Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่ระยะท้าย Palliative Care, นางสาวดวงฤทัย ใจบุญ …
การพยาบาลผู้ป่วยที่ระยะท้าย
Palliative Care
ความหมายของการดูแลผู้ป่วย ระยะท้าย
การดูแลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วย และครอบครัวเกี่ยวกับความเจ็บป่วย ที่คุกคามชีวิต ป้องกันและบรรเทาความทุกข์ ประคับประคอง บริบาลเพื่อ บรรเทาอาการ เน้นการดูแลแบบองค์รวม
เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
เพิ่มคุณภาพชีวิตทั้งผู้ป่วยและครอบครัว ทำให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ สมศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ตลอดจนดูแลครอบครัวละญาติภายหลังการจากไปของผู้ป่วย
การดูแลผู้ป่วยในหออภิบาลคุณภาพชีวิต
(Quality of Life Care Unit)
โครงสร้างและกระบวนการดูแล
การดูแลทางร่างกาย
การดุแลทางจิตใจ
การดูแลทางสังคม
การดูแลทางจิตวิญญาณ ศาสนา
การดูแลในบริบทของวัฒนธรรม ประเพณี
การดูแลระยะก่อนตาย
บริบทของจริยธรรมและกฎหมาย
ประเด็นที่ 1 โครงสร้างและ กระบวนการดูแล
ทีมสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
1.แพทย์/จิตแพทย์
พยาบาล
เภสัชกร
โภชนากร
นักสังคมสงเคราะห์
อาสาสมัคร/จิตอาสา
ผู้นาศาสนา/ผู้นาทางความเชื่อและพิธีกรรม
นักจิตวิทยา
บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ
1)แพทย์
ทัศนคติที่ดีในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
ทักษะการสื่อสาร (communication skills) กับผู้ป่วย
2)พยาบาล
ทัศนคติที่ดีในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
ทักษะการสื่อสาร (communication skills) กับผู้ป่วย
พยาบาลมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยไม่น้อยกว่า 2ปี
ผ่านการอบรมหลักสูตรระยะสั้นการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า 3วัน
สาขาการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ระยะเวลา 4เดือน
3)เภสัชกร
จัดเตรียมยาที่จาเป็นให้พอเพียง เช่น ยาระงับปวด โดย เฉพาะ morphine รูปแบบต่าง ๆ
ช่วยให้การดูแลบริหารยาและปฏิกิริยาของยาต่าง ๆ
4)โภชนากร
จัดเตรียมและดัดแปลงอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
ฝึกทักษะญาติในการเตรียมอาหาร เช่น อาหารทางสายยาง(อาหารปั่น) อาหารเฉพาะโรค
5)นักสังคมสงเคราะห์
ช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวทั้งทางด้านการเงิน และ
การสนับสนุนให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมต่อไปได้
ให้คำปรึกษาสนับสนุนผู้ป่วยและครอบครัวที่มีปัญหาซับซ้อน
6)อาสาสมัคร
มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลผู้ป่วย
มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่ป่วยเป็นโรคร้ายแรง
7)ผู้นำศาสนา / ผู้นำทางความเชื่อและพิธีกรรม
มีทัศนคติที่ดีต่อความตาย
มีความเข้าใจกฎไตรลักษณ์
มีความรู้พื้นฐานในเรื่องโรคและอาการแสดง
กรอบแนวคิดการจัดบริการ
ผู้ป่วยระยะท้าย
ทีมสหสาขาวิชาชีพมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยครอบครัว
การบริการผู้ป่วยตามระบบบริการสุขภาพ
อาสาสมัครมาร่วมทากิจกรรมกับผู้ป่วยและครอบครัว
กระบวนการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัวรวมทั้งการประเมิน สภาพทางเศรษฐกิจของแต่ละครอบครัวเพื่อให้ความช่วยเหลือโดย
นักสังคมสงเคราะห์
การประเมินสภาพจิตของบุตร หลาน ของผู้ป่วยระยะท้ายว่ามีผลกระทบ ในเรื่องใดบ้าง เช่น ภาวะซึมเศร้า การขาดเรียน เป็นต้น
การดูแลภาวะเศร้าโศกของญาติ และครอบครัวหลังผู้ป่วยเสียชีวิต
ทีมเยี่ยมบ้านติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้าน
อุปกรณ์/เครื่องมือที่จำเป็น
ออกซิเจน
เครื่องดูดเสมหะชนิดเคลื่อนที่
ที่นอนลม หรือที่นอนนุ่ม ๆ
อุปกรณ์พยุงเดิน
เตียงนอนที่สามารถปรับระดับเตียงได้
รถเข็นผู้ป่วย
อุปกรณ์จำเป็นพื้นฐานทางการพยาบาล
การจัดสถานที่หน่วยงานบริการ
มีการจัดห้องพักผู้ป่วยเป็นสัดส่วน/ห้องส่วนตัว/
ที่ญาติสามารถเฝ้าได้
มีการจัดพื้นที่ เตียงผู้ป่วย และอยู่ในบริเวณที่มี
อากาศถ่ายเทสะดวก
ญาติผู้ป่วยสามารถเข้าเยี่ยมและทากิจกรรมกับผู้ป่วยได้ตามความต้องการ โดยไม่รบกวนผู้ป่วยรายอื่น
จัดสิ่งแวดล้อมให้ใกล้ชิดธรรมชาติ มีแสงสว่างเพียงพอ ลักษณะสีที่ใช้ควรเป็นโทนสีอ่อน
มีสัญญาณขอความช่วยเหลือที่ผู้ป่วยสามารถกดเรียกได้ง่าย
ประเด็นที่ 2 การดูแลทางด้านร่างกาย
ปัญหาความปวด (Pain) ใช้หลักการขององค์การอนามัยโลกให้ยาตามขั้น
ขั้นที่ 1รายที่มีความปวดน้อยถึงปานกลาง ให้ยากลุ่มnon opioids
โดยร่วมกับยาเสริมตามอาการ
ขั้นที่2รายที่มีความปวดปานกลางถึงรุนแรง ให้ยากลุ่ม weak opioids โดยให้ยากลุ่มnon opioids และยาเสริมร่วมด้วย
ขั้นที่ 3 รายที่มีความรุนแรงมาก ให้ยากลุ่ม str ong opioids โดย
ให้ยากลุ่มnon opioids และยาเสริมร่วมด้วย
หลักการให้ยาแก้ปวดของ WHO
1.การประเมินความปวด เพื่อหาสาเหตุและติดตามความรุนแรงของความปวด โดยดูตำแหน่งที่ปวดลักษณะความปวดความรุนแรงความปวด
2.การวางแผนการรักษาบำบัดตามแนวทางของสมาคมระงับปวดประเทศไทย
3.ตรวจติดตามผลการระงับความปวดอย่างสม่ำเสมอ (อย่างน้อยวันละ1ครั้ง) เพื่อปรับเปลี่ยนการรักษา
ปัญหาเรื่องหายใจลำบาก (Dyspnea) เป็นอาการหายใจติดขัด เหนื่อยหอบ หายใจไม่อิ่ม พบบ่อยในผู้ป่วยระยะท้าย
ปัญหาเรื่องความอ่อนล้า (Fatigue) เป็นอาการหมดแรง เหนื่อยล้าทั้งกายใจ
ทำกิจวัตรลดลง สัมพันธภาพลดลง
ปัญหาเรื่องท้องผูก (Constipation) ท้องผูก พบได้บ่อยในการดูแลผู้ป่วย
โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับยากลุ่ม Opioid
ปัญหาคลื่นไส้อาเจียน (Nausea and Vomiting) คลื่นไส้ เป็นอาการที่ผู้ป่วยรู้สึก ไม่สบายท้อง น้ำลายมาก วิงเวียน หน้ามืด กลืนลำบาก อุณหภูมิเปลี่ยน ชีพจรเร็ว อาเจียน เป็นอาการที่มีการหดรัดตัวของกระเพาะอาหารซึ่งบีบเอาอาหารออก
และ น้ำย่อยในกระเพาะให้ไหลย้อยขึ้นมาที่ปาก
ปัญหาผิวหนังและแผลกดทับ (Skin and Pressure sore) ผิวหนังเสี่ยงต่อการเกิด แผลได้ง่าย โดยเฉพาะส่วนที่ร่างกายสัมผัสที่นอนตลอดเวลา เช่น ส้นเท้า สะโพก แก้มก้น ข้อศอก
นางสาวดวงฤทัย ใจบุญ
รหัสนักศึกษา 6203400086
หน้า 1