Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การให้การปรึกษาทางจิตวิทยา - Coggle Diagram
การให้การปรึกษาทางจิตวิทยา
คุณภาพแห่งจิตใจ
Toxic (Unhealthy)
สภาวะ
แคบ ตายตัว / มีมาตรฐาน คาดหวัง ไม่ให้โอกาส ไม่ให้อภัย ช่างตำหนิ เปรียบเทียบ there and then I’m OK, You’re not OK. โทษฟ้าดิน คิดเอง เออเอง ปรารถนาดี (แบบเก่า) มองโลกในแง่ร้าย
อาการ
เครียด เคียดแค้น น้อยใจ ไม่พอใจ โกรธ หงุดหงิด เอาชนะ เก็บตัว ขี้กลัว ลน ขี้บ่น
การสื่อสาร
พูดทำร้าย พูดอย่างมีอารมณ์ พูดให้ท้อถอย พูดประชดประชัน ปฏิเสธอย่างก้าวร้าว ปฏิเสธไม่เป็น พูดมาก นึกถึงแต่ตนเอง นินทาว่าร้าย โอ้อวด ปกป้องตนเอง อ้อมค้อม
Tonic (Healthy)
สภาวะ
กว้าง ยืดหยุ่น / อิสระ หวัง ให้โอกาส ให้อภัย ชื่นชมเป็น ไม่เปรียบเทียบ จริง กล้าเผชิญ ปรารถนาดี (แบบใหม่) มองโลกในแง่ดี
อาการ
ร่าเริง เบิกบาน แจ่มใส มีชีวิตชีวา มีอารมณ์ขัน สนุกสนาน เป็นสุข มั่นคง
การสื่อสาร
พูดสร้างสรรค์ พูดมีเหตุผล พูดให้กำลังใจ พูดให้อภัย ปฏิเสธอย่างอ่อนโยน บอกกล่าวอย่างเข้าใจ พูดปลอบใจ นึกถึงผู้อื่น ยกย่อง ชมเชย สุภาพอ่อนโยน สื่อสารได้ตรงกับความคิด
คุณลักษณะที่ดีของผู้ให้การปรึกษา
รู้จักและยอมรับตนเอง อดทน ใจเย็น สบายใจที่จะอยู่กับผู้อื่น จริงใจและตั้งใจช่วยเหลือผู้อื่น มีท่าทีเป็นมิตร
มองโลกในแง่ดี ไวต่อความรู้สึกของผู้อื่น ช่างสังเกต ใช้คำพูดที่เหมาะสม รู้จักใช้อารมณ์ขัน เป็นผู้รับฟังที่ดี ช่วยแก้ปัญหา
การให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา
กระบวนการที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลระหว่างผู้ให้การปรึกษา (Counselor) ซึ่งทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้ผู้รับคำปรึกษา (Counselee/Client)
“การปรึกษาเป็นสะพานแห่งจิตใจ”
ปัญหาของบุคคลมีการใช้คำเรียกดังนี้
Split (รอยแยก)
Incongruence (ความไม่สอดคล้องกัน)
Unfinished business (งานค้างใจ)
จุดมุ่งหมายของการให้การปรึกษา
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปสู่แนวทางที่ต้องการ
ส่งเสริมความสามารถของผู้รับบริการในการตัดสินใจและวางโครงการอนาคต
ส่งเสริมทักษะของผู้รับบริการในการแก้ปัญหาและวางโ๕รงการอนาคต
จุดมุ่งหมายระยะยาว
ช่วยให้ผู้รับบริการเกิดการพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่เป็นบุคคลที่มีประสิทธิภาพ
จิตบำบัด (psychotherapy)
counseling
เป้าหมาย
สร้างเสริมสุขภาพจิต ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต พัฒนาทักษะการเผชิญปัญหา
ลักษณะปัญหา
ไม่ยุ่งยากซับซ้อน พบได้ทั่วไป เช่น การเรียน ความรัก เป็นต้น
กระบวนการบำบัด
ข้อมูลอยู่ระดับจิตสำนึก
ระยะเวลา
ระยะสั้น 3-12wk
วิธีการบำบัด
อาศัยการสร้างสัมพันธภาพตามกระบวนการปรึกษา 5 ขั้นตอน การสร้าง สัมพันธภาพและการสื่อสารเพื่อการบำบัด
สถานที่บำบัด
สถานที่ใดก็ได้ มีความเป็นส่วนตัวปลอดภัย ไม่มีเสียงรบกวน เช่น ห้องทำงานโรงเรียน ห้องให้การปรึกษา ใต้ต้นไม้ เป็นต้น
psychotherapy
ลักษณะปัญหา
รุนแรง ซับซ้อน ต้องใช้การช่วยอย่างเป็นระบบ ต้องใช้การร่วมกัน แก้ไขจากทีมสหวิชาชีพ
กระบวนการบำบัด
มักดึงข้อมูลจากระดับจิตสำนึก(conscious)และจิตไร้สำนึก(unconscious)
เป้าหมาย
บำบัดรักษาปัญหาทางจิตเวช เช่นภาวะซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล ให้ลดลงและกลับสู่ภาวะสมดุล
ระยะเวลา
มักบำบัดระยะยาว 3-6 เดือน
สถานที่บำบัด
ในโรงพยาบาลหรือคลินิกสำหรับการบำบัดทางจิต
วิธีการบำบัด
อาศัยกระบวนการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารเพื่อการบำบัดและเทคนิคบำบัดที่มีความซับซ้อนเช่น free association การสะกดจิต การวิเคราะห์ความฝัน เป็นต้น
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
2.แนวมนุษยนิยม(Humanistic theory) : Carl R Rogers
1.แนวจิตวิเคราะห์(Psychoanalytic theory) :Freud
3.แนวพฤติกรรมนิยม(Behavioral theory)
4.แนวปัญญานิยม(Cognitive theory) : Aron T. Beck
กระบวนการในการให้การปรึกษา
(Counseling Process)
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างสัมพันธภาพ
เป้าหมาย : เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ให้การปรึกษา (Co)และผู้รับการปรึกษา (Cl) สร้างให้เกิดความรู้สึกไว้วางใจ (trust) ปลอดภัย (safe)และเกิดความเชื่อมั่น (confidence) สำคัญคือ การตกลงบริการ และการรักษาความลับ
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นสำรวจปัญหา
เป้าหมาย : ผู้ให้การปรึกษา เอื้ออำนวย (facilitate) เพื่อให้ Cl ดึงศักยภาพของตนเองมาใช้สำรวจปัญหา Cl ได้สำรวจตนเอง ทำความเข้าใจกับความคิด ความรู้สึกของตน ทำความเข้าใจในสาเหตุ และปัญหาที่แท้จริง เปิดโอกาสให้ระบายเรื่องราวที่เป็นปัญหา ความรู้สึกไม่สบายใจต่างๆ เปิดโอกาสให้ผู้รับการปรึกษาได้พิจารณาตนเอง ถึงประสบการณ์ ความคิดและความรู้สึกต่างๆ ที่ผ่านมา
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการเข้าใจปัญหา สาเหตุ และความต้องการ
Co – ช่วยให้ผู้รับการปรึกษาใช้ศักยภาพค้นหาวิธีการแก้ปัญหาและตัดสินใจเลือกทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุด ใช้เทคนิคและทักษะการให้การปรึกษาที่เหมาะสมเอื้อให้
cl สามารถมองเห็นภาพและทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน เห็นสาเหตุ และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของตนเองอย่างชัดเจน ครบถ้วน
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นวางแผนแก้ปัญหา
Co : ทำหน้าที่เอื้ออำนวยและสนับสนุนให้ cl วางแผนแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และสอดคล้องกับบริบทของปัญหาของตนเองมากที่สุด ให้ cl พิจารณาทางเลือก ข้อดีและข้อเสียของแต่ละวิธีการ การชี้ผลตามมาจากการตัดสินใจ หรืออาจให้ข้อเสนอแนะหากจำเป็น
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นยุติการปรึกษา
ปัญหาได้คลี่คลายแล้วผู้ให้การปรึกษาไม่สามารถจัดการได้ ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญต่อไป