Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
ผู้ที่มีภาวะสูญเสีย (Loss)
หมายถึง
• เป็นภาวะสูญเสียทางอารมณ์ (Emotional loss)
• ความรู้สึกที่เป็นปฏิกิริยาของการที่บุคคลต้องแยกจาก สูญหาย หรือต้องปราศจากบางสิ่งบางอย่างที่เคยมีในชีวิต
• บุคคลรับรู้ถึงคุณค่าของสิ่งที่สูญเสีย หรือคาดว่ากำลังจะสูญเสีย
• อาจเกิดขึ้นทันทีทันใด หรือค่อยเป็นค่อยไป
• คาดการณ์ได้หรือไม่สามารถคาดการณ์ได้
• อาจทำให้เกิดความชอกช้ำเจ็บปวดอย่างมากหรือเล็กน้อย
ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความรุนแรงและ
รูปแบบของการแสดงออกของการสูญเสีย
• ความรู้สึกต่อสิ่งที่สูญเสีย
• บุคลิกภาพและความพร้อม
• ประสบการณ์การสูญเสีย
• แหล่งสนับสนุน
ประเภทของการสูญเสีย
• การสูญเสียบุคคลสำคัญของชีวิต
• การสูญเสียสมบัติหรือความเป็นเจ้าของ
• การสูญเสียความสมบูรณ์ทางสรีระ จิตใจ และสังคม
Maslow’s hierarchy of human need
การสูญเสียทางกาย
การสูญเสียความปลอดภัย
การสูญเสียความมั่นคงและความรู้สึกเป็นเจ้าของ
การสูญเสียความเคารพนับถือตัวเอง
การสูญเสียที่สัมพันธ์กับการทำเต็มศักยภาพของตนเอง
ผู้ที่มีภาวะทุกข์โศก (Grife)
หมายถึง
ความรู้สึกเสียใจที่เกิดขึ้น เมื่อคาดว่าจะมีการสูญเสียหรือรับรู้ว่าตนเองต้องสูญเสีย เป็นปฏิกิริยาตอบสนองที่แสดงออกทั้งทางสรีระและอารมณ์
กระบวนการทุกข์โศกของ Kubler-Ross
ปฏิเสธ (Denial) บุคคลจะเฉนเมย เงียบ ไม่สนใจภาวะสูญเสียที่เกิดขึ้น
โกรธ (Anger) บุคคลจะรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมที่ภาวะสูญเสียจะต้องมาเกิดขึ้นกับเขา
การต่อรอง (Bargaining) บุคคลจะพยายามต่อรองที่จะไม่ต้องเกิดการสูญเสีย
ภาวะซึมเศร้า (Depression) บุคคลจะรู้สึกจะรู้สึกหมดหวัง หดหู่ เบื่อหน่าย ไม่มีแรง จนถึงอาจคิดอยากตายหรือคิดฆ่าตัวตาย
ยอมรับ (Acceptance) บุคคลจะยอมรับในภาวะสูญเสียที่เกิดขึ้น และภาวะซึมเศร้าจะหายไป
การพยาบาลผู้ทุกข์โศก
สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่เชื่อถือ ไว้วางใจ
ส่งเสริมให้ลดความรู้สึกเศร้าโศกลง
ส่งเสริมการสร้างและคงความหวังที่เป็นจริง
กระตุ้นให้ผู้ทุกข์โศกเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด
สนับสนุนจุนจิตใจของญาติ และส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ทุกข์โศกและญาติ
ป้องกันการเกิดปฏิกิริยาที่เศร้าโศกผิดปกติ
ดูแลช่วยเหลือเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน
ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า
(Depression)
หมายถึง
คิดหมกมุ่นว่าตนเองไร้ค่า หรือมีความบกพร่องในการทำบทบาทหน้าที่
ความหมายตามศัพท์แปลว่า กดลง หรือทำให้ต่ำลงจากเดิมมาจากรากศัพท์คำว่า Deprive ที่แปลว่า ขาด
เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากการสูญเสีย ทำให้เกิดความรู้สึกมืดมน เหนื่อยหน่าย หดหู่ จิตใจอ่อนเพลีย รู้สึกทดท้อ รู้สึกตนเองไร้ค่า อาจเกิดความรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป
สาเหตุ
1.ปัจจัยทางชีววิทยา
สารสื่อประสาท Norepinephrine มีปริมาณลดลง ทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้า
ผลของยาบางชนิดที่ผู้ป่วยได้รับ
พันธุกรรม
การทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
2.ปัจจัยทางด้านจิตใจ
ทฤษฎีเกี่ยวกับความคิด (Cognitive theory)
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytical theory)
3.ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม
การพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยยอมรับความเจ็บป่วยและให้ความร่วมมือในการรักษาทั้งนี้พยาบาลต้องให้เวลามีความอดทนในการรับฟังแสดงความเข้าอกเข้าใจ มีท่าทีเป็นมิตรและอบอุ่น
ประเมินสาเหตุของภาวะซึมเศร้ เช่น สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หา สูญเสียอวัยวะหรือพิการกะทันหัน มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ มีปัญหาครอบครัว เป็นต้น
ประเมินระดับความซึมเศร้าอาจประเมินจากสีหน้าที่เศร้าซึม ร้องไห้ตลอดเวลา รับประทานอาหารได้น้อย หรืออาจใช้แบบประเมินมาตรฐานในการประเมินร่วมด้วย
สอบถามถึงความคิดในการฆ่ตัวตายและการพยายามฆตัวตายทั้งนี้อาจไม่ได้มุ่งถามตรง ๆแต่พยาบาลควรสอบถามระหว่างพูดคุยสร้างสัมพันธภาพ และเมื่อถามถึงความทุกข์ ความเศร้า อาจใช้คำถามเพื่อประเมินความคิดในการฆ่าตัวตาย เช่น "เวลาที่คุณไม่สบายใจหรือรู้สึกแย่มากๆ คุณเคยมีความคิดฆ่าตัวตายบ้างไหม" หรือ "ที่คุณบอกว่าคุณรู้สึกทุกข์ใจมากนั้นทุกข์ใจมากถึงขั้นเคยพยายามทำร้ายตนเองเลยรึเปล่า" เป็นต้น
ประเมินอาการที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เช่น ผู้ป่วยจัดการมรดก แบ่งทรัพย์สิน แจกจ่ายสมบัติแก่ผู้อื่น ซื้อยามาสะสม หรือนำวัตถุที่ใช้ในการทำร้ายตนเองมาเก็บซ่อนไว้ หรือมีบาดแผลจากการทำร้านตนเอง เป็นต้น
ผู้ที่มีภาวะโกรธ
อารมณ์โกรธ
(Anger)
หมายถึง
• เป็นอารมณ์หรือความรู้สึกพื้นฐานของมนุษย์ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองปกติของมนุษย์
• ไม่มีความเป็นเหตุเป็นผล เป็นความรู้สึกไม่สุขสบาย จากความคับข้องใจ กรบาดเจ็บ ความรู้สึกหวาดกลัว
• มีระดับความรุนแรงตั้งแต่ระดับขุ่นเคืองใจ จนถึงระดับที่แสดงออกถึงความเกรี้ยวกราด
• ถ้าแสดงอารมณ์โกรธอย่างเหมาะสม จะช่วยให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพ และลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
ความรู้สึกไม่เป็นมิตร
(Hostility)
หมายถึง
• เป็นพฤติกรรมก้าวร้าวโดยใช้คำพูดเป็นการแสดงออกทางอารมณ์ เพื่อทำร้ายจิตใจทางคำพูด
• ไม่คำนึงกฎเกณฑ์ทางสังคม
• เกิดจากความรู้สึกว่าถูกคุกคามและขาดอำนาจ
• นำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวโดยใช้กำลัง
พฤติกรรมก้าวร้าว
(Aggression)
หมายถึง
• เป็นพฤติกรรมการแสดงอารมณ์โกรธทั้งทางคำพูดและการกระทำ โดยไม่คำนึงถึงสิทธิของผู้อื่น พร้อมที่จะทำร้ายตนเองและผู้อื่น
• เป็นการต่อสู้เพื่อให้ได้ตามความต้องการของตนเอง
• เกิดจากการที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธ และความไม่เป็นมิตรได้
• พบได้บ่อยในบุคคลที่ขาดความมันใจในตนเองจึงสร้างความภาคภูมิใจโดยการแสดงอำนาจและการมีอิทธิพลเหนือคนอื่น
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีววิทยา
• มีพยาธิสภาพของระบบประสาท
• มีเนื้องอกที่สมอง
• โรคอัลไซเมอร์
• การชัก
• ได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง
ปัจจัยทางด้านจิตใจ
ทฤษฎีคับข้องใจ-ความก้าวร้าว (Frustration-aggression theory)
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytical theory)
ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม
(Sociocultural factors)
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social learning theory)
การสังเกตจากตัวแบบ (Modeling)
แนวทางการรักษา
การรักษาด้วยยา
• กลุ่มอาการต้านเศร้า
• กลุ่มลดความวิตกกังวลและยานอนหลับ
• ยาควบคุมอารมณ์
• ยาต้านอาการทางจิต
แนวทางการพยาบาล
• ช่วยให้ยอมรับว่าตนเองกำลังมีอารมณ์โกรธ
• ช่วยให้ค้นหาสาเหตุที่ทำให้รู้สึกโกรธ
• ช่วยให้ได้ระบายพลังงานภายในที่เกิดจากอารมณ์โกรธออกไปในทางที่เป็นประโยชน์และเป็นที่ยอมรับของสังคม
• จัดการกับความรู้สึกโกรธก่อนที่จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว