Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
ผู้ที่มีภาวะสูญเสีย
ความหมายของการสูญเสีย
เป็นภาวะสูญเสียทางอารมณ์ (Emotional loss)
ความรู้สึกที่เป็นปฏิกิริยาของการที่บุคคลต้องแยกจาก สูญหาย หรือต้องปราศจากบางสิ่งบางอย่างที่เคยมีในชีวิต
บุคคลรับรู้ถึงคุณค่าของสิ่งที่สูญเสีย หรือ
คาดว่ากาลังจะสูญเสีย
อาจเกิดขึ้นทันทีทันใด หรือค่อยเป็นค่อยไป
คาดการณ์ได้หรือไม่สามารถคาดการณ์ได้
อาจทำให้เกิดความชอกช้ำ เจ็บปวดอย่างมาก หรือเล็กน้อย
ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความรุนแรงและรูปแบบของการแสดงออกของการสูญเสีย
ความรู้สึกต่อสิ่งที่สูญเสีย
บุคลิกภาพและความพร้อม
ประสบการณ์การสูญเสีย
แหล่งสนับสนุน
ประเภทของการสูญเสีย
การสูญเสียบุคคลสาคัญของชีวิต
การสูญเสียสมบัติหรือ ความเป็นเจ้าของ
การสูญเสียความสมบูรณ์ทางสรีระ จิตใจ และสังคม
ประเภทของการสูญเสีย พิจารณาตามแนวคิดการจำแนกลาดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s hierarchy of human need)
การสูญเสียทางกาย (Physiologic
loss)
การสูญเสียความมั่นคงและความรู้สึก เป็นเจ้าของ (Loss of security and a sense of belonging)
การสูญเสียความเคารพนับถือตัวเอง (Loss of self-esteem)
การสูญเสียความปลอดภัย (Safety loss)
ความสูญเสียที่สัมพันธ์กับการทา เต็ม ตามศักยภาพของตนเอง (Loss related to self-actualization)
ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า
ความหมายของภาวะซึมเศร้า (Depression)
ความหมายตามศัพท์แปลว่า กดลง หรือทำให้ต่างลงจากเดิม มาจากรากศัพท์คำว่า Deprive ที่แปลว่า ขาด
เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการสูญเสีย ทำให้เกิดความรู้สึกมืดมน เหนื่อบหน่าย หดหู่จิตใจอ่อนเพลีย รู้สึกทดท้อ รู้สึกตนเองไร้ ค่า อาจเกิดความรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป
คิดหมกมุ่นว่าตนเองไร้ค่า หรือมีความบกพร่องในการทำบทบาทหน้าที่
สาเหตุการเกิดภาวะซึมเศร้า (Depression)
ปัจจัยทางชีววิทยา
สารสื่อประสาท
(Neurotransmitter)
การทางานของต่อมไร้ท่อ
(Neuroendocrine)
ผลของยาบางชนิด
พันธุกรรม
(Genetics)
ปัจจัยทางด้านจิตใจ
ทฤษฎีเกี่ยวกับความคิด
Cognitive Theory
การที่บุคคลมีอารมณ์ซึมเศร้าเกิดจากการมีความคิดเกี่ยวกับตนเองด้านลบ (Negative Thinking)
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
(Psychoanalytical theory)
Ego ไม่สามารถทางานได้อย่างเสรี (Free function ego) เพราะถูก Super ego ที่มีอิทธิพลมากคอยลงโทษอยู่(Over punitive super ego) ทาให้ Ego อ่อนแอ นำมาซึ่งภาวะซึมเศร้า
ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม
อาการแสดงออกของภาวะซึมเศร้า
อาการที่แสดงออกทางกาย เก็บซ่อนตัว หลีกเลี่ยงสังคม มีพฤติกรรมกลับไปสู่วัยเด็ก ร้องไห้ง่าย ไม่ชอบเคลื่อนไหวร่างกาย ชอบนอนเหมือนคนเกียจคร้าน ไม่อยากทำงานหรือทำงานขาดประสิทธิภาพ อิริยาบถเชื่องช้า พูดช้า คิดช้า ไม่อยากใช้สมอง สีหน้าและแววตาซึมเศร้า เลื่อนลอย กล้ามเนื้อใบหน้าตก นอนไม่หลับ หรือตื่นบ่อย เพลียไม่มีแรง มึนงง เบื่ออาหาร ท้องผูก ปวดศีรษะใจสั่น ประจำเดือนผิดปกติ ความรู้สึกทางเพศลดลง
อาการที่แสดงออกทางจิตใจ เบื่อเหงาหงอย ไม่กระตือรือร้น สิ้นหวัง จิตใจหดหู่ หงุดหงิด ใจน้อย ไม่มีสมาธิ ความจาไม่ดี รู้สึกไร้คุณค่า
การพยาบาล
การพยาพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับความเจ็บป่วยและให้ความร่วมมือในการรักษา
ประเมินสาเหตุของภาวะซึมเศร้า เช่น สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง โรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย
ประเมินระดับความซึมเศร้าอาจประเมินจากสีหน้าที่เศร้าซึม ร้องไห้ตลอดเวลา รับประทานอาหารได้น้อย
สอบถามถึงความคิดในการฆ่าตัวตายและการพยายามฆ่าตัวตายทั้งนี้อาจไม่ได้มุ่งถามตรงๆ แต่พยาบาลควรสอบถามระหว่างพูดคุยสร้างสัมพันธภาพ
ประเมินอาการที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
การพยาบาลด้านจิตใจ
ให้ความเป็นมิตรเป็นเพื่อนเพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกอบอุ่นใจมีที่พึ่งไม่ว้าเหว่หรือรู้สึกขาดเพื่อน
สนใจ เอาใจใส่ และตอบสนองในสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการอย่างเหมาะสม
รับฟังความทุกข์ความไม่สบายใจ ประคับประคองจิตใจให้คลายทุกข์
แสดงความปรารถนาดีและอดทนต่อพฤติกรรมเชื่องช้าของผู้รับบริการไม่แสดงความเบื่อหน่ายรำคาญ
ไม่กล่าวประณามการกระทา ที่ไม่ถูกต้องของผู้รับบริการ แต่แสดงความเห็นอกเห็นใจ
ใช้ความสังเกตและไหวพริบในการทายใจผู้รับบริการว่าต้องการอะไร
การพยาบาลด้านร่างกาย
ระวังอุบัติเหตุ เนื่องจากผู้รับบริการขาดความระแวดระวัง ไม่มีสมาธิ
ให้ความเอาใจใส่ดูแลเรื่องอาหาร เพราะจะรับประทานอาหารไม่ค่อยได้ ขาดความอยากหรือไม่หิว
ผู้ป่วยที่นอนไม่หลับต้องดูแลสิ่งแวดล้อมในการนอน
ผู้ป่วยไม่สนใจตนเองต้องช่วยในด้านความสะอาดและอนามัยส่วนบุคคล
ไม่ควรให้ทำกิจกรรมที่ยาก ควรให้ทำกิจกรรมที่เพลิดเพลิน
กิจกรรมบันเทิงควรให้เป็นผู้นั่งดูมากกว่าให้เป็นผู้แสดง (passive recreation)
ผู้ที่มีภาวะโกรธ
ความหมายของอารมณ์โกรธ (Anger)
เป็นอารมณ์หรือความรู้สึกพื้นฐานของมนุษย์ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองปกติของมนุษย์
ไม่มีความเป็นเหตุเป็นผลเป็นความรู้สึกไม่สุขสบาย จากความคับข้องใจ การบาดเจ็บความรู้สึกหวาดกลัว
มีระดับความรุนแรงตั้งแต่ระดับขุ่นเคืองใจ จนถึงระดับที่แสดงออกถึงความเกรี้ยวกราด
ถ้าแสดงอารมณ์โกรธอย่างเหมาะสม จะช่วยให้การ แก้ปัญหามีประสิทธิภาพ และลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
ความหมายของความรู้สึกไม่เป็นมิตร (Hostility)
เป็นพฤติกรรมก้าวร้าวโดยใช้คาพูดเป็นการแสดงออก
ทางอารมณ์ เพื่อทำร้ายจิตใจทางคำพูด
ไม่คำนึงกฎเกณฑ์ทางสังคม
เกิดจากความรู้สึกว่าถูกคุกคามและขาดอำนาจ
นำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวโดยใช้กำลัง
ความหมายของพฤติกรรมก้าวร้าว (Aggression)
เป็นพฤติกรรมการแสดงอารมณ์โกรธทั้งทางคำ พูด และการกระทำโดยไม่คำนึงถึงสิทธิของผู้อื่น พร้อมที่จะทำร้ายตนเองและผู้อื่น
เป็นการต่อสู้เพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง
เกิดจากการที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์
โกรธ และความไม่เป็นมิตรได้
พบได้บ่อยในบุคคลที่ขาดความมั่นใจในตนเอง จึงสร้างความภาคภูมิใจโดยการแสดงอำนาจ และการมีอิทธิพลเหนือคนอื่น
สาเหตุการเกิดอารมณ์โกรธและพฤติกรรมก้าวร้าว
ปัจจัยทางชีววิทยา
Limbic system การแสดงอารมณ์ และ
พฤติกรรมของบุคคล
Frontal lobe การกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการทำ ตั้งใจทำ และการคิดที่มีเหตุผล
Temporal lobe ความจา การตีความ
ของสิ่งเร้าทางหู
Neurotransmitters Serotonin ลดลง ควบคุมระบบประสาทส่วนกลางเพื่อลดพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นและพฤติกรรมก้าวร้าว
ปัจจัยทางด้านจิตใจ
ทฤษฎีคับข้องใจ-ความก้าวร้าว
(Frustration-aggression theory)
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
(Psychoanalytical theory)
ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
(Social learning theory)
การสังเกตจากตัวแบบ
(Modeling)
แนวทางการรักษา
การรักษาด้วยยา
(Psychopharmacological)
ยากลุ่มอาการต้านเศร้า (Antidepressant) SSRIs
ยากลุ่มลดความวิตกกังวลและยานอนหลับ (Antianxiety medications and Sedative-hypnotics) Lorazepam
ยาควบคุมอารมณ์ (Mood stabilizers) Valproate, Lithium
ยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotics) Haloperidol, Olanzapine, Ziprasidone, Clozapine, Risperidone
กลุ่มอื่นๆ
Propranolol, Carbamazine
การพยาบาลผู้ที่มีอารมณ์โกรธ
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบา บัด เพื่อให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจ รู้สึกปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ฟังอย่างตั้งใจ (Active listening) ให้โอกาสผู้ป่วยได้พูดถึงความรู้สึกไม่พอใจออกมา พยาบาลรับฟังโดยไม่ขัดจังหวะ ไม่ตำหนิ ไม่โต้แย้ง
เมื่ออารมณ์โกรธลดลงให้ผู้ป่วยสำรวจถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่ วยโกรธ เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักรู้ถึงอารมณ์โกรธที่เกิดขึ้น
จัดให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ออกแรง เพื่อปลดปล่อยพลังงานส่วนเกินที่เกิดจากอารมณ์โกรธออกไปในทางที่สร้างสรรค์
ให้คำแนะนาผู้ป่วยถึงวิธีจัดการกับอารมณ์โกรธออกไปในทางที่เหมาะสม
การพยาบาลผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
ท่าทางของพยาบาล
ยืนเอามือเท้าเอว = วางอำนาจ
ยืนเอามือไขว้กันไว้ข้างหน้า = กลัว/วิตกกังวล
ยืนเอามือไขว้หลัง = ซ่อนบางสิ่งไว้ ทำให้ผู้ป่วยระแวง
ยืนเอามือล้วงกระเปา = ไม่เต็มใจในการช่วยเหลือ
ยืนเอามือไว้ข้าง ๆ ตัว คือสิ่งที่ถูกต้อง
พยาบาลเรียกชื่อผู้ป่วยด้วยเสียงที่ดังพอควร ใช้น้ำเสียงโทนต่ำเพื่อให้ผู้ป่วยได้ยิน เหมือนเป็นการเตือนสติผู้ป่วย เว้นระยะห่างในการสนทนา 3 ฟุต ระดับสายตาอยู่ระดับเดียวกัน
บอกให้ผู้ป่วยหยุดพฤติกรรมที่กำลังก้าวร้าวอยู่ หรืออาจสะท้อนความรู้สึกของผู้ป่วย
ถ้าพูดแล้วไม่ได้ผลหรือผู้ป่วยมีพฤติกรรมก้าวร้าว อาละวาด ดำเนินการขั้นต่อไปของการพยาบาลคือการจับผู้ป่วยเพื่อผูกยึด และการรักษาด้วยยา
หลังจากผูกยึดผู้ป่วยแล้วควรบอกถึงสาเหตุของการผูกยึดผู้ป่วย และจะยุติการผูกยึดเมื่อผู้ป่วยสามารถควบคุมตนเองได้
หลังจากผู้ป่วยมีอาการสงบ ควรเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกเกี่ยวกับการที่ถูกผูกยึดเพื่อช่วยลดความโกรธและความวิตกกังวลของผู้ป่วย
ให้คำแนะนาเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับความโกรธออกไปในทางที่เหมาะสม
ผู้ที่มีภาวะทุกข์โศก
ความหมายของความทุกข์โศก (Grief)
Grief ความรู้สึกเสียใจ (Sad) ที่ เกิดขึ้น เมื่อคาดว่าจะมีการสูญเสียหรือรับรู้ว่าตนเองสูญเสีย
Mourning กระบวนการของการแสดงออก ตลอดช่วงที่บุคคลมีอารมณ์ที่เกิดจากการสูญเสีย
Bereavement ช่วงระยะเวลาในกระบวนการทุกข์โ ศก นับตั้งแต่เริ่มทุกข์โศกไปจนกระทั่งปรับตัว กลับคืนสู่ภาวะปกติทางสังคมได้
กระบวนการทุกข์โศก a model of five stages ของ คูเบลอร์- รอสส์ (Kubler-Ross)
ส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนี้ไม่ควรนานเกิน 6- 12 เดือน มิฉะนั้นจะกลายเป็นภาวะซึมเศร้า
ปฏิเสธ (Denial) เป็นความรู้สึก ช็อก (Shock) และไม่เชื่อว่าได้มีการ สูญเสียเกิดขึ้นระยะนี้บุคคลจะเฉย เมย เงียบ ไม่สนใจภาวะสูญเสียที่ เกิดขึ้นจะพูดเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
โกรธ (Anger) ผู้อยู่ในภาวะสูญเสียจะรู้สึก โกรธ และแสดงความโกรธออกมา เขาจะรู้สึกว่าไม่ เป็นธรรมที่ภาวะสูญเสียจะต้องมาเกิดขึ้นกับเขา
การต่อรอง (Bargaining) บุคคลจะพยายามต่อรองที่จะไม่ต้องเกิดการสูญเสีย ซึ่งอาจจะโดยการ สวดมนต์ อ้อนวอน ให้สัญญา
ภาวะซึมเศร้า (Depression) เมื่อรู้แน่ ชัดแล้วว่าภาวะสูญเสียเกิดขึ้นกับตนเองแน่แล้ว จะรู้สึกหมดหวัง หดหู่เบื่อหน่าย ไม่มี แรง จนถึงอาจคิดอยากตายหรือคิดฆ่าตัว ตายได้
ยอมรับ (Acceptance) ขั้นนี้ บุคคลจะยอมรับในภาวะสูญเสียที่ เกิดขึ้นและภาวะซึมเศร้าจะหายไป
การพยาบาลในแต่ละระยะของกระบวนการทุกข์โศก
การพยาบาลในระยะปฏิเสธ
สร้างสัมพันธภาพให้เกิดความเชื่อใจ เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนาแก่ผู้สูญเสียในเรื่องต่างๆ ให้ผู้สูญเสียได้ระบายความรู้สึก ให้รับฟังด้วยความสงบ ให้กำลังใจด้วยการสัมผัส และคำพูด
การพยาบาลในระยะโกรธและระยะต่อรอง
พยาบาลต้องยอมรับและเข้าใจในพฤติกรรมของผู้สูญเสีย ให้แสดงท่าทีที่เคารพ และให้เกียรติในการแสดงความคิดของผู้สูญเสีย เปิดโอกาสให้พูดระบายความรู้สึก โดยฟังอย่างตั้งใจ
การพยาบาลในระยะซึมเศร้า
พยาบาลยังคงเปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึกโศกเศร้า เสียใจ ประเมินความคิดอยากทา ร้ายตนเองหรือความคิดฆ่าตัวตาย เพื่อให้การช่วยเหลือหรือส่งต่อจิตแพทย์ ช่วยหาแหล่งสนับสนุนทางสังคมหรือหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ดูแลด้านร่างกายในเรื่องสุขอนามัย ความสะอาด
การพยาบาลในระยะยอมรับ
เปิดโอกาสให้ผู้สูญเสียได้เล่าถึงความทรงจำที่ดี ส่งเสริมการร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย ให้ญาติมาอยู่เป็นเพื่อนพูดคุยในระยะแรก