Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีกลุ่มโรควิตกกังวล
(Generalized anxiety disorder, Panic…
การพยาบาลบุคคลที่มีกลุ่มโรควิตกกังวล
(Generalized anxiety disorder, Panic disorder, Specific phobia)
ความวิตกกังวล (Anxiety)
สภาวะอารมณ์การตอบสนองต่อสิ่งที่ถูกคุกคาม เกิดความรู้สึกหวาดหวั่น ไม่สบายใจ กระวนกระวาย ไม่มั่นใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การตอบสนองจะมากหรือน้อยขึ้นกับการรับรู้ การคาดการณ์ล่วงหน้าของแต่ละบุคคล
สาเหตุ (Etiology)
- ปัจจัยทางชีววิทยา (Biological factors)
1.1 กรรมพันธุ์ (genetic) พันธุกรรมมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรควิตกกังวล โรค panic disorder ฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน ถ้ามีฝาแฝดคนหนึ่งป่วยเป็นโรค panic disorder ฝาแฝดอีกคนมีโอกาสป่วยเป็นโรค panic disorder ได้ร้อยละ 30
1.2 กายวิภาคของระบบประสาท (neuroanatomical) มีการศึกษาพบว่าภาวะของอารมณ์อยู่ที่ limbic system ,diencephalon (thalamus และ hypothalamus) และ reticular formation ถ้ามีความผิดปกติของสมอง ทำให้เกิด Anxiety ได้
1.3 สารชีวเคมี (biochemical) การมี blood lactate สูงผิดปกติทำให้ผู้ป่วยมีอาการ panic disorder หรือบุคคลมีความผิดปกติของ thyroid hormone ทำให้เกิดความวิตกกังวลได้
1.4 สารสื่อประสาท (neurochemical) จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่า สารสื่อประสาท โดยเฉพาะ serotonin และGABA
1.5 ภาวะการเจ็บป่วยทางกาย (medical condition) เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน น้ำตาลในเลือดต่ำ caffeine intoxication, substance intoxication ทำให้เกิดโรค panic disorder และ generalized anxiety disorder
- ปัจจัยทางจิตวิทยา (Psychological factors)
2.1 ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์(psychodynamic theory) Freud กล่าวว่า Ego เป็นส่วนหนึ่งของ บุคลิกภาพ ไม่สามารถจัดการ conflict ที่เกิดขึ้นกับ Id และ Superego
2.2 ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซัลลิแวน เชื่อว่าความวิตกกังวลเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับปัญหาทาง อารมณ์ที่เกิดจากการไม่ได้รับการยอมรับจากคนรอบข้างในช่วงต้นของชีวิต
2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้ (cognitive behavior theory) มีแนวคิดว่าความวิตกกังวลเป็นปฏิกิริยาการเรียนรู้ที่มีต่อสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งที่คุกคามเข้ามาทำให้หวาดหวั่น
- ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social and environmental factors)
การศึกษาทางวัฒนธรรม ถึงแม้ว่าจะพบข้อมูลที่เชื่อถือได้บ่งชี้ว่า ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับการเกิดโรควิตกกังวลน้อย แต่อาการของโรควิตกกังวลจะเป็นไปตามสังคมวัฒนธรรมของบุคคล
-
ระดับของความวิตกกังวล
- วิตกกังวลระดับปกติ (Normal) เป็นความรู้สึกของบุคคลที่แสดงออกมาให้บุคคลรับรู้ว่า มีความไม่ สบายใจ มีความรู้สึกหวาดหวั่น
- วิตกกังวลระดับน้อย (Mild anxiety) ความวิตกกังวลในระดับน้อยสามารถเกิดได้ในชีวิตประจำวัน จะมีลักษณะตื่นตัวดี กระตือรือร้น สามารถสังเกตการณ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆได้ดี เรียนรู้ได้ดี มีความคิดริเริ่ม
- วิตกกังวลระดับปานกลาง (Moderate anxiety) จะมีการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่างๆทั้งการ มองเห็นการฟังมีประสิทธิภาพลดลง ความสนใจและสมาธิลดลง การรับรู้แคบลง
- วิตกกังวลระดับสูง (Severe anxiety) บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับสูงจะรับรู้เหตุการณ์ที่จะ เกิดขึ้นในอนาคตได้น้อยลง ความสนใจจดจ่ออยู่กับแค่บางสิ่งบางอย่าง ไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ต้องการพูดได้ พูดจาไม่รู้เรื่อง
- วิตกกังวลระดับรุนแรง (Panic state) บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับหวาดกลัวรุนแรงความสามารถ ในการรับรู้จะหยุดชะงัก พูดไม่รู้เรื่อง ไม่สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การบำบัดรักษา
-
-
- การบำบัดทางเลือก (Alternative therapy)
กลุ่มของโรควิตกกังวล
- Generalized Anxiety Disorders (GAD) โรควิตกกังวลทั่วไป
ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลมากผิดปกติต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต
- Panic disorder เป็นความรู้สึกกลัว หรือไม่สบายใจอย่างรุนแรง
- Phobia disorder เป็นความกลัวอย่างรุนแรง ไม่มีเหตุผล กลัวเกินเหตุ และเกิดขึ้นบ่อย
- Obsessive Compulsive Disorders (OCD) เป็นการคิดหรือทำเรื่องหนึ่งเรื่องใดซ้ำๆ โดยไม่สามารถหยุดยั้งได้
-
-
-
-
-
-