Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การผลิตภาพเคลื่อนไหวเบื้องต้น - Coggle Diagram
การผลิตภาพเคลื่อนไหวเบื้องต้น
3.เทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหว
กำหนดภาพเคลื่อนไหวด้วยเทคนิคการทำงานที่แตกต่างจากเทคนิคแบบภาพต่อภาพโดยเทคนิคแบบภาพต่อภาพผู้จัดทำจะต้องเตรียมภาพทั้งหมด เพื่อใช้เป้นภาพเคลื่อนไหว โดยแต่ละภาพที่จัดเตรียมนั้นจะต้องมีรายละเอียดที่แตกต่างกันเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวเอง
5.รูปแบบของไฟล์ภาพเคลื่อนไหว
รูปแบบชนิดของภาพแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1.ภาพแบบ บิตแมป( Bitmap ) หรือ ราสเตอร์( Raster ) คือภาพที่เกิดจากหน่วยภาพเล็กๆมารวมกันจนเป็นภาพใหญ่คล้ายจิ๊กซอร์สามารถดูได้โดยการซูมภาพเข้าไปกล่าวคือภาพเหล่านี้ยิ่งซูม(ขยาย)ยิ่งแตก จนดูไม่รู้เรื่อง เช่นภาพนามสกุล .JPEG, .TIFF,.GIF และ PNG เป็นต้น
2.ภาพแบบเวคเตอร์( Vector ) คือภาพที่เกิดจากเส้นโค้ง, เส้นตรง และคุณสมบัติสีของเส้นนั้นๆที่เกิดจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์(ที่เรามองไม่เห็นด้วยตา)กล่าวคือ ที่จุดๆหนึ่งของภาพที่เราซูมเข้าไปมันจะเกิดจากการกำหนดคุณสมบัติไว้ว่าภาพเกิดจากเส้นตรง หรือเส้นโค้งที่เอียงกี่องศา เก็บค่ารหัสสีอะไรไว้ เมื่อเราซูมขยายภาพไม่ว่าจะขนาดเท่าไหร่ก็ตามภาพมันจะไม่แตก(ไม่สูยเสียความละเอียดไป)
4.ขั้นตอนการสร้างภาพเคลื่อนไหว
การวางโครงเรื่องชิ้นงาน
เป็นการวางแผนว่าต้องการให้ชิ้นงานออกมาแนวไหน มีวัตถุประสงค์การทำงานเป็นอย่างไร จะอยู่ในรูปแบบของ storyboard ซึ่งจะช่วยให้เราคิดงานอย่างมีระบบ การใช้ผังโครงร่าง หรือ storyboard จะช่วยให้เข้าใจวัตถุประสงค์และรายละเอียดการทำงานของชิ้นงานได้ง่ายขึ้น
การจัดเตรียมองค์ประกอบชิ้นงาน
เป็นขั้นตอนของการจัดเตรียม เช่น ไฟล์ภาพ ไฟล์วีดีโอ ไฟล์เสียง
การสร้างชิ้นงานและทดสอบการทำงาน
เป็นขั้นตอนของการนำไฟล์ต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ มาประกอบกันเป็นชิ้นงาน และทดสอบการทำงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์
การแปลไฟล์ชิ้นงานสำหรับการเผยแพร่
เป็นการพับลิช ( Publish ) ชิ้นงานที่สร้างเสร็จเป็นไฟล์มูฟวี่ หรือเป็นไฟล์ในรูปแบบที่ต้องการ เพื่อนำไปเผยแพร่ต่อไป
1.ความหมายของภาพเคลื่อนไหว
ภาพเคลื่อนไหว (Animation )หมายถึง ภาพกราฟฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปรากฏ การณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการนำภาพนิ่งมาเรียงกันเป็นชุดๆเพื่อแสดงบนจอทีละภาพด้วยความเร็วสูง ในการฉายภาพแต่ละภาพจะต่อเนื่องกันให้ดูเหมือนว่าเคลื่อนไหวจริง ซึ่งอาจเป็นภาพที่ได้จากภาพวาด ภาพถ่าย หรือภาพคน สัตว์ สิ่งของก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเฉพาะเจาะจงแต่ภาพการ์ตูนเท่านั้น
2.ประเภทของภาพเคลื่อนไหว
ภาพเคลื่อนไหวแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.แบบ 2 มิติ (2D Animation)
ภาพเคลื่อนไหวแบบ 2 มิติ มองเห็นได้ทั้งความสูงและความกว้าง ซึ่งจะมีความเหมือนจริงพอสมควรและการสร้างจะไม่สลับซับซ้อนมากนัก เช่น ภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฏตามเว็บต่างๆ รวมทั้ง Gif Animation
2.แบบ 3 มิติ (3D Animatio)
ภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ มองเห็นได้ทั้งความสูง ความกว้าง และความลึก ภาพที่เห็นจะมีความสมจริงมากถึงมากที่สุด เช่น ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง NEMO เป็นต้น
6.โปรแกรมสำหรับสร้างภาพเคลื่อนไหว
Maya (โปรแกรม Maya ทำอนิเมชั่น สร้างการ์ตูน Animation)
Pencil2D (โปรแกรม Pencil2D ทําอนิเมชั่น 2 มิติ ฟรี)
Blender (โปรแกรม Blender ออกแบบ 3 มิติ 3D Animation)
Adobe Animate CC (โปรแกรม Adobe Animate สร้างอนิเมชั่นบนเว็บไซต์ ง่ายๆ)
Pivot Animator (โปรแกรม สร้างการ์ตูน ทำภาพเคลื่อนไหว)
Reallusion iClone (โปรแกรม Reallusion iClone สร้าง ออกแบบตัวละคร อนิเมชั่น 3 มิติ)
Plotagon (โปรแกรม Plotagon สร้างรูปอนิเมชั่น สามมิติ สุดเจ๋ง)
Adobe Fuse CC (โปรแกรม Adobe Fuse สร้างตัวละคร 3 มิติ โมเดล 3 มิติ)
Plastic Animation Paper (โปรแกรม วาดการ์ตูน มืออาชีพ)
Synfig Studio (โปรแกรม Synfig Studio ออกแบบอนิเมชั่น 2 มิติ)