Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคซนสมาธิสั้น -…
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช โรคซนสมาธิสั้น
โรคซนสมาธิสั้น
(attention-deficit/ hyperactivity disorder: ADHD)
จะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่วัยเด็ก
มีลักษณะการไม่ใส่ใจขาดสมาธิ (inattention) ขาดความต่อเนื่องในการจดจ่ออยู่กับงาน
ไม่สามารถให้ความสนใจเรื่องใดได้นาน
อาการซนไม่อยู่นิ่ง หมายถึง การที่มีกิจกรมการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ
อาการหุนหันพลันแล่น หมายถึง การกระทำที่รีบร้อนที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน โดยขาดการคิดไตร่ตรอง
ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคซนสมาธิสั้น
อาการขาดสมาธิ
มักจะไม่สามารถจดจำรายละเอียด หรือขาดความรอบคอบ
มักจะไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น
มักจะดูเหมือนไม่สนใจฟังเวลาที่พูดด้วยโดยตรง
มักจะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและไม่สามารถทำงานเกี่ยวกับการเรียน
งานบ้าน
มักมีปัญหาในการวางแผนเกี่ยวกับงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ
มักจะหลีกเลี่ยง ไม่ชอบ หรือลังเลที่จะทำงานที่ต้องใช้ความคิด
มักจะทำของที่จำเป็นสำหรับการเรียนหรือการทำงานหายอยู่บ่อยๆ
มักจะถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากสิ่งเร้าภายนอกได้ง่าย
มักจะลืมบ่อยๆ เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน
มีอาการซน ไม่อยู่นิ่ง
และมีอาการหุนหันพลันแล่น
เมื่อนั่งอยู่กับที่มักจะมีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่ายหรือรู้สึกทรมาน
มักจะลุกจากที่นั่งบ่อยๆ ในสถานการณ์ที่ควรต้องนั่งอยู่กับที่
มักจะวิ่งไปทั่วหรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม
มักจะไม่สามารถเล่นหรือเข้าร่วมในกิจกรรมสันทนาการได้อย่างเงียบๆ
มักจะพูดมาก พูดไม่หยุด
มักจะโพล่งตอบคำถามก่อนที่จะถามคำถามจบ
มักจะมีปัญหาในการรอคอยให้ถึงตาตนเอง
มักจะขัดจังหวะหรือสอดแทรกผู้อื่น
การบำบัดรักษาโรคซนสมาธิสั้น
1) การรักษาทางยา
• ยา methylpheidate (MPH)
ยา atomoxetine (strattera)
alpha agonists ได้แก่ ยา guanfacine และ clonidine
2) การรักษาโดยการปรับพฤติกรรมและการรักษาทางจิตสังคม
การฝึกอบรมพ่อแม่ในการดูแลเด็ก ADHD (parent management training) เพื่อให้สามารถเลี้ยงดูเด็ก ADHD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การให้ความช่วยเหลือเด็กขณะอยู่ที่โรงเรียน (school focused intervention)
การให้ความช่วยเหลือโดยมุ่งเน้นที่ตัวเด็กเป็นสำคัญ (child focused intervention)