไฮด์-3-ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนส และได้ NADH 1 โมเลกุล
ขั้นตอนที่ 7 1,3-บิสฟอสโฟกลีเซอเรต ให้พลังงานแ่ก่ ตัวรับ ADP โดยมีเอนไซม์ ฟอสโฟกลีเซอเรต ไคเนสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและเปลี่ยนเป็น 3-ฟอสโฟกลีเซอเรต
ขั้นตอนที่ 8 หมู่ฟอสเฟต ของ 3-ฟอสโฟกลีเซอเรต ย้ายจากตำแหน่ง 3 ไปที่ตำแหน่ง 2 โดยมีเอนไซม์ ฟอสโฟกลีเซอเรต มิวเตส มาเร่งปฏิกิริยา
ขั้นตอนที่ 9 2-ฟอสกลีเซอเรต จะเสียน้ำ 1 โมเลกุล กลายเป็น ฟอสโฟอินอลไพรูเวตโดยมีเอนไซม์มาเร่งปฏิกิริยา อีนอลเลส
ขั้นตอนที่ 10 มี ADP มารับพลังงานจากฟอสโฟอินอลไพรูเวตและ มีเอนไซม์ไพรูเวต ไคเนสมาช่วยเร่งปฏิกิริยาเป็นไพรูเวต
วัฏจักรกรดซิตริก หรือวัฏจักรเครบส์
ขั้นตอนที่1 คาร์บอน 2 อะตอมของแอซีติ โคเอ เข้ามาในวัฏจักรโดยเกิดการรวมของหมู่แอซีติล กับออกชาโลแอซีเตตโดยใช้เอนไซม์ชิเตรด ชินเทส เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้ผลผลิตเป็น ซิเตรด และ CoA
ขั้นตอนที่2 ขั้นแรกเป็นปฏิกิริยาเอาน้ำออกจากซิเตรด 1 โมเลกุล ได้เป็น ซิสอะโคนิเตดก่อน จากนั้นซิสอะโคนิเตดจึงรวมตัวกับน้ำ 1 โมเลกุล เกิดเป็นไอโซซิเตรด
ขั้นตอนที่3 ไอโซซิเตรดจะถูกออกซิไดซ์เป็นแอลฟา-คีโตกลูตาเรต และให้ CO2โดยใช้เอนไซม์ไอโซซิเตรต ดีไฮโดรจีเนสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและมี NAD+ มารับกลายเป็น NADH
ขั้นตอนที่4 แอลฟา-คีโตกลูตาเรตถูกออกซิไดซ์ ปล่อยหมู่ CO2 ออกมาและโคเอนไซม์ เอ เข้าไปแทนตำแหน่ง CO2 ได้เป็นซักซีนิล โคเอ โดยมีเอนไซม์แอลฟา-คีโตกลูตาเรด ดีไฮโดรจีเนส เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ขึ้นตอนนี้มี NAD+ มารับกลายเป็น NADH
ขั้นตอนที่ 5 หมู่ CoA ของซักซีนิล โคเอจะถูกแทนที่โดยหมู่ฟอสเฟต และเปลี่ยนเป็นซักซิเนตโดยมีเอนไซม์ ซักซีนิล โคเอ ซินทีเทส มาเร่งปฏิกิริยา
ขั้นตอนที่6 เอนไซม์ ซักซีเนต ดีไฮโดรจีเนส จะทำปฏิกิริยากับ ซักซิเนตเปลี่ยนไปเป็น ฟูมาเรต ใจปฏิกิริยานี้จะสูญเสียไฮโดรเจนแก่ FAD เกิดเป็น FADH2
ขั้นตอนที่7 มีการเติมน้ำ 1 โมเลกุลแก่ฟูมาเรตเปลี่ยนเป็นมาเลต โดยมีเอนไซม์ฟูมาเรสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
ขั้นตอนที่8 มาเลตจะถูกออกซิไดซ์ให้เป็น ออกซาโลแอซีเตต ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่จะไปรวมกับแอซีติล โคเอตัวใหม่ เพื่อเข้ารอบใหม่ของวัฏจักรเครบส์ต่อไป และมีการออกซิเดชั่น และมีการออกซิเดชั่น NAD+ จะถูกรีดิวซ์ให้เป็น NADH ปฏิกิริยานี้จะมีเอนไซม์มาเลต ดีไฮโดรจีเนสมาช่วยเร่งปฏิกิริยา
การลำเลียง NADH
Matate-aspartate shuttle
เซลล์กล้ามเนื้อ หัวใจ ไต ตับ 1NADH 1NADH=3ATP/2.5ATP
Glycerol Phosphate shuttle
เซลล์สมอง กล้ามเนื้อ 1NADH 1FADH=2ATP/1.5ATP
วิถีเพนโตสฟอสเฟต
วิถีเพนโตสฟอสเฟต หรือเฮกโซสมอโนฟอสเฟตชันต์ เป็นขบวนการซึ่งสร้าง NADPH และน้ำตาลเพนโตส หรือน้ำตาล 5 คาร์บอน
ประกอบด้วย2ระยะ
ระยะแรกเรียกว่า ระยะใช้ออกซิเจน (oxidative phase) ซึ่งมีการสร้าง NADPH
ระยะที่สองเป็นการสังเคราะห์น้ำตาล 5 คาร์บอนโดยไม่ใช้ออกซิเจน (non-oxidative)
กระบวนการสร้างคาร์โบไฮเดรต
Glycogenesis
เป็นแบบดูดพลังงานอย่างมากกระทั่ง ATP หรือ GTP ถูกนำมาใช้ ทำให้ขบวนการดังกล่าวเป็นแบบคายพลังงาน
เกิดในช่วงการอดอาหาร การอดอยาก การกินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ หรือการออกกำลังกายหักโหม
Gluconeogenesis
เป็นวิถีเมแทบอลิซึมที่เป็นการสร้างกลูโคสจากสารคาร์บอนที่มิใช่คาร์โบไฮเดรต
นางสาว ธนพร จวงครุฑ เลขที่ 42 ปี 1